Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

แหล่งข่าวเชื่อ AIS และ dtac ส่ง 4 บริษัทเข้าประมูลยังคงดำเนินการได้ กวาด 1800 MHz ครบ 3 ใบอนุญาต แม้ TRUE ถอนตัว

**** บทความเชิงวิเคราะห์จากแหล่งข่าวส่วนตัวเท่านั้น. ทุกอย่างต้องรอคำตอบจาก กสทช. อย่างเป็นทางการ

แหล่งข่าววงการโทรคมนาคมที่ได้รับ @MAGAWN19 ยังคงยื่นยันว่าการปะมูลครั้งนี้มีความเป็นไปสูงที่ยังล้มแม้ว่า บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จํากัด (TUC)  ได้ยอนตัวไปแต่ยังมีอีก 4 บริษัทที่พร้อมเข้าร่วมประมูล ได้แก่

1. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) (AIS)
2. บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด (AWN)

3. บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด (DTN)
4. บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จํากัด (DBB)




ซึ่งแหล่งข่าวยังคงยืนยันในทางกฏหมายสามารถดำเนินการได้ เนื่องจากกฏหมายทางราชกิจจานุเบกษาออกแบบคล้ายกับด้านดิจิตอลทีวี

- สำหรับกิจการโทรคมนาคม ซึ่งมีรายละเอียดคือ หมวด ๒ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ตรงกับข้อ ๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่
กําหนดไว้ในข้อ ๓ ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม

(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย และต้องมิใช่คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องกําหนดข้อห้ามตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดข้อห้ามการกระทําที่มีลักษณะ เป็นการครอบงํากิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๕ พร้อมคํารับรองซึ่งลงนามโดยผู้มีอํานาจลงนาม
ผูกพันนิติบุคคล ว่าจะไม่ดําเนินการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อข้อห้ามดังกล่าว ภายหลังการประมูล กรณีผู้รับใบอนุญาตมีการกระทําอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว ให้ดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดข้อห้ามการกระทําที่มีลักษณะเป็นการครอบงํากิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๕


ลักษณะการประมูลดังกล่าวคล้ายกับการ การที่เครือ Nation ส่ง  บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด (เครือเนชั่น) ปัจจุบันเป็นช่อง Nation 22 และ บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (เครือเนชั่น) ปัจจุบันเป็นช่อง NOW 26

หรือ เครือ GMM ส่ง บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด ปัจจุบันเป็นช่อง ONE 31 และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด ปัจจุบันเป็นช่อง GMM24

สำหรับกรณี DTAC ได้ส่ง 2 บรัท ทั้ง บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด (DTN) เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการประมูล2100 ( เป็นผู้ชนะ ) และ 1800,900 และ บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จํากัด (DBB) มีประสบการณ์ในการให้บริการ Wi-Fi by Dtac

ซึ่งกรณีนี้ต้องเอาคลื่น 1800 MHz เพื่อให้ตนเองอยู้รอดถึงปี 2576 ป้องกันการหมดใบอนุญาต 2100 MHz และการร่วมมือ TOT 2300 MHz ที่จะหมดในปี2568




สำหรับ AIS ซึ่งที่ผ่านมา AIS นำทีมโดย บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด มีบทบาทสำคัญในการประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2100 และ 1800 , 900 ซึ่งครั้งนี้ ซึ่งครั้งนี้มีความพิเศษที่  บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) (AIS) มายื่นรับเอกสารด้วยตัวเอง ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทนี้ได้ผ่านงานคุมสัมปทาน TOT สมัยใช้คลื่น 900 MHz ตอนหลังได้แปลงตัวเองเป็นผู้ดูแลบริษัทลูกในเครือ

ซึ่งเท่ากับว่า บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) (AIS)  ได้สร้างอัตลักษณะการมีตัวตนว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่จะเข้าร่วมประมูล ซึ่งนับถึงวันนี้ บอร์ด AIS ยังไม่มีการยกเลิกการส่ง 2 บริษัทเข้าประมูล ( ซึ่งต้องรอการเคาะของบอร์ดภายในสัปดาห์นี้ )

ที่ผ่านมา AIS ได้เคยให้ให้สัมภาษณ์ ในหนังสือพิมม์ไทยรัฐ หน้าใหญ่ ซึ่งจะเห็นกรณีนี้ไม่กี่ครั้งที่ CEO ของบริษัทจะออกมาให้สัมภาษณ์แบบเจาะจง " AIS ปูทางยกคลื่น 1800 ให้ DTAC หลังหมดสัมปทานเพื่อให้ต้นทุนเท่ากันทั้ง 3 ค่าย เพราะ AIS TRUE ไม่ประมูล ส่วน 2600 MCOT กอดจนจบ​"

ซึ่งคุณนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC ) ได้ระบุ ส่วนเรื่องการประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่นั้น นายสมชัย ให้ความเห็นว่า ควรรอคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ชุดใหม่เข้ามาจัดการเพื่อความเหมาะสม และคาดว่าจะไม่มีการประมูลในช่วง 1-2 ปี โดยการประมูลคลื่น 900 และ 1800 MHz คงเลื่อนการประมูลออกไปก่อน และอาจจะใช้สิทธิพิเศษเพื่อให้ DTAC ได้คลื่น 1800MHz นำไปใช้หลังหมดอายุสัมปทานใน ก.ย.61 เพราะเอไอเอสกับทรูไม่เข้า ประมูล

"ทุกคนมีต้นทุนเท่ากันแล้วและหลังจากนั้นก็มารีเซ็ทใหม่ และอาจจะคาดว่าในปีนี้จะไม่มีการประมูลอะไรเลย...ผมมองว่าบอร์ดกสทช.ชุดใหม่น่าจะเป็นผู้ดำเนินการประมูลอีกดีกว่า และเชื่อว่าในช่วงสองปีก็ยังไม่มีอะไร พอปี 63 เราก็จะมีภาระจ่ายค่าไลเซ่นส์งวดที่ 4 ของคลื่น 900MHz"นายสมชัย กล่าว

http://www.magawn19.com/2018/02/ais-1800-dtac-3-ais-true-2600-mcot.html




ซึ่งการที่ AIS ส่งบริษัท 2 ครั้งไปร่วมประมูล 1800 MHz ครั้งนี้เมื่อได้ร่วมกับ DTAC อีก 2 บริษัท จะทำให้กฏ N-1 ครบทันทีและสามารถทำให้ DTAC ได้รับใบอนุญาต 1800 MHz ได้ถึง 2 ใบ และ AIS ได้อีก 1 ใบ

ซึ่งจะทำให้ AIS และ DTAC สามารถทำ 4G บน MHz ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 30 MHz

นอกจากนี้หากเป็นสมการ 4 ผู้เล่นจาก 2 บริษัท การขยับของราคาคงไม่สูงมากจากราคาขั้นต้น 37,457 ล้านบาท

หาก AIS ประกาศไม่เข้าร่วมก็จะเหลือ 2 บริษัทของDTAC เข้าร่วมประมูลแทน

ซึ่งแหล่งข่าวระบุชัดว่า AIS มีความประสงค์ให้เพื่อรักษาสมดุลทางการตลาดและป้องกันสงครามราคาในอนาคต เพื่อให้ทุกคนมีต้นทุนที่เท่ากัน

*** ข่าวนี้เป็นข่าววิเคราะห์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.