05 พฤษภาคม 2555 ( บทความ ) From Japan with Love 3G ไทย จะช้ากว่านี้ ไม่ได้แล้ว ( 4G บ้านเขา พร้อมที่จะอัพเกรดสปีดการเป็น 112 Mb )
( บทความ ) From Japan with Love 3G ไทย จะช้ากว่านี้ ไม่ได้แล้ว ( 4G บ้านเขา พร้อมที่จะอัพเกรดสปีดการเป็น 112 Mb )
ประเด็นหลัก
หันมาดูที่ LTE ในบ้านของเขา จากรูปที่ 2 EMOBILE ซึ่งขณะนี้ให้บริการ LTE ได้เปิดเผยถึงโร้ดแมป การให้บริการ LTE ว่า โครงข่ายของเขาจะครอบคลุมพื้นที่ 99% ของประเทศ ภายในเดือน มิ.ย. และพร้อมที่จะอัพเกรดสปีดการให้บริการเป็น 112 Mbps เป็นลำดับต่อไป
ทั้งนี้ EMOBILE ได้เริ่มเปิดให้บริการ LTE ที่สปีด 75 Mbps มาตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน โดยให้บริการร่วมกับ 3G ที่สปีด 42 Mbps ซึ่งเท่ากับของบ้านเราในตอนนี้ โดยใช้ชื่อว่า EMOBILE G4 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 93% ของประเทศ ณ เวลานี้ ส่วน LTE ยังกระจุกอยู่ตามเขตตัวเมืองใหญ่
ความจริงในข้อนี้ เปรียบดังเรื่องตลกร้ายที่คอยหลอกหลอนชาวไทย เมื่อดูในแผนผังประเทศที่ให้บริการ 3G ของผู้ให้บริการรายหนึ่งในญี่ปุ่น ประเทศไทย ถูกจัดให้เป็นโซนที่เปิดให้บริการแค่ 2G เท่านั้น ขณะที่ประเทศเขา กำลังเปิดให้บริการ 4G พร้อมทั้งขายอุปกรณ์ LTE ในราคาเพียงแค่ 3880 เยน หรือเงินไทย 1,471 บาท
_________________________________________________________
From Japan with Love 3G ไทย จะช้ากว่านี้ ไม่ได้แล้ว
ขณะ ที่ 3G บ้านเรา กำลังอยู่ในช่วงตั้งไข่ ที่ตั้งมานานนับ 10 ปี แต่ก็ไม่ได้ก้าวไปไหน เหตุเพราะถูกขัดขาจากคนกันเอง เดชะบุญที่เราได้คณะกรรมการ กสทช. 11 ท่าน เข้ามากำกับดูแล โดยมี คณะกรรมการ กทค. ที่นำโดย พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นประธาน ออกโรง Take Action เดินหน้าประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ ภาพที่เห็นข้างหน้า จึงมีความชัดเจนขึ้น ว่าเส้นทาง 3G ของเรา จะสุกสกาว
เมื่อหันไปดู ประเทศที่เจริญแล้ว ยกตัวอย่าง ญี่ปุ่น ที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีมาตลอดเวลา ในขณะนี้ ต้องยอมรับว่า เขาก้าวไปไกลกว่าเรามาก ประเทศไทย กำลังจะประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz สำหรับทำ 3G sหรือ เทคโนโลยีที่ Advance กว่านั้น แต่ญี่ปุ่น กำลังจะอัพเกรดโครงข่าย LTE หรือ 4G ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้ Advanced ยิ่งขึ้น ด้วยสปีด 112 Mbps
จาก การเดินทางไปทดสอบบริการดาต้าโรมมิ่ง 3G ระหว่างเอไอเอส กับโอเปอเรเตอร์ญี่ปุ่น ที่เป็นบริการแบบ Worry Free ไม่มีปัญหา Bill Shock อีกต่อไป จึงมีโอกาสได้สัมผัสกับความไฮเทคของญี่ปุ่น และ ได้เห็นศักยภาพของโครงข่ายการสื่อสาร ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ว่าเป็นอย่างไร
ใน ประเทศญี่ปุ่น การให้บริการระบบโทรคมนาคม จะใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz เป็นหลัก นั่นหมายความว่า ประเทศของเขา เป็น 3G หมดแล้ว เมื่อเทียบกับประเทศไทย คลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่พอจะจับต้องได้ มีเพียง TOT 3G เท่านั้น
