Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มิถุนายน 2555 GOOGLE จวก Nokia Microsoft ร่วมผนึกแรงฆ่า Android ( โนเกียกำลังทรยศ (betray) ) ผู้บริโภคก็จะเป็นผู้รับเคราะห์ในที่สุด

GOOGLE จวก Nokia Microsoft ร่วมผนึกแรงฆ่า Android ( โนเกียกำลังทรยศ (betray) ) ผู้บริโภคก็จะเป็นผู้รับเคราะห์ในที่สุด


ประเด็นหลัก

ที่ผ่านมา กูเกิลเปิดให้ผู้ผลิตแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน รวมถึงอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตพกพาอื่นๆ สามารถนำชุดคำสั่งแอนดรอยด์ไปใช้ในการผลิตสินค้าของตัวเองได้อย่างเสรีและ ฟรี ผลคืออุปกรณ์แอนดรอยด์สามารถแพร่หลายในตลาดโลกอย่างรวดเร็ว บนราคาเครื่องที่ไม่สูงเพราะผู้ผลิตสามารถประหยัดต้นทุนในการจ่ายค่า ลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการไปได้

กรณีการตั้งบริษัทโมเซดฯ เพื่อเป็นตัวแทนไมโครซอฟท์ และโนเกีย กูเกิลใช้คำว่า “patent troll” ซึ่งเทียบได้กับผู้รับใช้ที่เน้นการฟ้องร้องเพื่อทำรายได้เข้าบริษัท โดยระบุว่าโมเซดฯจะเป็นบริษัทผู้ถือสิทธิบัตรที่จะดำเนินการโจมตีด้านกฎหมาย ต่อผู้ละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีขั้นเด็ดขาด และรับรายได้จากส่วนแบ่งการฟ้องร้องที่เกิดขึ้น

กูเกิลยืนยันชัดเจนในเอกสารร้องเรียนว่า ต้องการขอความเป็นธรรมจากอียูเพื่อป้องกันไม่ให้พันธมิตรผู้ผลิตสินค้าแอ นดรอยด์ต้องเผชิญกับภัยโจมตีด้านกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ผลิตแอนดรอยด์มีต้นทุนเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคก็จะเป็นผู้รับเคราะห์ในที่สุด

กูเกิลยังระบุว่า โนเกียกำลังทรยศ (betray) ต่อความมุ่งมั่นดั้งเดิมเรื่องการเปิดเสรีซอฟต์แวร์เป็นมาตรฐานเปิด (โอเพ่นซอร์ส) ซึ่งใช้สังคมนักพัฒนาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประหยัด และยั่งยืน โดยมองว่าโนเกียมองข้ามการปกป้องเทคโนโลยีจากภัยฟ้องร้องเรียกค่าเสีย หายอย่างน่าผิดหวัง โดยรู้เห็นเป็นใจกับไมโครซอฟท์และบริษัทโมเซดฯ

___________________________________________

กูเกิลจวกไมโครซอฟท์-โนเกีย ร่วมผนึกแรงฆ่า “แอนดรอยด์”


กู เกิล (Google) กล่าวหาไมโครซอฟท์ (Microsoft) และโนเกีย (Nokia) ฟ้องต่อศาลอียูว่าทั้ง 2 บริษัทกำลังร่วมมือกันใช้สิทธิบัตรของตัวเองในการทำลายแอนดรอยด์ (Android) ด้วยการโอนสิทธิบัตรให้บริษัทตัวแทน ที่อาจจะเป็นผู้ออกหน้าในการคุกคามทางกฏหมายต่อผู้ผลิตสินค้าแอนดรอยด์ต่อไป จวกยับโนเกียกำลังทรยศต่อความมุ่งมั่นเรื่องการเปิดเสรีซอฟต์แวร์โดยรู้เห็น กับไมโครซอฟท์

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ยักษ์ใหญ่บริการเสิร์ชเอนจินผู้พัฒนาแอนดรอยด์อย่างกูเกิล ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อคณะกรรมาธิการยุโรป หรือ European Commission ใจความสำคัญคือการกล่าวหาว่าไมโครซอฟท์และโนเกียกำลังร่วมมือกันใช้สิทธิ บัตรเทคโนโลยีที่แต่ละฝ่ายถืออยู่ มาเป็นเครื่องมือต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่นในตลาดสมาร์ทโฟนอย่างไม่เป็นธรรม

