Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กรกฎาคม 2554 ((โดน!!! )) Microsoftเรียกเก็บ 15 $ ทุกเครื่อง(( จาก Android phone ของ Samsung ))/ก่อนหน้า HTC ยอมจ่าย 5 $ทุก

((โดน!!! )) Microsoftเรียกเก็บ 15 $ ทุกเครื่อง(( จาก Android phone ของ Samsung ))/ก่อนหน้า HTC ยอมจ่าย 5 $ทุก

((โดน!!! )) Microsoftเรียกเก็บ 15 $ ทุกเครื่อง(( จาก Android phone ของ Samsung ))/ก่อนหน้า HTC ยอมจ่าย 5 $ทุกเครื่อง
ประเด็นหลัก

ทาง ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ขอเรียกเก็บ 15 ดอลลาร์จากโทรศัพท์แอนดรอยด์ (Android phone) ของซัมซุง (Samsung) ในทุกๆ ตัวที่ขายได้ อันเนื่องมาจากส่วนใหญ่แล้วสมาร์ทโฟนอย่างระบบแอนดรอยด์นั้นจะใช้ลิขสิทธิ์ ของทางไมโครซอฟท์ ในการทำงานเป็นหลักอยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ค่ายเอชทีซี (HTC) ก็โดนเรียกเก็บมาแล้ว เป้าหมายต่อไปก็คือซัมซุงซึ่งกำลังขายดีในเวลานี้
_________________________________________________________

ไมโครซอฟท์หวังส่วนแบ่งจากค่ายซัมซุงกับตลาดมือถือแอนดรอยด์


ความ ต้องการในค่าส่วนแบ่งในการขายสินค้า (Royalty Price) นี้ทางไมโครซอฟท์ (Microsoft) ขอเรียกเก็บ 15 ดอลลาร์จากโทรศัพท์แอนดรอยด์ (Android phone) ของซัมซุง (Samsung) ในทุกๆ ตัวที่ขายได้ อันเนื่องมาจากส่วนใหญ่แล้วสมาร์ทโฟนอย่างระบบแอนดรอยด์นั้นจะใช้ลิขสิทธิ์ ของทางไมโครซอฟท์ ในการทำงานเป็นหลักอยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ค่ายเอชทีซี (HTC) ก็โดนเรียกเก็บมาแล้ว เป้าหมายต่อไปก็คือซัมซุงซึ่งกำลังขายดีในเวลานี้


เชื่อว่าหลาย คนอาจสงสัยว่าทำไมทางไมโครซอฟท์ ถึงได้เรียกเก็บเงินส่วนแบ่งค่าลิขสิทธ์กับทางซัมซุงแทนที่จะเป็นกูเกิล (Google) ซึ่งเป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

แน่นอนว่าทาง ไมโครซอฟท์เองก็เชื่อว่ากรณีของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Lenux) ที่เคยเข้าข่ายละเมิดสิทธิ์ของทางไมโครซอฟท์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนั้นเป็น ตัวอย่างที่ดี เพราะจะว่าไปแล้วแอนดรอยด์ก็เสมือนเป็นลีนุกซ์อีกตัวหนึ่งที่เข้าข่ายเช่น กัน แต่สาเหตุหลักๆ หรือรายละเอียดเชิงลึกนั้นเราขอไม่พูดถึงเพราะมันค่อนข้างซับซ้อน แต่เราจะไปหาคำตอบว่าทำไมทางไมโครซอฟท์ถึงไม่ฟ้องกูเกิล


คำถาม นี้ก็อาจจะมีคำตอบที่ง่ายแสนง่าย เพราะทางกูเกิลนั้นไม่ได้สร้างรายได้จากการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์ แต่ผู้ที่ได้ประโยชน์เต็มๆ คือผู้ผลิต และจำหน่ายเจ้าอุปกรณ์ที่รันแอนดรอยด์โอเอสนั่นเอง โดยทางเอชทีซีนั้นก็เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสายพันธ์แอนดรอยด์ ที่ต้องยอมจ่ายเปอร์เซ็นต์จากการขายเครื่องให้กับไมโครซอฟท์ไปถึง 5 ดอลล่าร์ต่อเครื่อง แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้น มีข่าวรายงานว่าทางซัมซุงได้ยื่นข้อเสนอ และต่อรองการเรียกเก็บเงินส่วนแบ่งลงเหลือเพียง 10 คอลล่าร์ต่อเครื่อง และยังถือว่านี่เป็นการร่วมงานของพันธมิตรยักษ์ใหญ่แห่งวงการมือถือ และคอมพิวเตอร์อีกขั้นตอนหนึ่งด้วย

reuters และ mobilemag


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.