Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 พฤศจิกายน 2554 เจ๊ฉอดสู้!! 106.5และALL1ปณ.(ลั่น.สญ.ไม่มีจุดจบเพราะรอแผนแม่บทเสร็จก่อนที่ได้ทำกับ+กทช.)//นที.กม.ให้ทำเป็นสิ่งแรก

เจ๊ฉอดสู้!! 106.5และALL1ปณ.(ลั่น.สญ.ไม่มีจุดจบเพราะรอแผนแม่บทเสร็จก่อนที่ได้ทำกับ+กทช.)//นที.กม.ให้ทำเป็นสิ่งแรก


ประเด็นหลัก


เจ๊ฉอด-สายทิพย์
อีก ประเด็นคือ การหมดสัญญา จริงๆ แล้วต้องเรียนว่าสัญญาไม่ได้หมด อย่างที่ทุกคนรู้กันอยู่ว่ามันมีปัญหาแบบนี้ เราต้องรอให้กสทช.ร่างแผนแม่บทเสร็จแล้ว ก็จะเกิดการคืนสื่อทั้งหมดเพื่อให้ กสทช.จัดการเพื่อเริ่มใหม่ เพราะฉะนั้นในตอนต่อสัญญา จึงไม่รู้ว่าสัญญาจะต้องต่อไปถึงเมื่อไหร่ กสทช. มีสถานีวิทยุเองไม่ได้ ขณะเดียวกัน กสทช.ก็ทำเองไม่ได้ ซึ่งตอนนี้มันเป็นเรื่องของการโอนย้ายความรับผิดชอบคลื่นกันมา แต่ในเมื่อมันมีการโอนย้ายกรีนเวฟ จึงอยู่ในความดูแลของ กสทช. โดยที่ทุกฝ่ายก็ไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนี้ พอมีปัญหาเกิดขึ้น ก็มีการหาทางออกร่วมกันกับท่าน กทช.ท่านทีมเก่า คือทุกสถานีจะเป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด คือให้ผู้ผลิตรายเดิมถ้าไม่ได้มีอะไรผิดพลาดบกพร่องใดๆ ก็ให้ทำไปเรื่อยก่อน รอจนแผนแม่บทเสร็จ แล้วถูกจัดสรรพร้อมกันหมด เพราะฉะนั้นสัญญาที่ทำกับทางสถานีเอาไว้ จึงทำแบบเปิดเอาไว้ คือการต่อสัญญาเริ่มตั้งแต่วันนี้ แต่ไม่มีจุดจบ และเข้าใจตรงกันว่ารอจนแผนแม่บทเสร็จแล้วจะมาจัดสรรพร้อมกัน


นที ศุกลรัตน์
สำหรับ ข้อความที่ พ.อ.นที โพสต์มีทั้งหมด 25 ข้อความ สรุปใจความสำคัญว่า กรณีของสถานีวิทยุ 1 ปณ. อาจทำให้เกิดความสับสนจากการสื่อสารที่เข้มข้นและกระแสของผู้ที่รักกรีนเวฟ ทุกคน ซึ่งการทำงานขององค์กรกำกับดูแลคือ กสทช.จำเป็นต้องดำเนินการด้วยความเปิดเผยตรงไปตรงมาตรวจสอบได้ โดยเฉพาะถ้าเรื่องนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับ กสทช. กรณีสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. ซึ่งเป็นทรัพย์สินของสำนักงาน กสทช. ตกทอดมาตั้งแต่กรมไปรษณีย์โทรเลข จนกระทั่งเป็น กสทช. จึงมีความสำคัญยิ่ง ในข้อเท็จจริงแล้วการปฏิรูปสื่อและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใหม่ที่มีความ เป็นธรรมกับทุกคนทุกภาคส่วนเป็นสิ่งสำคัญเป็นหัวใจของความพยายามมี กสทช. โดย กสทช.เป็นองค์กรอิสระ มีกรรมการชุดเล็ก 2 ชุด คือ กทค. รับผิดชอบด้านกิจการโทรคมนาคม และ กสท. รับผิดชอบในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดว่า หลังจากจัดตั้ง กสทช.แล้ว จะต้องสร้างกระบวนการที่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ในกิจการ กระจายเสียงและโทรทัศน์ สิ่งที่ต้องดำเนินการเป็นลำดับแรกก็คือ จะต้องให้ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่มาแจ้งความจำเป็นการใช้คลื่นฯ ที่มีอย่างจำกัดในกิจการตนเอง ผู้ที่ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงจากอดีตจน ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐ รวมถึงสำนักงาน กสทช.ด้วย

__________________________________________________________

'เจ๊ฉอด' รอเคลียร์ 'กสทช.' ยันสัญญากรีนเวฟยังไม่หมด

เจ๊ ฉอด-สายทิพย์ ไม่ขอเอ่ยอยู่หรือไป รอเคลียร์ กสทช. แจงกรณีไม่ต่อสัญญากรีนเวฟ เหตุหมดอายุสิ้นปีนี้ ยันสัญญายังไม่หมด เผยลูกค้าโวยหาว่าหลอกลวง รับบั่นทอนกำลังใจ-กระทบความน่าเชื่อถือ สูญเสียสิ่งที่ดูแล ถามกลับเสียหายครั้งนี้ใครรับผิดชอบ …

ภายหลัง จากกรณี กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) มี ความประสงค์จะจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุแห่งชาติ โดยการยกเลิกคลื่นความถี่วิทยุเพื่อดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้มีผลทำให้คลื่นความถี่เดิมที่มีอายุหมดสัญญาสิ้นปีนี้ถูกยึดคืนทั้ง หมด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ไม่ว่าจะระบบ AM รวมถึงระบบ FM ด้วย หนึ่งในนั้นก็มีคลื่นวิทยุ 106.5 Green Wave แห่ง A-Time ซึ่งมีบอสใหญ่ดูแลคือ “เจ๊ฉอด” หรือ “สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา”

การ ที่ กสทช. ต้องการที่จะไม่ต่อสัมปทานกับทางคลื่น ทำให้สิ้นปีนี้คลื่นวิทยุชื่อดัง มีอันต้องหลุดผังไปด้วยความงง งานนี้เจ๊ฉอด เปิดใจเผยว่า เพิ่งรู้ข่าวนี้เช่นกันและรู้สึกงงและบั่นทอนกำลังใจมาก เพราะเราเองก็เป็นเด็กดีมาโดยตลอด แต่ถึงอย่างไรคอนเฟิร์มว่ากรีนเวฟยังไม่หมดสัญญา พร้อมแจงว่า กสทช.ไม่ได้บอกกล่าวกันก่อนล่วงหน้า หรือเรียกพบหารือแต่อย่างใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือทางลูกค้า ที่เซ็นสัญญาโฆษณาข้ามเดือน ข้ามปีกันแล้ว รู้สึกว่าเป็นการหลอกลวง แล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ตอบแฟนรายการง่ายกว่าตอบปัญหาคู่สัญญา ซึ่งเป็นเรื่องที่ลำบากมาก เหมือนสูญเสียสิ่งที่เราดูแลกันมาตลอด




วัน นี้กรีนเวฟยังเดินหน้าทำกิจกรรมต่างๆ ถึงแม้จะมีกระแสข่าวระงับสัญญาคลื่น? “ค่ะ พี่ว่ามันเป็นเวลาที่เราต้องช่วยกันไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น วันนี้มันเป็นเวลาที่เราต้องทิ้งเรื่องส่วนตัว แล้วก็หันมารวมใจกันมากขึ้น เพราะปัญหาส่วนรวมใหญ่กว่ามาก” ความคืบหน้าเรื่องนี้เป็นอย่างไร? “จริงๆ ต้องเรียนว่ายังไม่อยากออกมาพูดอะไร มันเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน จริงๆ แล้วมันควรจะเป็นเรื่องของการหารือระหว่างหน่วยงาน กับหน่วยงานทางภาครัฐกับเราก่อน ก่อนจะออกไปสู่สื่อ” มีการตั้งประเด็นกันถึงเรื่องการหมดสัญญากับการมี กสทช.? “พี่อยากจะบอกว่า เราทุกคนเห็นด้วย การมี กสทช. คือสิ่งที่พวกเราทุกคนรอคอย และอยากให้เกิดขึ้นเพื่อที่จะมาช่วยจัดระบบระเบียบการสื่อสารในบ้านเรา

อีก ประเด็นคือ การหมดสัญญา จริงๆ แล้วต้องเรียนว่าสัญญาไม่ได้หมด อย่างที่ทุกคนรู้กันอยู่ว่ามันมีปัญหาแบบนี้ เราต้องรอให้กสทช.ร่างแผนแม่บทเสร็จแล้ว ก็จะเกิดการคืนสื่อทั้งหมดเพื่อให้ กสทช.จัดการเพื่อเริ่มใหม่ เพราะฉะนั้นในตอนต่อสัญญา จึงไม่รู้ว่าสัญญาจะต้องต่อไปถึงเมื่อไหร่ กสทช. มีสถานีวิทยุเองไม่ได้ ขณะเดียวกัน กสทช.ก็ทำเองไม่ได้ ซึ่งตอนนี้มันเป็นเรื่องของการโอนย้ายความรับผิดชอบคลื่นกันมา แต่ในเมื่อมันมีการโอนย้ายกรีนเวฟ จึงอยู่ในความดูแลของ กสทช. โดยที่ทุกฝ่ายก็ไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนี้ พอมีปัญหาเกิดขึ้น ก็มีการหาทางออกร่วมกันกับท่าน กทช.ท่านทีมเก่า คือทุกสถานีจะเป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด คือให้ผู้ผลิตรายเดิมถ้าไม่ได้มีอะไรผิดพลาดบกพร่องใดๆ ก็ให้ทำไปเรื่อยก่อน รอจนแผนแม่บทเสร็จ แล้วถูกจัดสรรพร้อมกันหมด เพราะฉะนั้นสัญญาที่ทำกับทางสถานีเอาไว้ จึงทำแบบเปิดเอาไว้ คือการต่อสัญญาเริ่มตั้งแต่วันนี้ แต่ไม่มีจุดจบ และเข้าใจตรงกันว่ารอจนแผนแม่บทเสร็จแล้วจะมาจัดสรรพร้อมกัน

ส่วนการ เรียกคืนแบบนี้ถามว่าเป็นไปได้ไหม มันเป็นไปได้ค่ะ แต่ควรมีการเรียกเราเข้าไปหารือร่วมกันก่อนว่าจะทำอย่างไรที่ไม่ให้เสียผล ประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเราเองก็เป็นเด็กดีมาโดยตลอด ทั้งการช่วยเหลือสถานี การจ่ายเงินตามสัญญา เรื่องการทำทุกอย่างเช่นปรับปรุงอุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งการทำกรีนเวฟเอง ที่ทุกคนรู้ดีว่ากรีนเวฟเป็นอย่างไร เราทำอะไรมาบ้าง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกต้องก็ควรจะเรียกเราเข้าไปก่อน ปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไร แต่ว่าการที่ออกมาประกาศว่า จะเอาคืนคลื่นเพราะหมดสัญญา คนที่พูดต้องกลับไปดูก่อนค่ะ ว่าสัญญามันไม่ได้เป็นแบบนั้น พี่ฉอดเองเข้าใจและอยู่กับกระบวนการทำรายการวิทยุมาจนแก่ป่านนี้แล้วทำไมจะ ไม่เข้าใจว่า ถ้าสัญญาหมดการคืนคลื่นมันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่นี่มันไม่ได้เป็นการหมดสัญญา

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือเมื่อมีการ พูดออกสื่อแล้วเราไม่รู้เลย ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือทางลูกค้า เรามีลูกค้าที่เซ็นสัญญาโฆษณากับเรา บางรายข้ามเดือน เช่น ธ.ค.54–ก.พ. 55 คือมันข้ามปีกันไปแล้ว ทุกคนก็จะรู้สึกว่าทำไมเราหลอกลวงเขา ว่าไม่มีสัญญากับทางราชการแล้วมาเซ็นสัญญากับเขาได้ยังไง ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่ อันนี้คือสิ่งที่ต้องดูแลกันทุกฝ่าย ไม่ให้เกิดอะไรแบบนี้ ตอนนี้พี่ฉอดต้องตอบคำถามลูกค้า แล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ตอบปัญหากับแฟนรายการก็ส่วนหนึ่ง แต่การตอบกับคู่สัญญาเป็นเรื่องที่ลำบากมากค่ะ แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นลูกค้าถอนโฆษณาอะไรนะคะ แต่มันสูญเสียสิ่งที่เราดูแลกันมาตลอด ที่ผ่านมาพี่ฉอด เอ-ไทม์ มีเดีย หรือแม้แต่กรีนเวฟเอง เราไม่เคยที่จะไม่ดูแลในเรื่องของความน่าเชื่อถือที่ลูกค้ามีต่อเรา

