Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กันยายน 2555 ข่าวเช้า!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 13/09/2555 By So Magawn ( โส มกร )

ข่าวเช้า!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 13/09/2555 By So Magawn ( โส มกร )


1..... กสทช. หลบหน้า อนุดิษฐ์ // ไม่รับแขกกว่า 1 ชม.ครึ่ง เหตุไม่อยากเจรจากรณีขอใช้คลื่นความถี่ 2.3GHz
2..... ศุภชัย สู้ยิบตาประมูล3จีต้องได้15 เมกะเฮิรตซ์ ( สร้างความมั่นใจ เงินสดอยู่ในมือจำนวน 1 หมื่นล้านบาท )
3..... สบท.เสนอเพิ่มค่าปรับ ค่ายมือถือ หลังเพิกเฉยกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน

กสทช. หลบหน้า อนุดิษฐ์ // ไม่รับแขกกว่า 1 ชม.ครึ่ง เหตุไม่อยากเจรจากรณีขอใช้คลื่นความถี่ 2.3GHz
ประเด็นหลัก


เมื่อ วันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และคณะ ได้เดินทางมายังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเข้าพบหารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในประเด็นการใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.3GHz เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย ตามนโยบายรัฐบาล ประกอบกับรัฐบาลได้เดินหน้าแจกคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ไปยังโรงเรียนต่างๆ แล้ว ซึ่งจะต้องมีบริการอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การใช้งานแท็บเล็ตได้อย่างดีมี ประสิทธิภาพ มิฉะนั้นการใช้งานแท็บเล็ตจะไม่คุ้มค่า และไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบการศึกษาของไทย

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันคลื่นความถี่ย่าน 2.3GHz นั้น ทีโอทีได้รับอนุญาตให้ใช้งานเมื่อปี 2543 มีอายุการใช้งาน 5 ปี หรือสิ้นสุดการใช้งานปี 2548 แต่เมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และมีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้ทีโอที ซึ่งได้มีการระบุว่าทีโอทีมีสิทธิใช้คลื่นดังกล่าวไปจนถึงปี 2568 แต่โดยหลักการแล้ว กทช.อนุญาตให้ทีโอทีใช้งานคลื่นความถี่ปีต่อปีเท่านั้น ขณะที่ทีโอทีมีความเข้าใจว่าทีโอทีมีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ไปจนถึงปี 2568 ตามระยะเวลาของใบอนุญาต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจระหว่าง กสทช.กับกระทรวงไอซีที เพื่อกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกัน


แต่ท้าย ที่สุดก็ต้องเลื่อนการหารือในครั้งนี้ เนื่องจาก พ.อ.เศรษฐพงค์, นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ติดภารกิจไปชี้แจงเกี่ยวกับการเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือ ถือ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ในเดือน ต.ค.นี้ ต่อคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา (ส.ว.) เช่นเดียวกับนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ที่ติดภารกิจ

ส่ง ผลให้ น.อ.อนุดิษฐ์ต้องนั่งรอทีมงานของ กสทช.เป็นเวลานานกว่า 1.30 ชั่วโมง เนื่องจากเดินทางมาถึง กสทช.เวลา 17.00 น. และเดินทางกลับในเวลา 19.30 น. ซึ่งในระหว่างกำลังเดินทางกลับไปนั้นได้แสดงสีหน้าบึ้งตึงเพราะไม่มีการ หารือใดกับ กสทช.ทั้งๆ ที่มีการนัดหมายล่วงหน้าแล้ว

ทั้งๆ ที่การชี้แจงของ กสทช.ต่อ กมธ.วิทย์เสร็จสิ้นเมื่อเวลา 17.30 น. ทำให้เกิดข้อกังขาว่า กสทช.ไม่ต้องการหารือกับไอซีทีเพราะจะมาขอใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญา สัมปทาน แต่ กสทช.ได้ยืนยันไปหลายครั้งว่าไม่สามารถอนุญาตได้เพราะกฎหมายบังคับให้นำมา ประมูลใหม่ทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังมาเพื่อติดตามผลความคืบหน้าการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการร่วมกันใน 10 ประเด็น ตามข้อตกลงเมื่อครั้งที่ น.อ.อนุดิษฐ์ได้เข้าพบหารือ กสทช.เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมาแล้ว


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000112659
________________________________

ศุภชัย สู้ยิบตาประมูล3จีต้องได้15 เมกะเฮิรตซ์ ( สร้างความมั่นใจ เงินสดอยู่ในมือจำนวน 1 หมื่นล้านบาท )
ประเด็นหลัก

*** ทำไมถึงยื่นทั้ง 3 บริษัท
เพราะประกันความเสี่ยงในเรื่องของข้อผิดพลาดในการกรอกเอกสารเพื่อยื่นข้อเสนอการประมูลในครั้งนี้


*** เตรียมพร้อมกับการประมูลครั้งนี้อย่างไร
เรา ก็เตรียมพร้อมการประมูลทุกอย่างทั้งเรื่องของการเตรียมการลงทุน เรื่องของการขยายเครือข่าย และเตรียมหาเงินมาประมูล ส่วนตัวเลขในการใช้เงินมาประมูลเป็นจำนวนเท่าไหร่นั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เรามีเงินสดอยู่ในมือจำนวน 1 หมื่นล้านบาท เพียงพอสำหรับการจ่ายค่าใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 50%



***ราคาประมูลขั้นต่ำมีคนมองว่าเอื้อให้กับทรู เพราะตอนนี้มีปัญหาสภาพคล่อง
ใน ขณะนี้สถานภาพการเงินของกลุ่มบริษัทดีขึ้นทุกปีแต่กำไรก่อนหักภาษีดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคาอยู่ในสัดส่วน 1:3 ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งถือว่าสูงที่สุดเพราะสัดส่วนอยู่ที่ 1:13.5 แม้ทุกคนมองว่าสถานการณ์การเงินของอีก 2 เจ้าดีกว่าเราแต่ดีกว่าไม่ได้หมายความว่าเราย่ำแย่ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรา


*** การหาพันธมิตร
ผม คิดว่าหลังจากประมูลก่อนถึงจะหาพันธมิตร ถ้าหากมีการประมูลได้แล้วประมาณปีหน้า 2556 คงจะได้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 25% การหาพันธมิตรเข้ามาก็เพื่อต้องการให้บริษัทมีสถานภาพที่เข้มแข็ง ซึ่งการเข้ามาถือหุ้นของพันธมิตรนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขจะเข้ามาถือหุ้นใน บริษัทแม่ หรือถือหุ้นในบริษัทลูก แต่พันธมิตรใหม่ที่จะเข้ามาถือหุ้นต้องยึดหลักยุทธศาสตร์ Convergence ของกลุ่มทรู เป็นหลัก เพราะยุทธศาสตร์ของเราเรื่อง Convergence นั้นต้องมีความชัดเจน

ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=141523%3A315-&catid=123%3A2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
________________________________

สบท.เสนอเพิ่มค่าปรับ ค่ายมือถือ หลังเพิกเฉยกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน


สบ ท.จ้องฟันค่ายมือถือ เพิกเฉยต่อคำสั่งทางปกครองกรณีห้ามตัดเงินและกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน เตรียมเสนอ กสทช.เพิ่มค่าปรับมากกว่าวันละแสน หลังตัวเลขความเสียหายสูงกว่า 9,800 ล้านบาท/เดือน

วันนี้ (13ส.ค.) ที่กลุ่มรับเรื่องราวร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)ในสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) น.ส.สารี อ่องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมกรรมการ สบท. เปิดเผยถึงกรณีเรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคมพ.ศ.2549 ที่กำหนดให้บริษัทโทรคมนาคมเคลื่อนที่ ต้องไม่กำหนดระยะวันหมดอายุของบัตรเติมเงิน ยึดเงินและ ยึดหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ใช้บริการในเครือข่าย ซึ่งได้ครบกำหนดระยะเวลา 3 เดือนที่บริษัทเอกชนต้องจ่ายค่าปรับทางปกครองที่เลขาธิการกสทช.ได้ออกคำสั่ง ปรับทางปกครองตั้งแต่ วันที่ 30 พ.ค.55 เป็นจำนวนวันละ 1 แสนบาท/วัน

น.ส.สา รีเปิดเผยต่อกรณีดังกล่าวว่า บริษัทเอกชนได้ฝ่าฝืน และไม่ได้ตามปฏิบัติตามคำสั่งของกสทช.โดยพบว่ายังมีผู้บริโภคเข้ามาร้อง เรียนกว่า 136 ราย แบ่งออกเป็น เอไอเอส 66 ราย,ดีแทค24ราย,ทรูมูฟ 24 ราย ,ทรูมูฟ เอช 5ราย,ฮัทช์ 16 ราย และ ไอโมบาย พลัส 1 ราย โดยได้ร้องเรียนตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.–13 ส.ค. ดังนั้นทางอนุกรรมการได้ลงความเห็นว่าจะเสนอต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้เพิ่มอัตราค่าปรับมากกว่า 1 แสนบาท เพื่อให้เหมาะสมกับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมากกว่า 9,800 ล้านบาท / เดือน โดยทั้งนี้หากกสทช.ปรับจำนวนเงินดังกล่าวบริษัทเอกชนจะชำระเฉลี่ยเพียง 3 ล้านบาท / เดือน เท่านั้น ซึ่งไม่มีความสอดคล้องกัน นอกจากนี้เรียกร้องให้ผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบเรื่องกำหนดวันหมดอายุและ ถูกตัดเงิน ให้เข้ามาร้องเรียนขอการเยียวยาชั่วคราวได้ “ในขณะนี้ บริษัทเอกชนยังไม่ได้จ่ายค่าปรับ ซึ่งแม้กำลังจะอยู่ในช่วงการยื่นอุทรณ์ แต่ก็ไม่ควรที่จะมีการกำหนดวันอายุอีก และการจ่ายค่าปรับก็ควรที่จะดำเนินการอย่างถูกต้อง” น.ส.สารีกล่าว.

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/154988

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.