Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

กสทช. เปิดช่องมาตรการเยียวยา DTAC หากการประมูลช้าปี 2561 ชี้ประเด็นขยายจำนวนงวดชำระ AIS TRUE เพื่อให้เอาสภาพคล่องมาประมูลปี 2561



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช ได้ให้สัมภาษณ์ในรายงานเจาะลึกทั่วไทย tonight ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2561 ระบุ สำหรับผู้ประกอบการทางด้านโทรคมนาคมที่ประมูลคลื่น 900 ต่างรับทราบว่าราคาการประมูลสูงมาก
โดยผู้ได้ใบอนุญาตคือ กรณีของ TRUE ราคาการประมูล 76,000 ล้านบาท กรณีของ AIS ราคาการประมูล 75,000 ล้านบาท

สำหรับงวดนี้ต้องชำระเงินครั้งเดียวครั้งที่ 4 TRUE จะต้องจ่ายเงินประมาณ 60,000 ล้านบาท สำหรับกรณี AIS ต้องจ่ายเงิน 59,000 ล้านบาท นี่คือกรณีงวดสุดท้าย ซึ่งจะต้องจ่ายภายในปี 2562 ดังนั้น ทั้งสองค่ายจึงได้ทำหนังสือไปยัง คสช. ขอความช่วยเหลือไป เนื่องจากการดำเนินการในขนาดนั้น เป็นกรณีที่ JAS ได้ทิ้งการประมูลไป

ดังนั้นเหตุผลที่ JAS ทิ้งราคาการประมูลไป จึงทำให้ AIS TRUE มองว่าการประมูลในครั้งนั้นเป็นการประมูลที่ไม่สะท้อนต่อราคาที่แท้จริง

ซึ่งทาง AIS TRUE ยอมรับว่าเมื่อพวกเขาเลือกที่จะประมูลก็ต้องยอมรับในผลนั้น แต่ขอให้รัฐช่วยเหลือโดยขอให้รัฐ ขยายงวดการชำระออกไปบ้าง

เพื่อให้เขาได้นำเงินไปร่วมการประมูลคลื่นที่กำลังจะมีการประมูลใหม่ 2561 นั่นคือขึ้น 1800 เมกะเฮิรตซ์

ซึ่งจะเกิดขึ้นในการประมูลปีนี้ ให้พวกเขาสามารถนำเงินไปขยายโครงข่ายและลงทุนด้านบริการให้แก่ประชาชน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ AIS TRUE ได้เสนอแก่รัฐบาลคสช.เข้าไป

ท่านรองวิษณุ ได้มีการเรียกประชุมให้ทั้ง AIS TRUE เสนอแนวทาง ซึ่งเป็นในทิศทางเดียวกันทั้งหมดคือ ถ้าจะขยายงวดการชำระเงินก็จะขยายให้ แต่ต้องชำระดอกเบี้ยตามนโยบายดอกเบี้ยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่ได้ทำให้รัฐเสียหาย

ถ้าอยากจะขยายทาง กสทช. จะทำเรื่องขยายให้ซึ่งทาง กสทช. จะต้องมาดูรายละเอียดว่าจะขยายไปอีกกี่ปี

ขอเรียนให้ทราบว่างวดที่จะต้องมีการชำระเงิน ตัวผู้ประกอบการทางด้านโทรคมนาคมอยากจะขอขยายให้เท่ากับใบอนุญาตของ AIS TRUE อายุใบอนุญาตคือ 15 ปี ขนาดนี้ชำระมาแล้ว 3 ปี จึงอยากให้ขยายเป็น 12 ปีในการชำระงวดโดยเอา 12 ปีหารด้วยจำนวนมูลค่าที่ยังไม่ได้ชำระให้แก่รัฐบาล นั่นคือจำนวน 60,000 ล้าน จะชำระต่อปีคือปีละ 5000 ล้านบาท

แต่ทางก็ กสทช. ได้มีมติร่วมกันแล้วถึงเงื่อนไขในใบอนุญาตที่ออกให้นั้นคือจำนวน 15 ปี แต่การขยายระยะเวลาให้ AIS TRUE นั้นเป็นจำนวนงวดชำระเงินซึ่งทั่วโลกทำกันคือ จะต้องชำระครึ่งหนึ่งหรือไม่เกินครึ่งหนึ่งของอายุใบอนุญาต คือ 7ปี หรือ 8ปี ดังนั้นแล้วจึงขอให้ขยายเพียงแค่ 5 งวดชำระเท่านั้น โดยเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 ปีที่ได้มีการชำระมาแล้ว รวมเป็นทั้งหมด 8 ปี

ดังนั้น 5 ปีที่จะต้องจ่ายจะคำนวณโดยการเอาไปหารกับจำนวน 60,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องชำระอยู่ที่ประมาณ 12,000 ล้านบาท บวก การชำระอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

นั่นหมายความว่าเริ่มปีที่ 1 ของ 5 งวดใหม่ เป็นปี 2562 จะต้องมีการชำระงวดที่ 4 จำนวน 12,000 ล้านบาท + ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

เริ่มปีที่ 2 ของ 5 งวดใหม่ ปี 2563 จะต้องมีการชำระงวดที่ 5 จำนวน 12,000 ล้านบาท + ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

ซึ่งจะต้องการชำระดังกล่าวนั้นจะชำระไปอีกถึงปี 2566

สำหรับการดำเนินการขยายงวดการชำระเงินครั้งนี้เป็นการดำเนินการในเรื่องกรณีเฉพาะเหตุ เนื่องจาก JAS ได้ทิ้งการประมูลใบอนุญาตการประมูลไป และ JAS ก็ไม่ได้นำเงินมาจ่าย ทำให้้ผู้ประมูลบางรายราคาได้ติดดอยไปแล้ว หรือราคาเขาสูงมาก ซึ่งไม่ได้หมายความว่า AIS TRUE จะไม่จ่าย ถ้าผู้ประกอบการที่ไม่ได้ทิ้งใบอนุญาตไป ( JAS) ราคาดังกล่าวจะเป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนจริงเมื่อ JAS ได้ทิ้งใบอนุญาตไปทำให้เป็นเหตุที่ผู้ประกอบการรายอื่น AIS TRUE มีคำถามทำไมต้องแบกรับภาระต้นทุนนี้

นอกจากนั้นจะมีการเสียเปรียบได้เปรียบทางธุรกิจโทรคมนาคมหรือเปล่าเงื่อนไขในครั้งนี้ ถ้าคสช. อนุญาตให้ขยายงวดชำระใบอนุญาตครั้งนี้เป็น 8 ปีจะไปปรากฏในการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ก็จะทำให้แบ่งชำระค่างวดประมูลเช่นเดียวกับที่คสช. เนื่องจากได้สร้างบรรทัดฐานไว้ ดังนั้นจึงไม่ได้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันอย่างแน่นอน

สำหรับการแข่งขันนั้น เมื่อมีการประมูลแล้วมีการแข่งขันประชาชนก็จะได้ประโยชน์

หากว่าการประมูลครั้งใหม่ ปี 2561 เกิด AIS TRUE ไม่เข้าร่วมการประมูลจะมีผู้ประกอบการเพียงหนึ่งถึงสองรายประมูลเท่านั้น

เหตุการณ์ดังกล่าวนี้จะเหมือนกับการเกิดขึ้นการประมูลครั้งที่ผ่านมา ( MAGAWN19 ขออนุญาตคือการประมูลคลื่น 2100 ) ซึ่งบางคลื่นปล่อยให้มีการแข่งขันโดยไม่มีการเคาะราคาการประมูลราคาที่แท้จริง จะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร. ทาง กสทช.และหน่วยงานต่างๆที่เข้าร่วมประชุม รวมถึงท่านรองนายกฯวิษณุ ร่วมประชุมด้วยนั้น ทางเราได้ชี้แจงอย่างมีเหตุมีผลและมีความเป็นธรรม ซึ่งเป็นความยุติธรรมทุกภาคส่วน

การประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่จะมีการประมูลในปี 2561 หรือปี 2562 อย่างแน่นอน ซึ่งปีนี้ 2561 จะมีการเปิดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์และคลื่นย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ที่จะสิ้นสุดสัมปทานลงในวันที่ 30 กันยายน 2561

ขณะนี้ผ่านขั้นตอนในการทำหลักเกณฑ์ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วเพียงแต่รอความเห็นของกฤษฎีกาว่าอำนาจของ กสทช. ในการดำเนินการในช่วงที่รักษาการอยู่นั้น มีอำนาจที่จะออกกฎเกณฑ์ในการประมูลขึ้นดังกล่าวได้หรือไม่

ถ้าเกิดว่ายังไม่มีกฤษฎีกาตอบมาว่าอยู่ในอำนาจ ที่จะดำเนินการได้ กสทช. เองจะได้เดินหน้านำร่างประกาศนี้ไปยังราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไปซึ่งใน

วันนี้เจ้าหน้าที่ทางสำนักงาน กสทช. เองได้ไปชี้แจงกับสำนักงานกฤษฎีกาแล้วให้ทางสำนักงานกฤษฎีกาได้มีคำตอบต่อ กสทช. ก่อน

