Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 พฤษภาคม 2555 ชี้ "ขาดแคลนคลื่นความถี่" หนามก้อนโต! งาน กสทช.6เดือนแรก // ด้าน TV มีเป้าหมายพลิกระบบทีวีอนาล็อกสู่ระบบทีวีดิจิตอล

ชี้ "ขาดแคลนคลื่นความถี่" หนามก้อนโต! งาน กสทช.6เดือนแรก // ด้าน TV มีเป้าหมายพลิกระบบทีวีอนาล็อกสู่ระบบทีวีดิจิตอล


ประเด็นหลัก

พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวอีกว่า สาระสำคัญของแผนแม่บทแต่ละฉบับมีเป้าหมายที่ชัดเจน โดยแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ จะขอเรียกคืนไลเซ่นส์ที่ได้รับตามสัมปทานของโอเปอเรเตอร์ทุกราย ซึ่งจะต้องส่งคืนคลื่นที่ถือครองอยู่กลับมายัง กสทช. เพื่อจัดสรรใหม่ทันทีที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง และนำคลื่นที่ได้รับคืนดังกล่าวมาจัดสรรในรูปแบบใบอนุญาตใหม่ เพื่อผลักดันให้เกิดการแข่งขันเสรีและปฏิรูปกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมโดยผลักดันให้เกิดรูปแบบการตั้งบริษัทให้บริการเสาโทร คมนาคม สถานีฐาน บริการเช่าโครงข่าย และบริการเช่าไฟเบอร์ออฟติก ซึ่งจะเป็นการเช่าใช้โครงข่ายพื้นฐานระหว่างกัน โดยออกหลักเกณฑ์ หรือใบอนุญาตให้เอกชนทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีโครงข่ายของตัวเองเข้ามาเช่าใช้เพื่อลดต้นทุน และสร้างตลาดให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่

_________________________________________________________


ชี้ "ขาดแคลนคลื่นความถี่" หนามก้อนโต! งาน กสทช.6เดือนแรก

กสทช. โชว์ผลงาน 6 เดือน เดินหน้า 3 แผนแม่บทฯ ชี้อุปสรรคก้อนโต คือ ขาดคลื่นความถี่ ยันคนไทยมี 3จี ใช้ปีนี้แน่นอน พร้อมระบบทีวีดิจิตอล เริ่มแล้วปีนี้ ขณะที่ ปธ.ยอมรับ พอใจผลงาน 6 เดือน...

เมื่อวัน ที่ 2 พ.ค. พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า การดำเนินงานใน 6 เดือนหลังจาก กสทช. ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2554 ที่ผ่านมา กสทช. ได้เดินหน้าวางรากฐานการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยมีเป้าหมายในการก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงการสื่อสารครั้งสำคัญของประเทศไทย ภายในปีนี้ ซึ่งจะประมูลคลื่น 3 จี ภายในเดือน ก.ย. เริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบดิจิตอลในปีนี้ และจะสมบูรณ์ภายใน 4 ปี การจัดระเบียบเคเบิลทีวี การแก้ปัญหาวิทยุชุมชน การกำหนดมาตรการป้องกันคลื่นรบกวนการบิน และเน้นการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค

ทั้ง นี้ ผลงานชิ้นสำคัญของ กสทช. ในการวางรากฐานไปสู่เป้าหมายดังกล่าว คือ การจัดทำ 3 แผนแม่บทหลัก ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 เม.ย. ที่ผ่านมา ได้แก่ แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านการสื่อสาร ด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือในภาคประชาชนได้เตรียมความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น และเดินไปในทิศทางเดียวกัน โดยตั้งเป้าหมายสู่การพลิกสังคมไทยสู่ระบบดิจิตอลเต็มรูปแบบ ในปี 2558

พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวอีกว่า สาระสำคัญของแผนแม่บทแต่ละฉบับมีเป้าหมายที่ชัดเจน โดยแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ จะขอเรียกคืนไลเซ่นส์ที่ได้รับตามสัมปทานของโอเปอเรเตอร์ทุกราย ซึ่งจะต้องส่งคืนคลื่นที่ถือครองอยู่กลับมายัง กสทช. เพื่อจัดสรรใหม่ทันทีที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง และนำคลื่นที่ได้รับคืนดังกล่าวมาจัดสรรในรูปแบบใบอนุญาตใหม่ เพื่อผลักดันให้เกิดการแข่งขันเสรีและปฏิรูปกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมโดยผลักดันให้เกิดรูปแบบการตั้งบริษัทให้บริการเสาโทร คมนาคม สถานีฐาน บริการเช่าโครงข่าย และบริการเช่าไฟเบอร์ออฟติก ซึ่งจะเป็นการเช่าใช้โครงข่ายพื้นฐานระหว่างกัน โดยออกหลักเกณฑ์ หรือใบอนุญาตให้เอกชนทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีโครงข่ายของตัวเองเข้ามาเช่าใช้เพื่อลดต้นทุน และสร้างตลาดให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่

ด้านแผนแม่บทกิจการกระจาย เสียง และกิจการโทรทัศน์ มีเป้าหมายพลิกระบบทีวีอนาล็อกสู่ระบบทีวีดิจิตอล เพื่อให้ใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในเบื้องต้นจะนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่ และไม่ได้ใช้งาน เช่น ช่อง 2, 4, 6, 8 มาจัดสรรเพื่อทดลองออกอากาศ ซึ่งจะสามารถแพร่ภาพได้มากกว่า 50 ช่อง โดยมีเป้าหมายเริ่มทดลองการแพร่ภาพในอีก 6 เดือนข้างหน้านี้ และจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอลได้ภายในต้นปี 2556 และคาดว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า กิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

