Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กุมภาพันธ์ 2555 ถกทิศทางสื่อยุคใหม่ กระตุ้นรับ พ.ร.บ.กสทช. ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ และการสร้างความเท่าเทียมในการใช้คลื่นความถี่ต่างๆ

ถกทิศทางสื่อยุคใหม่ กระตุ้นรับ พ.ร.บ.กสทช. ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ และการสร้างความเท่าเทียมในการใช้คลื่นความถี่ต่างๆ


ประเด็นหลัก

นายภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ หรือ ไอเซ็บ กล่าวว่า หากพัฒนาธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ด้วยระบบดิจิตอลจะทำให้ธุรกิจดังกล่าวเติบโต อย่างก้าวกระโดด โดยจะมีผู้ใช้บริการโทรทัศน์เพิ่มขึ้นจาก 20 ล้านเครื่องในปัจจุบัน เป็น 40 ล้านเครื่อง และค่าโฆษณาต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ที่สำคัญที่สุด คือ จะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ในการพัฒนาธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม จะต้องให้หน่วยงานสำคัญอย่าง กสทช. เข้ามากำกับดูแล เพื่อไม่ให้เกิดข้อกังขา และข้อพิพาทขึ้นในสังคมเหมือนเช่นที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะการจัดสรรคลื่นความถี่ และการสร้างความเท่าเทียมในการใช้คลื่นความถี่ต่างๆ

ขณะเดียวกัน ตลาดธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ มีฟรีทีวี 6 สถานี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 200 สถานี เคเบิลท้องถิ่น 500 สถานี เคเบิลท้องถิ่นระดับชาติ 1 สถานี วิทยุ 600 สถานี และวิทยุชุมชน 6,000 สถานี โดยมีมูลค่าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท

ทั้ง นี้ ในวันพรุ่งนี้ (10 ก.พ.) กสทช.จะเปิดประชาพิจารณ์พร้อมกันทั่วประเทศใน 3 แผนแม่บท ประกอบด้วย แผนแม่บทคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำคัญในการดำเนินงานของ กสทช. ตาม พ.ร.บ.กสทช. ระหว่างเวลา 09.30-17.00 น.โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในครั้งนี้เป็นการจัดพร้อมกัน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งจะรับฟังเฉพาะร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และร่างแผนแม่บทกิจการ โทรคมนาคมก่อน ส่วนร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะจัดขึ้นในวันที่ 14 ก.พ.2555

__________________________________________________________

ถกทิศทางสื่อยุคใหม่ กระตุ้นรับ พ.ร.บ.กสทช.


ไอ เซ็บ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดสัมมนาเรื่อง ทิศทางและโอกาสของธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ยุคใหม่ หวังกระตุ้นภาคเอกชนวงการสื่อมวลชน และโทรคมนาคม เตรียมพร้อมหลังประกาศใช้ พ.ร.บ.กสทช. ขณะที่เชื่อวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลดันธุรกิจเติบโต...

เมื่อ วันที่ 9 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ หรือ ไอเซ็บ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดสัมมนาเรื่อง ทิศทางและโอกาสของธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ยุคใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้ ว่าจะเติบโตไปในทิศทางใด และกระตุ้นให้ภาคเอกชนในแวดวงสื่อสารมวลชน และโทรคมนาคม เตรียมพร้อม หลัง กสทช. ประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553

นาย ภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ หรือ ไอเซ็บ กล่าวว่า หากพัฒนาธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ด้วยระบบดิจิตอลจะทำให้ธุรกิจดังกล่าวเติบโต อย่างก้าวกระโดด โดยจะมีผู้ใช้บริการโทรทัศน์เพิ่มขึ้นจาก 20 ล้านเครื่องในปัจจุบัน เป็น 40 ล้านเครื่อง และค่าโฆษณาต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ที่สำคัญที่สุด คือ จะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ในการพัฒนาธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม จะต้องให้หน่วยงานสำคัญอย่าง กสทช. เข้ามากำกับดูแล เพื่อไม่ให้เกิดข้อกังขา และข้อพิพาทขึ้นในสังคมเหมือนเช่นที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะการจัดสรรคลื่นความถี่ และการสร้างความเท่าเทียมในการใช้คลื่นความถี่ต่างๆ

นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า หากพัฒนาธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ จากการส่งสัญญาณระบบอะนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอล และมี กสทช. ขึ้นมากำกับดูแล จะทำให้ธุรกิจเหล่านี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แต่เพื่อให้การพัฒนาธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ในช่วงเปลี่ยนผ่าน มีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะต้องสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ผู้ประกอบการนำเข้าอุปกรณ์ ดิจิตอลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะต้องทำความร่วมมือกับ กสทช.ที่จะทำให้การทำงานขององค์กรอิสระ มีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคมของรัฐบาลด้วย ซึ่งผู้ประกอบการและเอกชนควรเตรียมตัวกับการเกิดขึ้นของ กสทช.

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.ในฐานะประธาน กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท กล่าวว่า กสทช.ยืนยันจะบริหารคลื่นความถี่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติอย่างแท้จริง โดย กสทช. ตั้งเป้าจะเปลี่ยนการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อกในปัจจุบัน ให้เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอลแบบสมบูรณ์ภายใน 10 ปี โดยตามแผนงานที่ กสทช.วางไว้ คือ จะจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และผลักดันให้เริ่มส่งสัญญาณได้ภายในปีนี้เช่นเดียวกัน หากประเทศไทยสามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลได้ การส่งสัญญาณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ประกอบการก็จะมีโอกาสในการทำธุรกิจเพิ่ม และประชาชนก็มีทางเลือกในการรับชมข้อมูลได้มากขึ้นจากที่ดูเฉพาะฟรีทีวี 6 ช่อง ก็จะสามารถเลือกดูได้มากกว่า 100 ช่อง ทว่าการเปลี่ยนผ่านในช่วง 3-4 ปี แรก ผู้รับชมอาจต้องปรับตัว ซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิตอล หรือ settop box ราคาประมาณ 500-1,000 บาท เพื่อรับสัญญาณก่อน จากนั้นผู้ผลิตโทรทัศน์จะปรับนำอุปกรณ์ดังกล่าวใส่เข้าไปในโทรทัศน์รุ่นใหม่ เพื่อไม่ต้องใช้กล่องรับสัญญาณต่อไป

ขณะเดียวกัน ตลาดธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ มีฟรีทีวี 6 สถานี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 200 สถานี เคเบิลท้องถิ่น 500 สถานี เคเบิลท้องถิ่นระดับชาติ 1 สถานี วิทยุ 600 สถานี และวิทยุชุมชน 6,000 สถานี โดยมีมูลค่าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท

นาย วสันต์ ภัยหลีกลี้ รองผู้อำนวยการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ไทยพีบีเอส กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลง 4-5 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างเร็ว แม้ว่าจะยังติดขัดอยู่ ความเปลี่ยนแปลงในแง่กฎหมาย คือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และเทคโนโลยีใหม่ๆ สื่อใหม่ๆ ทั้งนี้ เมื่อเกิดแผนแม่บทฯ แล้ว เชื่อว่าจะเกิดความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ เราควรแยกเน็ตเวิร์กออกจากเน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์ ซึ่งต้องแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม กสทช. เป็นผู้กำกับให้การแข่งขันเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม ขณะที่ผู้เล่นต้องมีจำนวนเน็ตเวิร์กที่ชัดเจน โดยผู้ผลิตรายการลงทุนต่ำกว่าด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ติดขัดอยู่ คือ กฎหมาย และเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้ (10 ก.พ.) กสทช.จะเปิดประชาพิจารณ์พร้อมกันทั่วประเทศใน 3 แผนแม่บท ประกอบด้วย แผนแม่บทคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำคัญในการดำเนินงานของ กสทช. ตาม พ.ร.บ.กสทช. ระหว่างเวลา 09.30-17.00 น.โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในครั้งนี้เป็นการจัดพร้อมกัน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งจะรับฟังเฉพาะร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และร่างแผนแม่บทกิจการ โทรคมนาคมก่อน ส่วนร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะจัดขึ้นในวันที่ 14 ก.พ.2555

ส่วนภาคกลางและปริมณฑล จัดที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค จ.นนทบุรี, ภาคเหนือ จัดที่โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์รีสอร์ต จ.เชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่อาคารเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จ.อุดรธานี และภาคใต้ จัดที่โรงแรมเมโทรโปล จ.ภูเก็ต.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/237196
เชื่อวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัลดันธุรกิจโต



ปธ.สถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ ชี้การพัฒนาธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ด้วยระบบดิจิทัลจะทำให้ธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด

วันนี้ (9ก.พ.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ในงานสัมมนาเรื่อง “ทิศทางและโอกาสของธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ยุคใหม่” จัดโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553


นาง จำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า ช่วงการเปลี่ยนผ่านของการพัฒนาธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ จากการส่งสัญญาณระบบอะนาล็อกมาเป็นระบบดิจิทัล รัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการในการนำ เข้าอุปกรณ์ดิจิทัลที่ิเกี่ยวข้อง รวมทั้งจะต้องทำความร่วมมือกับกสทช.ที่จะทำให้การทำงานขององค์กรอิสระ สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคมของรัฐบาล ซึ่งผู้ประกอบการและเอกชนควรเตรียมความพร้อม


นายภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ กล่าวว่า หากมีการพัฒนาธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ด้วยระบบดิจิทัลจะทำให้ธุรกิจโตแบบก้าว กระโดด โดยจะมีผู้ใช้โทรทัศน์เพิ่มขึ้นจาก 20 ล้านเครื่องในปัจจุบัน เป็น 40 ล้านเครื่อง และค่าโฆษณาต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ที่สำคัญการลงทุนจากต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยส่งผลให้ผู้บริโภคได้ รับประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะด้านการศึกษาให้กับประชาชนในต่างจังหวัด ซึ่งการพัฒนาธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ต้องให้ กสทช.เข้ามากำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดข้อกังขาและข้อพิพาทขึ้นในสังคมเหมือนเช่นที่ผ่านมา โดยเฉพาะการจัดสรรคลื่นความถี่ และการสร้างความเท่าเทียมในการใช้คลื่นความถี่ต่างๆ

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานกสทช. ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ระบุว่า กสทช.ยืนยันจะมีการบริหารคลื่นความถี่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติอย่างแท้จริง โดยกสทช. ตั้งเป้าจะเปลี่ยนการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ให้เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลแบบสมบูรณ์ภายใน 10 ปี โดยตามแผนงานที่ กสทช.วางไว้ จะจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและผลักดันให้เริ่มมีการส่งสัญญาณได้ภายใน ปีนี้เช่นเดียวกัน หากประเทศไทยสามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลได้ การส่งสัญญาณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ประกอบการก็จะมีโอกาสในการทำธุรกิจเพิ่ม และประชาชนก็มีทางเลือกในการรับชมข้อมูลได้มากขึ้นจากที่ดูเฉพาะฟรีทีวี 6 ช่อง ก็จะสามารถเลือกดูได้มากกว่า 100 ช่อง ทว่าการเปลี่ยนผ่านในช่วง 3-4 ปี แรก ผู้รับชมอาจต้องปรับตัว ซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิทัล หรือ settop box ราคาประมาณ 500-1,000 บาท เพื่อรับสัญญาณก่อน จากนั้นผู้ผลิตโทรทัศน์จะปรับนำอุปกรณ์ดังกล่าวใส่เข้าไปในโทรทัศน์รุ่นใหม่ เพื่อไม่ต้องใช้กล่องรับสัญญาณต่อไป


ปัจจุบันตลาดธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ มีฟรีทีวี 6 สถานี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 200 สถานี เคเบิ้ลท้องถิ่น 500 สถานี เคเบิ้ลท้องถิ่นระดับชาติ 1 สถานี วิทยุ 600 สถานี และวิทยุชุมชน 6,000 สถานี โดยมีมูลค่าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท


ทั้ง นี้ ในวันพรุ่งนี้ (10 ก.พ.) กสทช.จะเปิดประชาพิจารณ์พร้อมกันทั่วประเทศใน 3 แผนแม่บท ประกอบด้วย แผนแม่บทคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำคัญในการดำเนินงานของ กสทช. ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ระหว่างเวลา 09.30-17.00 น.โดยการประชุมรับความคิดเห็นเป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในครั้ง นี้เป็นการจัดพร้อมกันทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้จะรับฟังเฉพาะร่างแผนแม่บทการบริหาร คลื่นความถี่และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมก่อน ส่วนร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะมีการจัดขึ้นในวันที่ 14 ก.พ.2555


โดยส่วนภาคกลางและปริมณฑล จัดที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค จ.นนทบุรี ,ภาคเหนือ จัดที่โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์รีสอร์ต จ.เชียงราย, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่อาคารเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี จ.อุดรธานี และภาคใต้ จัดที่โรงแรมเมโทรโปล จ.ภูเก็ต


เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/11742

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.