03 ตุลาคม 2555 DTAC ประกาศ หยุดการลงทุน 3G 850 ทันทีหลังได้รับใบอนุญาตประมูล 3G 2100 (โดยโยกอุปกรณ์ 3G 850 ให้บริการต่างจังหวัด )
DTAC ประกาศ หยุดการลงทุน 3G 850 ทันทีหลังได้รับใบอนุญาตประมูล 3G 2100 (โดยโยกอุปกรณ์ 3G 850 ให้บริการต่างจังหวัด )
DTAC ประกาศ หยุดการลงทุน 3G 850 ทันทีหลังได้รับใบอนุญาตประมูล 3G 2100 (โดยโยกอุปกรณ์ 3G 850 ให้บริการต่างจังหวัด )
.
ประเด็นหลัก
นาย จอน กล่าวต่อว่า หลังจากได้รับใบอนุญาต 3จี จะสามารถออกให้บริการประมาณช่วงไตรมาส2 ในปี2556 โดยดีแทคได้เตรียมเรื่อง การโอนย้ายลูกค้าให้เข้ามาอยู่ในระบบ3จี ซึ่งต้องขออนุญาตจากลูกค้าและความสมัครใจก่อนจึงจะสามารถโอนย้าย ซึ่งคาดจะใช้ระยะเวลา 4ปีจึงจะดำเนินการสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาดีแทคได้ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงที่ต้องรับโทษจากกสทช.จำนวน10ล้าน บาท กรณีสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือล่ม ซึ่งดีแทคก็เร่งแก้ไขมาโดยตลอด นอกจากนี้ช่วงระยะเวลา2-3เดือน ดีแทคสามารถอัพโครงข่ายครอบคลุมลูกค้ากว่า 55% ของประชากรทั่วประเทศ เนื่องจากดีแทคได้ดำเนินการอัพเกรดระบบโครงข่ายและเน็ตเวิร์ก ซึ่งกระแสที่ว่าล้าหลังคู่แข่งนั้นไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่นอน
นาย จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทค เปิดเผยว่า หากบริษัทได้ใบอนุญาต 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่จะเปิดประมูลในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ บริษัทจะหยุดการลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 850 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อโยกเครือข่ายไปลงทุนในพื้นที่ต่างจังหวัดแทน เนื่องจากคลื่นความถี่ใช้ได้ดีกว่า
สำหรับแผนการลงทุน 3จี เตรียมเงินลงทุนไว้ 4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น เงินค่าประมูล 1.5-2หมื่นล้านบาท อีก 1หมื่นล้าน ขยายโครงข่าย และอีก 1 หมื่นล้าน ลงทุนเครือข่าย 50-80 เปอร์เช็นต์ ในระยะเวลา 4 ปี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ได้อย่างเร็วสุด คือไตรมาส 2 ในปีหน้า
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนหยุดให้บริการคลื่น 800 MHz หลังจากได้ใบอนุญาต 3G บนคลื่น 2.1 GHz ไปแล้วระยะหนึ่ง แต่ในขณะนี้การขยายบริการบนคลื่น 800 MHz ยังดำเนินต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด
_________________________________________
DTAC คาดเริ่มให้บริการ 3G ราว Q2/56 หากได้รับใบอนุญาตจากกสทช.