ซึ่งหากสำนักงานกฤษฎีกามีคำตอบว่า กสทช. สามารถดำเนินการได้นั้นจะทำให้สามารถประมูลได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 และให้ใบอนุญาตในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน 2561 หรือช้าสุดต้องไม่เกิน 15 กันยายน 2561 ซึ่งจะทำให้ทุกคนไม่เข้าสู่กระบวนการเยียวยา ซึ่งหากใครที่ประมูลได้นั้นลูกค้าก็จะได้ย้ายไปยังผู้ให้บริการที่มีคลื่นความถี่ของและโครงข่ายที่ลูกค้าต้องการ

ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ 15 มีนาคม 2561 สามารถประมูลได้ทันในเดือนเมษายน 2561 เนื่องจากหลักเกณฑ์การประมูลได้เสร็จแล้วเพียงแต่รอคำตอบจากสำนักงานกฤษฎีกา จะให้คำตอบลงมาเท่านั้น

ซึ่งขณะนี้ทุกอย่างพร้อมแล้ว 100% ซึ่งเปิดรับฟังความคิดเห็นไปแล้วและมีมติการประชุมของ กสทช. เรียบร้อย เพื่อป้องกันการฟ้องในปี 2553 ที่ผ่านมา

หากสำนักงานกฤษฎีกาบอกว่าต้องรอ กสทช. ชุดใหม่นั้นก็ต้องเริ่มต้นจากการสรรหาทั้งหมดใหม่

จึงจะเริ่มมีการประมูลได้ กสทช. ชุดใหม่สามารถหยิบร่างการประมูลจาก กสทช. ชุดเดิมหากเห็นชอบด้วยนั้นก็ส่งเรื่องไปยังประกาศราชกิจจานุเบกษาก็สามารถประมูลได้ทันที

ซึ่งการประมูลดังกล่าวจะทำให้เกิดความล่าช้าไปอีก 2 ถึง 3 เดือนก็จะเข้าสู่มาตรการในการเยียวยาอีก 2 ถึง 3 เดือน ก็ไม่ทำให้ภาครัฐเกิดความเสียหายอย่างอะไร

เงื่อนไขที่ก็ กสทช. ชุดใหม่จะต้องมาในเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน 2561

แต่หากเกิดอุบัติเหตุแล้วต้องนับหนึ่งใหม่ในกระบวนการสรรหาก็จะต้องใช้อำนาจในปัจจุบันในการดำเนินงานได้ต่อไป ซึ่งขนาดนี้ไม่มีเหตุอะไรที่จะทำให้ กสทช. ชุดเดิม หลุดออกจากตำแหน่งโดยที่ไม่มี กสทช. ท่านใหม่เข้ามาทดแทน

ในขนาดนั้นทุกคนได้ค่อนข้างประหลาดใจในการประมูลที่ผ่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ผ่านมา ซึ่งราคาเริ่มต้นเพียง 16,000 กว่าล้านบาทเมื่อสู้กันแล้ว AIS TRUE ได้ราคาประมาณ 39,000 ล้านบาท อีกใบอนุญาตหนึ่งได้ราคาที่ราคา 40,000 ล้านบาท ซึ่งราคากระโดดไปไกลแม้ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 16,000 กว่าล้านบาท

ซึ่งการประมูลขึ้น 900 ที่ผ่านมา ราคาเริ่มต้น 12,000 ล้านบาท แต่ราคากระโดดไปที่ 76,000 ล้านบาทและอีกเจ้าที่ 75,000 กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นผลงานของสำนักงาน กสทช. ที่มีการประมูลโปร่งใสที่สุดในรอบ 100 ปี

JAS มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมประมูลครั้งใหม่ เนื่องจากครั้งที่ผ่านมา กสทช. ได้ยึดเงินหลักประกันและได้มีการปรับตามเงื่อนไขไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อ กสทช. มีคำสั่งทางปกครองไปแล้ว ๋JAS นำเงินมาชำระครบทั้งหมดซึ่งในระเบียบพัสดุเราก็อนุญาตให้เขาเป็นผู้ประมูลได้เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้วเกินหนึ่งปี

ซึ่ง JASได้ชำระเป็นจำนวนเงินสูงถึง 800 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้วสรุปในครั้งนั้นการประมูลคลื่น 900 ที่ผ่านมาใบนึงมีมูลราคา 76,000 ล้านบาทและ 75,000 ล้านบาทบวกกับ 800 ล้านบาทซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐได้เงินเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.