Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

กสทช. เป็นคนให้ AIS และ TRUE ส่งเรื่องให้ คสช. ( ขยายงวดชำระ 5 งวด รวม 120,000 ล้านบาท ) เหตุ กสทช. ไม่มีอำนาจในส่วนนี้


เมื่อเวลา 9.12 น. สถานีวิทยุ Spring Radio FM 98.5 MHz กรุงเทพฯ ได้สัมภาษณ์ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ในกรณีที่บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ( แบรนด์ AIS ) และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( แบรนด์ TRUE H ) ได้ยื่นหนังสือให้กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เพื่อทำการขอผ่อนชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ในงวดที่ 4 โดยแบ่งการชำระเป็น 5 ครั้ง ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้ การที่บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ( แบรนด์ AIS ) และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( แบรนด์ TRUE H ) เหตุผลคือการประมูลครั้งที่แล้วราคาเริ่มต้นของการประมูลเรากำหนดไว้ 16,080 ล้านบาทพอถึงเวลาราคามันดันขึ้น 76,000 ล้านบาทซึ่งตรงนี้เข้าใจว่า 4-5 เท่าจากราคาเริ่มต้นของการประมูล ซึ่งสืบเนื่องจากราคาที่สูงขึ้นมาจากบริษัท แจส โมบาย บอร์ดแบนด์ จำกัด ที่ชนะการประมูลคู่กันกับบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( แบรนด์ TRUE H ) ได้เคาะราคาขึ้นไป แต่หลังจากนั้นบริษัท แจส โมบาย บอร์ดแบนด์ จำกัด ก็เกิดปัญหา โดยการที่ไม่มีเงินชำระค่าประมูล ก็ทำให้ทุกคนมองว่าการที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นขนาดนั้น เป็นการเคาะขอราคาที่แท้จริงน่าจะมาบริษัท แจส โมบาย บอร์ดแบนด์ จำกัด ไม่ได้มาชำระการประมูล จากนั้นจึงมีการประมูลครั้งที่สองอีกโดย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ( แบรนด์ AIS ) รับไปในราคาที่ บริษัท แจส โมบาย บอร์ดแบนด์ จำกัด เป็นผู้ชนะครั้งที่แล้วไป ตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่กังวลใจมากพอสมควรเนื่องจากที่ผ่านมาอย่างกรณีคือ 1800 MHz ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท เมื่อมีการเคาะราคาไป ราคาสุดท้ายตกประมาณ 40,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมากประมาณเท่าตัวเศษ แต่สำหรับคลื่น 900 MHz เพิ่มขึ้นมาเกือบ 5เท่าซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่ก็เข้าใจในกระบวนการทั้งหมด ในขบวนการเคาะราคาของพวกผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการเคาะแข่งขันกันเอง ไม่ได้เกี่ยวกับกสทช.อย่างไร เมื่อจะมีการประมูลในครั้งนี้ปี 2561 ซึ่งเมื่อวานได้มีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ 900 และ 1800 MHz ในส่วนที่สัญญาสัมปทานบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) จะสิ้นสุดลงซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นประเด็นที่บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ( แบรนด์ AIS ) และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( แบรนด์ TRUE ) จะร่วมเข้าประมูลด้วยนั้น เค้ามองว่าการประมูลในครั้งนี้เดินหน้าต่อ จะต้องมีเงินลงทุนในการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ( แบรนด์ AIS ) และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( แบรนด์ TRUE ) บอกว่าเงินที่เข้ามาประมูลในครั้งนี้ในเมื่อจะชำระเงินในพ.ศ. 2562 คนละ 60,000 ล้านบาท จะขอผ่อนผันในส่วนนี้ว่านำเงินเหล่านี้ไปประมูลต่ออีก ( คือปี 2561 ) เพื่อที่จะขยายโครงข่ายในการที่จะทำธุรกิจต่อเนื่องได้ อย่างไรตรงนี้เป็นประเด็นที่ กสทช. กำลังพิจารณา ในขณะนี้ซึ่งบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ( แบรนด์ AIS ) และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( แบรนด์ TRUE ) กำลังสะสมเสบียงทางการเงินตราเพื่อสู้การประมูลในรอบครั้งต่อไปเพราะเนื่องจากว่าถ้าเอาเงินไปทุ่มชำระในปี 2562 จำนวน 60,000 ล้านบาท ทั้งหมดจะมีปัญหาต่อการประมูลคลื่นปี 2561 ซึ่งบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ( แบรนด์ AIS ) และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( แบรนด์ TRUE ) เองจะประมูลได้หรือไม่ได้ อย่างไรก็ต้องเตรียมการในการชำระเงินค่าประมูลในส่วนนั้นโดยการประมูลปี 2561 ในปีนั้นเขาจะต้องชำระค่าประมูลต่อเนื่องในปี 2562 ส่งผลต่อการขอเงินกู้หรือผลตอบแทน ส่งผลต่อธุรกิจซึ่งเป็นสิ่งที่มีเหตุมีผล ซึ่งมาจากเหตุผลหลักคือบริษัท แจสโมบาย บอร์ดแบนด์ จำกัด ด้วย ในการดำเนินการในส่วนนี้ซึ่งอยู่ในกระบวนการที่ต้องก็ชะลอนั้น จะต้องกำหนดความเห็นในการประกอบพิจารณาให้แก่ คณะท่านนายกรัฐมนตรี ในนามของ หัวหน้า คณะคสช. ให้ท่านพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร แต่ทาง กสทช. ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเพื่อให้มีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศให้ได้และเดินหน้าต่อให้ได้ การที่เราจะเข้าสู่สังคมดิจิตอลขนาดนี้ตรงนี้มองว่ามีแนวทาง 1.รัฐจะต้องไม่เสียหาย 2.ผู้ประกอบการจะต้องประกอบธุรกิจต่อไปได้ 3.ประชาชนต้องได้ประโยชน์ ซึ่งตรงนี้ถ้ารัฐเสียหายเหตุผลที่ต้องชะลอหรือแบ่งงวดจ่ายไปก็หมายความว่าจะต้องจ่ายดอกเบี้ยซึ่งทำเหมือนกับ TV Digital อันนี้เป็นทางออกที่ดีที่สุดถ้าอยากจะผ่อนก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย ถ้าไม่ผ่อนก็ต้องจ่ายเต็ม ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กสทช. ในขณะนี้เป็นการเสนอความเห็นในการประกอบการพิจารณา แต่เรามีแนวทางที่ว่ารัฐจะต้องไม่เสียหายกับการที่เราคิดและประชาชนนั้นจะต้องได้ใช้อัตราค่าบริการ เป็นไปตามประกาศของกสทช. ที่กำหนดคือไม่เกิน 69 สตางค์ต่อนาที ตัวผู้ประกอบการจะต้องเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้เพื่อให้สังคมของเราได้ขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งหมด ซึ่งจะต้องรอเข้าบอร์ดก็ กสทช. ในวันที่ 27 ธันวาคม 2560 ซึ่งจะต้องรีบนำเสนอต่อไป เนื่องจากเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่จะประมูลเกิดขึ้นในปีหน้า 2561 ในส่วนการประมูล 900 และ 1800 ต่อไป เมื่อเราได้คำตอบแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว จะทำให้เห็นขบวนการที่จะมีการแข่งขันการประมูลที่เกิดขึ้น บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ( แบรนด์ AIS ) และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( แบรนด์ TRUE ) ได้มีการปรึกษากับกสทช. ซึ่งภายใต้อำนาจกฎหมายของก็กสทช. ที่มีอยู่ขนาดนี้ไม่มีอำนาจเลย ไม่มีอำนาจที่จะขยายเวลาได้แล้ว เพราะการประมูลนั้นได้สิ้นสุดลงไปแล้วเพราะฉะนั้นถ้าเค้าจะปรึกษาให้ไปปรึกษากับทางหัวหน้าคสช. ที่สามารถใช้อำนาจพิเศษกับในส่วนของในส่วนของ กสทช. เองแบบเดียวกับช่อง TV Digital ซึ่งต้องใช้มาตรา 44 โดยผ่าน คสช ซึ่ง กสทช. เองนั้น เมื่อทำเรื่องเพราะโทรคมนาคมแล้วก็ต้องทำเรื่อง TV Digital เสนอไปพร้อมกัน ซึ่งทุกภาคส่วนเองนั้นก็ประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ ก่อนปีใหม่หรือหลังปีใหม่ คิดว่าทางท่านหัวหน้าคสช. จะมอบของขวัญให้กับผู้ประกอบการ TV Digital และผู้ประกอบการโทรคมนาคมให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ภาพจาก กสทช.

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.