Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 สิงหาคม 2555 ( วันนี้ ) กสทช.ยังไม่สรุป ราคาประมูลเบื่องต้น 3G( แต่ข่าวอ้างอาจปรับขึ้นเป็น 6000 ลบ.หรือลดเพดาเหลือ15เมกะเฮิรตซ์)

( วันนี้ ) กสทช.ยังไม่สรุป ราคาประมูลเบื่องต้น 3G( แต่ข่าวอ้างอาจปรับขึ้นเป็น 6000 ลบ.หรือลดเพดาเหลือ15เมกะเฮิรตซ์)


ประเด็นหลัก

ก่อนเข้าประชุม..
กรรมการ กทค. กล่าวต่อว่า เหตุที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากบอร์ดบางรายยังมีความเห็นว่าให้คงทุกอย่างเท่าเดิม สวนทางกับการประชาพิจารณ์ที่ต้องการให้ปรับ ดังนั้น หากไม่ปรับ ทาง กทค.ต้องชี้แจงได้กรณีที่กำหนด 20 เมกะเฮิรตซ์เท่าเดิม ขณะที่ ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายไปตกลงกันนอกรอบแล้วประมูลเพียง 15 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีอยู่ 45 เมกะเฮิรตซ์ให้ลงตัวทุกราย

“ส่วน ตัวเห็นว่าปรับให้เหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์ ดีกว่าที่จะให้ผู้ประกอบการไปตกลงกันเอง ซึ่งก็เหมือนการฮั้วกันทางอ้อม แต่หากปรับเหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์แล้ว ราคาเริ่มประมูลจะต้องสูงขึ้น โดยตามผลการศึกษาอยู่ที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท” นพ.ประวิทย์ กล่าว


หลังเข้า
ขณะ ที่ราคาประมูลนั้นเห็นว่าใบละ 4,500 ล้านบาท เป็นราคาที่เหมาะสม และ กทค.สามารถชี้แจงได้สาเหตุที่ราคาสูงขึ้นจาก 1.28 หมื่นล้านบาท เป็น 1.35 หมื่นล้านบาทต่อ 15 เมกะเฮิรตซ์ หรือแพงกว่าเดิม 700 ล้านบาท ตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 7% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

รายงานข่าว จาก กสทช. ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่เหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์ ตามความเห็นจากการเปิดประชาพิจารณ์ หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล เพื่อประมูลใบอนุญาต 3 จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์

ทั้งนี้ ประเด็นการถือครองคลื่นความถี่จะเป็นจุดเดียวที่ กทค.จะปรับ โดยยังคงราคาเริ่มต้นประมูลใบละ 4.5 พันล้านบาทเท่าเดิม แม้ว่าในบอร์ดจะมีความเห็นที่แตกต่างกัน โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ต้องการให้ปรับราคาขึ้นเป็น 6 พันล้านบาท แต่เสียงส่วนใหญ่ใน กทค. เห็นว่าไม่ควรปรับราคาขึ้นอีก เพราะภาคเอกชนติงราคาเริ่มต้นประมูลสูงเกินไป หลังจากรับฟังประชาพิจารณ์ที่ผ่านมา.




___________________________________________


กทค.ยังไม่สรุปปรับ'สเปกตรัม แคป' ยันราคาเริ่มต้น3จี 4.5 พันล.

“เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ” ประธานบอร์ด กทค. เผยยังไม่สรุป สเปกตรัม แคป เหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์ ยันเริ่มต้นประมูล 3จี ราคาใบละ 4,500 ล้านบาท...

เมื่อ วันที่ 8 ส.ค. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด กทค.) ว่า ส่วนตัวมีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่ หรือ "สเปกตรัม แคป" เหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิม 20 เมกะเฮิรตซ์ ตามประชาพิจารณ์ แต่ต้องขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมบอร์ดทั้งหมดว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งหากที่ประชุมไม่เห็นด้วย ก็ต้องชี้แจงเหตุผลที่ยังคงแบบเดิมไว้อย่างชัดเจน โดยจะพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมสัปดาห์หน้า

ขณะที่ราคาประมูลนั้น เห็นว่าใบละ 4,500 ล้านบาท เป็นราคาที่เหมาะสม และ กทค.สามารถชี้แจงได้สาเหตุที่ราคาสูงขึ้นจาก 1.28 หมื่นล้านบาท เป็น 1.35 หมื่นล้านบาทต่อ 15 เมกะเฮิรตซ์ หรือแพงกว่าเดิม 700 ล้านบาท ตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 7% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

สำหรับผู้ ให้บริการเอกชนทั้ง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และ ทรู คอร์ปอเรชั่น แสดงความจำนงชัดเจนว่าต้องการประมูลไลเซ่นส์เพียง 3 ใบ หรือ 15 เมกะเฮิรตซ์ แม้ว่า กสทช.จะกำหนดสูงสุด 4 ใบก็ตาม เนื่องจากจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์นั้นเพียงพอแล้ว และในอนาคตยังมีคลื่นความถี่อื่นๆ เช่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่กสทช. เตรียมเปิดประมูลอีกด้วย

รายงานข่าวจาก กสทช. ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่เหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์ ตามความเห็นจากการเปิดประชาพิจารณ์ หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล เพื่อประมูลใบอนุญาต 3 จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์

ทั้งนี้ ประเด็นการถือครองคลื่นความถี่จะเป็นจุดเดียวที่ กทค.จะปรับ โดยยังคงราคาเริ่มต้นประมูลใบละ 4.5 พันล้านบาทเท่าเดิม แม้ว่าในบอร์ดจะมีความเห็นที่แตกต่างกัน โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ต้องการให้ปรับราคาขึ้นเป็น 6 พันล้านบาท แต่เสียงส่วนใหญ่ใน กทค. เห็นว่าไม่ควรปรับราคาขึ้นอีก เพราะภาคเอกชนติงราคาเริ่มต้นประมูลสูงเกินไป หลังจากรับฟังประชาพิจารณ์ที่ผ่านมา.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/282207

_____________________________________________

ถกวันนี้! เผย บอร์ดกทค. เล็งปรับราคาไลเซ่นส์ 3จี ขึ้นเป็น 6พันล้านบาท

เผย บอร์ด กทค. เห็นต่างราคาประมูลไลเซ่นส์ 3จี เล็งอัพขึ้นเป็น 6 พันล้านบาท พร้อมถกอีกรอบวันนี้ (8 ส.ค.) ก่อนส่งบอร์ดใหญ่ กสทช. 22 ส.ค.นี้...

นพ.ประ วิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ขณะนี้บอร์ด กทค. ยังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลเพื่อประมูล ใบอนุญาต 3 จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยเฉพาะประเด็นที่จะต้องปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่ (Spectrum Cap) จาก 20 เมกะเฮิรตซ์ เหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์ หลังจากการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ หรือ ประชาพิจารณ์ แล้ว ได้รับความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ เพียงพอแล้ว

กรรมการ กทค. กล่าวต่อว่า เหตุที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากบอร์ดบางรายยังมีความเห็นว่าให้คงทุกอย่างเท่าเดิม สวนทางกับการประชาพิจารณ์ที่ต้องการให้ปรับ ดังนั้น หากไม่ปรับ ทาง กทค.ต้องชี้แจงได้กรณีที่กำหนด 20 เมกะเฮิรตซ์เท่าเดิม ขณะที่ ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายไปตกลงกันนอกรอบแล้วประมูลเพียง 15 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีอยู่ 45 เมกะเฮิรตซ์ให้ลงตัวทุกราย

“ส่วน ตัวเห็นว่าปรับให้เหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์ ดีกว่าที่จะให้ผู้ประกอบการไปตกลงกันเอง ซึ่งก็เหมือนการฮั้วกันทางอ้อม แต่หากปรับเหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์แล้ว ราคาเริ่มประมูลจะต้องสูงขึ้น โดยตามผลการศึกษาอยู่ที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท” นพ.ประวิทย์ กล่าว

นอก จากนี้ ราคาไลเซ่นส์ใบละ 6,000 ล้านบาท จากที่เดิมกำหนดไว้ 4,500 ล้านบาทไม่ถือเป็นราคาที่สูงเกินไป และเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายยังพร้อมเข้าร่วมประมูล เห็นได้ชัดเจนจากทั้ง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้วางงบประมาณสำหรับการเข้าประมูลไลเซ่นส์ไว้ที่ประมาณ 1.5-1.8 หมื่นล้านบาท โดยเบื้องต้น เอไอเอสตั้งงบประมาณอยู่ที่ 5 หมี่นล้านบาท ดีแทค 4 หมื่นล้านบาท ขณะที่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีงบประมาณที่ชัดเจน แต่พร้อมเข้าร่วมประมูล

กรรมการ กทค. กล่าวอีกว่า บอร์ด กทค.จะประชุมกันในวันนี้ (8 ส.ค.) เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องมีข้อสรุปที่ชัดเจนเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. ในวันที่ 22 ส.ค. นี้ เพื่อให้ทันการประมูลที่ใกล้เข้ามาในเดือน ต.ค.นี้

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/282036


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.