Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

คนเติมเงิน 10000 บาท โดนเก็บค่าบริการ 10 บาทต่อเดือน!!! AISและTRUEชี้ต้องเก็บแพงว่านี้ ป้องกันการฟอกเงิน CATระบุมีค่าระบบITบริหารจัดการ

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ข้อความคิดเห็นการเรียกเก็บค่าใช้บริการ การกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดในการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดในส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท  เรียกเก็บเป็นจำนวนวันใช้งานด้วยอัตราขั้นสูงไม่เกิน 2 บาท โดยให้ผู้ใช้บริการต้องได้รับระยะเวลาใช้งานเพิ่มไม่น้อยกว่า 30 วันต่อการแลกเปลี่ยน 1 ครั้ง มีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร

นายอนันต์ รัชตมุทธา บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้ให้ความคิดเห็น ระบุ บริษัทฯ ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า (Prepaid) ทั้งที่ใช้บริการภายในประเทศและบริการโรมมิ่งระหว่างประเทศ แล้วพบว่าวงเงินคงเหลือ สะสมสูงสุดที่ 10,000 บาท มีความเหมาะสมแล้วสำหรับลูกค้ำประเภทบุคคลทั่วไป สำหรับลูกค้าบางประเภท อาทิ ลูกค้าองค์กร และลูกค้ากลุ่มพิเศษบำงกลุ่ม เห็นว่า บริษัทฯ ควรจะสามารถกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดได้ตำมความเหมาะสม โดยให้วงเงิน 10,000 บาทเป็นเพดานเท่านั้น

 ควรเพิ่มข้อความให้ผู้ให้บริการสามารถกำหนดวงเงินได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ตามพฤติกรรมและรายการส่งเสริมการขายที่ผู้ใช้บริการเลือก เช่น ในกรณีที่มีการเปิดซิมใหม่ ผู้ใช้บริการอาจเห็นว่าจะต้องมีวงเงินคงเหลือได้สูงสุดที่ 10,000 บาท แต่อาจจะยังไม่เหมาะกับรายการส่งเสริมการขายหรือพฤติกรรมกาใช้งาน

บริษัทฯ เห็นด้วยกับกรณีการกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุด ไม่เกินจำนวนเงิน 10,000 บาท อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ขอเสนอว่าบริษัทฯ สามารถที่จะกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดสำหรับ ผู้ใช้บริการได้ในจำนวนที่ต่ำกว่าวงเงินที่ กสทช. กำหนดไว้ได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติกรรมกำรใช้บริการระยะเวลาเริ่มใช้บริการ รายการส่งเสริมการขายที่ผู้ใช้บริการได้เลือกไว้ หรือในกรณีที่ผู้ใช้บริการเป็นนิติบุคคล องค์กรของรัฐ หรือเป็นหน่วยราชการ ควรเป็นสิทธิของผู้ใช้บริกำรที่จะตกลงร่วมกับบริษัทฯ ที่จะ
กำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดของแต่ละเลขหมายที่ผู้ใช้บริการแจ้งไว้แก่บริษัทในฐานะผู้ให้บริการได้

 เห็นด้วยกับกำรอนุญาตให้แลกเงินคงเหลือเป็นวันใช้งานเฉพาะผู้ใช้บริการที่มีวงเงินคงเหลือเกิน 10,000 บาท เท่านั้น ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขั้นสูงไม่เกิน 2 บาท เนื่องจากยังมีต้นทุนอื่นๆ ในการประกอบการและคงเลขหมายไว้ นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมเลขหมายซึ่งมีมูลค่า 2 บาทต่อเดือน
เท่านั้น บริษัทฯ จึงเสนออัตราแลกเปลี่ยนขั้นสูงไม่เกิน 10 บาท/ครั้ง

       บริษัทฯไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนวันด้วยเงินคงเหลือในกรณีนี้ เนื่องจาก กสทช. มีข้อกำหนดอยู่แล้วที่มิให้บริษัทฯ ยินยอมให้ผู้ใช้บริการเติมเงินเพิ่มได้หำกผู้ใช้บริการมีเงินคงเหลืออยู่ในระบบเกินกว่า 10,000 บาท ซึ่งเมื่อผู้ใช้บริการมีการใช้บริการ จำนวนเงินดังกล่าวก็จะทยอยลดลงตามลำดับ
 บริษัทฯ มีความเห็นว่าจำนวนอัตราแลกเปลี่ยนวันด้วยเงินคงเหลือยังไม่เหมาะสม เพราะหากลูกค้ามีวงเงินคงเหลือสะสม 100 บาท เมื่อลูกค้านำมำแลกเปลี่ยนเป็นวันจะได้จำนวนวันถึง 1,500 วัน หรือประมาณ 4 ปีกว่า ซึ่งจะไม่สอดคล้องกับกำรจัดสรรทรัพยากรเลขหมายโทรคมนาคม เพราะจะมีเลขหมายคงค้ำงอยู่ในระบบจำนวนมาก และมีลูกค้าที่ต้องการเก็บเลขหมายไว้โดยมิได้มีกำรใช้บริการอย่างแท้จริง
 อย่างไรก็ตาม หาก กสทช. จะมีข้อเสนอในเรื่องดังกล่าว บริษัทฯ มีควำมเห็นว่ำอัตราการแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนวันควรเทียบเคียงกับจำนวนวันที่ลูกค้ำจะได้รับเมื่อเติมเงินขั้นต่ำกับบริษัทฯ ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ กำหนดให้ทุกครั้งที่เติมเงินขั้นต่ำจำนวน10 บาท จะได้จำนวนวัน 30 วัน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเช่าเลขหมายรายเดือนของบริการโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งเรียกเก็บในอัตรา 100 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน



นางสาวระพีภัทิย์ เลิศวงศ์วีรชัย บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ได้ให้ความคิดเห็น ระบุ เห็นด้วยว่า 10,000 บาท เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งยังป้องกันการฟอกเงินได้ เห็นด้วยว่าร่างประกาศฯ ไม่ควรครอบคลุมถึงผู้ค้า (Dealer) ที่ทำหน้าที่กระจายเงินเติมให้ผู้ใช้บริการ บริษัทฯ เห็นด้วยกับร่างประกาศฉบับดังกล่าวในประเด็นเรื่องกำหนดวงเงินสูงสุดในการเรียก เก็บเงินค่ำบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เกิน 10,000 บาทเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจำกการเคลื่อนย้ายเงินที่อาจเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น