ในสายตาของชาวญี่ปุ่น 3G ที่เขายอมรับ จึงเป็น 3G ที่ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ไม่ใช่ 3G บนคลื่นความถี่เดิม แบบบ้านเรา ที่โอเปอเรเตอร์ ต้องพยายามขวนขวายดิ้นรน หาทางลงทุน อัพเกรดโครงข่ายกันเอง เพราะเป็นเพียงทางออกเดียว เนื่องจากเทคโนโลยีไม่สามารถรอได้อีกต่อไป
ความจริงในข้อนี้ เปรียบดังเรื่องตลกร้ายที่คอยหลอกหลอนชาวไทย เมื่อดูในแผนผังประเทศที่ให้บริการ 3G ของผู้ให้บริการรายหนึ่งในญี่ปุ่น ประเทศไทย ถูกจัดให้เป็นโซนที่เปิดให้บริการแค่ 2G เท่านั้น ขณะที่ประเทศเขา กำลังเปิดให้บริการ 4G พร้อมทั้งขายอุปกรณ์ LTE ในราคาเพียงแค่ 3880 เยน หรือเงินไทย 1,471 บาท
อุปกรณ์ดังกล่าว ทางผู้ขายระบุว่า สามารถนำไปใช้ในประเทศอื่นได้ ยกเว้นประเทศที่ไม่มี 3G นั่นคือ ประเทศไทย
“เกรง ว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ในประเทศไทยนะครับ เพราะประเทศไทย ยังไม่มี 3G” นี่คือคำพูด ของพนักงานขายอุปกรณ์ที่กล่าวถึงนี้ ก่อนที่เขาจะหยิบเอกสารของผู้ให้บริการ มาเปิดให้ดูภาพประกอบดังกล่าว ที่ระบุว่า ประเทศไทย ไม่มี 3G ตามรูปที่ 1
โร้ดแมป ชัดเจน LTE ทั่วประเทศ
หัน มาดูที่ LTE ในบ้านของเขา จากรูปที่ 2 EMOBILE ซึ่งขณะนี้ให้บริการ LTE ได้เปิดเผยถึงโร้ดแมป การให้บริการ LTE ว่า โครงข่ายของเขาจะครอบคลุมพื้นที่ 99% ของประเทศ ภายในเดือน มิ.ย. และพร้อมที่จะอัพเกรดสปีดการให้บริการเป็น 112 Mbps เป็นลำดับต่อไป
ทั้ง นี้ EMOBILE ได้เริ่มเปิดให้บริการ LTE ที่สปีด 75 Mbps มาตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน โดยให้บริการร่วมกับ 3G ที่สปีด 42 Mbps ซึ่งเท่ากับของบ้านเราในตอนนี้ โดยใช้ชื่อว่า EMOBILE G4 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 93% ของประเทศ ณ เวลานี้ ส่วน LTE ยังกระจุกอยู่ตามเขตตัวเมืองใหญ่
Handset ที่ไม่มีคำว่า 2G
เมื่อ กล่าวถึง โครงข่ายแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คืออุปกรณ์ลูกข่าย ซึ่งปัจจุบัน อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในท้องตลาดคือ Pocket Wifi LTE ซึ่งมีอยู่ 2 รุ่นคือ GL01P จาก หัวเว่ย และ GL02P ของ AnyDATA ที่ใช้รับสัญญาณ LTE มาแปลงเป็น Wi-Fi
ขณะที่โทรศัพท์มือถือในประเทศ ญี่ปุ่น ที่เห็นตามท้องตลาดคือ ฟีเจอร์โฟน ที่เป็น 3G และเป็นแบรนด์ที่ผลิตในประเทศ เช่น Sharp เป็นต้น ส่วนสมาร์ทโฟน จะมีทั้ง iPhone, Samsung, Sony และหัวเว่ย
ที่น่าสนใจคือ โทรศัพท์มือถือที่เป็นฟีเจอร์โฟนของเขา จะผลิตขึ้นมาใช้งานกับคลื่นความถี่ 2.1 GHz เท่านั้น ขณะที่สมาร์ทโฟน พวกเขาสามารถซื้อมาใช้งานได้ โดยไม่ต้องมีข้อกังวลว่า จะใช้กับ 3G ได้ทุกค่าย หรือเปล่า
ขณะเดียว กัน ในมุมของสมาร์ทโฟน โมเดลที่น่าสนใจที่สุด เห็นจะเป็นรุ่นที่รองรับ LTE โดยเฉพาะ อย่าง Samsung Galaxy S2 LTE ที่ราคาขายคิดเป็นเงินไทย 21,900 บาท แพงกว่าบ้านเรา 3 พันบาท แต่คุ้มค่าเพราะได้ใช้ LTE