สำหรับ กระบวนการออกใบอนุญาตทีวีดิจิตอล ช่วงที่ 1 จะเริ่มตั้งแต่ปีนี้จนถึงปี 2557 จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงที่ 2 จนเสร็จสมบูรณ์ในปี 2559 โดยมีเป้าหมายการยกเลิกการออกอากาศทีวีอนาล็อกในต้นปี 2558 สำหรับด้านกระบวนการออกใบอนุญาตทีวีมือถือ หรือโมบายทีวีจะเริ่มในกลางปี 2556 ถึงกลางปี 2557


ประธาน กสทช. กล่าวอีกว่า กสทช. ยังอยู่ในระหว่างการจัดระเบียบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และเคเบิลทีวี โดยการร่างกฎเกณฑ์การออกใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโทรทัศน์ทั้ง 2 ประเภท และให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบมาเข้าระบบใบอนุญาตฯ โดยเฉพาะทีวีดาวเทียม ที่สำคัญระบบบนทีวีดิจิตอล จะเอื้อต่อการเผยแพร่ระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อประกาศให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลโดยเฉพาะภัยธรรมชาติ ซึ่งจะเผยแพร่ได้แม่นยำ เที่ยงตรง เข้าถึงทุกครัวเรือน โดยเรื่องของการเตือนภัยนั้นจะกำหนดไว้ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ใบอนุญาตที่ผู้ รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ทุกรายจะต้องปฏิบัติ

ต่อข้อถามถึง ความพอใจในผลงาน 6 เดือน พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่สามารถประเมินการทำงานของตนเองได้ เพราะต้องเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนในการติดตาม แต่ส่วนตัวยอมรับว่าพอใจในผลงานทั้งหมดที่ออกมา

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า สำหรับแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม มุ่งเดินหน้าเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ รองรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ความเร็ว สูงสุด 100 Mbps โดยมีเป้าหมายเปิดประมูลภายในเดือน ก.ย.2555 ขณะที่ ปัญหาหลักในการทำงานของ กสทช. คือ การยังขาดคลื่นความถี่อยู่

“ปัญหา หลักในการทำงาน ของ กสทช. คือ การจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งขณะนี้ ยังขาดแคลนคลื่นอยู่ และการประกาศครอบงำกิจการคนต่างด้าว" กรรมการ กสทช. กล่าว

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า กสทช. ยังกำหนดกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการด้านโทรคมนาคม อาทิ การโฆษณาเกินจริงทางทีวีดาวเทียม การกำหนดอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรศัพท์มือถือประเภทเสียงให้เก็บได้ไม่ เกิน 0.99 บาทต่อนาที และการออกประกาศอัตราค่าบริการขั้นสูงของข้อมูล เช่น เอสเอ็มเอส เอ็มเอ็มเอส รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตบนคลื่นความถี่เดิมที่ไม่ใช่ 3จี โดยคาดว่าจะสามารถออกประกาศได้ในปีนี้ โดยประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการกระตุ้นและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หลายประการ อาทิ ประชาชนจะสามารถเข้าถึงและใช้บริการได้มากขึ้น โดยคาดว่าผู้บริโภคจะมีความต้องการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น กว่า 60% จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และจะทำให้ต้นทุนในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ลดลงกว่า 13%

นอก จากนี้ ยังร่วมกับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด กำหนดมาตรการป้องกันการรบกวนวิทยุสื่อสารที่มีคลื่นแทรก เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างนักบิน และผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศเป็นไปอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางการบิน ซึ่งหลังจากการกวดขันอย่างเข้มงวดทำให้สามารถลดอัตราการรบกวนคลื่นวิทยุลด ถึง 65%



สำหรับกรณีที่วันนี้มีการจัดงาน และที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงงบประมาณในการจัดงาน ที่อาจสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เนื่องจากก่อนหน้านี้ กสทช. ระบุว่า จะจัดงานทุกรูปแบบอย่างประหยัดนั้น นั้น นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า เบื้องต้นงบประมาณที่ใช้ในการจัดงานครั้งนี้ อยู่ที่ประมาณหลักแสนบาท ซึ่งจะขอตรวจสอบจำนวนที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/257381


_________________________________________________________

กสทช.พอใจผลงาน 6 เดือน ตั้งเป้าเปิดประมูล 3G ก.ย.นี้

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากที่ กสทช.ได้ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2554 เป็นเวลา 6 เดือน เบื้องต้นพอใจกับผลการดำเนินงานในหลายเรื่อง เช่น ที่ผ่านมาได้เดินหน้าดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดทำแผนแม่บทหลักของ กสทช. ประกอบด้วย แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แล้วเสร็จ เพื่อเป็นกรอบแนวทางและนโยบายในการพัฒนากิจการโทรคมนาคม และกิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทย เริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ ไปสู่ระบบดิจิตอล จัดระเบียบเคเบิลทีวี แก้ปัญหาวิทยุชุมชน กำหนดมาตรการป้องกันคลื่นรบกวนการบิน ตลอดจนเน้นการดูแลการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ประมูลใบอนุญาตโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3G รองรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 100 เมกะบิต โดยมีเป้าหมายประมูลภายในเดือนกันยายน ปีนี้

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000054519

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.