11 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G)(บทความ) รายงานพิเศษ: ศักยภาพเกินร้อยประมูล 3 จี กสทช.ย้ำโปร่งใส เป็นธรรม ฮั้วยาก
ประเด็นหลัก
ใช้มืออาชีพดำเนินการประมูล
หลังจากประกาศผลแล้วจะมีการซักซ้อมการประมูลก่อนดำเนินการประมูล
จริง เรียกว่า ม็อก ออกชั่น โดยบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งนี้ โดยยึดหลักความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสาเหตุที่ กสทช. เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออคชั่น เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการประมูล ในวันที่ 12-13 ต.ค.
กสทช.ได้เตรียมพร้อมการประมูล โดยการตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการเตรียมการประมูล 2.คณะกรรมการกำกับการประมูล 3.คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และ 4.คณะกรรมการตรวจสอบการเชื่อมโยงของบริษัทผู้เข้าร่วมประมูล ในขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษาเตรียมการประมูลเพื่อเตรียมระบบประมูล, ระบบรักษาความปลอดภัย, สถานที่สำหรับผู้เข้าร่วมประมูล และผู้สังเกตการณ์ รวมถึงกระบวนการในการแสดงผลการประมูลแต่ละขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานจะไม่มีอุปสรรค
ในการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ครั้งนี้ กสทช.มีนโยบายที่ให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยจะใช้สำนักงาน กสทช. เป็นสถานที่จัดประมูล ทั้งนี้ บริษัทผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัท จะส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ไม่เกิน 10 คน และแต่ละบริษัทจะแยกกันอยู่คนละชั้นในสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสาร โดยจะจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พร้อมกับเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์หน้าห้องประมูลแต่ละห้อง
กสทช. ได้เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น ให้เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งนี้ โดยยึดหลักความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสาเหตุที่ กสทช. เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการประมูล
และสำหรับเทคโนลียี 3G จะต้องมีความเร็วเฉลี่ยในการ Download ข้อมูลขั้นต่ำ 345 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) และในการ Upload ข้อมูลต้องมีความเร็วเฉลี่ยขั้นต่ำ 153 kbps (กิโลบิตต่อวินาที) โดยยึดตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภท "ข้อมูล" สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ผู้ชนะการประมูลจะต้องประกันความจุ (capacity) อย่างน้อย 10% ของโครงข่ายสำหรับ MVNO
__________________________________________
คอลัมน์: รายงานพิเศษ: ศักยภาพเกินร้อยประมูล 3 จี กสทช.ย้ำโปร่งใส เป็นธรรม ฮั้วยาก
นับถอยหลังการประมูลคลื่นความถี่ สาหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 GHz ของ กสทช. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคม 2555 นี้ โดย กสทช.พร้อมเกินร้อยสาหรับการประมูลที่กาลัง
จะมีขึ้น ย้ำ โปร่งใส เป็นธรรม และทาเพื่อประโยชน์ชาติ เรื่องฮั้วประมูลทายาก แม้จะมีผู้เข้าประมูล 3 ราย
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองประธาน กสทช.) ประธานกิจการโทรคมนาคม (ประธาน กทค.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน กสทช.ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือประมูล 3G ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพื่อร่วมการประมูล ในวันที่ 28 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา และปรากฏมีผู้มายื่นคำขอเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด นั้น
บัดนี้ หลังจากที่ กทค.ได้พิจารณาผลการพิจารณาของสำนักงาน กสทช. ว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทั้ง 3 ราย มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดในข้อ 8 และได้ดำเนินการตามข้อ 9 ของประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ.2555 แล้ว จึงเห็นชอบให้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด, บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เป็นผู้เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในวันที่ 16 ต.ค.ที่จะถึงนี้
ใช้มืออาชีพดำเนินการประมูล
หลังจากประกาศผลแล้วจะมีการซักซ้อมการประมูลก่อนดำเนินการประมูล
จริง เรียกว่า ม็อก ออกชั่น โดยบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งนี้ โดยยึดหลักความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสาเหตุที่ กสทช. เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออคชั่น เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการประมูล ในวันที่ 12-13 ต.ค.
