01 ตุลาคม 2555 กสทช. จ่อออกกฎเหล็กคุมเข้มสื่อ ป้องกันการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ขู่ เจ้าของ-ผู้จัด ฝ่าฝืน โทษถึงขั้นสั่งหยุดงาน
กสทช. จ่อออกกฎเหล็กคุมเข้มสื่อ ป้องกันการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ขู่ เจ้าของ-ผู้จัด ฝ่าฝืน โทษถึงขั้นสั่งหยุดงาน
ประเด็นหลัก
ข้อห้ามหลักๆ ที่บรรจุในหลักเกณฑ์ที่กำลังอยู่ในกระบวนการการยกร่าง เช่น คำพูดยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เรียกคนไปชุมนุม หรือการพูดโดยไม่มีข้อเท็จจริง คาดเดาไปเอง เหล่านี้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่เป็นข้อห้าม หรือว่าเป็นกฎเหล็ก สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะเขียนในหลักเกณฑ์ด้วยก็คือความรอบด้านของ รายการ และการให้โอกาสผู้เสียหายหรือผู้ที่ถูกกล่าวถึงมีสิทธิ์ชี้แจง หรือแสดงความคิดเห็นด้วย เพราะที่ผ่านมา เคยมีรายการประเภทข่าวรายการหนึ่ง เล่าเรื่องที่มีผู้หญิงคนหนึ่ง กล่าวอ้างฝ่ายเดียวว่าถูกผู้ชายข่มขืน ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และตำรวจก็ยังไม่ได้ตั้งข้อหา แต่โฆษกในรายการกลับสรุปทำนองว่า ข่มขืนแล้วก็รับผิดไปเลย ซึ่งเข้าข่ายไปแล้วว่า ฝ่ายชายได้กระทำความผิดไปแล้ว ซึ่งอย่างนี้ต่อไปจะทำอีกไม่ได้ ตามกฎเหล็กจะไม่สามารถออกอากาศได้เลย ถือเป็นกรณีสำคัญที่ กสทช. จะต้องกำกับ ซึ่งรายการแบบนี้มีเยอะมาก เข้าใจว่าคนจัดรายการอาจจะคิดดีและหวังดี อยากจะช่วยสังคม แต่อาจจะพลาดไปสรุปก่อน ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งต่อไปทาง กสทช.จะจัดอบรมให้ความรู้ต่อไป
_______________________________
กสทช. จ่อออกกฎเหล็กคุมสื่อ ป้องกันการยั่วยุ
กสทช. จ่อออกกฎเหล็กคุมเข้มสื่อ ป้องกันการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ขู่ เจ้าของ-ผู้จัด ฝ่าฝืน โทษถึงขั้นสั่งหยุดงาน...
พล.ท.ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวถึงกระแสข่าวที่ กสทช.กำลังอยู่ระหว่างการยกร่างหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมเนื้อหาของสื่อการเมือง ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะทีวีดาวเทียมและวิทยุชุมชน หลังได้รับร้องเรียนจากประชาชนเป็นจำนวนมากว่า หลายรายการมีเนื้อหาเชิงยั่วยุ ปลุกระดม ให้ข้อมูลเท็จ และมีอคติอย่างชัดเจน โดยยอมรับว่า กสทช.กำลังดำเนินการดังกล่าวจริง โดยล่าสุดได้ยกร่างหลักเกณฑ์เบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งให้กรรมการชุดใหญ่พิจารณาขั้นตอน หลังจากนี้จะนำไปทำประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าของสื่อและบรรดาผู้จัดรายการ จากนั้นจะนำข้อสังเกตมาปรับถ้อยคำ ก่อนออกฎเกณฑ์ ซึ่งน่าจะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพื่อบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ส่วนที่คณะกรรมการอิสระตรวจ สอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ชี้ว่า สื่อสารมวลชนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งขยายตัวนั้น พล.ท.ดร.พีระพงษ์ กล่าวว่า หากมองในภาพแคบก็เห็นด้วยว่า รายการต่างๆ ที่เป็นสื่อการเมืองมีลักษณะเป็นฝักฝ่ายจริง แต่โดยหลักประชาธิปไตยแล้ว เราต้องยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่ง กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับ ดูแลก็ยอมรับ แต่ความหลากหลายนั้นต้องอยู่ในกรอบที่เหมาะสมด้วย ยกตัวอย่างเช่น รายการประเภทข่าว ต้องรายงานข่าวอย่างเดียว ถ้าจะวิจารณ์ด้วยก็ต้องยึดหลักเกณฑ์ว่าการวิจารณ์ต้องมีรูปธรรมมารองรับ และไม่ควรสรุปเอาเอง หากต้องการจะสรุป ก็ควรให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มาสรุปจะดีกว่า และผู้จัดรายการจะต้องไม่พยายามพูดบนความว่างเปล่า
