Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

ทริสเรทติ้ง คงอันดับเครดิต DTAC ที่ระดับ "AA+" คลื่นความถี่ 2.3 GHz เพื่อใช้งานเพิ่มเติมนั้นจะช่วยลดแรงกดดันให้แก่บริษัทในการประมูลคลื่นความถี่ในครั้งต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ




บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัดคงอันดับเครดิตองค์กรของบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ที่ระดับ "AA+" ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต "Negative" หรือ "ลบ" อันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงสถานะทางการตลาดของบริษัทในฐานะผู้ประกอบธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ของประเทศ ตลอดจนความกังวลที่ผ่อนคลายลงในเรื่องข้อจำกัดของคลื่นความถี่ที่ถือครองหลังจากที่บริษัทได้ลงนามในสัญญากับบมจ.ทีโอที ในการใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิร์ทซ์ (Gigahertz -- GHz)  และสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งจากความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เข้มแข็งและสภาพคล่องที่เพียงพอ นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังมีปัจจัยเสริมจากการที่บริษัทได้รับการสนับสนุนจาก Telenor ASA (Telenor) ด้วย



ในการพิจารณาอันดับเครดิตยังคำนึงถึงสถานะทางธุรกิจของบริษัทที่เผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรงและสถานะทางการเงินที่อาจจะอ่อนแอลงจากการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อให้มีปริมาณคลื่นความถี่ที่เพียงพอรวมทั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพโครงข่ายอีกด้วยเช่นกัน

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต
ความกดดันเรื่องคลื่นความถี่ที่ผ่อนคลายลง
บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นทั้งหมดได้ลงนามในสัญญาเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัททีโอทีซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD (Long Term Evolution-Time Division Duplex) (เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วยความเร็วสูง) บนคลื่นความถี่ (Spectrum) 2.3 GHz ขนาด 60 เมกะเฮิร์ทซ์ (Megahertz -- MHz)  โดยบริษัทดีแทค ไตรเน็ต จะจ่ายเงินให้แก่บริษัททีโอทีจำนวน 4,510 ล้านบาทต่อปีเพื่อใช้งานในสัดส่วน 60% ของจำนวนความจุคลื่น

การทำสัญญากับบริษัททีโอทีช่วยลดความกังวลในเรื่องของจำนวนคลื่นความถี่ที่จำกัดเนื่องจากคลื่นความถี่ 850 MHz และ 1.8 GHz ขนาด 35 MHz ภายใต้สัญญาสัมปทานจะหมดอายุลงในเดือนกันยายน 2561 ที่จะถึงนี้ การลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรกับบริษัททีโอทีส่งผลทำให้สถานะในการถือครองคลื่นความถี่ของบริษัทเข้มแข็งยิ่งขึ้นและมีปริมาณเพียงพอต่อการรองรับอุปสงค์การใช้งานด้านข้อมูลที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าได้

ทั้งนี้ หน่วยงานกำกับมีความตั้งใจที่จะจัดการประมูลคลื่นความถี่ 1.8 GHz ก่อนที่สัญญาสัมปทานของบริษัทจะหมดอายุลง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามแผนยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะเข้าร่วมการประมูลเพื่อให้ได้คลื่นความถี่ที่เพียงพอสำหรับการให้บริการในอนาคต อย่างไรก็ดี การที่บริษัทมีคลื่นความถี่ 2.3 GHz เพื่อใช้งานเพิ่มเติมนั้นจะช่วยลดแรงกดดันให้แก่บริษัทในการประมูลคลื่นความถี่ในครั้งต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.