นาย จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เปิดเผยว่า บริษัทหากได้รับใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) คาดว่าจะเริ่มให้บริการระบบ 3G ได้หลัง ไตรมาส 2/56
สำหรับ การย้ายลูกค้าจากระบบ 2G ไประบบ 3G นั้น ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกค้า ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะสามารถทำได้เร็วหรือไม่ แต่คาดว่าจะสามารถโอนย้ายลูกค้าได้หมดใน 4 ปี นับจากวันที่เปิดให้บริการ
สำหรับ การใช้งบลงทุนในระบบ 3G นั้น ยังคงคาดว่าจะใช้เงินในการประมูลประมาณ 1.5-2.0 หมื่นล้านบาท และลงทุนขยายโครงการในช่วงต้นเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ 50% อีกราว 1 หมื่นล้านบาท
ส่วนการที่จะทำให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 80% ใน 4 ปี ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้น ก็ต้องลงทุนอีกราว 1 หมื่นล้านบาท โดยหากการประมูลใบอนุญาต 3G ต้องใช้เงินมากกว่าที่กำหนดก็จะมีการตัดงบลงทุนจากส่วนอื่นมาใช้
สำหรับ การเปิดประมูลใบอนุญาตระบบ 3G ถือว่ากสทช.สามารถทำได้ตามเป้าหมาย และการกำหนดราคาใบอนุญาตแต่ละใบจำนวน 9 ใบ ใบละ 4.5 พันล้านบาท ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม
ทั้งนี้มองว่า การประมูลครั้งนี้ไม่น่าจะฮั้วกันได้ เนื่องจากผู้ประกอบการ ทั้ง 3 รายที่เข้าประมูล ต่างก็มีความต้องการใบอนุญาตที่แตกต่างกัน
เมื่อ วันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา กสทช.เผยว่า มีผู้ประกอบการ 3 รายที่ยื่นเอกสาร เพื่อเข้าประมูลใบอนุญาตระบบ 3G คือ กลุ่มบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ซึ่งยื่นในนามของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค กลุ่ม DTAC ยื่นในนามของบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค และกลุ่มบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น (TRUE) ยื่นในนามบริษัท เรียล ฟิวเจอร์
โดยกสทช.จะประกาศรายชื่อผู้ผ่าน คุณสมบัติในการเข้าร่วมประมูลในวันที่ 9 ต.ค.จากนั้นจะมีการประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียด และจัดการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) ในวันที่ 12-13 ต.ค.โดยในวันที่ 16 ต.ค.จะเป็นวันประมูล และจะประกาศผลผู้ชนะการประมูลภายใน 3 วัน
นายอับดุลลาห์ กล่าวถึง คลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตช์ ที่มีอยู่ว่า หากบริษัทได้ ใบอนุญาตระบบ 3G ก็จะเน้นการลงทุนในคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตช์ในต่างจังหวัดมากขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ที่ให้บริการได้ดี
ส่วนการลงทุนระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิม หากได้รับใบอนุญาตก็จะหยุดการลงทุน แต่ขณะนี้บริษัทยังมีการลงทุน 3G บนคลื่นความถี่เดิมอยู่ ซึ่งคาดว่า 2-3 เดือนข้างหน้าจะสามารถลงทุนและครอบคลุมพื้นที่ได้ 55%
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.kaohoon.com/online/47169/DTAC-
%A4%D2%B4%E0%C3%D4%E8%C1%E3%CB%E9%BA%C3%
D4%A1%D2%C3-3G-%C3%D2%C7-Q256-
%CB%D2%A1%E4%B4%E9%C3%D1%BA%E3%BA%CD%B9%
D8%AD%D2%B5%A8%D2%A1%A1%CA%B7%AA.-.htm
________________________________
"ดีแทค"เตรียมพร้อมโอนย้ายลูกค้าหลังประมูล3 จี
ดีแทค เตรียมพร้อมโอนย้ายลูกค้าหลังประมูล3จี ระบุต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า คาด 4 ปีสำเร็จ เผยกระแสฮั้ว ไม่มีแน่นอน!
