Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กุมภาพันธ์ 2555 กสทช. เผย อายุใบอนุญาต ถกมากสุดเวทีบริหารคลื่นความถี่ ไม่เคยมาก่อน5ปี//TV10ปี//โทรคมนาคม15ปี

กสทช. เผย อายุใบอนุญาต ถกมากสุดเวทีบริหารคลื่นความถี่ ไม่เคยมาก่อน5ปี//TV10ปี//โทรคมนาคม15ปี


ประเด็นหลัก

ระบุเรื่องยุทธศาสตร์ โดยประเด็นที่ผู้ร่วมงานอยากให้แก้ไข คือ การกำหนดอายุของใบอนุญาต ซึ่งแผนแม่บทฯ กำหนดให้ใบอนุญาตที่ไม่เคยมีการกำหนดวันหมดอายุมาก่อน ให้มีอายุใบอนุญาตสูงสุด 5 ปี ส่วนใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุมีอายุสูงสุด 5 ปี โทรทัศน์มีอายุสูงสุด 10 ปี และกิจการโทรคมนาคมมีอายุสูงสุด 15 ปี



_________________________________________________________

กสทช. เผย อายุใบอนุญาต ถกมากสุดเวทีบริหารคลื่นความถี่


เศรษฐ พงค์ เผย การกำหนดอายุของใบอนุญาตเป็นประเด็นที่พูดมากสุด หลังรับฟังความเห็นร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ กสทช. ขณะที่ ภาคประชาชนกังวลการแข่งขันสูง...

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในฐานะประธานด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวภายหลังรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ แล้วเสร็จ ว่า จากการรับฟังความคิดเห็นพบว่า ส่วนใหญ่เป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องรายละเอียด ซึ่งจะระบุไว้ในแผนปฏิบัติการ แต่แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ซึ่งระบุเรื่องยุทธศาสตร์ โดยประเด็นที่ผู้ร่วมงานอยากให้แก้ไข คือ การกำหนดอายุของใบอนุญาต ซึ่งแผนแม่บทฯ กำหนดให้ใบอนุญาตที่ไม่เคยมีการกำหนดวันหมดอายุมาก่อน ให้มีอายุใบอนุญาตสูงสุด 5 ปี ส่วนใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุมีอายุสูงสุด 5 ปี โทรทัศน์มีอายุสูงสุด 10 ปี และกิจการโทรคมนาคมมีอายุสูงสุด 15 ปี

ทั้ง นี้ สาเหตุที่ใบอนุญาตวิทยุมีอายุสูงสุด 5 ปี เนื่องจากอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้มีต้นทุนไม่สูงมาก และเทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ขณะที่กิจการโทรคมนาคมใช้เงินลงทุนสูงกว่ามาก อย่างไรก็ตาม หลังรับฟังความคิดเห็นแล้ว กสทช.ต้องนำไปพิจารณาทางเศรษฐศาสตร์ และทางเทคนิคอีกครั้ง โดย กสทช.ต้องมองในทุกมุมแล้วนำมาพิจารณา คาดว่าสิ้นเดือน ก.พ.จะนำเรื่องเข้าบอร์ดเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง ก่อนนำเข้าบอร์ด กสทช. เพื่อเห็นชอบอีกครั้งกลางเดือน มี.ค.นี้

ส่วน ประเด็นที่มีผู้เสนอว่าในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ไม่มีความชัดเจน เรื่องการบริหารจัดการสัญญาสัมปทาน พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ไม่สามารถเขียนชัดเจนได้ เพราะต้องเขียนแบบภาพรวม เนื่องจากสัญญาสัมปทานมีความซับซ้อน และสิ้นสุดสัญญาสัมปทานไม่เหมือนกัน ฉะนั้นการเรียกคืนคลื่นความถี่ต้องศึกษา และวิเคราะห์ให้รอบคอบ โดยจะนำเรื่องนี้หารือกันในบอร์ดอีกครั้ง

ด้าน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า ในส่วนของภาคประชาชนแม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้เกิดใบอนุญาตในส่วนของวิทยุ ชุมชน แต่ก็ต้องรอแผนแม่บทฯ ที่กำลังเร่งดำเนินการ โดยคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จเดือน มี.ค.

นอกจากนี้ ภาคประชาชนยังกังวลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ออกมา การออกใบอนุญาต อีกทั้ง ยังกังวลเรื่องการแข่งขัน เนื่องจากผู้ประกอบรายเล็กเกรงว่าในการประมูลจะสู้รายใหญ่ไม่ได้

“เวที ประชาพิจารณ์วันนี้ ในส่วนของภาคประชาชนต้องการความชัดเจนเรื่องหลักเกณฑ์ และการออกใบอนุญาต เนื่องจากรายเล็กเกรงว่าจะสู้รายใหญ่ชัดไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ เป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่ต้องชี้แจงให้ชัดเจน” นางสาวสุภิญญา กล่าว

ขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การจัดประชาพิจารณ์ทั่วประเทศครั้งนี้ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 12 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการถ่ายทอดสดสัญญาณระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงทั่วทุกภาค และค่าบุคคลากร การจัดอีเวนต์ และค่าอาหาร ส่วนงบประมาณเฉพาะการจัดงานที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี นั้น ขอตรวจสอบก่อน

มี รายงานว่า การเชื่อมต่อสัญญาณไวไฟในสถานที่จัดการ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ติดขัดตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา จนกระทั่งช่วงเย็นถึงเข้าใช้งานได้ ขณะที่เบื้องต้นผู้จัดงานจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบอินเทอร์เน็ตในอิมแพ็ค เมืองทองจำนวน 5 หมื่นบาท. ซึ่งจะได้สอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/237488

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.