Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กันยายน 2555 (เกาาะติดประมูล3G) TRUE ส่งบริษัทลูกเรียล ฟิวเจอร์เข้าประมูล3G - หนี้สินต่อทุนลดเหลือ4.5เท่า // ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์

(เกาาะติดประมูล3G) TRUE ส่งบริษัทลูกเรียล ฟิวเจอร์เข้าประมูล3G - หนี้สินต่อทุนลดเหลือ4.5เท่า // ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์

ประเด็นหลัก

เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2555 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 ได้มีมติอนุมัติให้ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ99.99 เข้าประมูลใบอนุญาต 3G 2.1GHZ


บิ๊กกลุ่มทรู "ศุภชัย เจียรวนนท์" กล่าวว่า จะเข้าประมูลด้วยอย่างแน่นอน เพราะต้องการดำเนินธุรกิจบนระบบใบอนุญาตที่มีกฎ กติกา การแข่งขันเท่าเทียมกันกับ

คู่แข่งรายอื่น ขณะที่สัมปทานทรูมูฟเองก็กำลังจะหมดอายุในอีก 1 ปีข้างหน้า "อยากให้ 3G ระบบไลเซนส์เกิดจริง ๆ สักที เราอยากมีไลเซนส์ของเราเอง"

ทันทีที่ได้ไลเซนส์ใหม่ก็จะเดินหน้าเจรจาหา "สแตรทิจิก พาร์ตเนอร์" เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัท

"เรา ยังต้องการสแตรทิจิกพาร์ตเนอร์ ในเงื่อนไขเดิมคือ 25% และสิทธิการบริหารยังเป็นของคนไทย มีคนที่สนใจอยากถือหุ้นทั้งในบริษัทแม่และถือในบริษัทที่เข้าประมูลไลเซนส์ ในแง่บริษัทต้องมองประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ต้องดูว่า นักลงทุนให้มูลค่าอันไหนดีกว่า เรื่องราคาเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไป แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ต้องสานต่อยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์"
____________________________________________



ทรูส่งบริษัทลูก "เรียล ฟิวเจอร์" เข้าประมูล3G


เมื่อ วันที่ 14 ก.ย.2555 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 ได้มีมติอนุมัติให้ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ99.99 เข้าประมูลใบอนุญาต 3G 2.1GHZ

มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1347612862&grpid=03&catid=03

_____________________________________


TRUEราคาหุ้นสะท้อน3Gแล้ว
หนี้สินต่อทุนลดเหลือ4.5เท่า


บล. ไทยพาณิชย์ ปรับคำแนะนำ TRUE ลดลงจาก “ซื้อ” สู่ “Neutral” แม้ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้น โดยระบุในบทวิเคราะห์ ดังนี้

ปรับ ประมาณการผลการดำเนินงานปี 2555-2556 เพิ่มขึ้น เราปรับประมาณการผลการดำเนินงานของTRUE เพิ่มขึ้นจากขาดทุน 5.6 พันล้านบาท สู่ขาดทุน 4.7 พันล้านบาทในปี 2555 และจากขาดทุน 4.8 พันล้านบาท สู่ขาดทุน 3.1 พันล้านบาทในปี 2556 หลังจากเรา: 1) ปรับสมมติฐานหนี้สินลดลงหลังขยายระยะเวลาการชำระเงินค่าประมูลใบอนุญาต 3G ออกไป และ 2) ปรับลดสมมติฐานต้นทุนขายส่งบริการ 3G-850 MHz ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถในการให้บริการที่เราปรับลดลง นอกจากนี้เราก็ปรับประมาณการอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของ TRUE ลดลงจากระดับ 6.1 เท่า สู่ระดับ 4.5 เท่าในปี 2555 และจากระดับ 9.4 เท่า สู่ระดับ 6.9 เท่าในปี 2556 ด้วย



ประโยชน์จาก 3G สะท้อนในราคาหุ้นแล้ว ปรับคำแนะนำลดลงสู่ Neutral แม้ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้น