วันนี้ (2ต.ค.)ที่โรงแรมสยามแอดสยาม นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด ( มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า หลังจากดีแทค ได้ส่งบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัดซึ่งเป็นบริษัทลูก เข้าร่วมประมูล 3จีย่านความถี่ 2.1กิกะเฮิร์ตซ ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในวันที่ 16 ต.ค.55 โดยในขณะนี้ดีแทคเริ่มเตรียมความพร้อมหลังจากได้รับใบอนุญาต 3จี อาทิ อุปกรณ์ เอชแอลอาร์ เพื่อใช้บรรจุฐานข้อมูลของลูกค้าที่ต้องการเข้ามาอยู่ในระบบใหม่นี้
นาย จอน กล่าวต่อว่า หลังจากได้รับใบอนุญาต 3จี จะสามารถออกให้บริการประมาณช่วงไตรมาส2 ในปี2556 โดยดีแทคได้เตรียมเรื่อง การโอนย้ายลูกค้าให้เข้ามาอยู่ในระบบ3จี ซึ่งต้องขออนุญาตจากลูกค้าและความสมัครใจก่อนจึงจะสามารถโอนย้าย ซึ่งคาดจะใช้ระยะเวลา 4ปีจึงจะดำเนินการสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาดีแทคได้ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงที่ต้องรับโทษจากกสทช.จำนวน10ล้าน บาท กรณีสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือล่ม ซึ่งดีแทคก็เร่งแก้ไขมาโดยตลอด นอกจากนี้ช่วงระยะเวลา2-3เดือน ดีแทคสามารถอัพโครงข่ายครอบคลุมลูกค้ากว่า 55% ของประชากรทั่วประเทศ เนื่องจากดีแทคได้ดำเนินการอัพเกรดระบบโครงข่ายและเน็ตเวิร์ก ซึ่งกระแสที่ว่าล้าหลังคู่แข่งนั้นไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่นอน
ต่อ ข้อซักถามกรณีกระแสที่มองว่า การประมูล3จี ครั้งนี้ เกิดการฮั้วประมูลนั้น นายจอน เห็นว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะหลังจากที่กสทช.ได้ประกาศรายชื่อ ทุกค่ายโอปอเรเตอร์ ต้องงดติดต่อสื่อสารผ่านสื่อมวลชนตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค.55 เป็นต้นไป
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/158607
___________________________________
ดีแทครอ3จี กัน4หมื่นล้าน ปัดฮั้วประมูล
ดี แทค จัดเงิน 4 หมื่นล้าน ลงทุน 3จี ชี้หากประมูลได้คลื่น จะโยกการลงทุนคลื่น 850MHZ ไปต่างจังหวัดทันที ด้าน กสทช.ยันคลื่นที่หมดสัมปทาน จะส่งคืนมาประมูลใหม่อย่างเดียว
นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทค เปิดเผยว่า หากบริษัทได้ใบอนุญาต 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่จะเปิดประมูลในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ บริษัทจะหยุดการลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 850 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อโยกเครือข่ายไปลงทุนในพื้นที่ต่างจังหวัดแทน เนื่องจากคลื่นความถี่ใช้ได้ดีกว่า
สำหรับแผนการลงทุน 3จี เตรียมเงินลงทุนไว้ 4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น เงินค่าประมูล 1.5-2หมื่นล้านบาท อีก 1หมื่นล้าน ขยายโครงข่าย และอีก 1 หมื่นล้าน ลงทุนเครือข่าย 50-80 เปอร์เช็นต์ ในระยะเวลา 4 ปี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ได้อย่างเร็วสุด คือไตรมาส 2 ในปีหน้า
ส่วนกรณีที่มีข้อสงสัยการประมูล 3จี จะฮั้วการประมูลนั้น นายจอนกล่าวว่า ไม่น่าเป็นไปได้โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนการประมูลห้ามให้ข่าว ส่วนราคาการประมูลขั้นต่ำกำหนด 4.5 พันล้านบาท ที่ กสทช. กำหนดเป็นราคาที่เหมาะสม
ด้านแหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมาย ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ได้สรุปแนวทางการบริหารคลื่นความถี่โทรคมนาคมที่หมดอายุสัมปทาน ว่า คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ที่จะหมดอายุสัมปทานในปี 2556 นั้น ผู้รับใบอนุญาตจะต้องส่งคืนคลื่นมาที่ กสทช. เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ด้วยวิธีการประมูล ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถส่งคืนคลื่นไปให้เจ้าของสัมปทานเดิมได้.
ไทยรัฐ
http://www.thaipost.net/news/031012/63125
____________________________________
DTAC คาดใช้เงินเข้าประมูล 3G ราว 1.5-2 หมื่นลบ.จากงบลงทุนรวม 4 หมื่นลบ.