สำหรับ สื่อหรือผู้จัดรายการที่ฝ่าฝืน ก็จะมีมาตรการตักเตือน เชิญมาอบรมให้ความรู้ หรือสั่งหยุดงาน ซึ่งถือเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ส่วนคำพูดที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย เช่น หมิ่นประมาท ผู้จัดหรือเจ้าของรายการก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเหล่านั้นด้วย
ทั้ง นี้ ข้อห้ามหลักๆ ที่บรรจุในหลักเกณฑ์ที่กำลังอยู่ในกระบวนการการยกร่าง เช่น คำพูดยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เรียกคนไปชุมนุม หรือการพูดโดยไม่มีข้อเท็จจริง คาดเดาไปเอง เหล่านี้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่เป็นข้อห้าม หรือว่าเป็นกฎเหล็ก สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะเขียนในหลักเกณฑ์ด้วยก็คือความรอบด้านของ รายการ และการให้โอกาสผู้เสียหายหรือผู้ที่ถูกกล่าวถึงมีสิทธิ์ชี้แจง หรือแสดงความคิดเห็นด้วย เพราะที่ผ่านมา เคยมีรายการประเภทข่าวรายการหนึ่ง เล่าเรื่องที่มีผู้หญิงคนหนึ่ง กล่าวอ้างฝ่ายเดียวว่าถูกผู้ชายข่มขืน ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และตำรวจก็ยังไม่ได้ตั้งข้อหา แต่โฆษกในรายการกลับสรุปทำนองว่า ข่มขืนแล้วก็รับผิดไปเลย ซึ่งเข้าข่ายไปแล้วว่า ฝ่ายชายได้กระทำความผิดไปแล้ว ซึ่งอย่างนี้ต่อไปจะทำอีกไม่ได้ ตามกฎเหล็กจะไม่สามารถออกอากาศได้เลย ถือเป็นกรณีสำคัญที่ กสทช. จะต้องกำกับ ซึ่งรายการแบบนี้มีเยอะมาก เข้าใจว่าคนจัดรายการอาจจะคิดดีและหวังดี อยากจะช่วยสังคม แต่อาจจะพลาดไปสรุปก่อน ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งต่อไปทาง กสทช.จะจัดอบรมให้ความรู้ต่อไป
ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/pol/294882
ประเด็นหลัก
ข้อห้ามหลักๆ ที่บรรจุในหลักเกณฑ์ที่กำลังอยู่ในกระบวนการการยกร่าง เช่น คำพูดยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เรียกคนไปชุมนุม หรือการพูดโดยไม่มีข้อเท็จจริง คาดเดาไปเอง เหล่านี้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่เป็นข้อห้าม หรือว่าเป็นกฎเหล็ก สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะเขียนในหลักเกณฑ์ด้วยก็คือความรอบด้านของ รายการ และการให้โอกาสผู้เสียหายหรือผู้ที่ถูกกล่าวถึงมีสิทธิ์ชี้แจง หรือแสดงความคิดเห็นด้วย เพราะที่ผ่านมา เคยมีรายการประเภทข่าวรายการหนึ่ง เล่าเรื่องที่มีผู้หญิงคนหนึ่ง กล่าวอ้างฝ่ายเดียวว่าถูกผู้ชายข่มขืน ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และตำรวจก็ยังไม่ได้ตั้งข้อหา แต่โฆษกในรายการกลับสรุปทำนองว่า ข่มขืนแล้วก็รับผิดไปเลย ซึ่งเข้าข่ายไปแล้วว่า ฝ่ายชายได้กระทำความผิดไปแล้ว ซึ่งอย่างนี้ต่อไปจะทำอีกไม่ได้ ตามกฎเหล็กจะไม่สามารถออกอากาศได้เลย ถือเป็นกรณีสำคัญที่ กสทช. จะต้องกำกับ ซึ่งรายการแบบนี้มีเยอะมาก เข้าใจว่าคนจัดรายการอาจจะคิดดีและหวังดี อยากจะช่วยสังคม แต่อาจจะพลาดไปสรุปก่อน ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งต่อไปทาง กสทช.จะจัดอบรมให้ความรู้ต่อไป
_______________________________
กสทช. จ่อออกกฎเหล็กคุมสื่อ ป้องกันการยั่วยุ
กสทช. จ่อออกกฎเหล็กคุมเข้มสื่อ ป้องกันการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ขู่ เจ้าของ-ผู้จัด ฝ่าฝืน โทษถึงขั้นสั่งหยุดงาน...
