Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ตุลาคม 2555 สัมภาษณ์พิเศษ : พันธกิจที่สำคัญที่สุดของ...กสทช... สร้าง ( ทั้ง 3G และ Digital TV )

สัมภาษณ์พิเศษ : พันธกิจที่สำคัญที่สุดของ...กสทช... สร้าง ( ทั้ง 3G และ Digital TV )


ประเด็นหลัก

โดยในด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์...มีแผนการที่จะปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล (Digital TV) โดย กสทช. ได้กำหนดกรอบเวลาการดำเนินการ ช่วงระหว่างปี 2555-2559

1.กระบวนการ คือออกใบอนุญาต Digital TV ช่วงที่ 1 ก.พ. 2555-ส.ค. 2556 และ 2.กระบวนการออกใบอนุญาต Mobile TV มิ.ย. 2556-มิ.ย. 2557 และ 3.กระบวนการออกใบอนุญาต Digital TV ช่วงที่ 2 ระหว่าง มิ.ย.-ธ.ค. 2558 และ 4.ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ Digital TV อย่างสมบูรณ์แบบ และยกเลิกระบบ อะนาล็อก Analog Switch Off (ASO)

ทั้งนี้ กสทช. ได้กำหนดให้มาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ Digital ภาคพื้นดินของประเทศไทย ซึ่งเป็นมาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดินที่ทันสมัย สามารถมีช่องรายการโทรทัศน์จำนวนมากเพียงพอสำหรับการจัดสรรให้หน่วยงานภาค รัฐ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และเป็นมาตรฐานที่กลุ่มประเทศอาเซียนรับรองให้เป็นมาตรฐานรวมของอาเซียน


“เรา ต้องมองโอกาสในหลายมิติในเวลาถึง 15 ปีข้างหน้า มองโอกาสในการขยายบริการให้ประชาชนได้ใช้ ในราคาค่าบริการที่เป็นธรรม การกระตุ้นการแข่งขันในตลาด ไม่ได้มองโอกาสเพียงการได้เงินนำส่งเข้ารัฐมากๆ จากการประมูล ถ้าสร้างnetwork ได้เร็ว ประชาชนพอใจในการใช้บริการมาก ตลาดที่โตขึ้นจะส่งประโยชน์ทุกภาคส่วน รวมถึงรัฐที่จะได้เงินจัดเก็บเพิ่มมากขึ้นในระยะยาว การต้องการเงินประมูลจำนวนมากมีตัวอย่างในหลายประเทศที่หลังการประมูลสร้าง network ไม่สำเร็จ และที่สำคัญต้องไม่ผลักภาระไปยังผู้บริโภคที่จะส่งผลถึงราคาค่าบริการ”

ทั้ง นี้ผู้ชนะการประมูลด้วยจำนวนคลื่นมากกว่า 10 MHz ขึ้นไปจะต้องดำเนินการสร้างโครงข่ายเพื่อการให้บริการ (Roll Out Obligation) ครบทุกจังหวัดและ ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายใน 2 ปี และร้อยละ 80 ภายใน 4 ปี นับแต่วันได้รับอนุญาต ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการประมูลในครั้งนี้นอกจากเรื่องของเงินแล้วยังจะต้องมี ในเรื่องของความรับผิดชอบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การประมูลจึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการสื่อสารของประเทศ”

________________________________________

สัมภาษณ์พิเศษ : พันธกิจที่สำคัญที่สุดของ...กสทช... สร้าง

เป็น ที่รู้กันว่าในบรรดาองค์กรอิสระ....คณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)...เป็นหนึ่งในไม่กี่องค์กรที่ถูกจับตามองมากที่สุดจากสังคม ด้วยงานและหน้าที่ความรับผิดชอบที่มากมายซึ่งหลายเรื่องส่งผลต่อสังคมในวง กว้าง

