Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

รัฐบาลเตรียมประเคนลูกค้า 11.4 ล้านหมายเลขให้ผู้ถือบัตรคนจนแก่ TOT อ้างมีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ไม่มีลูกค้า

มีรายงานข่าวจาก FM 98.5 Spring Radio ( กรุงเทพฯ ) เวลา 07.45 น. ระบุ " นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะมีการเพิ่มสิทธิแก่ผู้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ในสิทธิประโยชน์ระยะที่ 2 คือ SIM คนจน ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดจากเน็ตหมู่บ้าน เป้าหมายเพื่อเข้าถึงข้อมูลความรู้เพิ่มยกระดับคุณภาพชีวิต โดยจะให้บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ออกซิมการ์ดจำนวน 11.4 ล้านเลขหมาย มาให้บริการ เนื่องจากปัจจุบันบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) มีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ไม่มีลูกค้า รัฐบาลจะออกซิมการ์ดให้ผู้มีรายได้น้อย โดยจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ภายในเดือน ธันวาคม 2560 " ล่าสุดนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ร่วมแถลงข่าวเมื่อ 15 กันยายน 2560 เปิดเผยยอด ผู้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 11.4 ล้านคน สำหรับโครงข่ายบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ปัจจุบันมีการร่วมให้บริการระหว่าง TOT กับ AIS บนคลื่นความถี่ TOT 2100 MHZ เพื่อให้ลูกค้า AIS และ TOT เป็นเวลา 6 เดือน โดย AIS จะข่ายค่าโรมมิ่งให้ TOT มูลค่า 325 ล้านบาทต่อเดือน การแสดงผลเครือข่ายจะแสดงว่า “AIS-T” ซึ่งกลางเดือนสิงหาคม 2560 โดยตกเป็นข่าวในเดือน กันยายน 2560 โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือตอบข้อหารือด้านกฎหมายและสัญญา กรณีการทำสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์เพื่อให้บริการโทรคมนาคม และสัญญาการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์มือถือภายในประเทศ(โรมมิ่ง) บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่างทีโอทีกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือเอไอเอส
โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งข้อสังเกตให้ทีโอทีดำเนินการปรับปรุงแก้ไขก่อนจะมีการลงนามในสัญญา ซึ่งข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดนั้นประกอบด้วย 1.การให้เอไอเอสค้ำประกันการทำสัญญาว่าบริษัทเอดับบลิวเอ็นจะปฏิบัติตามข้อสัญญาตลอดอายุสัญญาเสียก่อนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ เนื่องจากบริษัท เอไอเอส เป็นคู่สัญญาในข้อตกลงเป็นพันธมิตรชั่วคราว แต่ในสัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นคู่สัญญากลับเป็นเพียงบริษัท เอดับบลิวเอ็นที่เป็นบริษัทลูก นอกจากนี้ยังให้มีสัญญาเพิ่มเติมสัญญากับเอไอเอส โดยตรงห้ามมิให้บริษัทเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทคู่สัญญา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากทีโอที 2.ทีโอทีควรระบุเรื่องของการเชื่อมโยงระหว่างร่างสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์เพื่อให้บริการโทรคมนาคม กับร่างสัญญาการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่(โรมมิ่ง) ที่จะลงนามกันเนื่องจากสัญญาทั้งสองฉบับมีความเกี่ยวโยงกัน จึงควรระบุลงไปในสัญญาหากบริษัทเอกชนกระทำผิดสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่ง ทีโอทีมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาอีกฉบับด้วย 3.ให้ทีโอทีตรวจสอบนิยามคำว่า ผู้ให้บริการเสมือนในร่างสัญญา ตลอดจนนิยามคำว่า Trafic และ "ผู้ให้เช่า"ว่าถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และตรวจสอบ รายละเอียดทางเทคนิคและวิศวกรรม รวมทั้งการคำนวณค่าตอบแทนตามสัญญาว่าสอดคล้องกับข้อตกลงพันธเดิมหรือไม่และเมื่อฝ่ายบริหารทีโอทีรับข้อสังเกตจากสำนักงานอัยการสูงสุดกลับมาพิจารณาพบว่าข้อสังเกตต่างๆ ที่ให้ทีโอทีดำเนินการแก้ไขก่อนลงนามในสัญญานั้น สำหรับ Blog : Magawn19 ขออนุญาตบอกกล่าวไปถึงผู้เกี่ยวข้อง "สำหรับ คนที่มีรายน้อยไม่มีสิทธิในการเลือกโครงข่ายที่สามารถใช้งานได้ดีในพื้นที่นั้น ทั้งที่รู้อยู่ว่าโครงข่าย TOT ไม่ครอบคลุม แม้ร่วมมือกับ AIS ก็ยังไม่ครอบคลุม แต่กลับ ยกลูกค้าทั้งหมดให้ TOT ( ผมขออนุญาตตั้งขอสังเกต ว่านี้คือการช่วย TOT หรือ ช่วยคนจน ครับ ) เปรียบเหมือนการหาลูกค้าให้ TOT โดยที่ TOT ไม่ทำอะไร คนจนส่วนใหญ่อาศัยในตรอก ซอยลึก ที่ไกลความเจริญ ผมเชื่อว่าโครงข่าย TOT ไม่ครอบคลุม เพราะความแรงของคลื่นไปไม่ถึง แต่ถ้าเป็นโครงข่าย My By Cat คลื่น 850 อันนี้ผมเชื่อครับว่าได้ประโยชน์ เพราะเป็นโครงข่ายที่ครอบคลุมจริงๆ อย่างน้อยให้คนที่มีรายน้อยได้เลือกโครงข่ายของรัฐบาลได้ ตามความเหมาะสมและใช้งานได้จริง จะเป็น TOT หรือ CAT ก็ได้ ไม่ใช่ยก 11.4 ล้านเลขหมายให้ TOT เจ้าเดียว( ถึงเป็นเจ้าที่สัญญาณยังไม่ครอบคลุมครับ ) จึงขออนุญาตเรียนให้ช่วยปรับปรุงเรื่องนี้ก่อนเข้า ครม.

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.