กสทช.ได้เตรียมพร้อมการประมูล โดยการตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการเตรียมการประมูล 2.คณะกรรมการกำกับการประมูล 3.คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และ 4.คณะกรรมการตรวจสอบการเชื่อมโยงของบริษัทผู้เข้าร่วมประมูล ในขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษาเตรียมการประมูลเพื่อเตรียมระบบประมูล, ระบบรักษาความปลอดภัย, สถานที่สำหรับผู้เข้าร่วมประมูล และผู้สังเกตการณ์ รวมถึงกระบวนการในการแสดงผลการประมูลแต่ละขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานจะไม่มีอุปสรรค
ในการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ครั้งนี้ กสทช.มีนโยบายที่ให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยจะใช้สำนักงาน กสทช. เป็นสถานที่จัดประมูล ทั้งนี้ บริษัทผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัท จะส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ไม่เกิน 10 คน และแต่ละบริษัทจะแยกกันอยู่คนละชั้นในสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสาร โดยจะจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พร้อมกับเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์หน้าห้องประมูลแต่ละห้อง
กสทช. ได้เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น ให้เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งนี้ โดยยึดหลักความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสาเหตุที่ กสทช. เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการประมูล
อีกทั้งยังมีการดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบการประมูล การจัดเตรียมกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประมูล การอบรมและการดำเนินงานประมูล การประกันคุณภาพ การจัดเตรียมเอกสารการประมูลและการพัฒนาซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการประมูล เป็นต้น ประสบการณ์ที่ผ่านมาของบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น คือเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการด้านโทรคมนาคม และผู้ประกอบการทั่วโลก เช่น ในประเทศอังกฤษอินเดีย และเม็กซิโก เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 800 MHz และ 2.6 GHz ในประเทศอังกฤษ ที่กำลังจะเกิดขั้นในปี 2013 และที่สำคัญที่สุดบริษัท
นี้ได้มีการให้คำปรึกษา, ออกแบบการประมูล ตลอดจนให้บริการเกี่ยวกับการ
ดำเนินงานด้านการประมูลแก่หน่วยงาน FCC สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในอเมริกา
มั่นใจให้บริการ มี.ค.56
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า หลังจากการประมูลสิ้นสุด กสทช.จะประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูล และจะให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 แก่ผู้ชนะการประมูลภายใน 90 วัน นับจากวันที่สิ้นสุดการประมูล ซึ่งผู้ชนะการประมูลต้องจ่ายค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ตามที่ได้ยื่นประมูลงวดแรก 50% ภายใน 90 วัน นับจากได้รับหนังสือแจ้งว่าเป็นผู้ชนะประมูล
และชำระงวดที่ 2 อีก 25% เมื่อได้รับใบอนุญาตครบ 3 ปี และยังต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบ 3 (มีโครงข่ายเป็นของตนเอง) อีก 2% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย จ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายละ 2 บาทต่อเดือน และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) อีก 3.75% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ อายุใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz มีระยะเวลา 15 ปี โดยผู้ให้บริการที่ได้คลื่นความถี่ตั้งแต่ 10 MHz ขึ้นไปจะต้องให้บริการ 3G ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และครอบคลุม 50% ของประชากรในประเทศไทย (ไม่ใช่พื้นที่) ภายใน 2 ปี และ 80% ภายใน 4 ปี ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้คลื่นเพียง 5 MHz ตัวเลขการให้บริการจะกลายเป็น 20% และ 30% ของประชากรในประเทศไทยแทน
และสำหรับเทคโนลียี 3G จะต้องมีความเร็วเฉลี่ยในการ Download ข้อมูลขั้นต่ำ 345 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) และในการ Upload ข้อมูลต้องมีความเร็วเฉลี่ยขั้นต่ำ 153 kbps (กิโลบิตต่อวินาที) โดยยึดตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภท "ข้อมูล" สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ผู้ชนะการประมูลจะต้องประกันความจุ (capacity) อย่างน้อย 10% ของโครงข่ายสำหรับ MVNO
"หลังจากการประมูลจริงเกิดขึ้น ในวันที่ 16 ต.ค. 55 ซึ่งเบื้องต้น กำหนดระยะเวลาในการประมูลไว้ 3 วัน (16-18 ต.ค.) และจะประกาศรายชื่อผู้ได้สิทธิหลังจากนั้นไม่เกิน 7 วัน และให้เวลาบริษัท ยื่นเอกสารให้ครบ และให้ใบอนุญาตในการใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ภายใน 90 วัน ไม่เกินเดือน พ.ย.55 และผู้ได้รับใบอนุญาต จะดำเนินการสร้างโครงข่ายได้ ให้บริการในเมืองใหญ่ได้ภายใน 6 เดือนประมาณ เดือน มี.ค.- เม.ย.56 แต่ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ต้องให้บริการประชาชนมากกว่า 50% ของประชากรในประเทศไทย ภายใน 2 ปี หรือคิดเป็นการให้บริการมากกว่า 30 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของประชากรทั้งประเทศ ภายใน 4 ปี แต่ตามสถิติ จะให้บริการได้เร็วกว่าเงื่อนไขที่กำหนด" พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าว
ฮั้วประมูลทำยาก