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 2 ตุลาคม 2555 17:49:14 น.
นาย จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(DTAC) เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมเข้าประมูลใบอนุญาต 3G คลื่น 2.1 GHz .ในวันที่ 16 ต.ค.55 โดยคาดว่าจะใช้เงินเข้าประมูลราว 1.5-2 หมื่นล้านบาท จากที่บริษัทได้วางงบลงทุนสำหรับธุรกิจ 3G ในระยะ 3 ปี รวม 4 หมื่นล้านบาท นอกจากการประมูลใบอนุญาตแล้วยังต้องใช้เงินลงทุนราว 2 หมื่นล้านบาทเพื่อขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดไว้ในเฟส 1 และเฟส 2
อย่างไรก็ตาม หากต้องใช้เงินลงทุนมากกว่านี้ บริษัทยังมีความพร้อมที่จะใช้เงินส่วนอื่นเพิ่มเติม อีกทั้ง บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร และปรับโครงสร้างภายใน เพื่อให้บริการลูกค้าที่มีการใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น รวมถึงมีการจัดเตรียมผู้นำองค์กร โดยจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมใช้เงินลงทุน 40 ล้านบาท
บริษัทคาดว่าหลังได้ใบอนุญาต 3G จะให้บริการได้ภายในไตรมาส 2/56 และคาดว่าจะมีการโอนย้ายลูกค้าในระบบ 2G สู่ระบบ 3G ภายในเวลา 4 ปี โดยอยู่ภายใต้บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G ทั้งนี้หลังให้บริการ 3G แล้ว เชื่อว่าส่วนแบ่งการตลาดของทุกโอเปอเรเตอร์จะไม่เปลี่ยนแปลง และแต่ละโอเปอเรเตอร์จะมุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้า 3G เช่นเดียวกัน
สำหรับ ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4.5 พันล้านบาทต่อจำนวนคลื่นความถี่ 5 MHz ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม เพราะหากราคาที่สูงเกินไปก็อาจจะมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อย แต่หากต่ำเกินไป ก็อาจได้ผู้ประกอบการที่ไม่มีความชำนาญเข้ามาเพิ่มในอุตสาหกรรม และเชื่อว่าโอเปอเรเตอร์ 3 รายจะไม่มีการฮั้วการประมูล
นายอับดุลลา ห์ กล่าวว่า บริษัทมีระยะเวลาของสัญญาสัมปทานให้บริการภายใต้ 2G เหลือนานที่สุดในบรรดาผู้ให้บริการด้วยกัน อาจมีข้อดีที่ทำให้การโอนย้ายลูกค้าสามารถมีช่วงเปลี่ยนผ่านค่อนข้างนาน ขณะที่โอเปอเรเตอร์รายอื่นสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดภายใน 1-2 ปีนี้ และอาจเกิดความขัดข้องกันโอนย้ายได้ ส่วนข้อเสียก็มีคือจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายส่วนแบ่ง รายได้ตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งเป็นเงินที่สูงพอสมควร
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนหยุดให้บริการคลื่น 800 MHz หลังจากได้ใบอนุญาต 3G บนคลื่น 2.1 GHz ไปแล้วระยะหนึ่ง แต่ในขณะนี้การขยายบริการบนคลื่น 800 MHz ยังดำเนินต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด
"การเตรียมความพร้อม ให้บริการ 3G คลื่น 2.1 GHz บริษัทจะจัดเตรียมซื้ออุปกรณ์ ใส่ฐานข้อมูล โครงข่าย ซึ่งผมเห็นว่าถ้าจะให้บริการที่ดีที่สุด เราไม่น่าจะให้บริการ 3G ก่อนไตรมาส 2 ปีหน้า ส่วนลูกค้าจะได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับเราจะสามารถสร้างโครงข่ายครอบคลุม พื้นที่ได้มากน้อยแค่ไหน และโทรศัพท์มือถือที่จะรับบริการมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องสอดรับกัน"นายอับดุลลาห์ กล่าว
ส่วนปัญหาโครงข่ายล่มถึง 2 ครั้ง ส่งผลกระทบต่อลูกค้า 1.7 ล้านราย แต่บริษัทได้ชดเชยให้กับลูกค้าถึง 3.5 ล้านราย
--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1501138
DTAC ประกาศ หยุดการลงทุน 3G 850 ทันทีหลังได้รับใบอนุญาตประมูล 3G 2100 (โดยโยกอุปกรณ์ 3G 850 ให้บริการต่างจังหวัด )
.
ประเด็นหลัก
นาย จอน กล่าวต่อว่า หลังจากได้รับใบอนุญาต 3จี จะสามารถออกให้บริการประมาณช่วงไตรมาส2 ในปี2556 โดยดีแทคได้เตรียมเรื่อง การโอนย้ายลูกค้าให้เข้ามาอยู่ในระบบ3จี ซึ่งต้องขออนุญาตจากลูกค้าและความสมัครใจก่อนจึงจะสามารถโอนย้าย ซึ่งคาดจะใช้ระยะเวลา 4ปีจึงจะดำเนินการสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาดีแทคได้ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงที่ต้องรับโทษจากกสทช.จำนวน10ล้าน บาท กรณีสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือล่ม ซึ่งดีแทคก็เร่งแก้ไขมาโดยตลอด นอกจากนี้ช่วงระยะเวลา2-3เดือน ดีแทคสามารถอัพโครงข่ายครอบคลุมลูกค้ากว่า 55% ของประชากรทั่วประเทศ เนื่องจากดีแทคได้ดำเนินการอัพเกรดระบบโครงข่ายและเน็ตเวิร์ก ซึ่งกระแสที่ว่าล้าหลังคู่แข่งนั้นไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่นอน
นาย จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทค เปิดเผยว่า หากบริษัทได้ใบอนุญาต 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่จะเปิดประมูลในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ บริษัทจะหยุดการลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 850 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อโยกเครือข่ายไปลงทุนในพื้นที่ต่างจังหวัดแทน เนื่องจากคลื่นความถี่ใช้ได้ดีกว่า
สำหรับแผนการลงทุน 3จี เตรียมเงินลงทุนไว้ 4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น เงินค่าประมูล 1.5-2หมื่นล้านบาท อีก 1หมื่นล้าน ขยายโครงข่าย และอีก 1 หมื่นล้าน ลงทุนเครือข่าย 50-80 เปอร์เช็นต์ ในระยะเวลา 4 ปี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ได้อย่างเร็วสุด คือไตรมาส 2 ในปีหน้า
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนหยุดให้บริการคลื่น 800 MHz หลังจากได้ใบอนุญาต 3G บนคลื่น 2.1 GHz ไปแล้วระยะหนึ่ง แต่ในขณะนี้การขยายบริการบนคลื่น 800 MHz ยังดำเนินต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด
_________________________________________
DTAC คาดเริ่มให้บริการ 3G ราว Q2/56 หากได้รับใบอนุญาตจากกสทช.