        อัตราแลกเปลี่ยนขั้นสูงไม่เกิน 2 บาท ต่อการใช้งานไม่น้อยกว่า 30 วัน เป็นอัตราที่ต่ำเกินไป เนื่องจากต้นทุนกำรให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Prepaid ยังมีต้นทุนอื่นๆ อาทิ ต้นทุนจากการสำรอง capacity ของคลื่นไว้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับผู้ใช้บริการได้ใช้งาน และการเตรียมความพร้อมบริการต่างๆ เป็นต้น นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมเลขหมาย บริษัทฯ จึงเสนอให้ผู้ให้บริการกำหนดอัตราตามที่มีอยู่แล้วในตลาด และเสนอให้ผู้ใช้บริการแลกเปลี่ยนได้ที่อัตราขั้นต่ำ 10 บาท ใช้งานได้ 30 วัน ไม่ควรกำหนดที่ 2 บาท
 การใช้เงินแลกวันใช้งานควรกำหนดวันสะสมสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ถ้าไม่กำหนดวันสะสมสูงสุด อาจเกิดกรณีที่ผู้ใช้บริการนำเงินส่วนที่เกิน 10,000 บาทแลกเป็นวันได้อย่างไม่จำกัดได้เช่น ถ้าผู้ใช้บริการมีวงเงินคงเหลือ 10,500  บาท ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน 2 บาทต่อการใช้งานเพิ่ม 30 วัน เงินคงเหลือ 500 บาทจะแลกได้ 20 ปี ซึ่งเกินอำยุใบอนุญาต ควรกำหนดวันสะสมสูงสุดตำมหลักเกณฑ์ กำรให้บริการ prepaid ในปัจจุบันบริษัทฯ เห็นด้วยกับร่างประกำศดังกล่าว ในกำรกำหนดอัตรากำรเปลี่ยนเงินคงเหลือเป็นวันใช้งาน ในกรณีที่ผู้ใช้บริกำรมีวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท ก่อนวันที่ร่างประกาศฉบับ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ โดยจะสามารถแลกเปลี่ยนวงเงินสะสมสูงสุดในส่วนที่เกินกว่ำหนึ่งหมื่นบาท เป็นจำนวนวันใช้งาน 1 ครั้งด้วยอัตราสูงสุดไม่เกินสองบาท โดยผู้ใช้บริการจะต้องได้รับระยะเวลาใช้งานไม่น้อยกว่าสามสิบวันต่อการแลกเปลี่ยนหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ขอเสนอให้ สำนักงาน กสทช. ได้โปรดพิจารณำระบุข้อความเพิ่มไปในประกาศให้ชัดเจน ในกรณีที่ผู้ใช้บริการมีวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท จะสามารถ
แลกเปลี่ยนวงเงินสะสม เป็นจำนวนวัน ใช้งานด้วยอัตรำค่าบริการตามที่ผู้ให้บริการแต่ละรายกำหนด โดยผู้ใช้บริกำรจะต้องได้รับระยะเวลาใช้งำนไม่น้อยกว่าสำมสิบวันต่อกำรแลกเปลี่ยนหนึ่งครั้ง เนื่องจากจำนวนเงินสองบาทต่อครั้งที่ กสทช. กำหนด ไม่ครอบคลุมต้นทุนการให้บริการ ประกอบกับผู้ให้บริการ แต่ละรายจะมีต้นทุนที่แตกต่างกัน จึงควรให้กำรแข่งขันเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนวันที่เหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทฯ ขอเสนอให้มีการกาหนดจำนวนวันสะสมสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ด้วย เพื่อให้ผู้
ให้บริการสามารถดำเนินการได้ในทำงปฏิบัติ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์จำนวนวันสะสมสูงสูดที่ กสทช. ได้อนุมัติสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้ำ (Prepaid) ทั้งนี้ การไม่กำหนดจำนวนวันสะสมสูงสุด หรืออนุญาตให้แลกเปลี่ยนวันได้ไม่จำกัด จะก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจำกผู้ให้บริการมีต้นทุนการให้บริการที่ปรับเปลี่ยนตามปัจจัยต่ำงๆไปในแต่ละช่วง ระยะเวลา เช่น มีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีตำมการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดพลวัตของต้นทุนการให้บริการ ผู้ให้บริการจึงไม่สามารถให้บริกำรได้โดยไม่มีการจำกัดระยะเวลำใช้งานจากการแลกเปลี่ยนวันด้วยเงินคงเหลือตามอัตราปัจจุบัน นอกจากนี้ ตัวอย่างในกรณีที่ผู้ใช้บริการมีการเติมเงินสะสมจำนวน 10,500  บาทมาก่อนวันที่ ร่างประกาศมีผลบังคับใช้ ผู้ใช้บริการต้องกำรนำเงินจำนวน 500 บาทมาแลกเปลี่ยนเป็นระยะเวลาใช้งำนในอัตรา 2 บาทต่อระยะเวลาใช้งาน 30วัน ผู้ใช้บริการจะได้จำนวนวันสะสมทั้งสิ้น 7,500วัน คิดเป็นจำนวนปีเท่ากับ20.5 ปี ซึ่งอำจเกินระยะเวลำให้บริการตามใบอนุญาตที่เหลืออยู่ของผู้ให้บริการในปัจจุบัน และไม่สามารถดำเนินการให้ได้ในทำงปฏิบัติ



นางแพรวพรรณ ตันถาวร บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ได้ให้ความคิดเห็น ระบุเสนอให้แก้ไขข้อ ๒ ในร่างประกาศฯ “ให้ผู้รับใบอนุญำตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กำหนดวงเงิน คงเหลือสะสมสูงสุดของผู้ใช้บริการในการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคมสำหรับ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้ผู้ให้บริกำรสามารถกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ไม่เกิน 10,000 บาท” ในหลักการแล้วเห็นด้วยแต่ขอขยายข้อความในข้อ ๒ ของ (ร่ำง) ประกาศฯ “ให้ผู้รับใบอนุญาตบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดของผู้ใช้บริกำรในการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ตามความเหมาะสมแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท”

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ได้ให้ความคิดเห็นว่า บริษัทฯ เห็นด้วย กับ กสทช.

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัทฯ เห็นสมควรกำหนดให้สามารถแลกเปลี่ยนวงเงินสะสมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท เป็นจำนวนวันใช้งานด้วยอัตราไม่เกิน 10 บาทต่อระยะเวลำใช้งาน 30 วันต่อกำรแลกเปลี่ยน 1ครั้ง


บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความคิดเห็นว่า การกำหนดให้ผู้ใช้บริการสามารถแลกเปลี่ยนวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดในส่วนที่เกินกว่ำ 10,000 บาท เป็นจำนวนวันใช้งานด้วยอัตรำขั้นสูงไม่เกิน 2 บาท โดยให้ผู้ใช้บริการได้รับระยะเวลาใช้งานเพิ่มไม่น้อยกว่ำ 30 วันต่อกำรแลกเปลี่ยนหนึ่งครั้งนั้น ไม่ครอบคลุมต้นทุนในกำรบริหารจัดการระบบการ จัดให้บริการของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะต้นทุนค่าธรรมเนียมเลขหมาย แต่ยังมีต้นทุนในส่วน อื่นๆ เช่น ต้นทุนการใช้งานระบบ MVNE ระบบ HLR ต้นทุนด้าน IT และค่า Software License ต่างๆ
เป็นต้น จึงเห็นควรปรับเพิ่มอัตรำขั้นสูงที่ 10 บาท สำหรับการแลกเปลี่ยนระยะเวลาใช้งานไม่น้อยกว่ำ 30 วัน

ซึ่งทางสำนักงาน กสทช. เห็นว่าบริษัท สามารถกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดในการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่เกินกว่า 10,000 บาท โดยผู้ให้บริการบางราย เสนอบริกำรแลกเปลี่ยนจำนวนเงินเป็นวันใช้งานในอัตรำแลกเปลี่ยนที่ 2 บาท โดยได้จำนวนวันใช้งานเป็นระยะเวลา 30 วัน อยู่แล้ว


สำหรับความเห็นในประเด็นการนำจำนวนเงิน ส่วนเกินจำนวนเงินคงเหลือสะสมสูงสุดแลกวัน สะสมไว้จนเกินกว่าระยะเวลา 365 วัน หรือเกินกว่าระยะเวลาของใบอนุญาตนั้น สำนักงาน กสทช. ขอชี้แจงว่ำาตามมติที่ประชุม กทค. ครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ ซึ่งเห็นชอบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ ให้บริการโทรคมนาคมในลักษณะที่เรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า ตำมข้อ ๑๑ ของประกาศ กทช. เรื่องมาตราฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ กำหนดว่า “การเติมเงินเข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการทุกครั้ง ให้นับรวมระยะเวลาการใช้งานที่ได้รับกับระยะเวลาที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีระยะเวลาการสะสมวันสูงสุดอย่ำงน้อย 365 วัน ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ให้บริการได้รับอนุญาตระยะเวลาการ

ซึ่งให้มีการกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน เนื่องจากการกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความเสี่ยงเรื่อง
การฟอกเงินหรือช่องทำงกำรทุจริตทางการเงิน อันเป็นกำรคุ้มครองทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลของผู้ให้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดที่เกินกว่า 10,000 บาท มีจำนวนเพียงหลักร้อยราย จึงส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการน้อย และกำรกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดดังกล่ำวเป็นการกำหนด
เพดำนให้ไม่เกิน 10,000 บาท ดังนั้น ผู้ให้บริการสามารถกำหนดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดที่แตกต่างกัน ตามพฤติกรรมกำรใช้งำนของแต่ละกลุ่มลูกค้าได้ตามความเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.