สำหรับกรณีที่มีกระแสข่าวโจมตีการทำงานของ กสทช. ว่าเป็นการเปิดช่องฮั้วการประมูลนั้น พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ชี้แจงว่า การฮั้วประมูลนั้นทำยาก เพราะ 1.ตามธรรมชาติธุรกิจ แข่งขันสูง ผลประโยชน์สูง การจับมือฮั้วประมูลทำยาก 2.กระบวนการจัดสรรซับซ้อน ไม่ง่ายต่อการฮั้วประมูล แบ่ง 9 สล็อต และแบ่ง 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ การเลือกปริมาณคลื่นความถี่ไม่เกิน 15 MHZ และการเลือกตำแหน่งคลื่นความถี่ที่ดีที่สุด ผู้ที่จะเลือกได้ก่อนคือผู้ที่ให้ราคาประมูลสูงสุด เรียงลำดับไป ฉะนั้นต้องแข่งขันกัน แม้จะมี 3 รายก็ต้องแข่งขันกัน เรื่องฮั้วการประมูลทำได้ยาก
ราคาเริ่มต้น 3G ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5MHZ หรือ 1 สล็อตนั้น ทาง กทค. และบอร์ด กสทช. ได้ใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ ในการสื่อสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง กสทช.ได้มอบหมายให้ทางทีมเศรษฐกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำนวณราคาเริ่มต้น (รีเสิร์ฟ ไพรซ์) คิดฐานในราคาที่ 70% ของมูลค่าคลื่นเต็ม ไม่ใช่ราคาเต็ม เพราะอยากให้เกิดการแข่งขันในการลงทุนโครงข่าย ช่วงที่เปิดให้บริการ
จากข้อมูลจากเอกสารในการประชุม ITU Workshop เกี่ยวกับการออกใบอนุญาต 3G ของ Dr.Patrick Xavier ที่มีหลักคิดว่า เงินที่ Operator จ่ายล่วงหน้าสำหรับในอนุญาต ย่อมมีผลต่อผู้บริโภค และ Operator รายใหญ่ที่พร้อมในการจ่ายเงินในราคาสูง เพื่อพยายามกีดกันและกำจัด Operator รายเล็กหรือรายใหม่ในการเข้าสู่ตลาด เพื่อให้ลดการแข่งขันในตลาดภายหลังจากการประมูลได้สิ้นสุดลง
นอกจากนี้ รัฐไม่ควรที่จะคิดในแง่ที่จะประมูลคลื่นความถี่ในราคาสูงเพื่อที่จะนำรายได้เข้ารัฐมากๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรจะคำนึงถึงสภาพตลาดและการแข่งขันในตลาดด้วย ในขณะที่มีนักวิเคราะห์บางท่านแย้งว่า จำนวนเงินที่ผู้ประกอบการจ่ายสำหรับการประมูลใบอนุญาต จะไม่ส่งผลกระทบต่อค่าบริการ 3G ของลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ประกอบการเครือข่าย 3G นั้น ได้พยายามส่งผ่านต้นทุนที่เกิดจากการประมูลไปยังค่าบริการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าได้รับค่าบริการสูงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่มีความต้องการใช้บริการ 3G
นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนของตลาดทุน ที่สามารถเป็นได้ทั้งความเสี่ยงและโอกาสของผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จภายหลังจากการประมูล ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญของผู้ประกอบการที่ใช้ในการพิจารณา คือระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากเงินจำนวนมากที่ได้จ่ายออกไปล่วงหน้าสำหรับใบอนุญาต มากกว่าการมุ่งเน้นการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยรวมในระยะยาว
ยึดมาตรฐานสากล
หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (Intermational Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 GHz ของ กสทช. ได้ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมที่สุด โดยแบ่งคลื่นความถี่จำนวน 45 MHz ออกเป็น 9 สล็อต สล็อตละ 5 MHz
โดยกำหนดราคาตั้งต้น หรือ reserve price ไว้ที่ 4,500 ล้านต่อ 5 MHz ซึ่งเป็นราคาตั้งต้นที่ได้จากการศึกษาของกลุ่มนักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยราคาตลาด (Market Price) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของมูลค่าคลื่นความถี่ดังกล่าวอยู่ที่ 6,440 ล้านบาท ต่อ 5 MHz ซึ่งถือเป็นค่ากลางทางสถิติ และหากกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลของคลื่นความถี่ (Reserve Price) เท่ากับ Market Price คือ 6,440 ล้านบาท แล้วทฤษฎีทางสถิติ มีความหมายคือ จะมีความเสี่ยงที่คลื่นความถี่จะประมูลไม่หมดถึง 50%
ดังนั้น การลดราคาลงมาเรื่อยๆ จะทำให้มีโอกาสจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ออกไปสู่ตลาดได้มากขึ้น กลุ่มนักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเสนอว่าในกรณีของประเทศไทย ราคาตั้งต้นการประมูล (Reserve Price) ไม่ควรต่ำกว่า 0.67 หรือ 67% ของค่าเฉลี่ยมูลค่าคลื่นความถี่
ซึ่งเมื่อคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อแล้ว คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมการประมูลฯ ได้เสนอให้คิดราคาตั้งต้นการประมูล เป็น 70% ของมูลค่าคลื่นความถี่ จึงเป็นที่มาของการกำหนดราคาตั้งต้นเป็น 4,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสม และเป็นราคาที่จะทำให้เกิดโอกาสในการสำเร็จได้มากถึง 99% ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ได้ ก่อให้เกิดโอกาสในการประมูลคลื่นความถี่ได้ทั้งหมด 45 MHz สูงขึ้น โดยต่อมา กทค. และ กสทช. ก็ให้ความเห็นชอบในการกำหนดราคาตั้งต้นเป็นจำนวนเงินดังกล่าว
"สุดท้ายหาค่าเฉลี่ยไทย ที่ระดับ 67% จะส่งผลให้ได้ประโยชน์ทุกภาคส่วน เพื่อความสมดุลย์ ประกอบด้วย รัฐบาล ได้รายได้ที่เหมาะสม ผู้บริโภค ได้รับบริการที่เป็นธรรม หลากหลาย เหมาะสม ผู้ให้บริการต้องสามารถดำเนินธุรกิจได้ไปตลอดระยะเวลา 15 ปี ทั้ง 3 ประเด็นนี้ จึงเน้นเป็นสำคัญ เมื่อเราพิจารณาแล้ว กทค.ใช้ที่ระดับ 70% จะได้ราคา 4.5 พันล้าน ต่อ 5 MHz ซึ่งสูงกว่าราคาครั้งที่แล้ว โดยอยู่ที่ระดับ 4.2 พันล้าน ฉะนั้น ตัวเลขที่ 4.5 พันล้าน น่าจะเหมาะสมที่สุด และเป็นไปตามที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ แนะนำด้วยเช่นกัน"
วิธีการประมูลที่ กสทช.เลือกใช้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน (2 Stager) ขั้นตอนแรก เรียกว่า ขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz พร้อมกัน และดำเนินการประมูลเป็นรอบ โดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ (Simultaneous Ascending Bid Auction) ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ และในขั้นตอนที่ 2 เรียกว่า ขั้นตอนการกำหนดคลื่นความถี่สำหรับผู้ชนะการประมูล เป็นการแข่งขันเพื่อกำหนดตำแหน่งของคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะถือครอง ซึ่งการกำหนดตำแหน่งคลื่นความถี่ในขั้นตอนนี้ จะทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ อันเนื่องจากตำแหน่งของคลื่นความถี่มีผลต่อต้นทุนในการวางโครงข่าย หรือการบำรุงดูแลรักษาโครงข่าย ซึ่งเกิดจากผลกระทบจากการรบกวนคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการรายอื่นในย่านเดียวกัน (Co-existing Operator Interference)
โดยปัจจัยในเรื่อง Interference in WCDMA Multi-Operator Environments หรือ ACI (Adjacent Channel Interference) เป็นสิ่งสำคัญที่ทางวิศวกรรมออกแบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องคำนึงถึง จากงานวิจัยของ Technical University of Lisbon ประเทศโปรตุเกส, งานวิจัยของ University of Twente ประเทศเนเธอร์แลนด์ และหนังสือ "Radio Network Planning and Optimisation for UMTS" ของ Jaana Laino, Achim Wacker และ Tomas Novosad พบว่า ตำแหน่งคลื่นความถี่ของ Operator ในแต่ละช่องจะมีสิ่งแวดล้อมด้านการรบกวนคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน จากคลื่นรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ของ Operator รายอื่น ซึ่งส่งผลต่อการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ และส่งผลต่อเม็ดเงินการลงทุน ซึ่งทำให้ Operator ที่ต้องการเข้าร่วมประมูล ต้องทำการวิเคราะห์ว่าช่องความถี่ใดดีที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น หากมีผู้เข้าประมูลเพียง 3 ราย และจากเงื่อนไขการประมูล เรื่อง Spectrum Cap ที่จะทำให้แต่ละรายได้คลื่นความถี่ 3 สล็อต เท่าๆ กัน (15 MHz) จนดูเหมือนว่าอาจจะเกิดการฮั้วในการประมูล แต่จากหลักการและเหตุผลเรื่อง ACI ข้างต้น จะทำให้ผู้ประกอบการ (Operator) ที่เข้าร่วมประมูล ต้องทำการแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งของชุดคลื่นความถี่ที่ตัวเองจะถือครองในย่านที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่จะมีการแข่งขันในการประมูล โดยมูลที่ชนะการประมูลที่เสนอราคาสูงสุดตามลำดับจะมีสิทธิในการเลือกตำแหน่งที่ดีกว่า
แนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ของ กสทช. เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการประมูลและเกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ภายหลังจากการประมูลสิ้นสุดลงจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการแข่งขัน และส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่สมบูรณ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการในลักษณะที่มีการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนากิจการโทรคมนาคมของประเทศ ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับวิวัฒนาการของโลก
อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการให้บริการโทรคมนาคมเพื่อสังคม มีการบริการโทรคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการโทรคมนาคมแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้น้อย คนพิการ เด็ก คนชรา ผู้ที่อยู่ห่างไกลในชนบท และผู้ด้อยโอกาสในสังคม เป็นต้น การนำคลื่นความถี่ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยสร้างกลไกทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และเป็นการยกมาตรฐานการให้บริการที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม การประมูลที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะส่งผลดีหลายด้าน ไม่ใช่แค่เพียงคนไทยได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีอย่างทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน ยังเป็นการลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงภาควิศวกรรม การขยายโครงข่าย การจ้างงาน การซับคอนแทรคต์ ให้แก่ ซัพพลายเออร์ เวนเดอร์ และผู้รับเหมาสำหรับขยายโครงข่าย สถานีฐานโทรคมนาคมให้ได้ตามที่ กสทช.กำหนดเงื่อนไขไว้ในประกาศการให้บริการ
หลังจากที่ประเทศไทยมีการให้บริการ 3G อย่างเต็มรูปแบบ ในภาพรวมของอุตสาหกรรม จะเป็นการช่วยผลักดันจีดีพีของประเทศให้เติบโตขึ้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีเงินสะพัดปีละมากกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ก็ยังจำกัดอยู่แค่ระบบ 2G เท่านั้น
อนาคต 3G ที่สดใสว่า จะเกิดเงินสะพัดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่ต่ำกว่า 2.5-3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ของผู้ประกอบการที่ได้รับจากการใช้บริการโทรศัพท์ซึ่งจะเน้นเป็นบริการข้อมูล (ดาต้า) บริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (โมบายล์ บรอดแบนด์) เกิดการจ้างงานในภาคการผลิตคอนเทนต์ แอพพลิเคชั่น ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท และภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จะเกิดการจ้างงานและการขยายตัวของตลาดราว 2 หมื่นล้านบาท
กสทช.พร้อมแล้วกับการดำเนินการประมูลความถี่ 2.1 GHz หรือประมูล 3G ในวันที่ 16 ต.ค.นี้
บรรยายใต้ภาพ
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
บ้านเมือง
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1506838
ใช้มืออาชีพดำเนินการประมูล
หลังจากประกาศผลแล้วจะมีการซักซ้อมการประมูลก่อนดำเนินการประมูล
จริง เรียกว่า ม็อก ออกชั่น โดยบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งนี้ โดยยึดหลักความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสาเหตุที่ กสทช. เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออคชั่น เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการประมูล ในวันที่ 12-13 ต.ค.
กสทช.ได้เตรียมพร้อมการประมูล โดยการตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการเตรียมการประมูล 2.คณะกรรมการกำกับการประมูล 3.คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และ 4.คณะกรรมการตรวจสอบการเชื่อมโยงของบริษัทผู้เข้าร่วมประมูล ในขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษาเตรียมการประมูลเพื่อเตรียมระบบประมูล, ระบบรักษาความปลอดภัย, สถานที่สำหรับผู้เข้าร่วมประมูล และผู้สังเกตการณ์ รวมถึงกระบวนการในการแสดงผลการประมูลแต่ละขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานจะไม่มีอุปสรรค
ในการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ครั้งนี้ กสทช.มีนโยบายที่ให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยจะใช้สำนักงาน กสทช. เป็นสถานที่จัดประมูล ทั้งนี้ บริษัทผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัท จะส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ไม่เกิน 10 คน และแต่ละบริษัทจะแยกกันอยู่คนละชั้นในสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสาร โดยจะจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พร้อมกับเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์หน้าห้องประมูลแต่ละห้อง
กสทช. ได้เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น ให้เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งนี้ โดยยึดหลักความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสาเหตุที่ กสทช. เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการประมูล
และสำหรับเทคโนลียี 3G จะต้องมีความเร็วเฉลี่ยในการ Download ข้อมูลขั้นต่ำ 345 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) และในการ Upload ข้อมูลต้องมีความเร็วเฉลี่ยขั้นต่ำ 153 kbps (กิโลบิตต่อวินาที) โดยยึดตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภท "ข้อมูล" สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ผู้ชนะการประมูลจะต้องประกันความจุ (capacity) อย่างน้อย 10% ของโครงข่ายสำหรับ MVNO
__________________________________________
คอลัมน์: รายงานพิเศษ: ศักยภาพเกินร้อยประมูล 3 จี กสทช.ย้ำโปร่งใส เป็นธรรม ฮั้วยาก
นับถอยหลังการประมูลคลื่นความถี่ สาหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 GHz ของ กสทช. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคม 2555 นี้ โดย กสทช.พร้อมเกินร้อยสาหรับการประมูลที่กาลัง
จะมีขึ้น ย้ำ โปร่งใส เป็นธรรม และทาเพื่อประโยชน์ชาติ เรื่องฮั้วประมูลทายาก แม้จะมีผู้เข้าประมูล 3 ราย
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองประธาน กสทช.) ประธานกิจการโทรคมนาคม (ประธาน กทค.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน กสทช.ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือประมูล 3G ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพื่อร่วมการประมูล ในวันที่ 28 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา และปรากฏมีผู้มายื่นคำขอเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด นั้น
บัดนี้ หลังจากที่ กทค.ได้พิจารณาผลการพิจารณาของสำนักงาน กสทช. ว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทั้ง 3 ราย มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดในข้อ 8 และได้ดำเนินการตามข้อ 9 ของประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ.2555 แล้ว จึงเห็นชอบให้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด, บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เป็นผู้เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในวันที่ 16 ต.ค.ที่จะถึงนี้
ใช้มืออาชีพดำเนินการประมูล
หลังจากประกาศผลแล้วจะมีการซักซ้อมการประมูลก่อนดำเนินการประมูล
จริง เรียกว่า ม็อก ออกชั่น โดยบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งนี้ โดยยึดหลักความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสาเหตุที่ กสทช. เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออคชั่น เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการประมูล ในวันที่ 12-13 ต.ค.
