Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 กรกฎาคม 2555 ดิ้นสู้!! TOTเตรียมอ้างสิทธิไม่คืนคลื่น กสทช. ทั้ง TOT CAT เกิดก่อน กสทช. // CAT อ้างลูกค้า TRUEMOVE GSM1800 เป็นของตน

ดิ้นสู้!! TOTเตรียมอ้างสิทธิไม่คืนคลื่น กสทช. ทั้ง TOT CAT เกิดก่อน กสทช. // CAT อ้างลูกค้า TRUEMOVE GSM1800 เป็นของตน


ประเด็นหลัก

( แยกประเด็นดีๆ )


CAT
สำหรับ ฐานลูกค้าภายใต้สัมปทาน เช่น ทรูมูฟมีอยู่มากกว่า 17 ล้านราย เป็นสิทธิ์ของ กสท ที่ต้องเข้าไปดูแลทั้งหมดตามเงื่อนไขสัมปทาน จึงไม่อนุญาตให้โอนย้ายลูกค้าไปยังบริษัทอื่น เว้นแต่ลูกค้าใช้บริการ "คงสิทธิ์เลขหมาย"

และกำลังประสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม

ในการดูแลลูกค้าหลังหมดสัมปทาน ซึ่งอาจเปิดทางให้ผู้รับสัมปทานมาช่วยบริหารต่อ

"กรรมสิทธิ์ ในคลื่น 1800 MHz รวมถึงคลื่นอื่นที่ กสท และทีโอทีครอบครองกำลังรวบรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอให้กระทรวงไอซี ทีรับทราบ เพราะ ม.84 พ.ร.บ. กสทช. เปิดช่องให้กำหนดวิธีการคืนคลื่นก่อนนำไปประมูลได้ หากอธิบายให้ กสทช.เห็นหลักการและเหตุผลในการคงคลื่นไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็พอเห็นช่องทางที่จะนำคลื่นไปปรับปรุงเพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้เหมือนเดิม"


TOT
แหล่ง ข่าวคนเดิมระบุว่า ประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่หลังหมดสัมปทานเป็นปัญหาสำคัญที่ บริษัทกำลังรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อเสนอให้กระทรวงไอซีทีพิจารณา เพราะทีโอทีมองว่า คลื่นความถี่ทั้งหมดาไม่ว่จะในส่วนที่ทีโอทีหรือ กสท ถือครองเป็นสิทธิ์เดิมที่ทั้ง 2 คู่ได้มาก่อนมี กทช. หรือ กสทช. ที่กำหนดให้ทีโอทีต้องไปขอใบอนุญาต ประเภท 3 ระยะเวลา 25 ปี ทั้งคู่จึงควรมีสิทธิ์ใช้คลื่นที่ได้สิทธิ์ต่อไปจนหมดอายุใบอนุญาตปี 2568
_____________________________________________________

ดิ้นสู้สัมปทานหมดอายุ "กสท-ทีโอที" ยื้อคืนคลื่น-ผุด "Net Co"


อีก ไม่ถึงปีครึ่ง สัมปทานอย่างน้อย 2 สัญญาของ "กสท โทรคมนาคม" จะหมดอายุลง ทั้ง "ทรูมูฟ" และ "ดีพีซี" หมายความว่ารายได้กว่า 8,000 ล้านบาทจะหายวับไปกับตาหลังก.ย.2556

แต่ที่ก้อนโตกว่าเป็นของ "ดีแทค" แต่ไม่ต้องรอจนหมดสัมปทาน เพราะอีก 2 ปีข้างหน้าต้องนำรายได้สัมปทานทั้งหมดส่งเข้าคลังโดยตรง ซึ่งรวมถึง "ทีโอที" ด้วย

การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่จะไม่มีรายได้ "สัมปทาน" อีกต่อไปของทั้งสององค์กรจึงถือเป็นภารกิจเร่งด่วน

"กิตติ ศักดิ์ ศรีประเสริฐ" ซีอีโอ กสท โทรคมนาคม กล่าวถึงแผนรับมือหลังหมดสัมปทานว่า กำลังเร่งสะสางข้อพิพาทที่คู่สัญญายังไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตาม สัมปทาน BTO โดยเฉพาะอุปกรณ์

โครงข่าย โดยตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว และพยายามจะให้เสร็จภายใน ก.ค.นี้ เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดธุรกิจใหม่

"กสท" วางแผนว่าจะนำทรัพย์สินตามสัมปทานมาบริหารในรูปแบบ "เน็ตเวิร์ก คอมปะนี" ขยับขึ้นเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายตามนโยบายกระทรวงไอซีที

"ดีแทค ยินดีนำข้อพิพาทออกจากอนุญาโตตุลาการ เพื่อนำคดีเข้าสู่ศาลแล้ว ถือเป็นการเร่งรัดไม่ให้การแก้ไขข้อพิพาทต้องยืดเยื้อออกไป เพราะเดิมกว่าอนุญาโตตุลาการจะตัดสินต้องใช้เวลา เมื่อตัดสินแล้วฝ่ายที่แพ้ต้องนำคดีเข้าสู่กระบวนการศาลอีกครั้งอยู่ดี เมื่อเข้าสู่ศาลแล้วหากมีคำวินิจฉัยชี้ขาดเพียงคดีเดียวจะนำไปเป็นบรรทัดฐาน ในคดีอื่น ๆ ที่มีข้อพิพาทลักษณะเดียวกันได้ กับทรูมูฟและดีพีซีก็เช่นกันและกำลังเจรจากับกลุ่มทรูเพื่อขอซื้อคืนโครง ข่ายจากบีเอฟเคทีด้วย"

สำหรับฐานลูกค้าภายใต้สัมปทาน เช่น ทรูมูฟมีอยู่มากกว่า 17 ล้านราย เป็นสิทธิ์ของ กสท ที่ต้องเข้าไปดูแลทั้งหมดตามเงื่อนไขสัมปทาน จึงไม่อนุญาตให้โอนย้ายลูกค้าไปยังบริษัทอื่น เว้นแต่ลูกค้าใช้บริการ "คงสิทธิ์เลขหมาย"

และกำลังประสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม

ในการดูแลลูกค้าหลังหมดสัมปทาน ซึ่งอาจเปิดทางให้ผู้รับสัมปทานมาช่วยบริหารต่อ

"กรรมสิทธิ์ ในคลื่น 1800 MHz รวมถึงคลื่นอื่นที่ กสท และทีโอทีครอบครองกำลังรวบรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอให้กระทรวงไอซี ทีรับทราบ เพราะ ม.84 พ.ร.บ. กสทช. เปิดช่องให้กำหนดวิธีการคืนคลื่นก่อนนำไปประมูลได้ หากอธิบายให้ กสทช.เห็นหลักการและเหตุผลในการคงคลื่นไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็พอเห็นช่องทางที่จะนำคลื่นไปปรับปรุงเพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้เหมือนเดิม"

ฟาก "ทีโอที" ก็ต้องเตรียมตัว แหล่งข่าวระดับสูงใน "ทีโอที" กล่าวว่า เตรียมตัวมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเน้นไปยังการหาธุรกิจใหม่เข้าซึ่งระยะแรกตั้งเป้ากับ 3G แต่พบว่ามีความเสี่ยงสูงและห่างไกลกับเป้าหมายมาก จึงต้องหาธุรกิจใหม่ โดยมุ่งไปที่การนำโครงข่ายและระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงทั้งของทีโอที และส่วนที่เป็นทรัพย์สินตามสัมปทานมารวบรวม เพื่อเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายหลัก ซึ่งกำลังทำแผนธุรกิจในส่วนโครงสร้างองค์กรใหม่ ประมาณการรายรับ-รายจ่ายเพื่อเสนอ ครม.

"ทรัพย์สิน BTO ของเอไอเอส มั่นใจว่านำมาใช้กับธุรกิจใหม่ได้เกือบหมด ส่วนข้อพิพาทที่ต้องเร่งเคลียร์ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดจากนโยบายการเมือง ยุคต่าง ๆ เช่น ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม"

แหล่งข่าวคนเดิมระบุว่า ประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่หลังหมดสัมปทานเป็นปัญหาสำคัญที่ บริษัทกำลังรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อเสนอให้กระทรวงไอซีทีพิจารณา เพราะทีโอทีมองว่า คลื่นความถี่ทั้งหมดไม่ว่าจะในส่วนที่ทีโอทีหรือ กสท ถือครองเป็นสิทธิ์เดิมที่ทั้ง 2 คู่ได้มาก่อนมี กทช. หรือ กสทช. ที่กำหนดให้ทีโอทีต้องไปขอใบอนุญาต ประเภท 3 ระยะเวลา 25 ปี ทั้งคู่จึงควรมีสิทธิ์ใช้คลื่นที่ได้สิทธิ์ต่อไปจนหมดอายุใบอนุญาตปี 2568

ข้อสังเกตเกี่ยวกับ "กรรมสิทธิ์ในคลื่น" เป็นประเด็นที่น่าสนใจ แต่ไม่ว่าช้าหรือเร็วทั้งคู่ยังต้องปรับตัววางแผนอนาคตอยู่ดี

ไม่ ว่าสัมปทานจะหมดหรือไม่ พลันที่ "กสทช." ประมูลคลื่น สำหรับ 3G เมื่อไร ค่ายมือถือต้องเฮโลกันไปชิงคลื่นปักหลักทำธุรกิจภายใต้ระบบใบอนุญาตอยู่ดี

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1341214525&grpid=&catid=06&subcatid=0600


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.