คำร้องของกูเกิลระบุว่า ไมโครซอฟท์และโนเกียได้ตั้งบริษัทตัวแทนนาม “โมเซด เทคโนโลยีส์ (Mosaid Technologies)” โดยโอนสิทธิบัตรเทคโนโลยีกว่า 1,200 รายการไปยังบริษัทนี้ การโอนสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นมีโอกาสสูงมากในการเกิดกรณีฟ้องร้องกูเกิลและผู้ ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ เพื่อเรียกร้องค่าส่วนแบ่งจากการผลิตโทรศัพท์มือถืออย่างไม่เป็นธรรม

ที่ผ่านมา กูเกิลเปิดให้ผู้ผลิตแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน รวมถึงอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตพกพาอื่นๆ สามารถนำชุดคำสั่งแอนดรอยด์ไปใช้ในการผลิตสินค้าของตัวเองได้อย่างเสรีและ ฟรี ผลคืออุปกรณ์แอนดรอยด์สามารถแพร่หลายในตลาดโลกอย่างรวดเร็ว บนราคาเครื่องที่ไม่สูงเพราะผู้ผลิตสามารถประหยัดต้นทุนในการจ่ายค่า ลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการไปได้

กรณีการตั้งบริษัทโมเซดฯ เพื่อเป็นตัวแทนไมโครซอฟท์ และโนเกีย กูเกิลใช้คำว่า “patent troll” ซึ่งเทียบได้กับผู้รับใช้ที่เน้นการฟ้องร้องเพื่อทำรายได้เข้าบริษัท โดยระบุว่าโมเซดฯจะเป็นบริษัทผู้ถือสิทธิบัตรที่จะดำเนินการโจมตีด้านกฎหมาย ต่อผู้ละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีขั้นเด็ดขาด และรับรายได้จากส่วนแบ่งการฟ้องร้องที่เกิดขึ้น

กูเกิลยืนยันชัดเจนในเอกสารร้องเรียนว่า ต้องการขอความเป็นธรรมจากอียูเพื่อป้องกันไม่ให้พันธมิตรผู้ผลิตสินค้าแอ นดรอยด์ต้องเผชิญกับภัยโจมตีด้านกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ผลิตแอนดรอยด์มีต้นทุนเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคก็จะเป็นผู้รับเคราะห์ในที่สุด

“โนเกีย และไมโครซอฟท์ กำลังร่วมกันเพิ่มต้นทุนสินค้าพกพาสำหรับผู้บริโภค ด้วยการสร้าง patent troll หรือผู้รับใช้ที่ทั้งคู่สร้างขึ้น” ตามเนื้อความในคำร้องของกูเกิล ซึ่งระบุว่าทั้งคู่ควรรับผิดชอบ และหวังว่าคำร้องนี้จะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรายอื่นมองเห็นความผิดปกติ และร่วมกันป้องกันผลเสียที่อาจตามมา

กูเกิลยังระบุว่า โนเกียกำลังทรยศ (betray) ต่อความมุ่งมั่นดั้งเดิมเรื่องการเปิดเสรีซอฟต์แวร์เป็นมาตรฐานเปิด (โอเพ่นซอร์ส) ซึ่งใช้สังคมนักพัฒนาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประหยัด และยั่งยืน โดยมองว่าโนเกียมองข้ามการปกป้องเทคโนโลยีจากภัยฟ้องร้องเรียกค่าเสีย หายอย่างน่าผิดหวัง โดยรู้เห็นเป็นใจกับไมโครซอฟท์และบริษัทโมเซดฯ

อย่างไรก็ตาม การปกป้องนี้จะสามารถป้องกันไม่ให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อื่นหันไปผลิตอุปกรณ์ระบบ ปฏิบัติการวินโดวส์โฟน (Windows Phone) ของไมโครซอฟท์ เพราะความเคลื่อนไหวนี้ของกูเกิลเกิดขึ้นหลังจากผู้ผลิตสินค้าแอนดรอยด์ เริ่มถูกฟ้องร้องมากขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ผู้ผลิตจำนวนมากอาจไม่สนใจผลิตสินค้าแอนดรอยด์อีกต่อไป ทั้งหมดนี้ส่งให้กูเกิลมองวินโดวส์โฟนเป็นระบบปฏิบัติการคู่แข่งรายสำคัญของ แอนดรอยด์

ไมโครซอฟท์และโนเกียต่างปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อคำร้องและข้อกล่าวหาของกู เกิล โดยนอกจากอียู กูเกิลระบุว่าจะยื่นคำร้องเดียวกันนี้ต่อคณะกรรมการการค้ายุติธรรมของสหรัฐ อเมริกาด้วย

ASTV ผู้จัดการ
http:ager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000068230


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.