Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

ALT เตรียมเข้าไปรื้อถอนมิเตอร์เดิมและติดตั้งใหม่ที่พัทยา Smart Meter 116,000 ตัว ให้บริการระบบโทรคมนาคมในตัว



นางปรีญาภรณ์ ตั้งเผ่าศักดิ์ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. เอแอลที เทเลคอม (ALT) เปิดเผยว่า บริษัทได้งานโครงการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี มูลค่าโครงการกว่า 700 ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่างานในมือ (Backlog) ปัจจุบันพุ่งขึ้นเป็น 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้เป็นรายได้ในปีนี้ประมาณ 40%

ทั้งนี้ ALT เตรียมเข้าไปรื้อถอนมิเตอร์เดิม และติดตั้ง Smart Meter จำนวนกว่า 116,000 ตัวและอุปกรณ์ประกอบ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี, ติดตั้งระบบ Head-End ระบบบริหารจัดการข้อมูลการอ่านมิเตอร์ (Meter Data Management System: MDMS) และติดตั้งระบบแก้ไขปัญหาไฟฟ้าขัดข้องอัจฉริยะแบบเคลื่อนที่ (Mobile Workforce Management System) พร้อมติดตั้งระบบ Backup ของงาน (Disaster Recovery Center) โดยระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี

"ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้มีความทันสมัย รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าตามผลการวิเคราะห์และประมวลผลของซอฟต์แวร์ ทำให้ผู้ใช้บริการเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับและสามารถตระหนักในความสำคัญของ การลดพลังงานและใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพอย่างมาก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้พันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษโดยตรง ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะชั้นนำของโลก จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบงานได้ทันตามกำหนดแน่นอน" นางปรีญาภรณ์ กล่าว

นางปรีญาภรณ์ กล่าวว่า บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้ปีนี้เติบโตมากกว่าปีก่อน เนื่องจากมีปริมาณงานในมืออยู่ที่ 1,200 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 1/61 เป็นต้นไป ประกอบกับมีรายได้ประจำ (Recurring income) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน และยังคงเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่ๆ อยู่จำนวนหลายโครงการอีกด้วย

อนึ่ง ประโยชน์ของระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คือ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ มีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Meter) และระบบสื่อสารสัญญาณต่างๆติดตามตำแหน่งของผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อทราบข้อมูลในการใช้เวลาจริง (Real Time) อีกด้วย นอกจากนี้ ระบบสายส่งไฟฟ้าสมัยใหม่ยังมีการทำงานเป็นระบบโทรคมนาคมไปพร้อมกันด้วย คือ มีการส่งสัญญาณข้อมูลดิจิตอลมาในสายส่งพร้อมกับกำลังไฟฟ้า เรียกระบบนี้ว่า ระบบสื่อสารในสายสาธารณะ (Public Line Communication System : PLC) ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถรับภาพโทรทัศน์ หรือเสียงวิทยุโดยไม่จำเป็นต้องใช้สายอากาศ และสามารถใช้อินเทอร์เน็ตโดยไร้สาย นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้ ทำให้ผู้ใช้บริการไฟฟ้า รู้ถึงสภาวะการใช้ไฟฟ้าตามเวลาจริง และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบค่าไฟฟ้าได้ตามเวลาจริง จะสามารถช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้ถึง10-15%

สำหรับผู้ให้บริการไฟฟ้า สามารถบริหารจัดการภาระกำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้โหลด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำการซื้อขายไฟฟ้าได้ และสามารถตรวจสอบตำแหน่งที่มีความผิดพร่องทางไฟฟ้า (Fault) ได้ในทันทีที่เกิดเหตุ

ในส่วนผู้ผลิตไฟฟ้า สามารถชะลอการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ สามารถใช้ผสมผสานแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแบบดั้งเดิมเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เป็นพลังงานทดแทนเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ชีวมวล เป็นต้นได้ และควบคุมคุณภาพทางไฟฟ้าให้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและยอมรับได้

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.