Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กุมภาพันธ์ 2555 กสทช. จี้บังคับคืนคลื่นทำ 4G // DTACขยับแถมความถี่1800ด่วน // TOT 2300ไม่ได้ใช้ต้องคืนมา/MCOT 2600 ตั้งกรรมการคืนคลื่น

กสทช. จี้บังคับคืนคลื่นทำ 4G // DTACขยับแถมความถี่1800ด่วน // TOT 2300ไม่ได้ใช้ต้องคืนมา/MCOT 2600 ตั้งกรรมการคืนคลื่น


ประเด็นหลัก

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานด้านกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังการประชุม กทค.วันที่ 14 ก.พ. ว่า กสทช.เตรียมเข้าพบรมว.ไอซีที เพื่อหารือในประเด็นการขอเรียกคืนคลื่น 2.3 GHz จากบริษัท ทีโอที ที่ถือครองอยู่เป็นจำนวนถึง 64 MHz แต่มีการใช้งานจริงน้อยมาก ภายหลังได้มีการคุยเบื้องต้นหลังเปิดทดสอบบริการโมบายบรอดแบนด์ด้วย เทคโนโลยี 4G ไปเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากคลื่นที่เหมาะสมกับการให้บริการ 4G ในประเทศไทยได้แก่ คลื่นความถี่ 1800 MHz คลื่น 2300 MHz และคลื่น 2500 - 2600 MHz โดยในเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อเจรจาให้ที โอทีคืนคลื่นบางส่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งคาดว่าราวต้นเดือนมี.ค.นี้จะได้ข้อสรุป

ทั้งนี้ใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวทีโอทีมีสิทธิใช้อีก 15 ปี กสทช.จึงไม่มีสิทธิไปทวงคืนได้ ต้องให้ทีโอทียินดีคืนให้เอง แต่ทีโอทีไม่สามารถนำคลื่นดังกล่าวไปพัฒนาหรือต่อยอดอะไรได้ เนื่องจากใบอนุญาตถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะโทรศัพท์สาธารณะ (TDMA) เท่านั้น

ส่วนกรณีการคืนคลื่นความถี่ 1800 MHz นั้นจะต้องมีการเจรจากับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เพื่อให้คืนคลื่นหรือย้ายการใช้งานคลื่นบางส่วนที่ติดกับแถบความถี่ที่ บริษัททรูมูฟ และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (DPC) ใช้งานอยู่ ซึ่งกำลังจะหมดอายุสัมปทานให้บริการราวเดือนก.ย. 2556 อย่างไรก็ตามคลื่นของทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว มีแถบความถี่ที่แคบเพียง 12.5 MHz ซึ่งไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4G ได้โดยมีคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่คั่นกลาง

'ขณะที่กรณีจะขอคืนคลื่น 2.5 GHz จาก MCOT ก็เช่นเดียวกันมีการเข้าไปคุยเบื้องต้นอย่างไม่เป็นทางการแล้ว'

________________________________________________________

กสทช.เล็งขอคืนคลื่น 2.3GHz จากทีโอที



กสทช. ยืมมือรมว.ไอซีที ทวงความถี่ 2.3 GHz จากทีโอที คาดต้องตั้งกรรมการเจรจาร่วม รู้ผลเดือนมี.ค.นี้ ชงตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบสัญญาทรู กสท เข้าบอร์ดใหญ่กสทช. คาดรู้ผล 60 วัน

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานด้านกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังการประชุม กทค.วันที่ 14 ก.พ. ว่า กสทช.เตรียมเข้าพบรมว.ไอซีที เพื่อหารือในประเด็นการขอเรียกคืนคลื่น 2.3 GHz จากบริษัท ทีโอที ที่ถือครองอยู่เป็นจำนวนถึง 64 MHz แต่มีการใช้งานจริงน้อยมาก ภายหลังได้มีการคุยเบื้องต้นหลังเปิดทดสอบบริการโมบายบรอดแบนด์ด้วย เทคโนโลยี 4G ไปเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากคลื่นที่เหมาะสมกับการให้บริการ 4G ในประเทศไทยได้แก่ คลื่นความถี่ 1800 MHz คลื่น 2300 MHz และคลื่น 2500 - 2600 MHz โดยในเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อเจรจาให้ที โอทีคืนคลื่นบางส่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งคาดว่าราวต้นเดือนมี.ค.นี้จะได้ข้อสรุป

ทั้งนี้ใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวทีโอทีมีสิทธิใช้อีก 15 ปี กสทช.จึงไม่มีสิทธิไปทวงคืนได้ ต้องให้ทีโอทียินดีคืนให้เอง แต่ทีโอทีไม่สามารถนำคลื่นดังกล่าวไปพัฒนาหรือต่อยอดอะไรได้ เนื่องจากใบอนุญาตถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะโทรศัพท์สาธารณะ (TDMA) เท่านั้น

ดังนั้นทีโอทีจึงควรที่จะคืนคลื่นดังกล่าวกลับมายังกสทช.ก่อนหากต้องการใบ อนุญาตใบใหม่ที่สามารถทำได้มากกว่า TDMA เพื่อหารายได้เข้าองค์กร อย่างบริการบรอดแบนด์ ที่สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งผู้บริหาร และสหภาพแรงงานของทีโอที ควรที่จะเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับแบบ win-win ทั้ง 2 ฝ่าย

'เราคงจะไม่ไปคุยกับทีโอทีโดยตรง แต่จะคุยผ่านทางกระทรวงไอซีทีมากกว่า ในการเรียกคืนคลื่นจากทีโอที เพราะถือเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงไอซีที'

ส่วนกรณีการคืนคลื่นความถี่ 1800 MHz นั้นจะต้องมีการเจรจากับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เพื่อให้คืนคลื่นหรือย้ายการใช้งานคลื่นบางส่วนที่ติดกับแถบความถี่ที่ บริษัททรูมูฟ และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (DPC) ใช้งานอยู่ ซึ่งกำลังจะหมดอายุสัมปทานให้บริการราวเดือนก.ย. 2556 อย่างไรก็ตามคลื่นของทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว มีแถบความถี่ที่แคบเพียง 12.5 MHz ซึ่งไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4G ได้โดยมีคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่คั่นกลาง

'ขณะที่กรณีจะขอคืนคลื่น 2.5 GHz จาก MCOT ก็เช่นเดียวกันมีการเข้าไปคุยเบื้องต้นอย่างไม่เป็นทางการแล้ว'

นอกจากนี้ที่ประชุมกทค.ยังมีมติในเรื่องที่คณะอนุกรรมการ 3G จะจ้างที่ปรึกษาขึ้นมาดูแลในเรื่องวิชาการ อาทิเช่น การหาราคาตั้งต้นในการประมูล 3G และสูตร N-1 เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมมีแนวโน้มอาจจะจ้างที่ปรึกษาบริษัท เนร่า ซึ่งเป็นบริษัทเดิมที่เคยจ้างเมื่อการประมูลครั้งที่แล้ว ที่ประชุมกทค.ยังมีมติอนุมัติให้ตั้งคณะอนุกรรมการในการศึกษาและพิจารณา สัญญาระหว่างกลุ่ม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น และบริษัท กสท โทรคมนาคม ภายหลังที่คณะอนุกรรมการมาตรา 46 ได้สรุปออกมาก่อนหน้านี้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการ โทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มี อำนาจประกอบกิจการแทนมิได้

ทั้งนี้กระบวนการต่อไปหลังจากที่บอร์ดกทค.อนุมัติให้ตั้งคณะอนุกรรมการ พิจารณาตรวจสอบสัญญาทรู กสท จะต้องนำเสนอให้บอร์ดกสทช.ชุดใหญ่ในวันที่ 15 ก.พ.เพื่ออนุมัติการตั้งคณะอนุฯ ดังกล่าวซึ่งคาดว่าไม่น่ามีปัญหาแต่อย่างใด โดยขณะนี้ได้รายชื่อส่วนใหญ่ของคณะอนุฯ ดังกล่าวแล้ว ซึ่งจะมาจากคณะอนุฯมาตรา 46 และมีบางส่วนที่เชิญมาเป็นที่ปรึกษาด้วย โดยมีกรอบการทำงาน 60 วันหลังตั้งคณะอนุฯ ตรวจสอบ

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000020617


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.