Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 กุมภาพันธ์ 2555 กสทช. ชัด!!! ประมูล3GภายในQ3 นี้่้้ //ประมูล4Gในปี 2557( TOT โดนแน่ฐานมีคลื่นเกินความจำเป็นต้องเรียกคืนทำ 4G )

กสทช. ชัด!!! ประมูล3GภายในQ3 นี้่้้ //ประมูล4Gในปี 2557( TOT โดนแน่ฐานมีคลื่นเกินความจำเป็นต้องเรียกคืนทำ 4G )


ประเด็นหลัก

ในขณะที่การเปิดประมูล 4G นั้้น ทางกทค.มีแนวคิดที่จะเปิดประมูลในปี 2557 ซึ่งจะต้องรอแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แล้วเสร็จก่อน เนื่องจากขณะนี้คลื่นความถี่ทั้งหมดอยู่ในการครอบครองของบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งเมื่อแผนแม่บทคลื่นความถี่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ก็จะทำให้รับทราบว่าคลื่นใดที่ไม่มีการใช้งาน ก็ต้องส่งคลื่นกสทช. เพื่อนำไปประมูลต่อไป

อย่างไรก็ตาม ย่าน 1,800 เมกะเฮิรตซ์ ก็นำมาจัดสรรใบอนุญาต (ไลเซ่น) 4จีได้เช่นกัน แต่ยังต้องรอสัญญาสัมปทานของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) บริษัท ทรูมูฟ จำกัดที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 2จีสิ้นสุดลงก่อน โดยดีแทคจะสิ้นสุดสัมปทานกับ บมจ.กสท โทร คมนาคม ปี 2561 ส่วนทรูมูฟปี 2556

เขา กล่าวว่า ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ปัจจุบัน บมจ.ทีโอที ถือครองคลื่นความถี่อยู่มากกว่า 64 เมกะเฮิรตซ์ จาก 100 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้น บอร์ด กสทช.มีแผนเรียกคลื่นความถี่ที่มีผู้ประกอบการถือครองมากเกินความจำเป็นมา จัดสรรใหม่ แต่ต้องดำเนินการภายหลังการเปิดประมูลไลเซ่น 3จีย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งยืนยันว่าจะเปิดประมูลได้ไตรมาส 3 ปีนี้
_______________________________________________________

กสทช. เปิดกว้าง MVNO


กสทช.มีมติเห็นชอบให้ผู้ประกอบการเอกชนสามารถยื่นขอใบอนุญาต MVNO ได้โดยไม่มีเงื่อนไข พร้อมเตรียมเปิดประชาพิจารณ์ 3 แผน 10 ก.พ. นี้

พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ กรรมการกสทช. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเห็นชอบให้ผู้ประกอบการที่เช่าใช้โครงข่ายเพื่อนำมาให้บริการโทรคมนาคม (MVNO) รวมถึงการทำสัญญาขายส่ง ขายปลีก กับผู้ให้บริการโครงข่าย สามารถมายื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการได้ โดยไม่มีเงื่อนไขเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

เนื่องจากก่อนหน้านี้้ไม่มีความชัดเจนว่า MVNO ที่มีอยู่ 11 ราย จะต้องยื่นขอใบอนุญาตได้หรือไม่ เนื่องจากมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กำหนดไว้ว่า ห้ามไม่ให้มีการโอนย้ายความถี่ไปให้ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตใช้ ส่วนกรณีของกลุ่มทรูกับบริษัท กสท โทรคมนาคมนั้นจะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาโดยเฉพาะ

ในขณะที่การเปิดประมูล 4G นั้้น ทางกทค.มีแนวคิดที่จะเปิดประมูลในปี 2557 ซึ่งจะต้องรอแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แล้วเสร็จก่อน เนื่องจากขณะนี้คลื่นความถี่ทั้งหมดอยู่ในการครอบครองของบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งเมื่อแผนแม่บทคลื่นความถี่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ก็จะทำให้รับทราบว่าคลื่นใดที่ไม่มีการใช้งาน ก็ต้องส่งคลื่นกสทช. เพื่อนำไปประมูลต่อไป

ทั้งนี้ภายหลังงานเปิดทดสอบเทคโนโลยี 4G ของเอไอเอสเมื่อวันที่ 31 ม.ค. ล่าสุดกสทช.จะเดินหน้าให้มีการเปิดประมูล 3G ภายในไตรมาส 3 นี้่้้

