Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 กรกฎาคม 2555 กสทช.ดีเดย์ “ร่างไกล่เกลี่ยฯ”สู่เวทีสาธารณะ 25 ก.ค. ส่วนช่องทางรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เริ่ม 9 ก.ค.-9 ส.ค.นี้...

กสทช.ดีเดย์ “ร่างไกล่เกลี่ยฯ”สู่เวทีสาธารณะ 25 ก.ค. ส่วนช่องทางรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เริ่ม 9 ก.ค.-9 ส.ค.นี้...


ประเด็นหลัก

ล่าสุด สำนักงาน กสทช.ได้ดำเนินการตามมติเห็นชอบของบอร์ด กสทช.ด้วยการนำร่างระเบียบกสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ. ...ลงประกาศในเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช.ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค.2555 เพื่อเชิญชวนผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างระเบียบดังกล่าว ด้วยการกรอกแบบแสดงความคิดเห็นตามภาคผนวกและส่งความคิดเห็นทางโทรสาร 02-278-3355 กลุ่มงานกฎหมายโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช.ภายในวันที่ 9 ส.ค.2555 ก่อนจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 25 ก.ค.2555 เวลา 8.30-13.30 น. ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ไม่น้อยกว่า 400 คน



__________________________________________


กสทช.ดีเดย์ “ร่างไกล่เกลี่ยฯ”สู่เวทีสาธารณะ 25 ก.ค.

กสทช.ระบุทั้งผู้บริโภค-ผู้ประกอบการวินวิน ทั้งสองฝ่าย ส่วนช่องทางรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เริ่ม 9 ก.ค.-9 ส.ค.นี้...

เมื่อ วันที่ 11 ก.ค. นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านกฎหมาย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบด้านโทร คมนาคม กล่าวว่า หลังจากบอร์ด กสทช. มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทร คมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ....ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ และให้นำร่างระเบียบฯ ดังกล่าวไปจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะ โดยทางเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช.และช่องทางเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะอีกหนึ่งช่องทางเพื่อให้เป็นไป ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ต่อไป

ล่า สุด สำนักงาน กสทช.ได้ดำเนินการตามมติเห็นชอบของบอร์ด กสทช.ด้วยการนำร่างระเบียบกสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ. ...ลงประกาศในเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช.ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค.2555 เพื่อเชิญชวนผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างระเบียบดังกล่าว ด้วยการกรอกแบบแสดงความคิดเห็นตามภาคผนวกและส่งความคิดเห็นทางโทรสาร 02-278-3355 กลุ่มงานกฎหมายโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช.ภายในวันที่ 9 ส.ค.2555 ก่อนจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 25 ก.ค.2555 เวลา 8.30-13.30 น. ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ไม่น้อยกว่า 400 คน

ทั้ง นี้ สืบเนื่องมาจากกฎหมายกำหนดให้ กสทช.ต้องพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคร้องเรียนผู้ประกอบการ และให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม พิจารณาให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนดังกล่าวก่อนเสนอความเห็นมายังบอร์ด กทค.ซึ่งที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนเป็นจำนวนมาก และนับวันก็จะมีมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อประมูลคลื่นความถี่ 3จี แล้วมีการให้บริการมากขึ้น จำนวนเรื่องร้องเรียนก็จะมีมากขึ้นตามลำดับจากการพิจารณาเรื่องร้องเรียนมี ลักษณะเป็นคอขวด เช่น ในปัจจุบันก็จะเกิดปัญหาการพิจารณาล่าช้า จึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการระงับข้อพิพาททางเลือก ด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยเพื่อบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนให้เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค

กรรมการ กสทช.กล่าวด้วยว่า ประโยชน์และข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ 1.สะดวก เนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่ไม่มีแบบพิธีมาก นัก ค่อนข้างยืดหยุ่นและเป็นมิตรกันมากกว่าการพิจารณาคดีในศาล 2. มีความรวดเร็ว เนื่องจากการไกล่เกลี่ยใช้เวลาในการดำเนินการไม่นานนักก็สามารถที่จะทราบได้ ว่าคู่กรณีตกลงได้หรือไม่ หากตกลงได้ก็จะทำให้ข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปได้โดยเร็ว ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ คู่กรณียังสามารถใช้สิทธิของตนทางศาลตามกฎหมาย 3. ประหยัด เนื่องจากการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นการเพิ่มทางเลือกให้คู่กรณีมาก ขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากไกล่เกลี่ยสำเร็จจะทำให้ประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายของคู่กรณี และค่าใช้จ่ายของสำนักงาน กสทช.อีกทั้งการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นการลดขั้นตอน และกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามปกติในการระงับข้อพิพาท ทำให้การไกล่เกลี่ยใช้เวลาในการดำเนินการไม่นานนัก การนำระบบไกล่เกลี่ยมาใช้ในข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคจะทำให้ สามารถยุติข้อพิพาทบางประการได้อย่างรวดเร็ว 4.รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่กรณี เนื่องจากคู่กรณีสามารถตกลงระงับข้อพิพาทกันได้จะทำให้ลดข้อขัดแย้งโต้เถียง กัน ตลอดจนปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจนเสร็จโดยไม่กลายเป็นชนวนลุกลามไปสู่ข้อพิพาท ที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีกซึ่งจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย

5.สร้างความพึงพอ ใจให้แก่คู่กรณี เนื่องจากการไกล่เกลี่ยเป็นวิธีการที่ใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองและหลัก จิตวิทยา รวมทั้งหลักกฎหมายเพื่อโน้มน้าวให้คู่กรณีลดหย่อนผ่อนปรนให้แก่กันโดยไม่มี การชี้ขาดดังเช่นการพิจารณาคดีของศาล จึงไม่เกิดความรู้สึกว่ามีฝ่ายใดแพ้หรือชนะ อันทำให้เกิดความรู้สึกเสียหน้าหรือเสียศักดิ์ศรีจึงเป็นที่พอใจของคู่กรณี ทั้งสองฝ่าย 6.รักษาชื่อเสียงและความลับทางธุรกิจของผู้รับใบอนุญาต เนื่องจากกระบวนการไกล่เกลี่ยดำเนินการเป็นความลับ พยานหลักฐานที่นำเสนอในชั้นไกล่เกลี่ยไม่อาจนำเปิดเผยได้ เว้นแต่คู่กรณีจะยินยอม ทำให้คู่กรณีรักษาความลับหรือชื่อเสียงทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นมิให้แพร่ หลายออกไป อันจะก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจได้ 7.สร้างความสงบให้แก่ผู้ร้องเรียน เนื่องจากการไกล่เกลี่ยไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ทำให้คู่กรณีที่ทะเลาะ ไม่พูดกันหันหน้ามาเจรจากันได้ เป็นการลดความตึงเครียดระหว่างคู่กรณี 8.ลดปริมาณข้อร้องเรียนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของ กทค. หรือ กสทช.รวมทั้งคดีที่จะขึ้นสู่การพิจารณาในชั้นศาล โดยข้อพิพาทที่สามารถตกลงกันได้ก็จะทำให้ไม่มีข้อร้องเรียนเข้าสู่การ พิจารณาของ กทค.หรือ กสทช. และศาล และ 9.การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสมัครใจเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ไม่ทำให้กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนตามปกติเสียไป เนื่องจากการไกล่เกลี่ยเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างหนึ่งที่เพิ่มเติม เข้ามา ไม่เป็นการบังคับคู่กรณีให้ต้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย คู่กรณีอาจเลือกใช้หรือไม่ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยก็ได้


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/275244

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.