เพราะ ฉะนั้นเมื่อลูกค้าถามมาว่าหมดสัญญาแล้วทำไมไม่บอกเนี่ย จริงๆ แล้วมันไม่ได้หมดไงคะ เลยต้องไล่แก้และชี้แจง ซึ่งในวาระและเวลาที่เรากำลังทำงานเพื่อสังคมอยู่ และสังคมขณะนี้ต้องการความช่วยเหลือจากส่วนรวมมาก แล้วเราเองก็ต้องมานั่งแก้ปัญหาเนี่ย มันก็บั่นทอนกำลังใจ ก็ต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจกันไป แล้วสภาพการณ์ปัจจุบัน มันสับสนวุ่นวายกันไปหมด การจะนัดคุยนัดทำความเข้าใจ มันก็ลำบาก นัดทีไม่ใช่ง่ายๆ เลย ยิ่งทำให้รู้สึกว่ามันเป็นเวลารึเปล่า ที่เราจะมานั่งพูดกันถึงเรื่องนี้” ตอนนี้ทาง กสทช. มีการทำหนังสือมาถึงหรือยัง? “ขณะนี้ยังไม่มีอะไรเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องเป็นราวเลยเลยค่ะ ที่จะเรียกเราเข้าไปคุย ไม่มีอะไรทั้งสิ้นค่ะ” คิดว่าจะมีการเจรจากันเมื่อไหร่? “ยังไม่มีอะไรเลยค่ะ ตอนนี้ทราบเท่าๆ กัน กำลังดูอยู่เหมือนกัน พี่เลยบอกว่าถามแล้วตอบยาก เพราะบอกไม่ได้เหมือนกันว่ามันจะยังไง ถึงบอกได้ว่าตอบได้เพียงความรู้สึกทางเราในฐานะเอกชน คนฟังเองก็เดือดร้อนกันมากมาย โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คก็มีพูดถึงกันมากมาย”

แล้วจะ มีการเข้าไปพูดคุยอะไรกับ กสทช.? “ก็คงต้องมีค่ะ ต้องหารือกับทางผู้ใหญ่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมันเร็วมาก จริงๆ แล้วอย่างที่บอกค่ะว่า ณ วันนี้มันเป็นเวลาที่เราควรช่วยกัน กรีนเวฟเองก็ยังคุยกันว่า เราจะทำอะไรต่อเพื่อช่วยเรื่องน้ำท่วม อย่างสัปดาห์หน้า (19-20 พ.ย.) เราก็คุยว่าจะจัดงานปั้นอีเอ็มบอลให้ได้ล้านลูก เราเองก็เดินหน้าทำงานเรื่องสังคมมาโดยตลอด แล้วอยู่ๆ มาวันนี้เกิดเรื่องนี้ขึ้น ก็ตั้งตัวไม่ทันเหมือนกันว่าเราจะเอายังไง วันนี้กลายเป็นมีเรื่องประโยชน์ส่วนตัวประโยชน์ส่วนรวม ก็ต้องทำงานของเราต่อไปก่อน” เชื่อว่าพลังประชาชนโซเชี่ยลมีเดียจะมีผลหรือไม่? “พี่ไม่ทราบ ตอนนี้บอกจริงๆ ว่าไม่ทราบ เพียงแต่ว่าสิ่งที่ทำให้รู้สึกดีอยู่ก็คือสิ่งที่ทุกคนออกมาแสดงความรู้สึก ในเรื่องกรีนเวฟ อย่างน้อยมันทำให้เราได้รู้ว่าการทำความดีมันมีคนเห็น และไม่จำเป็นค่ะ การทำความดี มันไม่ได้หมายความว่า เอกชนทำไม่ได้คือถ้าจะมองว่าเราเป็นเอกชน เป็นภาคธุรกิจ

กรีนเวฟคือ ความภาคภูมิใจของพี่ ตรงที่ว่าสามารถเชื่อมต่อการทำงานในภาคธุรกิจ เอกชน การทำธุรกิจให้เชื่อมต่อกับประชาชน หรือทำสิ่งที่ดีงานให้เกิดในสังคมได้ กรีนเวฟเป็นความภาคภูมิใจของคนทำงานในมุมนี้มาโดยตลอด เพราะฉะนั้นอย่าบอกว่าเราเป็นภาคเอกชน เป็นภาคธุรกิจ เราทำธุรกิจอยู่แล้วใครๆ ก็รู้ แต่ทำธุรกิจแล้ว สามารถทำสิ่งดีงามได้มันเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง” มีคิดทางออกอื่นๆ ไว้ไหม? “ก็มีค่ะ แต่ยังไม่ได้สรุปอะไรต่อไป ทวิตเตอร์พี่ตอนนี้ก็มีคนทวิตมาถล่มทลายมาก ก็ได้แต่ขอบคุณๆ อย่างเดียว รวมถึงกระแสในสื่ออื่นๆด้วย ก็ต้องบอกว่าขอบคุณจริงๆ ค่ะ พี่อยู่ในวงการวิทยุมานาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ มันคงไม่มีอะไรที่ทำให้ตื่นเต้น หรือตกใจอะไรมากไปกว่านี้ เพราะเจอมาโดยตลอด

มีประเด็นหนึ่งที่เขาว่า ว่าก็รู้อยู่แล้ว คือรู้ค่ะว่าต้องมีการจัดสรรใหม่ แต่วันนี้มาบอกว่าทำที่เราก่อน เพื่อเป็นตัวอย่าง คำว่าตัวอย่างคืออะไรคะ แผนบอกว่าต้องเอาทั้งหมดมารวมกันแล้วจัดสรรใหม่ นั่นคือสิ่งที่ต้องทำ แต่มาวันนี้บอกจะทำของเราก่อน เลยไม่รู้ว่าเป็นตัวอย่างอะไร ไม่เข้าใจ งงๆ และไม่อยากออกมาพูดอะไรมากมันจะดูไม่ดีมันจะเป็นการโต้ไปมา แต่พอมีคนถามเข้ามามาก แล้วพี่จะไม่ตอบ ก็คงไม่ได้ บางอย่างที่เขาพูดมา มันก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงจึงต้องออกมาพูด” บอกอะไรกับแฟนกรีนเวฟ? “ขอบคุณ ตอนนี้ทวิตเตอร์พี่พิมพ์คำเดียวว่า ขอบคุณๆๆๆ มันอาจจะซ้ำซาก แต่ไม่รู้ว่าจะพูดอะไรได้มากกว่านี้แล้วจริงๆ แต่ก็อย่างที่บอกก็คือมันทำให้เรารู้ว่าทำดีมันยังมีคนเห็นอยู่ มันไม่ได้สูญเปล่า ถึงแม้ว่าต่อจากนี้ไปกรีนเวฟ จะได้อยู่ตรงนี้หรือไม่ได้อยู่ แต่เราจะยังจำได้เสมอว่าการทำความดีมันมีผลตอบแทน อย่างน้อยที่สุดก็ในแง่ของจิตใจ”

จะสู้ไหม? “จะบอกว่าสู้คงไม่ได้คะ รอดีกว่าค่ะ ตอนนี้ยังไม่รู้อะไรมากไปกว่านี้” รอที่ว่าคือรอทาง กสทช. เรียกคุยหรือรอหนังสือ? “ไม่รู้ว่ารออะไรเหมือนกันค่ะ ก็อย่างที่บอกไม่รู้ว่าจะรออะไร ถ้าเอาตามสัญญามันก็คือยังไม่หมด ตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะยึดอะไร ก็รอดูว่าจะยังไงต่อไป” หมายถึงท่าทีทางเขา? “ก็นั่นสิคะ พี่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคนที่ออกมาพูดได้เห็นสัญญาหรือยัง ตอนนี้เท่าที่ทราบเท่าที่ทราบยังมีการตอบอยู่เลยว่ามันหมดสัญญา แล้วคนพูดเองได้เห็นสัญญาหรือเปล่า เพราะสัญญาอยู่ในมือพี่มันไม่ใช่” ถ้าสิ้นสุดจริงๆ พร้อมจะเอาสัญญาออกมาโชว์? “ใช่ค่ะ” แปลว่าต้องรอลุ้นอีกที 31 ธ.ค.ว่าจะยังไงต่อ? “คงมีข้อสรุปก่อนหน้านั้นค่ะ มีความคืบหน้าอะไรแล้วพี่จะอัพเดทให้ทราบ”.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/ent/216614

_______________________________________________________

'นที' ทวีตแจงระงับคลื่น 'กรีนเวฟ'

"นที ศุกลรัตน์" กก.กสทช. โพสต์ทวิตเตอร์ชี้แจงกรณีไม่ต่อสัญญาสถานีวิทยุ 1 ปณ. ลั่นทำตาม กม. ไม่สร้างกระบวนการที่เป็นการเลือกปฏิบัติ ขณะที่มีคลื่นกรีนเวฟติดร่างแหด้วย...

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และรองประธาน กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว เพื่อชี้แจ้งข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องมติที่ประชุมคณะกรรมการ หรือบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ให้ระงับไม่ต่อสัญญาสถานีวิทยุ 1 ปณ. ใน 6 พื้นที่ รวม 9 สถานี ได้แก่ กรุงเทพฯ เอฟเอ็ม 106.5 เมกะเฮิร์ตซ (กรีนเวฟ) และเอฟเอ็ม 98.5 เมกะเฮิร์ตซ (กู๊ด เอฟเอ็ม) หลักสี่ เอเอ็ม 1035 กิกะเฮิร์ตซ และ เอเอ็ม 1089 กิกะเฮิร์ตซ อุบลราชธานี เอฟเอ็ม 102 เมกะเฮิร์ตซ อุดรธานี เอฟเอ็ม 99 เมกะเฮิร์ตซ และเอเอ็ม 1089 กิกะเฮิร์ตซภูเก็ต เอฟเอ็ม 89 เมกะเฮิร์ตซ และลำปาง เอเอ็ม 765 กิกะเฮิร์ตซ

สำหรับ ข้อความที่ พ.อ.นที โพสต์มีทั้งหมด 25 ข้อความ สรุปใจความสำคัญว่า กรณีของสถานีวิทยุ 1 ปณ. อาจทำให้เกิดความสับสนจากการสื่อสารที่เข้มข้นและกระแสของผู้ที่รักกรีนเวฟ ทุกคน ซึ่งการทำงานขององค์กรกำกับดูแลคือ กสทช.จำเป็นต้องดำเนินการด้วยความเปิดเผยตรงไปตรงมาตรวจสอบได้ โดยเฉพาะถ้าเรื่องนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับ กสทช. กรณีสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. ซึ่งเป็นทรัพย์สินของสำนักงาน กสทช. ตกทอดมาตั้งแต่กรมไปรษณีย์โทรเลข จนกระทั่งเป็น กสทช. จึงมีความสำคัญยิ่ง ในข้อเท็จจริงแล้วการปฏิรูปสื่อและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใหม่ที่มีความ เป็นธรรมกับทุกคนทุกภาคส่วนเป็นสิ่งสำคัญเป็นหัวใจของความพยายามมี กสทช. โดย กสทช.เป็นองค์กรอิสระ มีกรรมการชุดเล็ก 2 ชุด คือ กทค. รับผิดชอบด้านกิจการโทรคมนาคม และ กสท. รับผิดชอบในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดว่า หลังจากจัดตั้ง กสทช.แล้ว จะต้องสร้างกระบวนการที่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ในกิจการ กระจายเสียงและโทรทัศน์ สิ่งที่ต้องดำเนินการเป็นลำดับแรกก็คือ จะต้องให้ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่มาแจ้งความจำเป็นการใช้คลื่นฯ ที่มีอย่างจำกัดในกิจการตนเอง ผู้ที่ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงจากอดีตจน ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐ รวมถึงสำนักงาน กสทช.ด้วย

ดังนั้น กสทช.จะพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ให้ตามความเหมาะสม และความจำเป็นในการบริการสาธารณะของหน่วยงานเหล่านั้น ส่วนกระบวนการนำไปสู่การออกใบอนุญาตดังกล่าว จำเป็นต้องเกิดขึ้นตามขั้นตอนที่เหมาะสมด้วยความเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน ไม่กระทบต่อบริการสาธารณะ ซึ่งมีเจตนารมณ์ว่ากระบวนการดังกล่าวต้องเร่งดำเนินการและควรมีรูปธรรมใน ระยะเวลา 1 ปี ในกระบวนการดังกล่าว 1 ปณ. ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐที่จะต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใหม่เช่นเดียวกับ หน่วยงานของรัฐอื่นๆ โดยไม่มีข้อยกเว้น

ดังนั้น จึงได้เสนอต่อ กสทช. ในการดำเนินการต่อกรณีของ 1 ปณ. ควรมีกระบวนการเช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ แต่ควรจะต้องมีรูปธรรมใน 6 เดือน ทั้งนี้ ทวีตสุดท้ายของ พ.อ.นที เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว คือ จะไม่ผลักหรือสร้างปัญหาให้กับใครคนใดคนหนึ่ง และไม่สร้างกระบวนการที่เป็นการเลือกปฏิบัติ.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/216836

ประเด็นหลัก
"กรีนเวฟ-กู๊ดเอฟเอ็ม"หลุดผัง "กสทช." ฟันธงไม่ต่อสัญญาบริหารคลื่นจบสิ้นปีนี้
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thailandinthepresentday&month=09-11-2011&group=9&gblog=45

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.