Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 มีนาคม 2555 << 3G THAIเดินหน้าจริงๆๆ >>คาดว่าจะประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเดือนมี.ค.//อนุภาพเปิดใจแผนไม่มี ระบบใบอนุญาต-ค่าเชื่อมต่อ-ร

<< 3G THAIเดินหน้าจริงๆๆ >>คาดว่าจะประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเดือนมี.ค.//อนุภาพเปิดใจแผนไม่มี ระบบใบอนุญาต-ค่าเชื่อมต่อ-ร


ประเด็นหลัก

ขณะนี้ กสทช.ได้รวบรวมข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประชาพิจารณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กทค.ได้วันที่ 13 มี.ค.จากนั้นจะเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.วันที่ 14 มี.ค.ต่อไป

"หลัง ประชาพิจารณ์เสร็จ กสทช.นำข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ นักวิชาการ และภาคประชาชน ไปปรับปรุงแก้ไข โดยคาดว่าจะรวบรวม และเสนอยังบอร์ดกสทช.ได้ ซึ่งร่างแผนแม่บทบริหารคลื่น ยังมีประเด็นที่ต้องถกเถียงเล็กน้อย คือ กรอบเวลาในการส่งคืนคลื่นความถี่ 5,10,15 ปี หากยังไม่สามารถตกลงได้ จะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมารือ ก่อนเสนอเข้าบอร์ดอีกครั้งหนึ่ง คาดว่าจะประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเดือนมี.ค.นี้"

ด้านนายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม กล่าวว่า หากกสทช.ยังยืนยันนำร่างแผนแม่บทฯ ทั้ง 3 ฉบับประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่ปรับปรุงแก้ไข เท่ากับว่า ร่างแผนแม่บทไม่ได้กำหนดกลยุทธ์ และใจความสำคัญที่มุ่งเน้นกำกับดูแลในอุตสาหกรรม เพราะกสทช.ไม่กำหนดเรื่องหลักใหญ่ 3 เรื่อง ด้วยกัน คือ 1.กำหนดระบบใบอนุญาต 2.กำหนดค่าเชื่อมต่อเครือข่าย 3.เรื่องการกำหนดราคาใบอนุญาต

“กสทช.ทุกวันนี้ ปิดหูปิดตา ไม่ได้กำกับกฎและกติกาการให้บริการระบบ 3 จี ไม่มีการออกไลเซ่นส์ ทั้งคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีกฎเกณฑ์กำกับดูแล ทั้งเรื่องคุณภาพการให้บริการ การติดตั้งเสาสัญญาณ กำหนดราคา รวมถึงการให้บริการด้านเสียง ข้อมูล เกณฑ์แข่งขันในตลาดล้วนไม่มีกฏเกณฑ์ทั้งสิ้น" นายอนุภาพ กล่าว
__________________________________________________________

กสทช.เคาะแผนแม่บทหลัก 14 มี.ค.ส่งเข้าบอร์ดลงมติ


"เศรษฐพงค์" เผยร่างแผนแม่บท 3 ฉบับหลัก เตรียมเข็นเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.สัปดาห์หน้า หลังฟังความคิดเห็นสาธารณะเสร็จแล้ว


"เศรษฐ พงค์" เผยร่างแผนแม่บท 3 ฉบับหลัก เตรียมเข็นเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.สัปดาห์หน้า หลังฟังความคิดเห็นสาธารณะเสร็จแล้ว ระบุไม่ต้องแก้ไขในประเด็นสำคัญ คาดหากบอร์ดอนุมัติตามที่เสนอ พร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาทันที เล็งร่างแผนโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตใหม่ รับมือทรูมูฟสิ้นสุดสัญญาเดือน ก.ย.ปี 56

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า หลัง กสทช.เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ร่างแผนแม่บททั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างแผนแม่บทตารางบริหารคลื่นความถี่ ร่างแผนแม่บทกิจการวิทยุกระจายเสียง และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมเมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา

ขณะ นี้ กสทช.ได้รวบรวมข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประชาพิจารณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กทค.ได้วันที่ 13 มี.ค.จากนั้นจะเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.วันที่ 14 มี.ค.ต่อไป

"หลัง ประชาพิจารณ์เสร็จ กสทช.นำข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ นักวิชาการ และภาคประชาชน ไปปรับปรุงแก้ไข โดยคาดว่าจะรวบรวม และเสนอยังบอร์ดกสทช.ได้ ซึ่งร่างแผนแม่บทบริหารคลื่น ยังมีประเด็นที่ต้องถกเถียงเล็กน้อย คือ กรอบเวลาในการส่งคืนคลื่นความถี่ 5,10,15 ปี หากยังไม่สามารถตกลงได้ จะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมารือ ก่อนเสนอเข้าบอร์ดอีกครั้งหนึ่ง คาดว่าจะประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเดือนมี.ค.นี้"

ทั้งนี้ หลังแผนแม่บทฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กสทช.จะจัดทำแผนปฎิบัติการเร่งด่วน 3 เรื่อง คือ 1.จัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เพื่อประกอบกิจการ 3จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 2.จัดทำแผนเรียกคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ และ3.ทำแผนโอนย้ายคลื่นความถี่จากระบบสัญญาสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตใหม่

โดย ขณะนี้ กำลังร่างแผนปฎิบัติการโอนย้ายลูกค้าจากระบบสัมปทานไปสู่ใบอนุญาต ซึ่งจะมีแนวทางที่ชัดเจนและแล้วเสร็จก่อนเดือน ก.ย.2555 เพราะกฎหมายกำหนดให้ทิศทางการดูแลลูกค้าก่อนสัญญาสัมปทานหมดต้องเสร็จใน 1 ปี ซึ่งสัมปทานของดีพีซี และทรูมูฟ จะสิ้นสุดเดือนก.ย.2556

ด้าน นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม กล่าวว่า หากกสทช.ยังยืนยันนำร่างแผนแม่บทฯ ทั้ง 3 ฉบับประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่ปรับปรุงแก้ไข เท่ากับว่า ร่างแผนแม่บทไม่ได้กำหนดกลยุทธ์ และใจความสำคัญที่มุ่งเน้นกำกับดูแลในอุตสาหกรรม เพราะกสทช.ไม่กำหนดเรื่องหลักใหญ่ 3 เรื่อง ด้วยกัน คือ 1.กำหนดระบบใบอนุญาต 2.กำหนดค่าเชื่อมต่อเครือข่าย 3.เรื่องการกำหนดราคาใบอนุญาต

“กสทช.ทุกวันนี้ ปิดหูปิดตา ไม่ได้กำกับกฎและกติกาการให้บริการระบบ 3 จี ไม่มีการออกไลเซ่นส์ ทั้งคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีกฎเกณฑ์กำกับดูแล ทั้งเรื่องคุณภาพการให้บริการ การติดตั้งเสาสัญญาณ กำหนดราคา รวมถึงการให้บริการด้านเสียง ข้อมูล เกณฑ์แข่งขันในตลาดล้วนไม่มีกฏเกณฑ์ทั้งสิ้น" นายอนุภาพ กล่าว

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120309/440
695/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%
B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%
B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0
%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E
0%B8%81-14-
%E0%B8%A1%E0%B8%B5.%E0%B8%84.%E0%B8%AA%E0%B9%
88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8
%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%
B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0
%B8%B4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.