นาย จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เปิดเผยว่า บริษัทหากได้รับใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) คาดว่าจะเริ่มให้บริการระบบ 3G ได้หลัง ไตรมาส 2/56
สำหรับ การย้ายลูกค้าจากระบบ 2G ไประบบ 3G นั้น ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกค้า ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะสามารถทำได้เร็วหรือไม่ แต่คาดว่าจะสามารถโอนย้ายลูกค้าได้หมดใน 4 ปี นับจากวันที่เปิดให้บริการ
สำหรับ การใช้งบลงทุนในระบบ 3G นั้น ยังคงคาดว่าจะใช้เงินในการประมูลประมาณ 1.5-2.0 หมื่นล้านบาท และลงทุนขยายโครงการในช่วงต้นเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ 50% อีกราว 1 หมื่นล้านบาท
ส่วนการที่จะทำให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 80% ใน 4 ปี ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้น ก็ต้องลงทุนอีกราว 1 หมื่นล้านบาท โดยหากการประมูลใบอนุญาต 3G ต้องใช้เงินมากกว่าที่กำหนดก็จะมีการตัดงบลงทุนจากส่วนอื่นมาใช้
สำหรับ การเปิดประมูลใบอนุญาตระบบ 3G ถือว่ากสทช.สามารถทำได้ตามเป้าหมาย และการกำหนดราคาใบอนุญาตแต่ละใบจำนวน 9 ใบ ใบละ 4.5 พันล้านบาท ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม
ทั้งนี้มองว่า การประมูลครั้งนี้ไม่น่าจะฮั้วกันได้ เนื่องจากผู้ประกอบการ ทั้ง 3 รายที่เข้าประมูล ต่างก็มีความต้องการใบอนุญาตที่แตกต่างกัน
เมื่อ วันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา กสทช.เผยว่า มีผู้ประกอบการ 3 รายที่ยื่นเอกสาร เพื่อเข้าประมูลใบอนุญาตระบบ 3G คือ กลุ่มบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ซึ่งยื่นในนามของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค กลุ่ม DTAC ยื่นในนามของบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค และกลุ่มบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น (TRUE) ยื่นในนามบริษัท เรียล ฟิวเจอร์
โดยกสทช.จะประกาศรายชื่อผู้ผ่าน คุณสมบัติในการเข้าร่วมประมูลในวันที่ 9 ต.ค.จากนั้นจะมีการประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียด และจัดการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) ในวันที่ 12-13 ต.ค.โดยในวันที่ 16 ต.ค.จะเป็นวันประมูล และจะประกาศผลผู้ชนะการประมูลภายใน 3 วัน
นายอับดุลลาห์ กล่าวถึง คลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตช์ ที่มีอยู่ว่า หากบริษัทได้ ใบอนุญาตระบบ 3G ก็จะเน้นการลงทุนในคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตช์ในต่างจังหวัดมากขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ที่ให้บริการได้ดี
ส่วนการลงทุนระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิม หากได้รับใบอนุญาตก็จะหยุดการลงทุน แต่ขณะนี้บริษัทยังมีการลงทุน 3G บนคลื่นความถี่เดิมอยู่ ซึ่งคาดว่า 2-3 เดือนข้างหน้าจะสามารถลงทุนและครอบคลุมพื้นที่ได้ 55%
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.kaohoon.com/online/47169/DTAC-
%A4%D2%B4%E0%C3%D4%E8%C1%E3%CB%E9%BA%C3%
D4%A1%D2%C3-3G-%C3%D2%C7-Q256-
%CB%D2%A1%E4%B4%E9%C3%D1%BA%E3%BA%CD%B9%
D8%AD%D2%B5%A8%D2%A1%A1%CA%B7%AA.-.htm
________________________________
"ดีแทค"เตรียมพร้อมโอนย้ายลูกค้าหลังประมูล3 จี
ดีแทค เตรียมพร้อมโอนย้ายลูกค้าหลังประมูล3จี ระบุต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า คาด 4 ปีสำเร็จ เผยกระแสฮั้ว ไม่มีแน่นอน!
วันนี้ (2ต.ค.)ที่โรงแรมสยามแอดสยาม นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด ( มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า หลังจากดีแทค ได้ส่งบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัดซึ่งเป็นบริษัทลูก เข้าร่วมประมูล 3จีย่านความถี่ 2.1กิกะเฮิร์ตซ ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในวันที่ 16 ต.ค.55 โดยในขณะนี้ดีแทคเริ่มเตรียมความพร้อมหลังจากได้รับใบอนุญาต 3จี อาทิ อุปกรณ์ เอชแอลอาร์ เพื่อใช้บรรจุฐานข้อมูลของลูกค้าที่ต้องการเข้ามาอยู่ในระบบใหม่นี้
นาย จอน กล่าวต่อว่า หลังจากได้รับใบอนุญาต 3จี จะสามารถออกให้บริการประมาณช่วงไตรมาส2 ในปี2556 โดยดีแทคได้เตรียมเรื่อง การโอนย้ายลูกค้าให้เข้ามาอยู่ในระบบ3จี ซึ่งต้องขออนุญาตจากลูกค้าและความสมัครใจก่อนจึงจะสามารถโอนย้าย ซึ่งคาดจะใช้ระยะเวลา 4ปีจึงจะดำเนินการสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาดีแทคได้ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงที่ต้องรับโทษจากกสทช.จำนวน10ล้าน บาท กรณีสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือล่ม ซึ่งดีแทคก็เร่งแก้ไขมาโดยตลอด นอกจากนี้ช่วงระยะเวลา2-3เดือน ดีแทคสามารถอัพโครงข่ายครอบคลุมลูกค้ากว่า 55% ของประชากรทั่วประเทศ เนื่องจากดีแทคได้ดำเนินการอัพเกรดระบบโครงข่ายและเน็ตเวิร์ก ซึ่งกระแสที่ว่าล้าหลังคู่แข่งนั้นไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่นอน
ต่อ ข้อซักถามกรณีกระแสที่มองว่า การประมูล3จี ครั้งนี้ เกิดการฮั้วประมูลนั้น นายจอน เห็นว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะหลังจากที่กสทช.ได้ประกาศรายชื่อ ทุกค่ายโอปอเรเตอร์ ต้องงดติดต่อสื่อสารผ่านสื่อมวลชนตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค.55 เป็นต้นไป
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/158607
___________________________________
ดีแทครอ3จี กัน4หมื่นล้าน ปัดฮั้วประมูล
ดี แทค จัดเงิน 4 หมื่นล้าน ลงทุน 3จี ชี้หากประมูลได้คลื่น จะโยกการลงทุนคลื่น 850MHZ ไปต่างจังหวัดทันที ด้าน กสทช.ยันคลื่นที่หมดสัมปทาน จะส่งคืนมาประมูลใหม่อย่างเดียว
นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทค เปิดเผยว่า หากบริษัทได้ใบอนุญาต 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่จะเปิดประมูลในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ บริษัทจะหยุดการลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 850 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อโยกเครือข่ายไปลงทุนในพื้นที่ต่างจังหวัดแทน เนื่องจากคลื่นความถี่ใช้ได้ดีกว่า
สำหรับแผนการลงทุน 3จี เตรียมเงินลงทุนไว้ 4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น เงินค่าประมูล 1.5-2หมื่นล้านบาท อีก 1หมื่นล้าน ขยายโครงข่าย และอีก 1 หมื่นล้าน ลงทุนเครือข่าย 50-80 เปอร์เช็นต์ ในระยะเวลา 4 ปี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ได้อย่างเร็วสุด คือไตรมาส 2 ในปีหน้า
ส่วนกรณีที่มีข้อสงสัยการประมูล 3จี จะฮั้วการประมูลนั้น นายจอนกล่าวว่า ไม่น่าเป็นไปได้โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนการประมูลห้ามให้ข่าว ส่วนราคาการประมูลขั้นต่ำกำหนด 4.5 พันล้านบาท ที่ กสทช. กำหนดเป็นราคาที่เหมาะสม
ด้านแหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมาย ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ได้สรุปแนวทางการบริหารคลื่นความถี่โทรคมนาคมที่หมดอายุสัมปทาน ว่า คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ที่จะหมดอายุสัมปทานในปี 2556 นั้น ผู้รับใบอนุญาตจะต้องส่งคืนคลื่นมาที่ กสทช. เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ด้วยวิธีการประมูล ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถส่งคืนคลื่นไปให้เจ้าของสัมปทานเดิมได้.
ไทยรัฐ
http://www.thaipost.net/news/031012/63125
____________________________________
DTAC คาดใช้เงินเข้าประมูล 3G ราว 1.5-2 หมื่นลบ.จากงบลงทุนรวม 4 หมื่นลบ.
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 2 ตุลาคม 2555 17:49:14 น.
นาย จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(DTAC) เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมเข้าประมูลใบอนุญาต 3G คลื่น 2.1 GHz .ในวันที่ 16 ต.ค.55 โดยคาดว่าจะใช้เงินเข้าประมูลราว 1.5-2 หมื่นล้านบาท จากที่บริษัทได้วางงบลงทุนสำหรับธุรกิจ 3G ในระยะ 3 ปี รวม 4 หมื่นล้านบาท นอกจากการประมูลใบอนุญาตแล้วยังต้องใช้เงินลงทุนราว 2 หมื่นล้านบาทเพื่อขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดไว้ในเฟส 1 และเฟส 2
อย่างไรก็ตาม หากต้องใช้เงินลงทุนมากกว่านี้ บริษัทยังมีความพร้อมที่จะใช้เงินส่วนอื่นเพิ่มเติม อีกทั้ง บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร และปรับโครงสร้างภายใน เพื่อให้บริการลูกค้าที่มีการใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น รวมถึงมีการจัดเตรียมผู้นำองค์กร โดยจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมใช้เงินลงทุน 40 ล้านบาท
บริษัทคาดว่าหลังได้ใบอนุญาต 3G จะให้บริการได้ภายในไตรมาส 2/56 และคาดว่าจะมีการโอนย้ายลูกค้าในระบบ 2G สู่ระบบ 3G ภายในเวลา 4 ปี โดยอยู่ภายใต้บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G ทั้งนี้หลังให้บริการ 3G แล้ว เชื่อว่าส่วนแบ่งการตลาดของทุกโอเปอเรเตอร์จะไม่เปลี่ยนแปลง และแต่ละโอเปอเรเตอร์จะมุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้า 3G เช่นเดียวกัน
สำหรับ ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4.5 พันล้านบาทต่อจำนวนคลื่นความถี่ 5 MHz ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม เพราะหากราคาที่สูงเกินไปก็อาจจะมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อย แต่หากต่ำเกินไป ก็อาจได้ผู้ประกอบการที่ไม่มีความชำนาญเข้ามาเพิ่มในอุตสาหกรรม และเชื่อว่าโอเปอเรเตอร์ 3 รายจะไม่มีการฮั้วการประมูล
นายอับดุลลา ห์ กล่าวว่า บริษัทมีระยะเวลาของสัญญาสัมปทานให้บริการภายใต้ 2G เหลือนานที่สุดในบรรดาผู้ให้บริการด้วยกัน อาจมีข้อดีที่ทำให้การโอนย้ายลูกค้าสามารถมีช่วงเปลี่ยนผ่านค่อนข้างนาน ขณะที่โอเปอเรเตอร์รายอื่นสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดภายใน 1-2 ปีนี้ และอาจเกิดความขัดข้องกันโอนย้ายได้ ส่วนข้อเสียก็มีคือจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายส่วนแบ่ง รายได้ตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งเป็นเงินที่สูงพอสมควร
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนหยุดให้บริการคลื่น 800 MHz หลังจากได้ใบอนุญาต 3G บนคลื่น 2.1 GHz ไปแล้วระยะหนึ่ง แต่ในขณะนี้การขยายบริการบนคลื่น 800 MHz ยังดำเนินต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด
"การเตรียมความพร้อม ให้บริการ 3G คลื่น 2.1 GHz บริษัทจะจัดเตรียมซื้ออุปกรณ์ ใส่ฐานข้อมูล โครงข่าย ซึ่งผมเห็นว่าถ้าจะให้บริการที่ดีที่สุด เราไม่น่าจะให้บริการ 3G ก่อนไตรมาส 2 ปีหน้า ส่วนลูกค้าจะได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับเราจะสามารถสร้างโครงข่ายครอบคลุม พื้นที่ได้มากน้อยแค่ไหน และโทรศัพท์มือถือที่จะรับบริการมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องสอดรับกัน"นายอับดุลลาห์ กล่าว
ส่วนปัญหาโครงข่ายล่มถึง 2 ครั้ง ส่งผลกระทบต่อลูกค้า 1.7 ล้านราย แต่บริษัทได้ชดเชยให้กับลูกค้าถึง 3.5 ล้านราย
--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1501138
ไม่มีความคิดเห็น: