11 ตุลาคม 2555 (บทความ) ชะตากรรม "หัวเว่ย" แกะดำในวงการโทรคมนาคมโลก? ( ใช้แล้วจะส่งข้อมมูลบ้างส่วนกลับจีน ผู้ใช้ต้องระวัง)
ประเด็นหลัก
รายงานของคณะกรรมาธิการการข่าวกรองระบุว่า บริษัททั้งสองไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน ถึงความเกี่ยวโยงกับรัฐบาลและกองทัพจีน ทำให้ยังเชื่อได้ว่าบริษัททั้งสองได้รับอิทธิพลจากปักกิ่ง และอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ
ด้านบริษัทหัวเว่ยและซีทีอี ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุปกรณ์โทรคมนาคมของโลก ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยกล่าวว่าพวกตนสนใจแต่เพียงธุรกิจเท่านั้น ไม่ได้สนใจการเมือง กระนั้นเมื่อมีนาคม (2012) ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียแบนไม่ให้หัวเว่ยเข้าร่วมประมูลงานของรัฐบาลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในการจัดหาอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายบรอดแบนด์ของประเทศเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยซึ่งหัวเว่ยได้ชี้แจงเรื่องนี้ว่าเป็นแรงต้านจากประเด็นการเมือง
มีการอ่านเกมนี้ถึงขั้นว่า "หัวเว่ย" ได้กลายเป็นเบี้ยต่อรองระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน?
โดยทางหัวเว่ยอ้างว่ากรรมาธิการละเลยข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้มอบให้ไป ทั้งที่หัวเว่ยยืนยันว่าไม่มีทางที่จะให้ทางรัฐบาลจีน หรือกองทัพเข้าถึงระบบซีเคียวริตี้ของหัวเว่ยอย่างแน่นอน และกฎหมายก็ค่อนข้างเขียนไว้ชัดในจีน ไม่มีใครสามารถทำอย่างนั้นได้
_____________________________________
ชะตากรรม "หัวเว่ย" แกะดำในวงการโทรคมนาคมโลก?
โดย "ติสตู" twitter @tistoo
หลังจากรายงานของคณะกรรมาธิการการข่าวกรองของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ระบุผลสอบสวนว่าบริษัทหัวเว่ย และซีทีอี บริษัทด้านธุรกิจโทรคมนาคมจากจีน เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของสหรัฐ โดยกรรมาธิการข่าวกรองของสภาคองเกรงแนะรัฐบาลห้ามสองบริษัทจีนทำสัญญา-ดำเนินธุรกิจควบรวมในประเทศ
รายงานของคณะกรรมาธิการการข่าวกรองระบุว่า บริษัททั้งสองไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน ถึงความเกี่ยวโยงกับรัฐบาลและกองทัพจีน ทำให้ยังเชื่อได้ว่าบริษัททั้งสองได้รับอิทธิพลจากปักกิ่ง และอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ
ด้านบริษัทหัวเว่ยและซีทีอี ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุปกรณ์โทรคมนาคมของโลก ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยกล่าวว่าพวกตนสนใจแต่เพียงธุรกิจเท่านั้น ไม่ได้สนใจการเมือง กระนั้นเมื่อมีนาคม (2012) ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียแบนไม่ให้หัวเว่ยเข้าร่วมประมูลงานของรัฐบาลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในการจัดหาอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายบรอดแบนด์ของประเทศเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยซึ่งหัวเว่ยได้ชี้แจงเรื่องนี้ว่าเป็นแรงต้านจากประเด็นการเมือง