ก่อนหน้านี้ สมัยที่เรากล่าวถึง 3G ใหม่ๆ ยังมีข้อวิตกกังวลว่า หากเรามี 3G ครอบคลุมทั่วประเทศจริง จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 3G ใช้ เนื่องจากขณะนั้น ราคาของโทรศัพท์มือถือ ยังแพงมาก ผิดกับปัจจุบัน ที่แม้แต่สมาร์ทโฟน ยังมีราคาให้คนทั่วไป จับจองเป็นเจ้าของได้
อย่าง ไรก็ดี ในตลาดฟีเจอรืโฟนบ้านเรา ยังคงเป็น 2G อยู่ เพราะเป็นมาตรฐานส่วนใหญ่ แต่เชื่อว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ 3G ขยายพื้นที่ครอบคลุม หลังจากมีการประมูลใบอนุญาตเกิดขึ้น และโอเปอเรเตอร์ เดินหน้าเต็มกำลัง ตลาดฟีเจอร์โฟน และมือถือเฮาส์แบรนด์ ก็พร้อมที่จะรองรับ 2.1 GHz เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสมาร์ทโฟนแต่อย่างใด
TowerCo โมเดลนี้ ญี่ปุ่นก็มีใช้แล้ว
ใน ประเด็นของการทำ TowerCo ที่ กสทช. เร่งผลักดันให้เกิดการออกใบอนุญาต TowerCo ให้ได้ เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และเป็นทางออก ของการรับมือวิกฤตแบนด์วิธนั้น โมเดลดังกล่าว ในประเทศญี่ปุ่นเอง ก็มีให้เห็นชัดเจน ตัวอย่างคือ Tokyo Tower และ Tokyo Sky Tree หรือแม้กระทั่งเสาสัญญาณที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ นอกตัวเมือง ก็เป็นโมเดลของ TowerCo เช่นกัน ดังรูปที่ 3
สำหรับปัญหาในด้าน วิกฤติแบนด์วิธ ซึ่งก่อนหน้านี้ พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวถึงมาตลอด และเปิดเผยว่า ทางออกของปัญหา คือการทำ TowerCo ในญี่ปุ่นเอง ก็มีปัญหาดังกล่าว เนื่องจากปริมาณการใช้งานดาต้า ที่ญี่ปุ่นสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อมีดิจิทัลทีวี ขณะที่หอคอย Tokyo Tower เดิม ซึ่งเป็นจุดกระจายสัญญาณที่ดีที่สุด ก็เริ่มประสบปัญหาในด้านคุณภาพสัญญาณ เนื่องจากถูกตึกระฟ้าจำนวนมาก บังสัญญาณ
ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้แก่ ปัญหาดังกล่าว โดยการสร้าง Tokyo Sky Tree (ภาพที่ 4) ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งในการกระจายสัญญาณ ทีวีดิจิทัล และสัญญาณโทรคมนาคม ของผู้ให้บริการรายต่างๆ ซึ่งขณะนี้ ข้อมูลจากไกด์ท้องถิ่น ระบุว่า มีการติดตั้งพร้อมแล้ว เพียงแต่ตัวหอคอย จะเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 พ.ค. นี้
โมเดลของการทำ Tower แล้วให้โอเปอเรเตอร์เข้ามาใช้ในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบที่น่าสนใจ เพราะผู้ได้รับประโยชน์มิใช่แค่ผู้ให้บริการ กับลูกค้าเท่านั้น แต่ตัว Tower เอง ยังสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้ ด้วยการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้อีก โดยไกด์ท้องถิ่น เปิดเผยว่า รายได้ของชาวญี่ปุ่นในละแวกที่อยู่ใกล้ๆ กับ Tower นี้ มาจากการขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้าชม
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ประเทศไทย?