นอกจากนี้้กสทช. จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) 3 แผนแม่บท ได้แก่ แผนแม่บทคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในวันที่ 10 ก.พ.นี้ พร้อมกันนี้้ยังได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการร่างหลักเกณฑ์การออกใบอณุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมถึงการสร้างความชัดเจนให้กับผู้ประกอบการ


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000014079


_________________________________________________________

กสทช.ลั่นประมูลไลเซ่น 4จี ปี'57

กสทช.พร้อม เปิดประมูลไลเซ่น4จีย่าน 1,800-2,300 เมกะเฮิรตซ์ปี'57เล็งจัดทำแผนเรียกคืนคลื่นจากทีโอที-กองทัพ ผนึกเอไอเอส-ดีพีซีเทสต์ 4จี 100 เมก


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า บอร์ด กทค. มีแนวคิดจะเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 4จี (แอลทีอี) ภายในปี 2557 ซึ่งการดำเนินการจะต้องรอให้แผนจัดเรียกคืนคลื่นความถี่ (รีฟาร์มมิ่ง) เสร็จก่อน เพราะปัจจุบันผู้ถือครองคลื่นความถี่ย่านดังกล่าวเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และกองทัพ

อย่างไรก็ตาม ย่าน 1,800 เมกะเฮิรตซ์ ก็นำมาจัดสรรใบอนุญาต (ไลเซ่น) 4จีได้เช่นกัน แต่ยังต้องรอสัญญาสัมปทานของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) บริษัท ทรูมูฟ จำกัดที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 2จีสิ้นสุดลงก่อน โดยดีแทคจะสิ้นสุดสัมปทานกับ บมจ.กสท โทร คมนาคม ปี 2561 ส่วนทรูมูฟปี 2556

เขา กล่าวว่า ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ปัจจุบัน บมจ.ทีโอที ถือครองคลื่นความถี่อยู่มากกว่า 64 เมกะเฮิรตซ์ จาก 100 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้น บอร์ด กสทช.มีแผนเรียกคลื่นความถี่ที่มีผู้ประกอบการถือครองมากเกินความจำเป็นมา จัดสรรใหม่ แต่ต้องดำเนินการภายหลังการเปิดประมูลไลเซ่น 3จีย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งยืนยันว่าจะเปิดประมูลได้ไตรมาส 3 ปีนี้

พร้อมกัน นี้ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตให้ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บริษัท ดิจิตอลโฟน ร่วมทดลองการให้บริการ 4จี บนเทคโนโลยีแอลทีอีย่านความถี่ 1,800 เมกะเฮิรตซ์ และย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ประกอบด้วย โครงการทดสอบและทดลองระบบบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง บรอดแบนด์ ไวร์เลส แอ็คเซ็ส (บีดับบลิวเอ) ย่านความถี่ 2.3 พื้นที่กรุงเทพมหานคร ถึงช่วงประมาณกลางเดือน พ.ค.2555

2. โครงการทดสอบและทดลองระบบโทรศัพท์มือถือ 4จี ย่านความถี่ 1800 พื้นที่ จ.มหาสารคาม ในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ถึงต้นเดือน มี.ค. 2555 รูปแบบการทดสอบเชิงเทคนิคชั่วคราว (นอน คอมเมอร์เชียล)

"เมื่อทดสอบ 4จีในวันนี้แล้ว จะทำให้ประชาชนได้รู้ว่า ประเทศไทยมีเทคโนโลยี 4จีแอลทีอีเหมือนต่างประเทศด้วย ซึ่ง กสทช.ก็จะอาศัยแรงขับเคลื่อนของประชาชน ผู้บริโภคที่ต้องการใช้ 4จีมาเป็นตัวบีบทางอ้อม ให้ผู้ที่ถือคลื่นมากเกินความจำเป็น ยอมปล่อยออกมาให้เราจัดสรรใหม่"

รายงานข่าวระบุ ว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค.ได้เห็นชอบให้ผู้ประกอบการที่เช่าใช้โครงข่ายเพื่อนำมาให้บริการโทร คมนาคม (เอ็มวีเอ็นโอ) รวมถึงการทำสัญญาขายส่ง ขายปลีกกับผู้ให้บริการโครงข่ายยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการได้ จากก่อนหน้านี้ขาดความชัดเจนว่า เอ็มวีเอ็นโอที่มีอยู่ 11 ราย ยื่นขอใบอนุญาตได้หรือไม่


กรุงเทพธรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120201/4334
43/%A1%CA%B7%AA.%C5%D1%E8%B9%BB%C3%D0%C1%D9%
C5%E4%C5%E0%AB%E8%B9-4%A8%D5-%BB%D557.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.