บริษัทหัวเว่ยก่อตั้งโดยเริ่นเจิ้งเฟย อดีตนายทหารของกองทัพปลดแอกประชาชน เมื่อบริษัทได้เติบโตจนกลายเป็นบริษัทใหญ่ด้านโทรคมนาคมก็มีกระแสข่าวว่า บริษัทหัวเว่ยมีความเกี่ยวพันกับกองทัพจีน ทั้งยังได้ช่วยเหลือจีนในการหาข้อมูลจากประเทศต่างๆ
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัทหัวเว่ยและซีทีอีถูกกล่าวหาว่า อุปกรณ์ของพวกเขาได้ติดตั้งรหัสบางอย่างที่จะส่งต่อข้อมูลลับกลับไปยังประเทศจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 2 บริษัทได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด ในการดำเนินคดีในชั้นศาลเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
"หัวเว่ย"นั้นจัดว่าเป็นบริษัทด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจาก "อีริคสัน" กรณีที่เกิดขึ้นล่าสุดกับ "หัวเว่ย" บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติจีน จึงกำลังถูกมองว่า รายงานของกรรมาธิการฉบับนี้จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยในอีกหลายประเทศหรือไม่ เพราะล่าสุดในแคนาดา ซึ่งหัวเว่ยได้จัดสร้างเครือข่ายความเร็วสูงให้แก่บริษัทเอกชนของแคนาดาหลายแห่ง เช่น เบล แคนาดา, เทลอัส, ซาสก์เทล และวินด์ โมไบล์ แต่ทางการแคนาดายังคงลังเลที่จะให้หัวเว่ยเข้ามาเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเครือข่ายซึ่งได้ถูกโจมตีเมื่อปี 2553
แอนดรูว์ แม็กดูกัล โฆษกของนายกรัฐมนตรีแคนาดา สตีเฟน ฮาร์เปอร์ แถลงว่า แคนาดาได้ประกาศ "ข้อยกเว้นด้วยเหตุของความมั่นคงแห่งชาติ" ซึ่งอาจปิดกั้นไม่ให้บริษัทหัวเว่ยเข้าร่วมในโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายการสื่อสารของประเทศ โดยระบุว่ารัฐบาลจะต้องเลือกบริษัทอย่างระมัดระวังในการสร้างเครือข่ายข้อมูลและโทรคมนาคม
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ การดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยในแคนาดาดูจะยังราบรื่น เพราะในระหว่างเยือนปักกั่งเมื่อต้นปีของนายกรัฐมนตรีแคนาดา ทางนายกฯแคนาดาได้ประกาศทางการ เรื่องที่หัวเหว่ยจะเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงเครือข่ายไร้สายในประเทศ ซึ่งหัวเหว่ยได้เปิดสำนักงานในแคนาดาจ้างพนักงาน 300 คน มีศูนย์การพัฒนาและวิจัยในออตตาวาและได้งบฯสนับสนุนจากรัฐบาลในการลงทุนราว 6.5 ล้านเหรียญดอลลาร์แคนาดา
กรณีดังกล่าวยังต้องรอดูต่อไปว่า "หัวเว่ย" กำลังจะถูกทำให้กลายเป็น "แกะดำ" ในโลกของการสื่อสารโทรคมนาคมหรือไม่ และแน่นอนในภาคของธุรกิจย่อมถูกกระทบ ปัจจุบันหัวเว่ยนั้นเป็นบริษัทสัญชาติจีนที่สามารถสร้างรายได้กว่า 70 เปอร์เซ็นต์นอกประเทศจีน
ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหัวเว่ยที่อยู่ในฐานะมีส่วนเกี่ยวข้องในการชี้แจงถ้อยคำต่อคณะกรรมาธิการข่าวกรองสหรัฯบอกว่าไม่ได้ประหลาดใจกับรายงานของคณะกรรมาธิการแต่ผิดหวังมากกว่าเนื่องจากตลอด 11 เดือนที่คณะกรรมาธิการตรวจสอบและเขาได้ร่วมให้ถ้อยคำ เราได้ให้ข้อมูลทั้งหมดตามที่มีการร้องขอ แต่ก็ถูกละเลย ทั้งที่เคยหวังว่าทางกรรมาธิการจะใช้โอกาสนี้ในการแสวงหา และสร้างมาตรฐานการทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติ
มีการอ่านเกมนี้ถึงขั้นว่า "หัวเว่ย" ได้กลายเป็นเบี้ยต่อรองระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน?
โดยทางหัวเว่ยอ้างว่ากรรมาธิการละเลยข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้มอบให้ไป ทั้งที่หัวเว่ยยืนยันว่าไม่มีทางที่จะให้ทางรัฐบาลจีน หรือกองทัพเข้าถึงระบบซีเคียวริตี้ของหัวเว่ยอย่างแน่นอน และกฎหมายก็ค่อนข้างเขียนไว้ชัดในจีน ไม่มีใครสามารถทำอย่างนั้นได้
กรณีที่เกิดขึ้นจากรายงานของกรรมาธิการได้สร้างชุดความคิดเชิงเป็นห่วงว่า รัฐบาลจีนอาจใช้ความสัมพันธ์แบบส่วนตัวกับทางหัวเว่ยในการสอดแนมอเมริกัน และหัวเว่ยเคยออกรายงานยืนยันว่าไม่มีส่วนร่วมใดๆ หรือให้ความร่วมมือกับประเทศใดประเทศหนึ่งในการทำความเสียหายหรือขโมยฐานข้อมูลจากข่าวกรองชาติใด
ข่าวดังกล่าวกระทบทันทีกับความพยายามของหัวเว่ยที่จะขายผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนแทบเล็ตและบริการที่เกี่ยวข้องของธุรกิจให้กับคนอเมริกันและบริษัทอเมริกันเพราะแน่นอนว่าผลกระทบจากรายงานชิ้นนั้นทำให้พลเมืองอเมริกันมีความระมัดระวังมากขึ้นแม้รายงานจะไม่ได้ให้รายละเอียดหลักฐานชัดเจนว่าอุปกรณ์ของหัวเว่ยถูกนำมาใช้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจารกรรมข้อมูลแม้ว่าในเอกสารของกรรมาธิการจะมีการให้ข้อมูลลักษณะ"มีนัย"ในภาคผนวกของตัวรายงาน
เป็นรายงานจากสภาคองเกรสที่ออกฤทธิ์กับหัวเว่ยให้อาจกลายเป็น"แกะดำ" ในวงการธุรกิจโทรคมนาคมโลก?
ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1349952832&grpid=03&catid=02&subcatid=0200
รายงานของคณะกรรมาธิการการข่าวกรองระบุว่า บริษัททั้งสองไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน ถึงความเกี่ยวโยงกับรัฐบาลและกองทัพจีน ทำให้ยังเชื่อได้ว่าบริษัททั้งสองได้รับอิทธิพลจากปักกิ่ง และอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ
ด้านบริษัทหัวเว่ยและซีทีอี ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุปกรณ์โทรคมนาคมของโลก ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยกล่าวว่าพวกตนสนใจแต่เพียงธุรกิจเท่านั้น ไม่ได้สนใจการเมือง กระนั้นเมื่อมีนาคม (2012) ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียแบนไม่ให้หัวเว่ยเข้าร่วมประมูลงานของรัฐบาลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในการจัดหาอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายบรอดแบนด์ของประเทศเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยซึ่งหัวเว่ยได้ชี้แจงเรื่องนี้ว่าเป็นแรงต้านจากประเด็นการเมือง
มีการอ่านเกมนี้ถึงขั้นว่า "หัวเว่ย" ได้กลายเป็นเบี้ยต่อรองระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน?
โดยทางหัวเว่ยอ้างว่ากรรมาธิการละเลยข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้มอบให้ไป ทั้งที่หัวเว่ยยืนยันว่าไม่มีทางที่จะให้ทางรัฐบาลจีน หรือกองทัพเข้าถึงระบบซีเคียวริตี้ของหัวเว่ยอย่างแน่นอน และกฎหมายก็ค่อนข้างเขียนไว้ชัดในจีน ไม่มีใครสามารถทำอย่างนั้นได้
_____________________________________
ชะตากรรม "หัวเว่ย" แกะดำในวงการโทรคมนาคมโลก?
โดย "ติสตู" twitter @tistoo
หลังจากรายงานของคณะกรรมาธิการการข่าวกรองของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ระบุผลสอบสวนว่าบริษัทหัวเว่ย และซีทีอี บริษัทด้านธุรกิจโทรคมนาคมจากจีน เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของสหรัฐ โดยกรรมาธิการข่าวกรองของสภาคองเกรงแนะรัฐบาลห้ามสองบริษัทจีนทำสัญญา-ดำเนินธุรกิจควบรวมในประเทศ
รายงานของคณะกรรมาธิการการข่าวกรองระบุว่า บริษัททั้งสองไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน ถึงความเกี่ยวโยงกับรัฐบาลและกองทัพจีน ทำให้ยังเชื่อได้ว่าบริษัททั้งสองได้รับอิทธิพลจากปักกิ่ง และอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ
ด้านบริษัทหัวเว่ยและซีทีอี ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุปกรณ์โทรคมนาคมของโลก ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยกล่าวว่าพวกตนสนใจแต่เพียงธุรกิจเท่านั้น ไม่ได้สนใจการเมือง กระนั้นเมื่อมีนาคม (2012) ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียแบนไม่ให้หัวเว่ยเข้าร่วมประมูลงานของรัฐบาลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในการจัดหาอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายบรอดแบนด์ของประเทศเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยซึ่งหัวเว่ยได้ชี้แจงเรื่องนี้ว่าเป็นแรงต้านจากประเด็นการเมือง
บริษัทหัวเว่ยก่อตั้งโดยเริ่นเจิ้งเฟย อดีตนายทหารของกองทัพปลดแอกประชาชน เมื่อบริษัทได้เติบโตจนกลายเป็นบริษัทใหญ่ด้านโทรคมนาคมก็มีกระแสข่าวว่า บริษัทหัวเว่ยมีความเกี่ยวพันกับกองทัพจีน ทั้งยังได้ช่วยเหลือจีนในการหาข้อมูลจากประเทศต่างๆ
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัทหัวเว่ยและซีทีอีถูกกล่าวหาว่า อุปกรณ์ของพวกเขาได้ติดตั้งรหัสบางอย่างที่จะส่งต่อข้อมูลลับกลับไปยังประเทศจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 2 บริษัทได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด ในการดำเนินคดีในชั้นศาลเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
"หัวเว่ย"นั้นจัดว่าเป็นบริษัทด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจาก "อีริคสัน" กรณีที่เกิดขึ้นล่าสุดกับ "หัวเว่ย" บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติจีน จึงกำลังถูกมองว่า รายงานของกรรมาธิการฉบับนี้จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยในอีกหลายประเทศหรือไม่ เพราะล่าสุดในแคนาดา ซึ่งหัวเว่ยได้จัดสร้างเครือข่ายความเร็วสูงให้แก่บริษัทเอกชนของแคนาดาหลายแห่ง เช่น เบล แคนาดา, เทลอัส, ซาสก์เทล และวินด์ โมไบล์ แต่ทางการแคนาดายังคงลังเลที่จะให้หัวเว่ยเข้ามาเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเครือข่ายซึ่งได้ถูกโจมตีเมื่อปี 2553
แอนดรูว์ แม็กดูกัล โฆษกของนายกรัฐมนตรีแคนาดา สตีเฟน ฮาร์เปอร์ แถลงว่า แคนาดาได้ประกาศ "ข้อยกเว้นด้วยเหตุของความมั่นคงแห่งชาติ" ซึ่งอาจปิดกั้นไม่ให้บริษัทหัวเว่ยเข้าร่วมในโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายการสื่อสารของประเทศ โดยระบุว่ารัฐบาลจะต้องเลือกบริษัทอย่างระมัดระวังในการสร้างเครือข่ายข้อมูลและโทรคมนาคม
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ การดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยในแคนาดาดูจะยังราบรื่น เพราะในระหว่างเยือนปักกั่งเมื่อต้นปีของนายกรัฐมนตรีแคนาดา ทางนายกฯแคนาดาได้ประกาศทางการ เรื่องที่หัวเหว่ยจะเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงเครือข่ายไร้สายในประเทศ ซึ่งหัวเหว่ยได้เปิดสำนักงานในแคนาดาจ้างพนักงาน 300 คน มีศูนย์การพัฒนาและวิจัยในออตตาวาและได้งบฯสนับสนุนจากรัฐบาลในการลงทุนราว 6.5 ล้านเหรียญดอลลาร์แคนาดา
กรณีดังกล่าวยังต้องรอดูต่อไปว่า "หัวเว่ย" กำลังจะถูกทำให้กลายเป็น "แกะดำ" ในโลกของการสื่อสารโทรคมนาคมหรือไม่ และแน่นอนในภาคของธุรกิจย่อมถูกกระทบ ปัจจุบันหัวเว่ยนั้นเป็นบริษัทสัญชาติจีนที่สามารถสร้างรายได้กว่า 70 เปอร์เซ็นต์นอกประเทศจีน
ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหัวเว่ยที่อยู่ในฐานะมีส่วนเกี่ยวข้องในการชี้แจงถ้อยคำต่อคณะกรรมาธิการข่าวกรองสหรัฯบอกว่าไม่ได้ประหลาดใจกับรายงานของคณะกรรมาธิการแต่ผิดหวังมากกว่าเนื่องจากตลอด 11 เดือนที่คณะกรรมาธิการตรวจสอบและเขาได้ร่วมให้ถ้อยคำ เราได้ให้ข้อมูลทั้งหมดตามที่มีการร้องขอ แต่ก็ถูกละเลย ทั้งที่เคยหวังว่าทางกรรมาธิการจะใช้โอกาสนี้ในการแสวงหา และสร้างมาตรฐานการทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติ
มีการอ่านเกมนี้ถึงขั้นว่า "หัวเว่ย" ได้กลายเป็นเบี้ยต่อรองระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน?
โดยทางหัวเว่ยอ้างว่ากรรมาธิการละเลยข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้มอบให้ไป ทั้งที่หัวเว่ยยืนยันว่าไม่มีทางที่จะให้ทางรัฐบาลจีน หรือกองทัพเข้าถึงระบบซีเคียวริตี้ของหัวเว่ยอย่างแน่นอน และกฎหมายก็ค่อนข้างเขียนไว้ชัดในจีน ไม่มีใครสามารถทำอย่างนั้นได้
กรณีที่เกิดขึ้นจากรายงานของกรรมาธิการได้สร้างชุดความคิดเชิงเป็นห่วงว่า รัฐบาลจีนอาจใช้ความสัมพันธ์แบบส่วนตัวกับทางหัวเว่ยในการสอดแนมอเมริกัน และหัวเว่ยเคยออกรายงานยืนยันว่าไม่มีส่วนร่วมใดๆ หรือให้ความร่วมมือกับประเทศใดประเทศหนึ่งในการทำความเสียหายหรือขโมยฐานข้อมูลจากข่าวกรองชาติใด
ข่าวดังกล่าวกระทบทันทีกับความพยายามของหัวเว่ยที่จะขายผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนแทบเล็ตและบริการที่เกี่ยวข้องของธุรกิจให้กับคนอเมริกันและบริษัทอเมริกันเพราะแน่นอนว่าผลกระทบจากรายงานชิ้นนั้นทำให้พลเมืองอเมริกันมีความระมัดระวังมากขึ้นแม้รายงานจะไม่ได้ให้รายละเอียดหลักฐานชัดเจนว่าอุปกรณ์ของหัวเว่ยถูกนำมาใช้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจารกรรมข้อมูลแม้ว่าในเอกสารของกรรมาธิการจะมีการให้ข้อมูลลักษณะ"มีนัย"ในภาคผนวกของตัวรายงาน
เป็นรายงานจากสภาคองเกรสที่ออกฤทธิ์กับหัวเว่ยให้อาจกลายเป็น"แกะดำ" ในวงการธุรกิจโทรคมนาคมโลก?
ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1349952832&grpid=03&catid=02&subcatid=0200
ไม่มีความคิดเห็น: