14 พฤษภาคม 2555 ( บทความ ) ระบบ 4G (LTE) บนคลื่นความถี่ 2300 mHz (กสทช. บางท่านบอกว่า 1800 MHz เหมาะ4G 2300 MHz เหมาะ บรอด
( บทความ ) ระบบ 4G (LTE) บนคลื่นความถี่ 2300 mHz (กสทช. บางท่านบอกว่า 1800 MHz เหมาะ4G 2300 MHz เหมาะ บรอด
( บทความ )
ในการนำคลื่นความถี่ 2300 MHz มาใช้ประโยชน์ ทางกรรมการ กสทช. บางท่านได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า คลื่น 1800 MHz มีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำไปพัฒนาเพื่อทำระบบ 4G ในส่วนของความถี่ 2300 MHz นั้น เหมาะที่จะใช้ทำบรอดแบนด์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากกว่า
_________________________________________________________
ระบบ 4G (LTE) บนคลื่นความถี่ 2300 mHz
ต้อง ถือเป็นเรื่องน่ายินดีในการที่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฟากของกิจการโทรคมนาคม (กทค.) บางท่านได้ออกมายืนยันว่า นอกจากการเปิดประมูลระบบ 3G จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในช่วงไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 2555 แล้ว กสทช. จะดำเนินการนำเอาคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะทำการเรียกคืนจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จำนวนหนึ่งไปจัดสรรเพื่อเปิดประมูลการทำระบบ 4G ต่อไป โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 6 เดือน หลังจากการประมูลระบบ 3G เสร็จสิ้นลง
ใน การจัดทำและให้บริการระบบ 4G นั้น นอกจากการนำเอาคลื่นความถี่ 1800 MHz ไปพัฒนาแล้ว ยังมีคลื่นความถี่ 2300 MHz (2.3 GHz) อีกคลื่นหนึ่งที่อาจนำไปจัดทำและให้บริการระบบ 4G ได้ ในปัจจุบันหน่วยงานที่ถือครองคลื่นความถี่ 2300 MHz อยู่มากที่สุดได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) โดยถือครองคลื่นนี้อยู่ทั้งสิ้น 64 MHz อันเป็นการถือครองมาตั้งแต่ช่วงที่ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมาย โดยมีชื่อในขณะนั้นว่า องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) แต่เนื่องจากที่ผ่านมา ทศท. มีหน้าที่หลักในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งในส่วนที่เป็นโทรศัพท์พื้นฐาน (โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะ) จึงทำให้คลื่นความถี่ 2300 MHz ที่ถือครองอยู่มีการนำไปใช้ประโยชน์น้อยมาก หรือแทบไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เลย แม้กระทั่งในช่วงที่แปรสภาพมาเป็น TOT จนถึงปัจจุบันแล้วก็ตาม
แต่เมื่อกรรมการ กสทช. บางท่านได้ออกมาให้ความเห็นถึงการเกิดขึ้นของระบบ 4G (Long Term Evolution หรือ LTE) ที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้ นอกจากจะทำให้บริษัท ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ถือครองความถี่ 1800 MHz ในจำนวนที่มากพอที่จะให้บริการระบบ 4G ออกมาเรียกร้องให้ กสทช. เร่งรีบจัดการประมูลทั้งระบบ 3G และ 4G ไปพร้อมกันหรืออย่างช้าภายในช่วงไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2556 แล้ว TOT ซึ่งเป็นผู้ถือครองคลื่น 2300 MHz รายใหญ่ก็ออกมาแสดงท่าทีว่าต้องการคืนคลื่น 2300 MHz จำนวน 34 MHz ให้ กสทช. และนำเอาคลื่น 2300 MHz ส่วนที่เหลือจำนวน 30 MHz ไปให้บริการระบบ 4G ที่ความเร็วสูงสุด 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ด้วยตนเอง โดย TOT ได้อ้างว่าในการดำเนินการจะหาพันธมิตร เพื่อร่วมมือกันในการให้บริการระบบ 4G
ในการนำคลื่นความถี่ 2300 MHz มาใช้ประโยชน์ ทางกรรมการ กสทช. บางท่านได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า คลื่น 1800 MHz มีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำไปพัฒนาเพื่อทำระบบ 4G ในส่วนของความถี่ 2300 MHz นั้น เหมาะที่จะใช้ทำบรอดแบนด์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากกว่า
นอก จากนี้ ตามที่ประธานบอร์ดของ TOT ออกมาแถลงว่า TOT จะนำเอาคลื่น 2300 MHz ในส่วนที่เหลือจากการคืนให้ กสทช. ไปแล้ว มาทำตลาดเอง จำนวน 30 MHz ที่ความเร็วสูงสุด 100 (Mbps) อาจจะมีปัญหาในทางข้อกฎหมายตามมาว่า TOT จะสามารถนำเอาคลื่น 2300 MHz มาใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ เนื่องจากตามใบอนุญาตเดิมของ TOT กำหนดให้ TOT นำเอาคลื่น 2300 MHz มาใช้ได้ในกิจการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น คลื่นความถี่ 2300 MHz ที่จะนำออกประมูล เพื่อทำ 4G จึงอาจเป็นเฉพาะความถี่ในส่วนที่ TOT ได้คืนคลื่นให้ กสทช. เท่านั้น
การที่ TOT ออกมาแสดงท่าทีที่ชัดเจนในการนำเอาคลื่น 2300 MHz จำนวน 30 MHz ไปทำตลาดเอง และประกาศหาพันธมิตรผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือเอกชนมาร่วมลงทุนและ รับช่วงในย่านความถี่ 2300 MHz ซึ่งที่ผ่านมา TOT ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ราย หนึ่งในย่านความถี่ 900 MHz มาโดยตลอด ดังนั้น แนวโน้มที่บริษัทผู้ให้บริการรายเดิมจะได้สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ 2300 MHz เพื่อให้บริการระบบ 4G จึงมีความเป็นไปได้สูง
เมื่อแนวโน้มเป็น แบบนี้ กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลและจัดสรรการใช้คลื่นความถี่ จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะนำคลื่นความถี่ใดมาเปิดประมูลเพื่อออกใบ อนุญาตระบบ 4G ทั้งในด้านความเหมาะสมและในด้านเทคนิค อีกทั้งต้องพิจารณาสภาพตลาดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย หากไม่พิจารณาอย่างรอบคอบอาจทำให้เกิดสภาพที่ตลาดของระบบ 4G มีการผูกขาดโดยผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้
ทางออก ที่ดีที่สุดทางหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวก็คือ เมื่อเห็นว่าคลื่นความถี่ที่จะใช้ในการทำระบบ 4G ที่เหมาะสมในขณะนี้คือความถี่ 1800 MHz และ 2300 MHz กสทช. อาจนำคลื่นความถี่ทั้งสองคลื่นออกประมูลระบบ 4G พร้อมกัน เพื่อให้ระบบ 4G มีผู้ให้บริการที่หลากหลาย เกิดสภาพการแข่งขันเพื่อให้บริการที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งในท้ายที่สุดประโยชน์จะตกแก่ผู้บริโภค และผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสินใจจากการให้บริการว่าจะเลือกผู้ประกอบการรายใด.
รุจิระ บุนนาค
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/114241
( บทความ )
ในการนำคลื่นความถี่ 2300 MHz มาใช้ประโยชน์ ทางกรรมการ กสทช. บางท่านได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า คลื่น 1800 MHz มีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำไปพัฒนาเพื่อทำระบบ 4G ในส่วนของความถี่ 2300 MHz นั้น เหมาะที่จะใช้ทำบรอดแบนด์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากกว่า
_________________________________________________________
ระบบ 4G (LTE) บนคลื่นความถี่ 2300 mHz
ต้อง ถือเป็นเรื่องน่ายินดีในการที่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฟากของกิจการโทรคมนาคม (กทค.) บางท่านได้ออกมายืนยันว่า นอกจากการเปิดประมูลระบบ 3G จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในช่วงไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 2555 แล้ว กสทช. จะดำเนินการนำเอาคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะทำการเรียกคืนจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จำนวนหนึ่งไปจัดสรรเพื่อเปิดประมูลการทำระบบ 4G ต่อไป โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 6 เดือน หลังจากการประมูลระบบ 3G เสร็จสิ้นลง
ใน การจัดทำและให้บริการระบบ 4G นั้น นอกจากการนำเอาคลื่นความถี่ 1800 MHz ไปพัฒนาแล้ว ยังมีคลื่นความถี่ 2300 MHz (2.3 GHz) อีกคลื่นหนึ่งที่อาจนำไปจัดทำและให้บริการระบบ 4G ได้ ในปัจจุบันหน่วยงานที่ถือครองคลื่นความถี่ 2300 MHz อยู่มากที่สุดได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) โดยถือครองคลื่นนี้อยู่ทั้งสิ้น 64 MHz อันเป็นการถือครองมาตั้งแต่ช่วงที่ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมาย โดยมีชื่อในขณะนั้นว่า องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) แต่เนื่องจากที่ผ่านมา ทศท. มีหน้าที่หลักในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งในส่วนที่เป็นโทรศัพท์พื้นฐาน (โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะ) จึงทำให้คลื่นความถี่ 2300 MHz ที่ถือครองอยู่มีการนำไปใช้ประโยชน์น้อยมาก หรือแทบไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เลย แม้กระทั่งในช่วงที่แปรสภาพมาเป็น TOT จนถึงปัจจุบันแล้วก็ตาม
แต่เมื่อกรรมการ กสทช. บางท่านได้ออกมาให้ความเห็นถึงการเกิดขึ้นของระบบ 4G (Long Term Evolution หรือ LTE) ที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้ นอกจากจะทำให้บริษัท ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ถือครองความถี่ 1800 MHz ในจำนวนที่มากพอที่จะให้บริการระบบ 4G ออกมาเรียกร้องให้ กสทช. เร่งรีบจัดการประมูลทั้งระบบ 3G และ 4G ไปพร้อมกันหรืออย่างช้าภายในช่วงไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2556 แล้ว TOT ซึ่งเป็นผู้ถือครองคลื่น 2300 MHz รายใหญ่ก็ออกมาแสดงท่าทีว่าต้องการคืนคลื่น 2300 MHz จำนวน 34 MHz ให้ กสทช. และนำเอาคลื่น 2300 MHz ส่วนที่เหลือจำนวน 30 MHz ไปให้บริการระบบ 4G ที่ความเร็วสูงสุด 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ด้วยตนเอง โดย TOT ได้อ้างว่าในการดำเนินการจะหาพันธมิตร เพื่อร่วมมือกันในการให้บริการระบบ 4G
ในการนำคลื่นความถี่ 2300 MHz มาใช้ประโยชน์ ทางกรรมการ กสทช. บางท่านได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า คลื่น 1800 MHz มีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำไปพัฒนาเพื่อทำระบบ 4G ในส่วนของความถี่ 2300 MHz นั้น เหมาะที่จะใช้ทำบรอดแบนด์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากกว่า
นอก จากนี้ ตามที่ประธานบอร์ดของ TOT ออกมาแถลงว่า TOT จะนำเอาคลื่น 2300 MHz ในส่วนที่เหลือจากการคืนให้ กสทช. ไปแล้ว มาทำตลาดเอง จำนวน 30 MHz ที่ความเร็วสูงสุด 100 (Mbps) อาจจะมีปัญหาในทางข้อกฎหมายตามมาว่า TOT จะสามารถนำเอาคลื่น 2300 MHz มาใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ เนื่องจากตามใบอนุญาตเดิมของ TOT กำหนดให้ TOT นำเอาคลื่น 2300 MHz มาใช้ได้ในกิจการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น คลื่นความถี่ 2300 MHz ที่จะนำออกประมูล เพื่อทำ 4G จึงอาจเป็นเฉพาะความถี่ในส่วนที่ TOT ได้คืนคลื่นให้ กสทช. เท่านั้น
การที่ TOT ออกมาแสดงท่าทีที่ชัดเจนในการนำเอาคลื่น 2300 MHz จำนวน 30 MHz ไปทำตลาดเอง และประกาศหาพันธมิตรผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือเอกชนมาร่วมลงทุนและ รับช่วงในย่านความถี่ 2300 MHz ซึ่งที่ผ่านมา TOT ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ราย หนึ่งในย่านความถี่ 900 MHz มาโดยตลอด ดังนั้น แนวโน้มที่บริษัทผู้ให้บริการรายเดิมจะได้สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ 2300 MHz เพื่อให้บริการระบบ 4G จึงมีความเป็นไปได้สูง
เมื่อแนวโน้มเป็น แบบนี้ กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลและจัดสรรการใช้คลื่นความถี่ จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะนำคลื่นความถี่ใดมาเปิดประมูลเพื่อออกใบ อนุญาตระบบ 4G ทั้งในด้านความเหมาะสมและในด้านเทคนิค อีกทั้งต้องพิจารณาสภาพตลาดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย หากไม่พิจารณาอย่างรอบคอบอาจทำให้เกิดสภาพที่ตลาดของระบบ 4G มีการผูกขาดโดยผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้
ทางออก ที่ดีที่สุดทางหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวก็คือ เมื่อเห็นว่าคลื่นความถี่ที่จะใช้ในการทำระบบ 4G ที่เหมาะสมในขณะนี้คือความถี่ 1800 MHz และ 2300 MHz กสทช. อาจนำคลื่นความถี่ทั้งสองคลื่นออกประมูลระบบ 4G พร้อมกัน เพื่อให้ระบบ 4G มีผู้ให้บริการที่หลากหลาย เกิดสภาพการแข่งขันเพื่อให้บริการที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งในท้ายที่สุดประโยชน์จะตกแก่ผู้บริโภค และผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสินใจจากการให้บริการว่าจะเลือกผู้ประกอบการรายใด.
รุจิระ บุนนาค
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/114241
ไม่มีความคิดเห็น: