Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

TOT ระบุปีหน้า(2561) หลังจาก AIS และ DTAC มาร่วมงานได้กำไรสุทธิเกิน 2000 ลบ.ต่อปีแน่นอน ชี้สัญญา 2300 แก้เพิ่มเพียง TOT ดูแลคลื่นทั้งหมดไม่ใช่ DTAC

นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ทีโอที กล่าวว่า ในปี 2561 ทีโอทีจะกลับมามีกำไรสุทธิประมาณ 2,000 ล้านบาท หากได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจคลื่น 2300 เมกกะเฮิรตซ์ กับ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัทในเครือ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) หรือ ดีแทค ภายในต้นปีหน้า ซึ่งทีโอทีจะเริ่มได้รับรายได้จากสัญญาดังกล่าวภายในสิ้นไตรมาสแรกของปี หรือ หลังจาก 3 เดือนที่เซ็นสัญญา โดยรายได้ที่จะได้รับในปีหน้าอยู่ที่ประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมาจากรายได้ที่ทีโอทีคาดว่าจะเซ็นสัญญาภายในสิ้นปีนี้กับ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวร์ค จำกัด (AWN) ในเครือ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ เอไอเอส ในคลื่น 2100 เมกกะเฮิรตซ์ อีกกว่า 10,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้ประจำของบริการทีโอทีเองแล้ว คาดว่าปีหน้าทีโอทีจะมีรายได้ทั้งหมดอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท คาดว่าจะมีกำไรก่อนหักภาษีและค่าเสือมราคา หรือ EBITDA อยู่ที่ 11,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีนี้ประมาณ 3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดีผลประกอบการในปี 2560 ทีโอทียังคงขาดทุนอยู่ โดยผลประกอบการ 11 เดือนอยู่ที่ 32,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้คือ 34,000 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 26,000 ล้านบาท และมี EBITDA ประมาณ 8,000 ล้านบาท แต่เมื่อนำค่าใช้จ่ายอีก 1 เดือนที่เหลือและหักค่าเสื่อมคาดว่าทีโอทียังขาดทุนแต่ยังไม่สามารถบอกตัวเลขได้ว่าขาดทุนเท่าไหร่ เพราะอยู่ระหว่างการรอตัวเลขค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมอีก 1 เดือนที่เหลือมาคิด ซึ่งผลประกอบการดังกล่าวเป็นผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ทีโอทีขาดทุนลดลง 55 % โดยมาจากการประหยัดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร เช่น การจัดซื้อในราคาถูกลง เป็นต้น “เรามีความหวังว่าการเซ็นสัญญากับเอไอเอสต้องทันภายในปีนี้ เพราะร่างสัญญาต่างๆ ผ่านความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว รอเพียงการนัดวันเซ็นสัญญาเท่านั้น เราจะมีรายได้ที่แน่นอนเดือนละ 325 ล้านบาท ส่วนร่างสัญญาที่ทำกับดีแทคกำลังอยู่ระหว่างรอความเห็นชอบจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าภายในต้นปีจะสามารถเซ็นสัญญาได้ " นายมนต์ชัย กล่าว นายมนต์ชัย กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการเน็ตประชารัฐ ทีโอทีได้ติดตั้งครบทั้ง 24,700 หมู่บ้านแล้วในวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยทีโอทีจะสามารถมีรายได้จากการบำรุงรักษาโครงข่ายหลังจากติดตั้งโครงข่ายครบ 1 ปี ซึ่งก่อนหน้านั้นทีโอทีได้ทยอยติดตั้งโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงข่ายแรกที่ติดตั้งจะครบ 1 ปี ประมาณกลางปีหน้า นอกจากนี้ทีโอทียังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้จากบริการ ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ รวมถึงแอปพลิเคชั่นบนโครงข่ายเน็ตประชารัฐได้ ส่วนเรื่องการตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมให้บริการเข้าสู่ครัวเรือนประชาชนหรือไม่นั้น ตนมองว่าราคาที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กำหนดที่ 349 บาทต่อเดือนนั้น เป็นราคาที่ต่ำเกินไป เพราะแม้ว่ากระทรวงจะเป็นผู้ลงทุนโครงข่ายจากเมืองสู่พื้นที่ที่หางไกลก็ตาม แต่อย่าลืมว่าเอกชนก็มีต้นทุนของโครงข่ายที่อยู่ในเมืองด้วย ดังนั้นหากทีโอทีจะเข้าร่วมโครงการก็ต้องมองหาวิธีการลดต้นทุนบางอย่างเพื่อให้สามารถให้บริการกับประชาชนได้ ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ร่างสัญญาคลื่น 2300 เมกกะเฮิรตซ์ ระหว่างทีโอที และ ดีแทคนั้น ไม่ได้ผิดกฎหมาย สามารถทำได้ เพียงแต่กสทช.ต้องการให้เขียนให้ชัดเจนว่าทีโอทีต้องเป็นผู้ดูแลทั้งหมดไม่ใช่ดีแทคดูแล ส่วนทีโอทีจะแก้ร่างสัญญาแล้วส่งให้อัยการใหม่ หรือ ทำไปเลยหากอัยการตอบกลับร่างสัญญาว่าผ่านแล้ว แล้วจึงค่อยทำเอกสารเพิ่มเติมชี้แจงให้ชัดเจนตามที่กสทช.แนะนำก็ทำได้ อยู่ที่ว่าทีโอทีกล้าหรือไม่ เหมือนกรณีของสัญญาบีเอฟเคทีกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ทำเมื่อครั้งที่ผ่านมา ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ส่วนสาเหตุที่วาระเรื่องนี้ถูกเลื่อนเข้าที่ประชุมนั้น เนื่องจากสำนักงานยังทำเอกสารไม่เรียบร้อย และก็คาดว่าการประชุมคณะกรรมการกสทช.ในวันที่ 27 ธ.ค.ที่จะถึงนี้วาระดังกล่าวก็ยังไม่เข้าที่ประชุมอยู่ดี สำหรับผลการดำเนินงานตามแผนงาน ทีโอที ได้ดำเนินการปรับแผนแก้ไขปัญหาองค์กรประจำปี 2560 ให้สอดคล้องกับนโยบายของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โดยมีผลการดำเนินงานตามแผนฯ ดังนี้ 1) โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบหมายให้ ทีโอที ทำการแทน ในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสื่อสัญญาณสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (FTTx) ไปยังหมู่บ้านทั่วประเทศที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจำนวน 24,7000 หมู่บ้านภายในเดือนธันวาคม 2560 แบ่งเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13,468 หมู่บ้าน ภาคเหนือ 4,416 หมู่บ้าน ภาคใต้ 3,097 หมู่บ้าน ภาคกลาง 2,084 หมู่บ้าน ภาคตะวันออก 1,554 หมู่บ้าน และกรุงเทพฯ และปริมณฑล 81 หมู่บ้าน โดย ณ 20 ธันวาคม 2560 ทีโอที ได้ดำเนินการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงครบทั้ง 24,700 หมู่บ้าน ซึ่งสามารถดำเนินการได้เป็นไปตามเป้าหมายทั้งจำนวนการติดตั้งและภายในระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนด อันเกิดจากความทุ่มเทร่วมแรงร่วมใจของพนักงาน ทีโอที ทั่วประเทศ 2) พันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2100 MHz และบริการบรอดแบนด์ไร้สาย 2300 MHz ทีโอที มีรายได้เดือนละประมาณ 325 ล้านบาท จากลงนามสัญญาทดสอบการใช้บริการข้ามโครงข่ายเชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz ระหว่าง ทีโอที กับ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลสเน็ทเวอร์ค จำกัด โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 อัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาหลักทั้ง 2 ฉบับเสร็จแล้ว และปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการเพื่อลงนามในสัญญาหลัก โดยแผนให้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย 2300 MHz อยู่ระหว่างรอความเห็น/ข้อสังเกตในประเด็นของร่างสัญญาฯ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) ความคืบหน้าบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด (NBN Co.) ทีโอที ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท NBN 22 สิงหาคม 2560 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 โดยบริษัท NBN ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 สำหรับการโอนย้ายทรัพย์สินและพนักงาน ขณะนี้ ทีโอที อยู่ระหว่างปรับปรุงแผนการดำเนินงาน การโอนย้ายทรัพย์สินและพนักงาน สำหรับแผนการดำเนินงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินของ ทีโอที และ กสท.โทรคมนาคม เพื่อการจัดตั้งบริษัท NBN อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของผลการศึกษา โดยคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 มีมติให้ ทีโอที และ กสท. โทรคมนาคม ดำเนินการโอนทรัพย์สินไปบริษัท NBN และ NGDC ให้แล้วเสร็จภายใน มีนาคม 2561 4) แผนจัดตั้ง Service Co. อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางจัดตั้ง Service Co ทั้งนี้การจัดตั้งบริษัทจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดย ทีโอที จะปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้มีความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลงตามกลไกของตลาด ในส่วนของทิศทางการดำเนินงานในปี 2561 จากการประมาณ ทีโอที คาดว่าจะกลับมามีกำไรสุทธิประมาณ 2,000 ล้านบาท เนื่องจากการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์/แผนธุรกิจ พ.ศ. 2561-2565 โดยคาดว่า ทีโอที มี EBITDA ประมาณ 11,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ประมาณ 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะเป็นรายได้จากพันธมิตร รวมถึง ทีโอที ได้เร่งผลักดันผลประกอบการขององค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อให้มีสภาพคล่องและฐานะการเงินที่เข้มแข็งมากขึ้น และสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแผนพัฒนาองค์กรระยะยาว 10 ปี พ.ศ. 2561-2570 และแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2561-2565 ดังนี้ - การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงการใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการพัฒนาธุรกิจในการให้บริการบรอดแบนด์ประจำที่ทางสายผ่านเคเบิ้ลใยแก้วน้ำแสง และบริการไร้สายบนคลื่นความถี่ 2100 MHz และ 2300 MHz ซึ่ง ทีโอที ดำเนินการเอง (Upside) - สร้างมูลค่าเพิ่มจากบริการ Cyber Security และต่อยอดเพื่อให้บริการแอปลิเคชั่น (Application Service) บนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (เน็ตประชารัฐ) รวมทั้งบริการเพื่อสังคมอย่างทั่วถึง - การนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาพัฒนาและใช้ให้เกิดประโยชน์ และลดการลงทุนซ้ำซ้อนของประเทศ ทั้งการให้บริการท่อร้อยสาย ซึ่ง ทีโอที มีความได้เปรียบในโครงข่ายท่อร้อยสายครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมถึงความชำนาญด้านบุคลากรในการให้บริการ และการสร้างรายได้เพิ่มจากที่ดินและอาคารที่มีศักยภาพ เช่น คลองเตย และที่ดินที่ได้ไถ่ถอนจากกรมสรรพกร 3 แปลง คือ ศาลาธรรมสพน์ ตลิ่งชัน ชุมสายประเวศ โดย ทีโอที จะพิจารณาความเหมาะสมศักยภาพ และความเป็นไปได้ในการพัฒนา ให้สอดคล้องกับธุรกิจในอนาคต - ที่สำคัญปี 2561 ทีโอที ได้เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นให้แต่ละหน่วยธุรกิจ (BU) บริหารจัดการและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำลง เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนบริการบรอดแบนด์ ซึ่งเป็นผลจากการจัดตั้ง NBN Co และ Service Co และยกเลิกโครงข่าย PSTN บริการโทรศัพท์ประจำ ซึ่งเป็นข่ายสายทองแดง และอุปกรณ์ชุมสาย Stored Program Control (SPC) ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 25 ปี และปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้ยกเลิกการผลิตแล้ว รวมถึงในหลายประเทศได้กำหนดที่จะทำการยกเลิกการใช้โครงข่าย PSTN - นอกจากนี้ ทีโอที ได้เพิ่มความเข้มข้นในการทำตลาดผ่าน Digital Marketing และ Social Media ให้มากขึ้นตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่หันมาใช้สื่อออนไลน์ ทั้งในด้านการค้นหาข้อมูลสินค้าบริการ และการช็อปปิ้งออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งลูกค้าผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าถึงบริการของ ทีโอที ได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชม. รวมถึงการพัฒนาระบบการชำระค่าบริการผ่าน QR Code โดยการติดตั้งและลงทะเบียนใช้งานแอพพลิเคชั่น TOT easy life คลิกเลือกเมนู “สแกนเพื่อจ่ายบิล”บนใบแจ้งค่าใช้บริการ จากนั้นจะเข้าสู่ระบบ TOT e-service ซึ่งสามารถเลือกวิธีชำระค่าใช้บริการผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัญชีเงินฝากธนาคารได้ตามการใช้งาน - สำหรับปี 2561 ทีโอที ได้ปรับวิสัยทัศน์ขององค์กรสู่การเป็น “ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและดิจิทัลชั้นนำของประเทศ” โดยมีค่านิยม (IOT) ที่นำไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว คือ I-nnovation สรรค์สร้างนวัตกรรม O-peration Excellence ทำงานมุ่งความเป็นเลิศ และ T-ransparency & Integrity ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ TOT

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.