กลับ มาที่ประเทศไทย เราพยายามผลักดันมาตลอด ให้เกิดการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz ขึ้น เพื่อเข้าสู่ยุค 3G ที่เป็น 3G จริงๆ บนคลื่นความถี่มาตรฐาน แต่เกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง
ใน ปี 2553 กทช. ในยุคนั้น พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ วางโร้ดแมปว่า จะต้องเกิดการประมูล 3G ในเดือน ก.ย. และหลังจากนั้น จะพิจารณาคลื่นความถี่สำหรับ BWA หรือ Broadband Wireless Access ต่อเนื่อง แต่การประมูลก็มีเหตุให้ยุติลงกลางคัน ด้วยการยื่นฟ้องศาลปกครอง โดย กสท
เมื่อ มาถึงการประมูลที่กำลังจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 3 ที่คณะกรรมการ กทค. เร่งเดินหน้าเต็มที่มาตลอด ล่าสุด คือการประกาศรูปแบบการประมูลคลื่นแบบใหม่ ที่ไม่ใช่วิธี N-1 ในจุดนี้ ทำให้เราทุกคนต่างพากันภาวนา ขอให้การประมูลในครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี อย่าให้มีอุปสรรคใดๆ เข้ามาขวาง
ในเรื่องดังกล่าว ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ด้านกฏหมาย กล่าวว่า การประมูลในครั้งนี้ จะต้องทำอย่างรัดกุมที่สุด เพื่ออุดช่องโหว่ที่ผู้ไม่หวังดี อาจใช้ในการก่อกวนให้มากที่สุด
ขณะ ที่แหล่งข่าวในวงการโทรคมฯ รายหนึ่ง กล่าวว่า การประมูลที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาประเทศ หากมีใครก็ตามที่เข้ามาขัดขวาง หรือหาทางล่มการประมูล คนๆ นั้น คือผู้ขัดความเจริญของชาติ
3 โอเปอเรเตอร์ ตอบรับ ประมูลรูปแบบใหม่
พ.อ.เศรษฐ พงค์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมประมูลใบอนุญาตให้บริการคลื่นความ ถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่า บอร์ดได้รับความเห็นจากโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และ ทรูมูฟ ซึ่งเห็นด้วยกับวิธีการประมูลรูปแบบใหม่ของ กสทช. ที่จะแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็น 9 ใบ ใบละ 5 เมกะเฮิร์ตซ
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการได้เชิญโอเปอเรเตอร์รายใหญ่เข้ามาแสดงความเห็น รวมถึงเชิญ ทีโอที, กสท, สามารถ, เบญจจินดา, ล็อกซ์เล่ย์ และ กลุ่มจัสมิน เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งทุกคนยอมรับรูปแบบใหม่ของ กสทช. แต่ต้องการให้จำกัดว่าผู้เข้าร่วมประมูล 1 ราย สามารถครอบครองความถี่ได้ไม่เกิน 15 MHz ซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการ 3G แล้ว และจะเร่งให้ทันเดือน ต.ค.นี้ตามแผนที่วางไว้
“กสทช.พยายามที่ จะเปิดการประมูลให้ทันในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อที่จะผลักดันและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งการให้บริการ 3G ถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญมาก เพราะเทรนด์การใช้งานเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร 3G ไม่เพียงแค่จะใช้เพื่อการสื่อสารเท่านั้นแต่จะสร้างศักยภาพในการดำเนิน ธุรกิจได้อย่างมหาศาล” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว
วิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า การเปิดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่รูปแบบใหม่ที่เปิดโดยให้ผู้ประกอบการมือ ถือทุกรายมีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลได้อย่างเท่าเทียม จะแตกต่างจากรูปแบบเดิมที่เปิดให้มีการประมูลเพียง 2 ใบ และได้แบ่งออกเป็นใบละ 15 MHz และผู้ที่พลาดการประมูลครั้งแรกก็จะต้องรอเวลาถึง 6 เดือน กสทช. จึงจะเปิดประมูลใบใหม่ ซึ่งการเปิดประมูลในครั้งนี้ เอไอเอส ยอมรับได้
“จริงๆ เราต้องการคลื่นความถี่อย่างน้อย 20 MHz ขึ้นไป เนื่องจากปัจจุบันลูกค้าของเรามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและด้วยเท รนด์การใช้งานที่มีมากขึ้น และเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกค้าที่มีอยู่เกือบ 30 ล้านรายในปัจจุบัน แต่หาก กสทช. จำกัดให้ค่ายละ 15MHz เอไอเอส ก็ยอมรับในกฏกติกาเช่นกัน” วิเชียร กล่าว
หลังจากมองประเทศเพื่อน บ้านอย่าง ญี่ปุ่น และหันมาดูประเทศเรา ก็อดสะท้อนใจไม่ได้ ว่า ทำไม้ ทำไม ต้องปล่อยให้เขา "ทิ้งห่าง" มากขนาดนี้???
