Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

กสทช. ชี้Q3/2560 โครงข่าย AIS มีเสามาที่สุดเกือบ 60,000 แห่ง TRUE มีผู้ใช้อันดับ 2 และนำเข้า vivo มากที่สุด เสา 2100 มีมากสุด 57,769 แห่ง

ข้อมูล รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ซึ่งมีข้อมูลที่ผู้ประกอบการ รายงานการออกเครื่องหมายแสดงการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานด้วยตนเองจำ นวน 442,56 เครื่องหมายซึ่งมีจำ นวนลดลงร้อยละ 52.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาในการนี้ จากการรายงานข้อมูล พบว่า มีการนำ เข้าเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อ vivo มากที่สุด รองลงมาเป็นเครื่องโทรศัพท์
ยี่ห้อ Apple และ LAVA ตามลำดับ

โครงข่ายโทรคมนาคม - การพาดสายสื้อสารโทรคมนาคม การให้บริการโทรคมนาคมปัจจุบันมีการพัฒนาการ ให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น กอปรกับเทคโนโลยีใหม่ๆ การผลิตมีต้นทุนที่ถูกลง ทำ ให้อุปกรณ์ที่ใช้สำ หรับโครงข่ายโทรคมนาคมมีราคาถูกลงตามไปด้วย ในการนี้ ผู้ให้บริการต่างเร่งพัฒนา และขยายโครงข่ายของตนเองให้มีคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการที่ดีขึ้น เพื่อให้รองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าของตนให้เพียงพอ รวมทั้ง มีการประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz 1800 MHz และ 900 MHz ที่ผ่านมา นั้น ส่งผลต่อการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และ 4G ให้มีความต้องการ การใช้งานด้านโทรคมนาคมของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการในตลาดอินเทอร์เน็ตประจำ ที่และผู้ให้บริการในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็หันมาให้ความสำคัญกับบริการอินเทอร์เน็ตประจำ ที่มากขึ้น ทำ ให้ตลาดอินเทอร์เน็ตประจำ ที่มีการลงทุนโครงข่ายและขยายโครงข่ายมากขึ้น ซึ่งตั้งแต่ปี 2556 ถึง ไตรมาส 3 ปี 2560 มีการลงทุน โครงข่าย สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable : OFC) ไปทั่วประเทศมากที่สุดเป็นจำ นวน 942,182 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 98.93 ของเทคโนโลยีการขอพาดสายทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และไตรมาส 3 ปี 2560 มีผู้ให้บริการขอพาดสายใยแก้วนำแสงเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.83ของการขอพาดสายทั้งหมดไตรมาสนี้ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามีการขอพาดสายใยแก้วนำ แสงมีจำ นวนลดลงมากถึงร้อยละ 5.48 และลดลงร้อยละ 30.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา หากรวมถึงการขอพาดสายทองแดง (Copper) แล้วไตรมาสนี้มีการขอพาดสายโทรคมนาคมทั้งหมดเป็นระยะทาง 29,971 กิโลเมตร (ภาพที่ 2-1)และเมื่อพิจารณาเป็นภูมิภาคเห็นได้ว่าไตรมาส 3 ปี 2560ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขอพาดสายมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ และภาคกลาง ตามลำดับ


-การขยายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2100 MHz เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2555 ที่มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเพียง 3 ราย แต่ละรายต่างขยายหรือติดตั้งโครงข่ายของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อการให้บริการที่มีความครอบคลุมพื้นที่ของผู้ใช้บริการมากที่สุด อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามข้อกำ หนดของการอนุญาตในระยะที่ 2 ซึ่งกำ หนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการภายใต้ขอบเขตการอนุญาตให้ครอบคลุมจำ นวนประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ80 ของจำ นวนประชากรทั้งหมด ภายใน 4 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว และมีการครบรอบ 4 ปี เมื่อวันที่7 ธันวาคม ปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า คลื่นความถี่ 2100 MHzมีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมจำ นวนประชากรถึงร้อยละ 98.72 และไตรมาสนี้มีสถานีฐานคลื่นความถี่ 2100MHz ทั้งหมดอยู่ที่ 57,769 สถานี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.82เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยผู้ให้บริการที่มีสถานีฐานมากที่สุดคือ AWN1 คิดเป็นร้อยละ 52.74 ของจำ นวนสถานีฐานทั้งหมดคลื่นความถี่ 2100 MHz รองลงมาเป็น DTN2 และเป็น TUC3 ส่วนใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเพียง 2 ราย โดยมีเงื่อนไขในใบอนุญาตกำ หนดให้มีครอบคลุมจำ นวนประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรทั้งหมดภายใน 4 ปี นับจากวันที่ได้รับ ใบอนุญาตแล้ว และครอบคลุมจำ นวนประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำ นวนประชากรทั้งหมดภายใน 8 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว และคาดการณ์ว่าไตรมาสนี้มีจำ นวนสถานีฐานทั้งหมด 27,931 สถานี ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยผู้ให้บริการที่มีสถานีฐานมากที่สุดคือ AWN ส่วนใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz ที่มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเพียง 2 ราย โดยมีเงื่อนไขในใบอนุญาตกำ หนดให้มีครอบคลุมจำ นวนประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำ นวนประชากรทั้งหมดภายใน 4 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว และครอบคลุมจำ นวนประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำ นวนประชากรทั้งหมดภายใน 8 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว ซึ่งคาดการณ์ว่าไตรมาสนี้มีจำ นวนสถานีฐานแล้วทั้งหมด 19,066 สถานี ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.98เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยผู้ให้บริการที่มีสถานีฐานมากที่สุดคือ TUC
-ตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใน ประเทศ ตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถจำ แนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (1)ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีโครงข่ายหรือมีสิทธิ์ในการใช้โครงข่าย (Mobile Network Operators – MNOs) และ (2)ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MobileVirtual Network Operators – MVNOs) ดังนี้ ไตรมาสนี้คาดการณ์ว่ามีผู้ลงทะเบียนใช้บริการเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ประมาณ 119.50 ล้านเลขหมายและคิดส่วนแบ่งตลาดของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่พบว่า กลุ่มบริษัท AIS มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นร้อยละ 43.94 รองลงมาเป็น กลุ่มบริษัท True Mobile มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ28.77 ส่วนกลุ่มบริษัท DTAC มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.25ตามด้วย CAT มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.94 และ TOT มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.10 ตามลำดับ ค่าดัชนี HHI ของตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ณ สิ้นไตรมาสนี้อยู่ที่ 3,400 ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อย
nbtc

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.