เป็น 5.8 บาท การปรับประมาณการดังกล่าวข้างต้น หนุนให้เราปรับราคาเป้าหมายกลางปี 2556 ของ TRUE เพิ่มขึ้นจาก 5.0 บาท เป็น 5.8 บาท โดยคำนวณจากวิธีส่วนลดกระแสเงินสดหรือ DCF (WACC 10.6% terminal growth 1%) ราคาหุ้น TRUE ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 27% ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.จนถึงปัจจุบัน สะท้อนถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจาก 3G และการคาดการณ์ว่าจะมีพันธมิตรร่วมทุนรายใหม่เข้ามาหลังจากได้ใบอนุญาต 3G-2.1 GHz ไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเราจึงปรับคำแนะนำสำหรับ TRUE ลดลงจาก “ซื้อ” สู่ “Neutral” แม้ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้น


ข่าวหุ้นธุรกิจ
http://www.kaohoon.com/online/45878/TRUE%C3%D2%A4%D2%
CB%D8%E9%B9%CA%D0%B7%E9%CD%B93G%E1%C5%E9%C7
-%CB%B9%D5%E9%CA%D4%B9%B5%E8%CD%B7%D8%B9%C5
%B4%E0%CB%C5%D7%CD4.5%E0%B7%E8%D2.htm



________________________________

ประมูลคลื่น 3G 16 ต.ค. ไม่เลื่อน-ไม่ล้ม "ทรู" ลั่นแพ้ไม่ได้

"Spectrum Auction 2012 ภารกิจเพื่อชาติ 16 ต.ค. 2555" เป็นป้ายที่ติดพรึ่บทั่วสำนักงาน กสทช.ยามนี้ หลังกระบวนการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G คลื่น 2.1 GHz เริ่มต้นขึ้นแล้ว แม้จะไม่มีใครกล้ามั่นใจ 100% ว่า วันที่ 16-18 ต.ค.นี้จะมีการประมูลใบอนุญาต 3G แน่ ๆ ไม่พลิกล็อกวินาทีสุดท้ายเหมือนครั้งที่แล้ว แต่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า ไม่มีไม่ได้

ระหว่างนี้ "กสทช." ได้เผยแพร่สรุปข้อสนเทศ (IM) เงื่อนไขการประมูล และเปิดให้ผู้สนใจขอรับเอกสารสำหรับแสดงความจำนงเข้าร่วมประมูล โดยวันที่ 14 ก.ย.นี้จะมีการชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นเอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการแสดง ความจำนงเข้าร่วมประมูล ซึ่งผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมการประชุมจะต้องลงทะเบียนขอรับเอกสารภายในวันที่ 13 ก.ย.นี้ด้วย

วันที่ 28 ก.ย.นี้เป็นวันยื่นซองประมูล โดยผู้ที่ต้องการเข้าประมูลต้องยื่นเอกสารพร้อมวางเงินประกันเป็นเงิน 1,350 ล้านบาท (ค่าพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตอีก 5 แสนบาท) จากนั้นคณะทำงานจะพิจารณาคุณสมบัติผู้ยื่นซองประมูล ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลวันที่ 10 ต.ค.

"พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช.กล่าวว่า คณะทำงาน 4 ชุด ได้แก่ คณะทำงานเตรียมการประมูล, กำกับการประมูล, ตรวจสอบคุณสมบัติขั้นต้น และตรวจสอบความเชื่อมโยงของบริษัท อยู่ระหว่างประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษาเตรียมการจัดประมูล เพื่อเตรียมระบบประมูล, ระบบรักษาความปลอดภัย, สถานที่สำหรับผู้เข้าร่วมประมูล และผู้สังเกตการณ์ รวมถึงกระบวนการในการแสดงผลการประมูลแต่ละขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่า การดำเนินงานจะไม่มีอุปสรรคใด ๆ

ก่อนถึงวันประมูลจริงจะมีการจัด ประมูลรอบสาธิตให้ผู้มีสิทธิร่วมประมูลทดลองระบบ ในวันที่ 12-13 ต.ค.นี้ด้วย โดยอนุญาตให้แต่ละบริษัทส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ไม่เกิน 10 คน แต่ละบริษัทจะแยกกันอยู่คนละชั้นในสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสาร และมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พร้อมเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์หน้าห้อง

"หลังประกาศชื่อผู้มีสิทธิ เข้าประมูลแล้วจะห้ามไม่ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลที่ต้องรักษาเป็นความลับ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าประมูล, ราคา, แผนธุรกิจ, การ

จัดสร้าง โครงข่าย, ข้อมูลการเงิน, การตลาด, ต้นทุน ฯลฯ หากฝ่าฝืนมีสิทธิโดนตัดสิทธิเข้าร่วมประมูลและริบเงินวางประกัน รวมถึงให้รับผิดชอบค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการจัดประมูลใหม่ด้วย"

จะ รู้ว่าใครชนะประมูล วันที่ 19-22 ต.ค.นี้ โดยผู้ชนะจะได้ใบอนุญาตต้นเดือน พ.ย. และต้องจ่ายค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ตามที่ได้ยื่นประมูลงวดแรก 50% ภายใน 90 วัน นับจากได้รับหนังสือแจ้งว่า เป็นผู้ชนะประมูล

งวดที่ 2 อีก 25% เมื่อได้รับใบอนุญาตครบ 2 ปี อีก 25% ครบ 3 ปี และยังต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบ 3 (มีโครงข่ายเป็นของตนเอง) อีก 2% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย, จ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายละ 2 บาทต่อเดือน และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) อีก 3.75% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย

ก่อนถึงวันชิงดำคลื่น 3G "กสทช." มีคิวจัดงาน "เคานต์ดาวน์ 3G" (20 ก.ย.) โดยเชิญผู้บริหารค่ายมือถือมาแถลงข่าวแสดงความพร้อม

ค่ายมือถือทั้ง 3 เจ้า ตั้งแต่ "เอไอเอส-ดีแทค-ทรูมูฟ" ไม่มีใครพลาดศึกครั้งนี้

บิ๊ก กลุ่มทรู "ศุภชัย เจียรวนนท์" กล่าวว่า จะเข้าประมูลด้วยอย่างแน่นอน เพราะต้องการดำเนินธุรกิจบนระบบใบอนุญาตที่มีกฎ กติกา การแข่งขันเท่าเทียมกันกับ

คู่แข่งรายอื่น ขณะที่สัมปทานทรูมูฟเองก็กำลังจะหมดอายุในอีก 1 ปีข้างหน้า "อยากให้ 3G ระบบไลเซนส์เกิดจริง ๆ สักที เราอยากมีไลเซนส์ของเราเอง"

ทันทีที่ได้ไลเซนส์ใหม่ก็จะเดินหน้าเจรจาหา "สแตรทิจิก พาร์ตเนอร์" เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัท

"เรา ยังต้องการสแตรทิจิกพาร์ตเนอร์ ในเงื่อนไขเดิมคือ 25% และสิทธิการบริหารยังเป็นของคนไทย มีคนที่สนใจอยากถือหุ้นทั้งในบริษัทแม่และถือในบริษัทที่เข้าประมูลไลเซนส์ ในแง่บริษัทต้องมองประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ต้องดูว่า นักลงทุนให้มูลค่าอันไหนดีกว่า เรื่องราคาเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไป แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ต้องสานต่อยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์"

เหนือ สิ่งอื่นใด แม่ทัพกลุ่มทรูย้ำว่า ที่ผ่านมาเป็นผู้นำทั้งในธุรกิจบรอดแบนด์และเคเบิลทีวีแล้ว การได้ไลเซนส์ 3G จะทำให้มีโอกาสแข่งขันเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจโทรศัพท์มือถือกับเขา บ้าง

การประมูลไลเซนส์ใหม่ 3G ความถี่ 2.1 GHz จึงเป็นศึกชิงคลื่นที่ "กลุ่มทรู" แพ้ไม่ได้


ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1347465597&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.