Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 สิงหาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G)(แข่ง3Gสนุก-สรุปแล้ว)ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4500 ลบ.ต่อความถี่ 5 MHz(ถ้าต้องการแข่งเพิ่มที่ละ200ลบ.

(เกาะติดประมูล3G)(แข่ง3Gสนุก-สรุปแล้ว)ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4500 ลบ.ต่อความถี่ 5 MHz(ถ้าต้องการแข่งเพิ่มที่ละ200ลบ.


ประเด็นหลัก

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยภายหลังการประชุมกทค.ว่า ที่ประชุมมีมติปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่(Spectrum Cap)จาก 20 MHz เหลือ 15 MHz ตามข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) แต่ยังคงราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 4,500 ล้านบาทต่อความถี่ 5 MHz เท่าเดิม

อย่าง ไรก็ตาม ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ได้แสดงความจำนงชัดเจนว่าต้องการแค่ 15 MHz เท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดเพดานที่สูงเกินไป และมั่นใจว่าการแข่งขันเรื่องการประมูลยังคงเกิดขึ้นเหมือนเดิม ทั้งนี้ เดิมที่ตั้งเป้าสูงสุดเดิม 20 MHz นั้นมองว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูล 5 ราย แต่หากมีแค่ 3 รายก็ยังมั่นใจว่าจะไม่มีฮั้วกันแน่นอน เพราะแต่ละรายยังต้องการเลือกย่านความถี่ที่ดีที่สุดเพื่อช่วยลดต้นทุนการลง ทุน ดังนั้น แม้มีเพียง 3 รายที่เข้าร่วมประมูล แต่การแข่งขันก็ยังคงมีอยู่ เพราะผู้ที่เสนอราคาสูงสุดจะได้สิทธิเลือกก่อน

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า สำหรับการเสนอราคาในการประมูลจะขยับขึ้นครั้งละ 5% หรือ 200 ล้านบาท และ กทค.ยังได้ขยายระยะเวลาการชำระเงินงวดแรกจาก 45 วันเป็น 90 วัน โดยเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลเพื่อประมูลใบอนุญาต 3 จี 2.1 GHz ครั้งนี้จะเสนอให้ที่ประชุม กสทช.พิจารณาอนุมัติวันที่ 22 ส.ค.55 จากนั้นจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในสิ้นเดือน ส.ค.55 และเปิดประมูลกลางเดือน ต.ค.55



นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ADVANC กล่าวว่า เอกชนเห็นด้วยที่ กทค.ปรับลดเพดานการถือครองคลื่นลง เพื่อให้การใช้คลื่นความถี่เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนประเด็นการเลือกย่านความถี่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะหากประมูลราคาเท่ากันผู้ให้บริการแต่ละรายสามารถใช้วิธีจับฉลากเพื่อ เลือกช่วงคลื่นความถี่ได้





________________________________________




กสทช.ปรับแก้ร่างประมูล ใบอนุญาตโครงข่าย 3จี

รศ.ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งขาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการโทรทัศน์คมนาคม เปิดเผยภายหลังการเสร็จสิ้น การประชุมคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์คมนาคม ว่า วันนี้ที่ประชุมมีการหารือเกี่ยวกับการปรับแก้หนังสือชี้ชวนการลงทุน สำหรับใบประมูลอนุญาตโครงข่ายโทรศัพท์ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ด้วยคลื่นความถี่ 45 เมกะเฮิร์ตซ โดยแบ่งเป็น 9 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิร์ตซ ในประเด็นการปรับแก้การถือครองคลื่นความถี่ โดยให้ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 3จี สามารถประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุด ไม่เกิด 15 เมกะเฮิร์ตซ หรือจำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งลดจากเดิมซึ่งถือให้ไม่เกิด 20 เมกะเฮิร์ตซ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ในการประมูล มีความเป็นธรรม ในการถือครองคลื่นความถี่ เพื่อการแข่งขัน ทั้งการประมูลและการดำเนินธุรกิจ
ส่วนราคาของใบอนุญาต 3จี ยังคงมีการยืนยันในราคาเดิมที่ 4,500 ล้านบาทต่อคลื่นความถี่ 5 เมกะเฮิร์ตซ์ เนื่องจากเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว โดยคำนวณจากกลไกของราคาตลาดและอัตราเงินเฟ้อ และคาดว่าจะมีการจัดการประมูลใบอนุญาต 3จี ได้ประมาณกลางเดือนตุลาคมนี้


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000100431&Keyword=%a1%ca%b7

______________________________________________


กทค.ลดเพดานถือครองคลื่น 3G มาที่ 15 MHz แต่คงราคาเริ่มประมูล 4.5 พันลบ.

พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยภายหลังการประชุมกทค.ว่า ที่ประชุมมีมติปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่(Spectrum Cap)จาก 20 MHz เหลือ 15 MHz ตามข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) แต่ยังคงราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 4,500 ล้านบาทต่อความถี่ 5 MHz เท่าเดิม


ทั้ง นี้ แม้ว่าการปรับเพดานการถือครองคลื่นครั้งนี้จะส่งผลให้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ 45 MHz สามารถแบ่งลงตัวให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ 3 รายในปัจจุบันประกอบด้วย บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) คือรายละ 3 ใบ หรือ 15 MHz แต่ก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกักตุนคลื่นความถี่ที่มากเกินไป

อย่าง ไรก็ตาม ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ได้แสดงความจำนงชัดเจนว่าต้องการแค่ 15 MHz เท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดเพดานที่สูงเกินไป และมั่นใจว่าการแข่งขันเรื่องการประมูลยังคงเกิดขึ้นเหมือนเดิม ทั้งนี้ เดิมที่ตั้งเป้าสูงสุดเดิม 20 MHz นั้นมองว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูล 5 ราย แต่หากมีแค่ 3 รายก็ยังมั่นใจว่าจะไม่มีฮั้วกันแน่นอน เพราะแต่ละรายยังต้องการเลือกย่านความถี่ที่ดีที่สุดเพื่อช่วยลดต้นทุนการลง ทุน ดังนั้น แม้มีเพียง 3 รายที่เข้าร่วมประมูล แต่การแข่งขันก็ยังคงมีอยู่ เพราะผู้ที่เสนอราคาสูงสุดจะได้สิทธิเลือกก่อน

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า สำหรับการเสนอราคาในการประมูลจะขยับขึ้นครั้งละ 5% หรือ 200 ล้านบาท และ กทค.ยังได้ขยายระยะเวลาการชำระเงินงวดแรกจาก 45 วันเป็น 90 วัน โดยเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลเพื่อประมูลใบอนุญาต 3 จี 2.1 GHz ครั้งนี้จะเสนอให้ที่ประชุม กสทช.พิจารณาอนุมัติวันที่ 22 ส.ค.55 จากนั้นจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในสิ้นเดือน ส.ค.55 และเปิดประมูลกลางเดือน ต.ค.55

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า เห็นด้วยกับ กทค.ที่ปรับลดเพดานคลื่นลง ขณะที่คงราคาเริ่มต้นประมูลไว้ตามเดิม ซึ่ง กสทช.มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้วว่าการดำเนินการดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผล กระทบต่อต้นทุนให้กับผู้ร่วมประมูล

"มองว่าการประมูล 3จี ของ กสทช.ในเดือน ต.ค.นี้จะยังคงเกิดขึ้น ซึ่ง กสทช.มีเจตนารมณ์ที่ดีในการดำเนินการ มองว่าไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง และจากรายงานก็ไม่น่ามีการฟ้องร้องเกิดขึ้นในช่วงนี้"น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

นาย วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ADVANC กล่าวว่า เอกชนเห็นด้วยที่ กทค.ปรับลดเพดานการถือครองคลื่นลง เพื่อให้การใช้คลื่นความถี่เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนประเด็นการเลือกย่านความถี่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะหากประมูลราคาเท่ากันผู้ให้บริการแต่ละรายสามารถใช้วิธีจับฉลากเพื่อ เลือกช่วงคลื่นความถี่ได้

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1467960

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.