ขออนุญาตหวังเป็น อย่างยิ่งว่า ในการประมูลใบอนุญาต ที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 3 นี้ จะไม่มีกลวิธีใดๆ ถูกงัดขึ้นมาใช้ เพื่อ"ทำแท้ง" 3G กันอีก
ประเทศไทย จะล้าหลังกว่านี้ไม่ได้แล้วครับ...เจ้านาย....
tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1772
ประเด็นหลัก
หันมาดูที่ LTE ในบ้านของเขา จากรูปที่ 2 EMOBILE ซึ่งขณะนี้ให้บริการ LTE ได้เปิดเผยถึงโร้ดแมป การให้บริการ LTE ว่า โครงข่ายของเขาจะครอบคลุมพื้นที่ 99% ของประเทศ ภายในเดือน มิ.ย. และพร้อมที่จะอัพเกรดสปีดการให้บริการเป็น 112 Mbps เป็นลำดับต่อไป
ทั้งนี้ EMOBILE ได้เริ่มเปิดให้บริการ LTE ที่สปีด 75 Mbps มาตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน โดยให้บริการร่วมกับ 3G ที่สปีด 42 Mbps ซึ่งเท่ากับของบ้านเราในตอนนี้ โดยใช้ชื่อว่า EMOBILE G4 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 93% ของประเทศ ณ เวลานี้ ส่วน LTE ยังกระจุกอยู่ตามเขตตัวเมืองใหญ่
ความจริงในข้อนี้ เปรียบดังเรื่องตลกร้ายที่คอยหลอกหลอนชาวไทย เมื่อดูในแผนผังประเทศที่ให้บริการ 3G ของผู้ให้บริการรายหนึ่งในญี่ปุ่น ประเทศไทย ถูกจัดให้เป็นโซนที่เปิดให้บริการแค่ 2G เท่านั้น ขณะที่ประเทศเขา กำลังเปิดให้บริการ 4G พร้อมทั้งขายอุปกรณ์ LTE ในราคาเพียงแค่ 3880 เยน หรือเงินไทย 1,471 บาท
_________________________________________________________
From Japan with Love 3G ไทย จะช้ากว่านี้ ไม่ได้แล้ว
ขณะ ที่ 3G บ้านเรา กำลังอยู่ในช่วงตั้งไข่ ที่ตั้งมานานนับ 10 ปี แต่ก็ไม่ได้ก้าวไปไหน เหตุเพราะถูกขัดขาจากคนกันเอง เดชะบุญที่เราได้คณะกรรมการ กสทช. 11 ท่าน เข้ามากำกับดูแล โดยมี คณะกรรมการ กทค. ที่นำโดย พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นประธาน ออกโรง Take Action เดินหน้าประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ ภาพที่เห็นข้างหน้า จึงมีความชัดเจนขึ้น ว่าเส้นทาง 3G ของเรา จะสุกสกาว
เมื่อหันไปดู ประเทศที่เจริญแล้ว ยกตัวอย่าง ญี่ปุ่น ที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีมาตลอดเวลา ในขณะนี้ ต้องยอมรับว่า เขาก้าวไปไกลกว่าเรามาก ประเทศไทย กำลังจะประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz สำหรับทำ 3G sหรือ เทคโนโลยีที่ Advance กว่านั้น แต่ญี่ปุ่น กำลังจะอัพเกรดโครงข่าย LTE หรือ 4G ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้ Advanced ยิ่งขึ้น ด้วยสปีด 112 Mbps
จาก การเดินทางไปทดสอบบริการดาต้าโรมมิ่ง 3G ระหว่างเอไอเอส กับโอเปอเรเตอร์ญี่ปุ่น ที่เป็นบริการแบบ Worry Free ไม่มีปัญหา Bill Shock อีกต่อไป จึงมีโอกาสได้สัมผัสกับความไฮเทคของญี่ปุ่น และ ได้เห็นศักยภาพของโครงข่ายการสื่อสาร ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ว่าเป็นอย่างไร
ใน ประเทศญี่ปุ่น การให้บริการระบบโทรคมนาคม จะใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz เป็นหลัก นั่นหมายความว่า ประเทศของเขา เป็น 3G หมดแล้ว เมื่อเทียบกับประเทศไทย คลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่พอจะจับต้องได้ มีเพียง TOT 3G เท่านั้น
ในสายตาของชาวญี่ปุ่น 3G ที่เขายอมรับ จึงเป็น 3G ที่ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ไม่ใช่ 3G บนคลื่นความถี่เดิม แบบบ้านเรา ที่โอเปอเรเตอร์ ต้องพยายามขวนขวายดิ้นรน หาทางลงทุน อัพเกรดโครงข่ายกันเอง เพราะเป็นเพียงทางออกเดียว เนื่องจากเทคโนโลยีไม่สามารถรอได้อีกต่อไป
ความจริงในข้อนี้ เปรียบดังเรื่องตลกร้ายที่คอยหลอกหลอนชาวไทย เมื่อดูในแผนผังประเทศที่ให้บริการ 3G ของผู้ให้บริการรายหนึ่งในญี่ปุ่น ประเทศไทย ถูกจัดให้เป็นโซนที่เปิดให้บริการแค่ 2G เท่านั้น ขณะที่ประเทศเขา กำลังเปิดให้บริการ 4G พร้อมทั้งขายอุปกรณ์ LTE ในราคาเพียงแค่ 3880 เยน หรือเงินไทย 1,471 บาท
อุปกรณ์ดังกล่าว ทางผู้ขายระบุว่า สามารถนำไปใช้ในประเทศอื่นได้ ยกเว้นประเทศที่ไม่มี 3G นั่นคือ ประเทศไทย
“เกรง ว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ในประเทศไทยนะครับ เพราะประเทศไทย ยังไม่มี 3G” นี่คือคำพูด ของพนักงานขายอุปกรณ์ที่กล่าวถึงนี้ ก่อนที่เขาจะหยิบเอกสารของผู้ให้บริการ มาเปิดให้ดูภาพประกอบดังกล่าว ที่ระบุว่า ประเทศไทย ไม่มี 3G ตามรูปที่ 1
โร้ดแมป ชัดเจน LTE ทั่วประเทศ
หัน มาดูที่ LTE ในบ้านของเขา จากรูปที่ 2 EMOBILE ซึ่งขณะนี้ให้บริการ LTE ได้เปิดเผยถึงโร้ดแมป การให้บริการ LTE ว่า โครงข่ายของเขาจะครอบคลุมพื้นที่ 99% ของประเทศ ภายในเดือน มิ.ย. และพร้อมที่จะอัพเกรดสปีดการให้บริการเป็น 112 Mbps เป็นลำดับต่อไป
ทั้ง นี้ EMOBILE ได้เริ่มเปิดให้บริการ LTE ที่สปีด 75 Mbps มาตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน โดยให้บริการร่วมกับ 3G ที่สปีด 42 Mbps ซึ่งเท่ากับของบ้านเราในตอนนี้ โดยใช้ชื่อว่า EMOBILE G4 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 93% ของประเทศ ณ เวลานี้ ส่วน LTE ยังกระจุกอยู่ตามเขตตัวเมืองใหญ่
Handset ที่ไม่มีคำว่า 2G
เมื่อ กล่าวถึง โครงข่ายแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คืออุปกรณ์ลูกข่าย ซึ่งปัจจุบัน อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในท้องตลาดคือ Pocket Wifi LTE ซึ่งมีอยู่ 2 รุ่นคือ GL01P จาก หัวเว่ย และ GL02P ของ AnyDATA ที่ใช้รับสัญญาณ LTE มาแปลงเป็น Wi-Fi
ขณะที่โทรศัพท์มือถือในประเทศ ญี่ปุ่น ที่เห็นตามท้องตลาดคือ ฟีเจอร์โฟน ที่เป็น 3G และเป็นแบรนด์ที่ผลิตในประเทศ เช่น Sharp เป็นต้น ส่วนสมาร์ทโฟน จะมีทั้ง iPhone, Samsung, Sony และหัวเว่ย
ที่น่าสนใจคือ โทรศัพท์มือถือที่เป็นฟีเจอร์โฟนของเขา จะผลิตขึ้นมาใช้งานกับคลื่นความถี่ 2.1 GHz เท่านั้น ขณะที่สมาร์ทโฟน พวกเขาสามารถซื้อมาใช้งานได้ โดยไม่ต้องมีข้อกังวลว่า จะใช้กับ 3G ได้ทุกค่าย หรือเปล่า
ขณะเดียว กัน ในมุมของสมาร์ทโฟน โมเดลที่น่าสนใจที่สุด เห็นจะเป็นรุ่นที่รองรับ LTE โดยเฉพาะ อย่าง Samsung Galaxy S2 LTE ที่ราคาขายคิดเป็นเงินไทย 21,900 บาท แพงกว่าบ้านเรา 3 พันบาท แต่คุ้มค่าเพราะได้ใช้ LTE
ก่อนหน้านี้ สมัยที่เรากล่าวถึง 3G ใหม่ๆ ยังมีข้อวิตกกังวลว่า หากเรามี 3G ครอบคลุมทั่วประเทศจริง จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 3G ใช้ เนื่องจากขณะนั้น ราคาของโทรศัพท์มือถือ ยังแพงมาก ผิดกับปัจจุบัน ที่แม้แต่สมาร์ทโฟน ยังมีราคาให้คนทั่วไป จับจองเป็นเจ้าของได้
อย่าง ไรก็ดี ในตลาดฟีเจอรืโฟนบ้านเรา ยังคงเป็น 2G อยู่ เพราะเป็นมาตรฐานส่วนใหญ่ แต่เชื่อว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ 3G ขยายพื้นที่ครอบคลุม หลังจากมีการประมูลใบอนุญาตเกิดขึ้น และโอเปอเรเตอร์ เดินหน้าเต็มกำลัง ตลาดฟีเจอร์โฟน และมือถือเฮาส์แบรนด์ ก็พร้อมที่จะรองรับ 2.1 GHz เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสมาร์ทโฟนแต่อย่างใด
TowerCo โมเดลนี้ ญี่ปุ่นก็มีใช้แล้ว
ใน ประเด็นของการทำ TowerCo ที่ กสทช. เร่งผลักดันให้เกิดการออกใบอนุญาต TowerCo ให้ได้ เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และเป็นทางออก ของการรับมือวิกฤตแบนด์วิธนั้น โมเดลดังกล่าว ในประเทศญี่ปุ่นเอง ก็มีให้เห็นชัดเจน ตัวอย่างคือ Tokyo Tower และ Tokyo Sky Tree หรือแม้กระทั่งเสาสัญญาณที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ นอกตัวเมือง ก็เป็นโมเดลของ TowerCo เช่นกัน ดังรูปที่ 3
สำหรับปัญหาในด้าน วิกฤติแบนด์วิธ ซึ่งก่อนหน้านี้ พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวถึงมาตลอด และเปิดเผยว่า ทางออกของปัญหา คือการทำ TowerCo ในญี่ปุ่นเอง ก็มีปัญหาดังกล่าว เนื่องจากปริมาณการใช้งานดาต้า ที่ญี่ปุ่นสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อมีดิจิทัลทีวี ขณะที่หอคอย Tokyo Tower เดิม ซึ่งเป็นจุดกระจายสัญญาณที่ดีที่สุด ก็เริ่มประสบปัญหาในด้านคุณภาพสัญญาณ เนื่องจากถูกตึกระฟ้าจำนวนมาก บังสัญญาณ
ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้แก่ ปัญหาดังกล่าว โดยการสร้าง Tokyo Sky Tree (ภาพที่ 4) ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งในการกระจายสัญญาณ ทีวีดิจิทัล และสัญญาณโทรคมนาคม ของผู้ให้บริการรายต่างๆ ซึ่งขณะนี้ ข้อมูลจากไกด์ท้องถิ่น ระบุว่า มีการติดตั้งพร้อมแล้ว เพียงแต่ตัวหอคอย จะเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 พ.ค. นี้
โมเดลของการทำ Tower แล้วให้โอเปอเรเตอร์เข้ามาใช้ในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบที่น่าสนใจ เพราะผู้ได้รับประโยชน์มิใช่แค่ผู้ให้บริการ กับลูกค้าเท่านั้น แต่ตัว Tower เอง ยังสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้ ด้วยการเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้อีก โดยไกด์ท้องถิ่น เปิดเผยว่า รายได้ของชาวญี่ปุ่นในละแวกที่อยู่ใกล้ๆ กับ Tower นี้ มาจากการขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้าชม
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ประเทศไทย?
กลับ มาที่ประเทศไทย เราพยายามผลักดันมาตลอด ให้เกิดการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz ขึ้น เพื่อเข้าสู่ยุค 3G ที่เป็น 3G จริงๆ บนคลื่นความถี่มาตรฐาน แต่เกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง
ใน ปี 2553 กทช. ในยุคนั้น พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ วางโร้ดแมปว่า จะต้องเกิดการประมูล 3G ในเดือน ก.ย. และหลังจากนั้น จะพิจารณาคลื่นความถี่สำหรับ BWA หรือ Broadband Wireless Access ต่อเนื่อง แต่การประมูลก็มีเหตุให้ยุติลงกลางคัน ด้วยการยื่นฟ้องศาลปกครอง โดย กสท
เมื่อ มาถึงการประมูลที่กำลังจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 3 ที่คณะกรรมการ กทค. เร่งเดินหน้าเต็มที่มาตลอด ล่าสุด คือการประกาศรูปแบบการประมูลคลื่นแบบใหม่ ที่ไม่ใช่วิธี N-1 ในจุดนี้ ทำให้เราทุกคนต่างพากันภาวนา ขอให้การประมูลในครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี อย่าให้มีอุปสรรคใดๆ เข้ามาขวาง
ในเรื่องดังกล่าว ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ด้านกฏหมาย กล่าวว่า การประมูลในครั้งนี้ จะต้องทำอย่างรัดกุมที่สุด เพื่ออุดช่องโหว่ที่ผู้ไม่หวังดี อาจใช้ในการก่อกวนให้มากที่สุด
ขณะ ที่แหล่งข่าวในวงการโทรคมฯ รายหนึ่ง กล่าวว่า การประมูลที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาประเทศ หากมีใครก็ตามที่เข้ามาขัดขวาง หรือหาทางล่มการประมูล คนๆ นั้น คือผู้ขัดความเจริญของชาติ
3 โอเปอเรเตอร์ ตอบรับ ประมูลรูปแบบใหม่
พ.อ.เศรษฐ พงค์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมประมูลใบอนุญาตให้บริการคลื่นความ ถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่า บอร์ดได้รับความเห็นจากโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และ ทรูมูฟ ซึ่งเห็นด้วยกับวิธีการประมูลรูปแบบใหม่ของ กสทช. ที่จะแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็น 9 ใบ ใบละ 5 เมกะเฮิร์ตซ
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการได้เชิญโอเปอเรเตอร์รายใหญ่เข้ามาแสดงความเห็น รวมถึงเชิญ ทีโอที, กสท, สามารถ, เบญจจินดา, ล็อกซ์เล่ย์ และ กลุ่มจัสมิน เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งทุกคนยอมรับรูปแบบใหม่ของ กสทช. แต่ต้องการให้จำกัดว่าผู้เข้าร่วมประมูล 1 ราย สามารถครอบครองความถี่ได้ไม่เกิน 15 MHz ซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการ 3G แล้ว และจะเร่งให้ทันเดือน ต.ค.นี้ตามแผนที่วางไว้
“กสทช.พยายามที่ จะเปิดการประมูลให้ทันในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อที่จะผลักดันและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งการให้บริการ 3G ถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญมาก เพราะเทรนด์การใช้งานเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร 3G ไม่เพียงแค่จะใช้เพื่อการสื่อสารเท่านั้นแต่จะสร้างศักยภาพในการดำเนิน ธุรกิจได้อย่างมหาศาล” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว
วิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า การเปิดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่รูปแบบใหม่ที่เปิดโดยให้ผู้ประกอบการมือ ถือทุกรายมีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลได้อย่างเท่าเทียม จะแตกต่างจากรูปแบบเดิมที่เปิดให้มีการประมูลเพียง 2 ใบ และได้แบ่งออกเป็นใบละ 15 MHz และผู้ที่พลาดการประมูลครั้งแรกก็จะต้องรอเวลาถึง 6 เดือน กสทช. จึงจะเปิดประมูลใบใหม่ ซึ่งการเปิดประมูลในครั้งนี้ เอไอเอส ยอมรับได้
“จริงๆ เราต้องการคลื่นความถี่อย่างน้อย 20 MHz ขึ้นไป เนื่องจากปัจจุบันลูกค้าของเรามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและด้วยเท รนด์การใช้งานที่มีมากขึ้น และเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกค้าที่มีอยู่เกือบ 30 ล้านรายในปัจจุบัน แต่หาก กสทช. จำกัดให้ค่ายละ 15MHz เอไอเอส ก็ยอมรับในกฏกติกาเช่นกัน” วิเชียร กล่าว
หลังจากมองประเทศเพื่อน บ้านอย่าง ญี่ปุ่น และหันมาดูประเทศเรา ก็อดสะท้อนใจไม่ได้ ว่า ทำไม้ ทำไม ต้องปล่อยให้เขา "ทิ้งห่าง" มากขนาดนี้???
ขออนุญาตหวังเป็น อย่างยิ่งว่า ในการประมูลใบอนุญาต ที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 3 นี้ จะไม่มีกลวิธีใดๆ ถูกงัดขึ้นมาใช้ เพื่อ"ทำแท้ง" 3G กันอีก
ประเทศไทย จะล้าหลังกว่านี้ไม่ได้แล้วครับ...เจ้านาย....
tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1772
ไม่มีความคิดเห็น: