Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

กสทช. เบรก TOT และ DTAC คลื่น 2300 เหตุขาดข้อมูลด้านเทคนิคในเรื่องการใช้คลื่นความถี่ การโรมมิ่งและกฤษฎีกาเองก็ยังไม่สรุปความเห็น

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานอนุกรรมการกลั่นกรองด้านโทรคมนาคม ได้เรียกให้ผู้บริหาร บมจ.ทีโอทีเข้ามาหารือ หลังจากที่มติคณะกรรมการ กสทช.เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้สรุปอนุกรรมการกลั่นกรองฯ เรียกผู้บริหารของ บมจ.ทีโอที เข้ามาชี้แจงเมื่อวานนี้ (27 พ.ย.) ในประเด็นร่างสัญญาการอัพเกรดคลื่นความถี่ในย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์สำหรับเปิดให้บริการ 4จี แอลทีอี-ทีดีดี จำนวน 60 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทีโอที และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ก่อนที่จะมีการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ดำเนินการได้หรือไม่ ภายหลังการประชุม พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ทีโอทียังขาดข้อมูลด้านเทคนิคในเรื่องการใช้คลื่นความถี่ ซึ่งหากจะให้บริการด้วยการโรมมิ่งก็ต้องอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และเป็นตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) อนุญาตไปก่อนหน้านี้ ดังนั้น จึงได้กำชับให้ทีโอทีประสานกับสำนักงานกสทช.ส่งข้อมูลการใช้งานความถี่ให้ทันภายในต้นเดือนธ.ค. จากนั้นจะช่วงกลางเดือนธ.ค.จะต้องสรุปความเห็นจากอนุกรรมการกลั่นกรองฯก่อนนำเข้าบอร์ดกสทช. “เรื่องนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเองก็ยังไม่สรุปความเห็นมาเลยว่าทีโอทีและดีแทคสามารถดำเนินการได้หรือไม่ แต่เราก็ต้องพิจารณาไปในส่วนความรับผิดชอบของเราไปก่อน ซึ่งหากลงมติผ่านทุกอย่าง ทางทีโอทีและดีแทคระบุว่าคงให้บริการได้ในเดือนม.ค.ปี 2561" พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าว ก่อนหน้านี้ สำนักงาน กสทช.ได้สรุปจากอนุกรรมการกลั่นกรองฯในชั้นต้น ระบุว่ามีการใช้คลื่นความถี่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอนุญาตไปก่อนหน้านี้ จึงให้ทีโอทีและดีแทค ไตรเน็ต ไปปรับเปลี่ยนแผนการพัฒนาคลื่นให้ตรงกับกฎหมายที่กสทช.กำหนดไว้ก่อน จากนั้นนำเข้าจะพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าทีโอทีและดีแทค ไตรเน็ตจะไม่สามารถเซ็นสัญญาได้ทันในปีนี้ตามแผนงานเดิม อย่างไรก็ดี จากการสอบถาม นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที ยืนยันว่า ทีโอทีได้ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม และได้ส่งสัญญาดังกล่าวที่จะเซ็นร่วมกับดีแทค ไตรเน็ต ให้ กสทช.พิจารณาไปตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.60 ที่ผ่านมา แต่หากการเซ็นสัญญาล่าช้าออกไปอาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายรายได้ของทีโอทีในปีนี้และต่อเนื่องไปถึงปี 61 โดยทีโอทีคาดว่าจะมีรายได้ปีละ 4,510 ล้านบาทจากการให้ดีแทคเข้าพัฒนาคลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.