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ“แนวหน้าโลกธุรกิจ” ว่า ไม่ใช่แค่ตัวองค์กรเท่านั้นที่ถูกจับตามองจากสังคม ตัวคณะกรรมการเองก็ถูกจับตามองจากสังคมเช่นกัน บางครั้งก็ถูกกดดันจากหลายส่วนด้วย แต่อย่างไรก็ตามเราก็ต้องยึดหลักและปรัชญาการทำงาน ให้ตรงกับที่ระบุไว้ในกฎหมายของ กสทช.และท้ายที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติและประชาชน

ในช่วงนี้ นอกจากเรื่องการเปิดประมูลไลเซ่นส์ 3G และ ทีวีดิจิตอลแล้ว...ก็ยังจะมีอีกงานใหญ่สำหรับ กสทช. คือ การเตรียมตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งในเมื่อหนึ่งในพันธกิจของเราคือ...พัฒนากิจการโทรคมนาคมลดช่องว่างการ เข้าถึงเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ในเมื่ออีก 3 ปี จะเกิดการเปิดเสรีมากขึ้นภายใต้กติกาของเออีซี...กสทช. จึงได้จัดทำแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559 โดยมีพันธกิจสำคัญ 6 ด้าน และด้านหนึ่งที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในกิจการโทรคมนาคม ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และในยุทธศาสตร์ที่ 5.6 ของแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ได้กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ นี้เน้นการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมในการเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการพัฒนาความร่วมมือทางด้านกิจการโทรคมนาคม การสร้างความเชื่อมโยงทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบ ภาคอุตสาหกรรม นักวิจัยและพัฒนา หน่วยงานกำกับดูแล และประชาชน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้กรอบต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและ พหุภาคี

โดยในด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์...มีแผนการที่จะปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็น ระบบดิจิตอล (Digital TV) โดย กสทช. ได้กำหนดกรอบเวลาการดำเนินการ ช่วงระหว่างปี 2555-2559

1.กระบวนการคือออกใบอนุญาต Digital TV ช่วงที่ 1 ก.พ. 2555-ส.ค. 2556 และ 2.กระบวนการออกใบอนุญาต Mobile TV มิ.ย. 2556-มิ.ย. 2557 และ 3.กระบวนการออกใบอนุญาต Digital TV ช่วงที่ 2 ระหว่าง มิ.ย.-ธ.ค. 2558 และ 4.ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ Digital TV อย่างสมบูรณ์แบบ และยกเลิกระบบ อะนาล็อก Analog Switch Off (ASO)

ทั้ง นี้ กสทช. ได้กำหนดให้มาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ Digital ภาคพื้นดินของประเทศไทย ซึ่งเป็นมาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดินที่ทันสมัย สามารถมีช่องรายการโทรทัศน์จำนวนมากเพียงพอสำหรับการจัดสรรให้หน่วยงานภาค รัฐ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และเป็นมาตรฐานที่กลุ่มประเทศอาเซียนรับรองให้เป็นมาตรฐานรวมของอาเซียน

นอกจากนั้นตัวสำนักงานกสทช.เองก็ต้องเตรียมพร้อมด้วย โดยขณะนี้เรามีการจัดตั้งอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่
ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน และการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในด้านต่างๆ มีการเผยแพร่ความรู้ทางอินเตอร์เนต สำหรับทุกท่านที่สนใจ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์สำนักงาน กสทช. (www.nbtc.go.th) เมนู NBTC’s ASEAN Community Knowledge Sharing โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้และถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน เพื่อให้ทั้งพนักงานทุกคนตลอดจนประชาชนที่สนใจได้รับทราบ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. ในฐานะที่เราเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคม ของอาเซียนและในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอาเซียนด้วย

และกสทช.จะจัดงานสัมมนา ในหัวข้อ “ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2012 อาเซียนร่วมใจไทยจะรุกหรือรับ (Competitive
Position towards ASEAN 2015)…ในวันที่ 11 ตุลาคม 2555 นี้ โดย กสทช.ได้รับเกียรติจาก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน...ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ผลกระทบและการเตรียมความพร้อมของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม” …และจะมีเวทีเสวนาของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และผลงานด้านอาเซียนหลาย ท่านเข้าร่วมในการสัมมนาครั้งนี้ด้วย...

ส่วนเรื่องการประมูล 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า ประเด็นหลักก็คือ...ต้องการนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่ออกมารับใช้และให้บริการ ประชาชนคนไทย ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงและได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ เทียบเท่ากับมาตรฐานโลกบนพื้นฐานการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม

หากมี ผู้ให้บริการมากการแข่งขันย่อมเกิดหรืออย่างน้อยก็ควรไม่น้อยกว่าที่ให้ บริการอยู่ในปัจจุบัน และผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือผู้บริโภค จึงได้กำหนดเพดานการถือครองคลื่นขั้นสูงเอาไว้ที่ 15 MHz ซึ่งเพียงพอกับการให้บริการทั่วประเทศ และราคาตั้งต้นที่ 4,500 ล้านบาทต่อ 5 MHz เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดการถือครองคลื่น และเปิดโอกาสให้มีผู้ให้บริการมากรายอย่างน้อยที่สุดไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ใน ตลาดสภาพปัจจุบัน และต้องมีศักยภาพในการให้บริการบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน

“เรา ต้องมองโอกาสในหลายมิติในเวลาถึง 15 ปีข้างหน้า มองโอกาสในการขยายบริการให้ประชาชนได้ใช้ ในราคาค่าบริการที่เป็นธรรม การกระตุ้นการแข่งขันในตลาด ไม่ได้มองโอกาสเพียงการได้เงินนำส่งเข้ารัฐมากๆ จากการประมูล ถ้าสร้างnetwork ได้เร็ว ประชาชนพอใจในการใช้บริการมาก ตลาดที่โตขึ้นจะส่งประโยชน์ทุกภาคส่วน รวมถึงรัฐที่จะได้เงินจัดเก็บเพิ่มมากขึ้นในระยะยาว การต้องการเงินประมูลจำนวนมากมีตัวอย่างในหลายประเทศที่หลังการประมูลสร้าง network ไม่สำเร็จ และที่สำคัญต้องไม่ผลักภาระไปยังผู้บริโภคที่จะส่งผลถึงราคาค่าบริการ”

ทั้ง นี้ผู้ชนะการประมูลด้วยจำนวนคลื่นมากกว่า 10 MHz ขึ้นไปจะต้องดำเนินการสร้างโครงข่ายเพื่อการให้บริการ (Roll Out Obligation) ครบทุกจังหวัดและ ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายใน 2 ปี และร้อยละ 80 ภายใน 4 ปี นับแต่วันได้รับอนุญาต ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการประมูลในครั้งนี้นอกจากเรื่องของเงินแล้วยังจะต้องมี ในเรื่องของความรับผิดชอบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การประมูลจึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการสื่อสารของประเทศ”

ส่วน เรื่องที่มีความกังวลกันว่าจะมีการฮั้วประมูลนั้น...ยืนยันได้เลยว่าการ ประมูลคลื่นความถี่ครั้งแรกของประเทศไทยหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดขึ้นเป็นไป ตามมาตรฐานโลก เราศึกษาทั้งจากประเทศที่ประสบความสำเร็จ และล้มเหลว เพื่อออกแบบการประมูลที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย มีความโปร่งใส เป็นธรรมกับทุกฝ่าย...จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องคนไทยทุกคนสนับสนุนการประมูล คลื่น 2.1 GHz

ประเทศไทยไม่ควรต้องรอและปล่อยให้คลื่นว่างไว้อีกต่อ ไป ประชาชนรอคอยการใช้บริการ 3G มานานแล้ว เราไม่อยากเป็นประเทศสุดท้ายของอาเซียนที่ใช้ 3G อย่างสมบูรณ์แบบ ที่ผ่านมาเราสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจมากมาย...

อนันตเดช พงษ์พันธุ์


แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/25159

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.