พล.ท.ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวถึงกระแสข่าวที่ กสทช.กำลังอยู่ระหว่างการยกร่างหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมเนื้อหาของสื่อการเมือง ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะทีวีดาวเทียมและวิทยุชุมชน หลังได้รับร้องเรียนจากประชาชนเป็นจำนวนมากว่า หลายรายการมีเนื้อหาเชิงยั่วยุ ปลุกระดม ให้ข้อมูลเท็จ และมีอคติอย่างชัดเจน โดยยอมรับว่า กสทช.กำลังดำเนินการดังกล่าวจริง โดยล่าสุดได้ยกร่างหลักเกณฑ์เบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งให้กรรมการชุดใหญ่พิจารณาขั้นตอน หลังจากนี้จะนำไปทำประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าของสื่อและบรรดาผู้จัดรายการ จากนั้นจะนำข้อสังเกตมาปรับถ้อยคำ ก่อนออกฎเกณฑ์ ซึ่งน่าจะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพื่อบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ส่วนที่คณะกรรมการอิสระตรวจ สอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ชี้ว่า สื่อสารมวลชนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งขยายตัวนั้น พล.ท.ดร.พีระพงษ์ กล่าวว่า หากมองในภาพแคบก็เห็นด้วยว่า รายการต่างๆ ที่เป็นสื่อการเมืองมีลักษณะเป็นฝักฝ่ายจริง แต่โดยหลักประชาธิปไตยแล้ว เราต้องยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่ง กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับ ดูแลก็ยอมรับ แต่ความหลากหลายนั้นต้องอยู่ในกรอบที่เหมาะสมด้วย ยกตัวอย่างเช่น รายการประเภทข่าว ต้องรายงานข่าวอย่างเดียว ถ้าจะวิจารณ์ด้วยก็ต้องยึดหลักเกณฑ์ว่าการวิจารณ์ต้องมีรูปธรรมมารองรับ และไม่ควรสรุปเอาเอง หากต้องการจะสรุป ก็ควรให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มาสรุปจะดีกว่า และผู้จัดรายการจะต้องไม่พยายามพูดบนความว่างเปล่า
สำหรับ สื่อหรือผู้จัดรายการที่ฝ่าฝืน ก็จะมีมาตรการตักเตือน เชิญมาอบรมให้ความรู้ หรือสั่งหยุดงาน ซึ่งถือเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ส่วนคำพูดที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย เช่น หมิ่นประมาท ผู้จัดหรือเจ้าของรายการก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเหล่านั้นด้วย
ทั้ง นี้ ข้อห้ามหลักๆ ที่บรรจุในหลักเกณฑ์ที่กำลังอยู่ในกระบวนการการยกร่าง เช่น คำพูดยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เรียกคนไปชุมนุม หรือการพูดโดยไม่มีข้อเท็จจริง คาดเดาไปเอง เหล่านี้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่เป็นข้อห้าม หรือว่าเป็นกฎเหล็ก สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะเขียนในหลักเกณฑ์ด้วยก็คือความรอบด้านของ รายการ และการให้โอกาสผู้เสียหายหรือผู้ที่ถูกกล่าวถึงมีสิทธิ์ชี้แจง หรือแสดงความคิดเห็นด้วย เพราะที่ผ่านมา เคยมีรายการประเภทข่าวรายการหนึ่ง เล่าเรื่องที่มีผู้หญิงคนหนึ่ง กล่าวอ้างฝ่ายเดียวว่าถูกผู้ชายข่มขืน ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และตำรวจก็ยังไม่ได้ตั้งข้อหา แต่โฆษกในรายการกลับสรุปทำนองว่า ข่มขืนแล้วก็รับผิดไปเลย ซึ่งเข้าข่ายไปแล้วว่า ฝ่ายชายได้กระทำความผิดไปแล้ว ซึ่งอย่างนี้ต่อไปจะทำอีกไม่ได้ ตามกฎเหล็กจะไม่สามารถออกอากาศได้เลย ถือเป็นกรณีสำคัญที่ กสทช. จะต้องกำกับ ซึ่งรายการแบบนี้มีเยอะมาก เข้าใจว่าคนจัดรายการอาจจะคิดดีและหวังดี อยากจะช่วยสังคม แต่อาจจะพลาดไปสรุปก่อน ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งต่อไปทาง กสทช.จะจัดอบรมให้ความรู้ต่อไป
ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/pol/294882
ไม่มีความคิดเห็น: