Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กรกฎาคม 2555 ( ขอไม่คืนก่อนชั่วคราว 10 ปี ) TOT ไม่คืน 900 MHz ให้ กสทช. เหตุ ใบอนุญาตประกอบกิจการของ TOT สิ้นสุดอายุใน2568

( ขอไม่คืนก่อนชั่วคราว 10 ปี ) TOT ไม่คืน 900 MHz ให้ กสทช. เหตุ ใบอนุญาตประกอบกิจการของ TOT สิ้นสุดอายุใน2568


ประเด็นหลัก


เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT ได้ทำหนังสือถึงกสทช. เรื่องแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ โดยประเด็นที่ ทีโอที ท้วงติงคือ แผนแม่บทฯกำหนดไว้ให้คืนคลื่นความถี่เมื่อสิ้นสุดอายุการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญา

“ทีโอที เห็นว่าไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ที่กำหนดให้ใบอนุญาตประกอบกิจการของ ทีโอที สิ้นสุดอายุในเดือนสิงหาคม 2568 ไม่ใช่คืนคลื่นเมื่อสัญญาสัมปทานของคู่สัญญา หรือของบริษัท เอไอเอส สิ้นสุดลงในปี 2558”


______________________________________



‘อนุดิษฐ์’หนุน‘กสท’เอาอย่างทีโอที ยื้อคืนคลื่นมือถือให้กสทช.



ผู้ บริหาร “กสท” ดอดหารือ รมว.ไอซีที ก่อนได้ข้อสรุปขอขยายเวลาคืนคลื่น 1800 MHz ให้?กสทช. หรือหลังจากสัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ “ทรูมูฟ-ดีพีซี” สิ้นสุดลงในปีหน้า อ้างมีข้อพิพาทกับคู่สัญญาสัมปทานต้องเคลียร์อีกหลายคดีเช่นเดียวกับ “ทีโอที” ที่ยืนกรานไม่คืน หลังสัมปทานของ “เอไอเอส”สิ้นสุดในปลายปี’58


นาย กิตติศักดิ์? ศรีประเสริฐ? กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า? ได้หารือกับ น.อ.อนุดิษฐ์?นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เกี่ยวกับการใช้งานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ที่ กสท ให้สัมปทานบริษัท ทรูมูฟ?จำกัด, บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี (บริษัทในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส) โดยสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 ซึ่งตามกฎหมายคลื่นความถี่ต้องคืนให้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

โดยในการหารือ เห็นว่า หากมีเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ ก็สามารถที่ชี้แจงเหตุ และยื่นอุทธรณ์ต่อ กสทช.เพื่อถือครองคลื่นต่อไปได้ และขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน มีระยะเวลาการดำเนินการเพียง 1 ปี ก่อนสัญญาสิ้นสุดเท่านั้น ประกอบกับ กสท ยังมีกรณีข้อพิพาทกับคู่สัญญาสัมปทานอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะปัญหาเสาโทรคมนาคม ที่บริษัทคู่สัญญายังไม่โอนให้เป็นทรัพย์สินของ กสท แต่อย่างใด ทำให้ กสท ต้องขอถือครองคลื่นความถี่ดังกล่าวต่อไป จนกว่า กสท จะสางปัญหากับคู่สัญญาสัมปทานแล้วเสร็จ รวมถึงต้องคำนึงถึงผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ด้วย เพราะกสท ก็ต้องเตรียมแผนการรองรับ เพื่อให้มีการบริการอย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด

นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ในเบื้องต้น กสท จะเจรจากับคณะกรรมการ กสทช. เพื่อชี้แจงเหตุผลความจำเป็นของการใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไป ซึ่งขณะนี้กสท อยู่ระหว่างการร่างเหตุผล และความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ต่อไป และเมื่อดำเนินแล้วเสร็จ ก็จะนำเรื่องดังกล่าวรายงานให้รมว.ไอซีที เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ส่วนระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาและการกำหนดหลัก เกณฑ์และระยะเวลาที่ชัดเจนของ กสทช.

สำหรับการดำเนินการดังกล่าว นายกิตติศักดิ์ยืนยันว่า กสท ปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) มาตรา 82-84

โดย เนื้อหามาตรา 82 วรรค 2 ระบุว่า ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา รวมถึงอายุสัญญาและค่าสัมปทานหรือค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามการอนุญาตสัมปทานนั้นๆ ต่อกสทช.ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กสทช.กำหนด และให้กสทช.ตรวจสอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้น พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและผลการตรวจสอบให้สาธารณชนทราบ

ส่วนมาตรา 84 วรรค 3 ให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้ คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่ดังกล่าวเพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้ คลื่นความถี่ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ 2555? โดยคำนึงประโยชน์สาธารณะและความจำเป็นของการประกอบกิจการและการใช้คลื่นความ ถี่ โดยให้นำเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามที่แจ้งไว้ตามมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณาด้วย

เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT ได้ทำหนังสือถึงกสทช. เรื่องแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ โดยประเด็นที่ ทีโอที ท้วงติงคือ แผนแม่บทฯกำหนดไว้ให้คืนคลื่นความถี่เมื่อสิ้นสุดอายุการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญา

“ทีโอที เห็นว่าไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ที่กำหนดให้ใบอนุญาตประกอบกิจการของ ทีโอที สิ้นสุดอายุในเดือนสิงหาคม 2568 ไม่ใช่คืนคลื่นเมื่อสัญญาสัมปทานของคู่สัญญา หรือของบริษัท เอไอเอส สิ้นสุดลงในปี 2558”

อย่างไรก็ดีประเด็นนี้ทาง กสทช.อาจนำเรื่องส่งให้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ หรือให้ขอข้อแนะนำ เพื่อเป็นผู้ชี้ขาดในประเด็นนี้ โดยยืนยันว่าจะต้องสรุปผลก่อนประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี จะมีขึ้นในเดือน ตุลาคม 2555

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1440910


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.