กสทช.ได้เตรียมพร้อมการประมูล โดยการตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการเตรียมการประมูล 2.คณะกรรมการกำกับการประมูล 3.คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และ 4.คณะกรรมการตรวจสอบการเชื่อมโยงของบริษัทผู้เข้าร่วมประมูล ในขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษาเตรียมการประมูลเพื่อเตรียมระบบประมูล, ระบบรักษาความปลอดภัย, สถานที่สำหรับผู้เข้าร่วมประมูล และผู้สังเกตการณ์ รวมถึงกระบวนการในการแสดงผลการประมูลแต่ละขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานจะไม่มีอุปสรรค
ในการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ครั้งนี้ กสทช.มีนโยบายที่ให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยจะใช้สำนักงาน กสทช. เป็นสถานที่จัดประมูล ทั้งนี้ บริษัทผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัท จะส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ไม่เกิน 10 คน และแต่ละบริษัทจะแยกกันอยู่คนละชั้นในสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสาร โดยจะจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พร้อมกับเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์หน้าห้องประมูลแต่ละห้อง
กสทช. ได้เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น ให้เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ครั้งนี้ โดยยึดหลักความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสาเหตุที่ กสทช. เลือก บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการประมูล
อีกทั้งยังมีการดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบการประมูล การจัดเตรียมกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประมูล การอบรมและการดำเนินงานประมูล การประกันคุณภาพ การจัดเตรียมเอกสารการประมูลและการพัฒนาซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการประมูล เป็นต้น ประสบการณ์ที่ผ่านมาของบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น คือเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการด้านโทรคมนาคม และผู้ประกอบการทั่วโลก เช่น ในประเทศอังกฤษอินเดีย และเม็กซิโก เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 800 MHz และ 2.6 GHz ในประเทศอังกฤษ ที่กำลังจะเกิดขั้นในปี 2013 และที่สำคัญที่สุดบริษัท
นี้ได้มีการให้คำปรึกษา, ออกแบบการประมูล ตลอดจนให้บริการเกี่ยวกับการ
ดำเนินงานด้านการประมูลแก่หน่วยงาน FCC สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในอเมริกา
มั่นใจให้บริการ มี.ค.56
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า หลังจากการประมูลสิ้นสุด กสทช.จะประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูล และจะให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 แก่ผู้ชนะการประมูลภายใน 90 วัน นับจากวันที่สิ้นสุดการประมูล ซึ่งผู้ชนะการประมูลต้องจ่ายค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ตามที่ได้ยื่นประมูลงวดแรก 50% ภายใน 90 วัน นับจากได้รับหนังสือแจ้งว่าเป็นผู้ชนะประมูล
และชำระงวดที่ 2 อีก 25% เมื่อได้รับใบอนุญาตครบ 3 ปี และยังต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบ 3 (มีโครงข่ายเป็นของตนเอง) อีก 2% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย จ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายละ 2 บาทต่อเดือน และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) อีก 3.75% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ อายุใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz มีระยะเวลา 15 ปี โดยผู้ให้บริการที่ได้คลื่นความถี่ตั้งแต่ 10 MHz ขึ้นไปจะต้องให้บริการ 3G ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และครอบคลุม 50% ของประชากรในประเทศไทย (ไม่ใช่พื้นที่) ภายใน 2 ปี และ 80% ภายใน 4 ปี ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้คลื่นเพียง 5 MHz ตัวเลขการให้บริการจะกลายเป็น 20% และ 30% ของประชากรในประเทศไทยแทน
และสำหรับเทคโนลียี 3G จะต้องมีความเร็วเฉลี่ยในการ Download ข้อมูลขั้นต่ำ 345 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) และในการ Upload ข้อมูลต้องมีความเร็วเฉลี่ยขั้นต่ำ 153 kbps (กิโลบิตต่อวินาที) โดยยึดตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภท "ข้อมูล" สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ผู้ชนะการประมูลจะต้องประกันความจุ (capacity) อย่างน้อย 10% ของโครงข่ายสำหรับ MVNO
"หลังจากการประมูลจริงเกิดขึ้น ในวันที่ 16 ต.ค. 55 ซึ่งเบื้องต้น กำหนดระยะเวลาในการประมูลไว้ 3 วัน (16-18 ต.ค.) และจะประกาศรายชื่อผู้ได้สิทธิหลังจากนั้นไม่เกิน 7 วัน และให้เวลาบริษัท ยื่นเอกสารให้ครบ และให้ใบอนุญาตในการใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ภายใน 90 วัน ไม่เกินเดือน พ.ย.55 และผู้ได้รับใบอนุญาต จะดำเนินการสร้างโครงข่ายได้ ให้บริการในเมืองใหญ่ได้ภายใน 6 เดือนประมาณ เดือน มี.ค.- เม.ย.56 แต่ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ต้องให้บริการประชาชนมากกว่า 50% ของประชากรในประเทศไทย ภายใน 2 ปี หรือคิดเป็นการให้บริการมากกว่า 30 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของประชากรทั้งประเทศ ภายใน 4 ปี แต่ตามสถิติ จะให้บริการได้เร็วกว่าเงื่อนไขที่กำหนด" พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าว
ฮั้วประมูลทำยาก
