Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มีนาคม 2555 ย้ายค่ายเบอร์เดิมหั่นเหลือ70บาท กสทช.ฟันกำไรปีแรก6ล้าน // คาดอยากให้ราคาเพียง 65 บาท

ย้ายค่ายเบอร์เดิมหั่นเหลือ70บาท กสทช.ฟันกำไรปีแรก6ล้าน // คาดอยากให้ราคาเพียง 65 บาท


ประเด็นหลัก

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ขณะนี้ การให้บริการคงสิทธิเลขหมาย หรือ นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้ หรือที่รู้จักกันว่าโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีบริษัท เคลียร์ริ่งเฮาส์ เป็นผู้ดูแล พบว่าการดำเนินการในปี 2554 หรือ 1 ปีมีกำไร 6 ล้านบาท จากจำนวนผู้ใช้ 3 แสนราย โดยเอกชนแสดงต้นทุนคงที่ในการให้บริการว่า ต้องจ่ายให้เทเลคอร์เดีย 50.29 บาท ค่าตัวแทนรับชำระเงิน (ธรรมเนียม) 10 บาท และค่าในการบริหารงานของเคลียร์ริ่งเฮาส์ 10 บาท รวมต้นทุน 70.29 บาทต่อการให้บริการ 1 ราย ซึ่งปี 2554 ที่ผ่านมา กสทช.ได้กำหนดการให้บริการอยู่ที่ 99 บาท/ครั้ง

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ภายหลังทราบต้นทุนจริงในการดำเนินการอยากให้เอกชนลดค่าบริการในการโอนย้าย เลขหมายลงมาให้เหลือค่าบริการเพียง 65 บาท/ครั้ง แต่เอกชนระบุว่าไม่สามารถลดค่าบริการลงมาได้ เนื่องจากเคลียร์ริ่งเฮาส์ มีต้นทุนในการบริหารงานปีละ 6 ล้านบาท จึงสามารถลดค่าบริการลงมาได้เพียง 20 บาท ส่งผลให้ค่าบริการเฉลี่ยต่อรายอยู่ที่ 70 บาท จากเดิมที่มีค่าบริการอยู่ที่ 99 บาท/ครั้ง โดยคาดการณ์ว่าปี 2555 จะมีลูกค้าโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 6 แสนราย

“ส่วน ตัวอยากให้คิดค่าบริการโอนย้ายอยู่ที่ต้นทุนจริงคือไม่เกิน 65 บาท แต่เอกชนยื่นเอกสารมาว่าราคาที่ทำได้อยู่ที่ 70 บาท หากคำนวณจำนวนคนที่โอนย้ายแล้ว น่าจะลดได้มากกว่านี้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุม กสทช.ด้าน กทค. อีกครั้ง” นพ.ประวิทย์ กล่าว
_________________________________________________________


ย้ายค่ายเบอร์เดิมหั่นเหลือ70บาท กสทช.ฟันกำไรปีแรก6ล้าน

นพ.ประ วิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.เร่งเดินหน้าบีบค่าบริการย้ายค่ายเบอร์เดิมลงเหลือ 70 บาท จากเดิม 99 บาท/ครั้ง หลังฟันกำไรปีแรกจากลูกค้าร่วม 6 ล้านบาท ขณะที่ร่างแผนแม่บทคลื่นความถี่ยังไม่พร้อมเข้าบอร์ด...

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ขณะนี้ การให้บริการคงสิทธิเลขหมาย หรือ นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้ หรือที่รู้จักกันว่าโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีบริษัท เคลียร์ริ่งเฮาส์ เป็นผู้ดูแล พบว่าการดำเนินการในปี 2554 หรือ 1 ปีมีกำไร 6 ล้านบาท จากจำนวนผู้ใช้ 3 แสนราย โดยเอกชนแสดงต้นทุนคงที่ในการให้บริการว่า ต้องจ่ายให้เทเลคอร์เดีย 50.29 บาท ค่าตัวแทนรับชำระเงิน (ธรรมเนียม) 10 บาท และค่าในการบริหารงานของเคลียร์ริ่งเฮาส์ 10 บาท รวมต้นทุน 70.29 บาทต่อการให้บริการ 1 ราย ซึ่งปี 2554 ที่ผ่านมา กสทช.ได้กำหนดการให้บริการอยู่ที่ 99 บาท/ครั้ง

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ภายหลังทราบต้นทุนจริงในการดำเนินการอยากให้เอกชนลดค่าบริการในการโอนย้าย เลขหมายลงมาให้เหลือค่าบริการเพียง 65 บาท/ครั้ง แต่เอกชนระบุว่าไม่สามารถลดค่าบริการลงมาได้ เนื่องจากเคลียร์ริ่งเฮาส์ มีต้นทุนในการบริหารงานปีละ 6 ล้านบาท จึงสามารถลดค่าบริการลงมาได้เพียง 20 บาท ส่งผลให้ค่าบริการเฉลี่ยต่อรายอยู่ที่ 70 บาท จากเดิมที่มีค่าบริการอยู่ที่ 99 บาท/ครั้ง โดยคาดการณ์ว่าปี 2555 จะมีลูกค้าโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 6 แสนราย

นพ.ประ วิทย์ กล่าวอีกว่า ตามเอกสารแจ้งว่า บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ทำสัญญาว่าจะโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เกินวันละ 1,200 เลขหมาย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค โอนย้ายเลขหมายไม่เกินวันละ 1,200 เลขหมาย บริษัท ทรูมูฟ จำกัด โอนย้ายเลขหมายไม่เกินวันละ 2,500 เลขหมาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โอนย้านเลขหมายไม่เกินวันละ 2,500 เลขหมาย บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (ดีพีซี) โอนย้ายเลขหมายไม่เกินวันละ 900 เลขหมาย และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โอนย้ายเลขหมายไม่เกินวันละ 500 เลขหมาย โดยเฉลี่ยสามารถโอนย้ายได้วันละ 8,800 เลขหมาย แต่ความสามารถในการโอนย้ายสูงสุดต่อวันสามารถทำได้ที่ 40,000 เลขหมาย

“ส่วน ตัวอยากให้คิดค่าบริการโอนย้ายอยู่ที่ต้นทุนจริงคือไม่เกิน 65 บาท แต่เอกชนยื่นเอกสารมาว่าราคาที่ทำได้อยู่ที่ 70 บาท หากคำนวณจำนวนคนที่โอนย้ายแล้ว น่าจะลดได้มากกว่านี้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุม กสทช.ด้าน กทค. อีกครั้ง” นพ.ประวิทย์ กล่าว

แหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างรอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสทช. แต่ร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ สำนักงานยังทำเอกสารไม่เสร็จ จึงยังไม่ได้จัดส่งให้ กสทช.ทั้ง 11 คน และถ้าหากส่งให้อ่านพรุ่งนี้ เกรงว่าจะมีเวลาพิจารณาน้อยเกินไป โดยคาดว่าจะมีการประชุมนอกรอบอีกครั้งก่อนสรุปผลต่อไป

ASTV ผู้จัดการ
http://www.thairath.co.th/content/tech/245176



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.