สำหรับกรณีที่มีกระแสข่าวโจมตีการทำงานของ กสทช. ว่าเป็นการเปิดช่องฮั้วการประมูลนั้น พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ชี้แจงว่า การฮั้วประมูลนั้นทำยาก เพราะ 1.ตามธรรมชาติธุรกิจ แข่งขันสูง ผลประโยชน์สูง การจับมือฮั้วประมูลทำยาก 2.กระบวนการจัดสรรซับซ้อน ไม่ง่ายต่อการฮั้วประมูล แบ่ง 9 สล็อต และแบ่ง 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ การเลือกปริมาณคลื่นความถี่ไม่เกิน 15 MHZ และการเลือกตำแหน่งคลื่นความถี่ที่ดีที่สุด ผู้ที่จะเลือกได้ก่อนคือผู้ที่ให้ราคาประมูลสูงสุด เรียงลำดับไป ฉะนั้นต้องแข่งขันกัน แม้จะมี 3 รายก็ต้องแข่งขันกัน เรื่องฮั้วการประมูลทำได้ยาก
ราคาเริ่มต้น 3G ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5MHZ หรือ 1 สล็อตนั้น ทาง กทค. และบอร์ด กสทช. ได้ใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ ในการสื่อสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง กสทช.ได้มอบหมายให้ทางทีมเศรษฐกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำนวณราคาเริ่มต้น (รีเสิร์ฟ ไพรซ์) คิดฐานในราคาที่ 70% ของมูลค่าคลื่นเต็ม ไม่ใช่ราคาเต็ม เพราะอยากให้เกิดการแข่งขันในการลงทุนโครงข่าย ช่วงที่เปิดให้บริการ
จากข้อมูลจากเอกสารในการประชุม ITU Workshop เกี่ยวกับการออกใบอนุญาต 3G ของ Dr.Patrick Xavier ที่มีหลักคิดว่า เงินที่ Operator จ่ายล่วงหน้าสำหรับในอนุญาต ย่อมมีผลต่อผู้บริโภค และ Operator รายใหญ่ที่พร้อมในการจ่ายเงินในราคาสูง เพื่อพยายามกีดกันและกำจัด Operator รายเล็กหรือรายใหม่ในการเข้าสู่ตลาด เพื่อให้ลดการแข่งขันในตลาดภายหลังจากการประมูลได้สิ้นสุดลง
นอกจากนี้ รัฐไม่ควรที่จะคิดในแง่ที่จะประมูลคลื่นความถี่ในราคาสูงเพื่อที่จะนำรายได้เข้ารัฐมากๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรจะคำนึงถึงสภาพตลาดและการแข่งขันในตลาดด้วย ในขณะที่มีนักวิเคราะห์บางท่านแย้งว่า จำนวนเงินที่ผู้ประกอบการจ่ายสำหรับการประมูลใบอนุญาต จะไม่ส่งผลกระทบต่อค่าบริการ 3G ของลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ประกอบการเครือข่าย 3G นั้น ได้พยายามส่งผ่านต้นทุนที่เกิดจากการประมูลไปยังค่าบริการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าได้รับค่าบริการสูงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่มีความต้องการใช้บริการ 3G
นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนของตลาดทุน ที่สามารถเป็นได้ทั้งความเสี่ยงและโอกาสของผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จภายหลังจากการประมูล ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญของผู้ประกอบการที่ใช้ในการพิจารณา คือระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากเงินจำนวนมากที่ได้จ่ายออกไปล่วงหน้าสำหรับใบอนุญาต มากกว่าการมุ่งเน้นการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยรวมในระยะยาว
ยึดมาตรฐานสากล
หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (Intermational Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 GHz ของ กสทช. ได้ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมที่สุด โดยแบ่งคลื่นความถี่จำนวน 45 MHz ออกเป็น 9 สล็อต สล็อตละ 5 MHz
โดยกำหนดราคาตั้งต้น หรือ reserve price ไว้ที่ 4,500 ล้านต่อ 5 MHz ซึ่งเป็นราคาตั้งต้นที่ได้จากการศึกษาของกลุ่มนักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยราคาตลาด (Market Price) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของมูลค่าคลื่นความถี่ดังกล่าวอยู่ที่ 6,440 ล้านบาท ต่อ 5 MHz ซึ่งถือเป็นค่ากลางทางสถิติ และหากกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลของคลื่นความถี่ (Reserve Price) เท่ากับ Market Price คือ 6,440 ล้านบาท แล้วทฤษฎีทางสถิติ มีความหมายคือ จะมีความเสี่ยงที่คลื่นความถี่จะประมูลไม่หมดถึง 50%
ดังนั้น การลดราคาลงมาเรื่อยๆ จะทำให้มีโอกาสจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ออกไปสู่ตลาดได้มากขึ้น กลุ่มนักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเสนอว่าในกรณีของประเทศไทย ราคาตั้งต้นการประมูล (Reserve Price) ไม่ควรต่ำกว่า 0.67 หรือ 67% ของค่าเฉลี่ยมูลค่าคลื่นความถี่
ซึ่งเมื่อคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อแล้ว คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมการประมูลฯ ได้เสนอให้คิดราคาตั้งต้นการประมูล เป็น 70% ของมูลค่าคลื่นความถี่ จึงเป็นที่มาของการกำหนดราคาตั้งต้นเป็น 4,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสม และเป็นราคาที่จะทำให้เกิดโอกาสในการสำเร็จได้มากถึง 99% ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ได้ ก่อให้เกิดโอกาสในการประมูลคลื่นความถี่ได้ทั้งหมด 45 MHz สูงขึ้น โดยต่อมา กทค. และ กสทช. ก็ให้ความเห็นชอบในการกำหนดราคาตั้งต้นเป็นจำนวนเงินดังกล่าว
"สุดท้ายหาค่าเฉลี่ยไทย ที่ระดับ 67% จะส่งผลให้ได้ประโยชน์ทุกภาคส่วน เพื่อความสมดุลย์ ประกอบด้วย รัฐบาล ได้รายได้ที่เหมาะสม ผู้บริโภค ได้รับบริการที่เป็นธรรม หลากหลาย เหมาะสม ผู้ให้บริการต้องสามารถดำเนินธุรกิจได้ไปตลอดระยะเวลา 15 ปี ทั้ง 3 ประเด็นนี้ จึงเน้นเป็นสำคัญ เมื่อเราพิจารณาแล้ว กทค.ใช้ที่ระดับ 70% จะได้ราคา 4.5 พันล้าน ต่อ 5 MHz ซึ่งสูงกว่าราคาครั้งที่แล้ว โดยอยู่ที่ระดับ 4.2 พันล้าน ฉะนั้น ตัวเลขที่ 4.5 พันล้าน น่าจะเหมาะสมที่สุด และเป็นไปตามที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ แนะนำด้วยเช่นกัน"
วิธีการประมูลที่ กสทช.เลือกใช้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน (2 Stager) ขั้นตอนแรก เรียกว่า ขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz พร้อมกัน และดำเนินการประมูลเป็นรอบ โดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ (Simultaneous Ascending Bid Auction) ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ และในขั้นตอนที่ 2 เรียกว่า ขั้นตอนการกำหนดคลื่นความถี่สำหรับผู้ชนะการประมูล เป็นการแข่งขันเพื่อกำหนดตำแหน่งของคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะถือครอง ซึ่งการกำหนดตำแหน่งคลื่นความถี่ในขั้นตอนนี้ จะทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ อันเนื่องจากตำแหน่งของคลื่นความถี่มีผลต่อต้นทุนในการวางโครงข่าย หรือการบำรุงดูแลรักษาโครงข่าย ซึ่งเกิดจากผลกระทบจากการรบกวนคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการรายอื่นในย่านเดียวกัน (Co-existing Operator Interference)
โดยปัจจัยในเรื่อง Interference in WCDMA Multi-Operator Environments หรือ ACI (Adjacent Channel Interference) เป็นสิ่งสำคัญที่ทางวิศวกรรมออกแบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องคำนึงถึง จากงานวิจัยของ Technical University of Lisbon ประเทศโปรตุเกส, งานวิจัยของ University of Twente ประเทศเนเธอร์แลนด์ และหนังสือ "Radio Network Planning and Optimisation for UMTS" ของ Jaana Laino, Achim Wacker และ Tomas Novosad พบว่า ตำแหน่งคลื่นความถี่ของ Operator ในแต่ละช่องจะมีสิ่งแวดล้อมด้านการรบกวนคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน จากคลื่นรบกวนการใช้งานคลื่นความถี่ของ Operator รายอื่น ซึ่งส่งผลต่อการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ และส่งผลต่อเม็ดเงินการลงทุน ซึ่งทำให้ Operator ที่ต้องการเข้าร่วมประมูล ต้องทำการวิเคราะห์ว่าช่องความถี่ใดดีที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น หากมีผู้เข้าประมูลเพียง 3 ราย และจากเงื่อนไขการประมูล เรื่อง Spectrum Cap ที่จะทำให้แต่ละรายได้คลื่นความถี่ 3 สล็อต เท่าๆ กัน (15 MHz) จนดูเหมือนว่าอาจจะเกิดการฮั้วในการประมูล แต่จากหลักการและเหตุผลเรื่อง ACI ข้างต้น จะทำให้ผู้ประกอบการ (Operator) ที่เข้าร่วมประมูล ต้องทำการแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งของชุดคลื่นความถี่ที่ตัวเองจะถือครองในย่านที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่จะมีการแข่งขันในการประมูล โดยมูลที่ชนะการประมูลที่เสนอราคาสูงสุดตามลำดับจะมีสิทธิในการเลือกตำแหน่งที่ดีกว่า
แนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ของ กสทช. เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการประมูลและเกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ภายหลังจากการประมูลสิ้นสุดลงจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการแข่งขัน และส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่สมบูรณ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการในลักษณะที่มีการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนากิจการโทรคมนาคมของประเทศ ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับวิวัฒนาการของโลก
อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการให้บริการโทรคมนาคมเพื่อสังคม มีการบริการโทรคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการโทรคมนาคมแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้น้อย คนพิการ เด็ก คนชรา ผู้ที่อยู่ห่างไกลในชนบท และผู้ด้อยโอกาสในสังคม เป็นต้น การนำคลื่นความถี่ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยสร้างกลไกทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และเป็นการยกมาตรฐานการให้บริการที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม การประมูลที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะส่งผลดีหลายด้าน ไม่ใช่แค่เพียงคนไทยได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีอย่างทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน ยังเป็นการลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงภาควิศวกรรม การขยายโครงข่าย การจ้างงาน การซับคอนแทรคต์ ให้แก่ ซัพพลายเออร์ เวนเดอร์ และผู้รับเหมาสำหรับขยายโครงข่าย สถานีฐานโทรคมนาคมให้ได้ตามที่ กสทช.กำหนดเงื่อนไขไว้ในประกาศการให้บริการ
หลังจากที่ประเทศไทยมีการให้บริการ 3G อย่างเต็มรูปแบบ ในภาพรวมของอุตสาหกรรม จะเป็นการช่วยผลักดันจีดีพีของประเทศให้เติบโตขึ้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีเงินสะพัดปีละมากกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ก็ยังจำกัดอยู่แค่ระบบ 2G เท่านั้น
อนาคต 3G ที่สดใสว่า จะเกิดเงินสะพัดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่ต่ำกว่า 2.5-3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ของผู้ประกอบการที่ได้รับจากการใช้บริการโทรศัพท์ซึ่งจะเน้นเป็นบริการข้อมูล (ดาต้า) บริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (โมบายล์ บรอดแบนด์) เกิดการจ้างงานในภาคการผลิตคอนเทนต์ แอพพลิเคชั่น ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท และภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จะเกิดการจ้างงานและการขยายตัวของตลาดราว 2 หมื่นล้านบาท
กสทช.พร้อมแล้วกับการดำเนินการประมูลความถี่ 2.1 GHz หรือประมูล 3G ในวันที่ 16 ต.ค.นี้
บรรยายใต้ภาพ
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
บ้านเมือง
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1506838
ไม่มีความคิดเห็น: