Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 มกราคม 2555 "สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ภารกิจ After Sale Service // ทางออกจากสัมปทาน - ประมูล - อยากเห็น กสทช.ทำ

"สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ภารกิจ After Sale Service // ทางออกจากสัมปทาน - ประมูล - อยากเห็น กสทช.ทำ


ประเด็นหลัก

- ทางออกจากสัมปทานคืออะไร

อย่า ไปทำอะไรกับมัน แต่ก็อย่าให้มีอะไรที่คล้าย ๆ สัมปทานเกิดขึ้นอีก ผมถึงออกมาติงตอนมีสัญญาทรูกับ กสทฯไม่สมควรให้ทำเพราะมีลักษณะเหมือนสัมปทาน ที่ผ่านมาปัญหาสัมปทานก็ไม่เคยแก้ได้ แม้โดยกฎหมายสัมปทานจะหมดใน 6-8 ปีข้างหน้า แต่โดยสภาพ ถ้า กสทช.เปิดประมูล 3G ได้ ใครเป็นผู้ประกอบการที่ชนะประมูล ต้องมีโอนย้ายลูกค้า ความถี่ 3G จึงต้องประมูล

- คิดว่าจะประมูลได้

ที่สำคัญคือจะประมูลกี่ ราย ต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการประมูล กฎ กติกาที่ไม่จำเป็นต้องเอาออก อาทิ การครอบงำของคนต่างด้าว วันนี้ยังไม่เห็นความจำเป็นว่ามีไว้เพื่ออะไร คืออาจจำเป็นก็ได้ แต่กระบวนการที่ผ่านมาไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นมากพอ ไม่เคยบอกให้ชัดว่า มีวิธีแก้โจทย์ปัญหาความมั่นคงกี่วิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร กลายเป็นกล่องดำให้ทุกคนอ้าง

- สิ่งที่อยากเห็น กสทช.ทำ

อันดับ แรกที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง คือ เรื่องธรรมาภิบาลของสำนักงาน ทำอย่างไรไม่ให้มีเด็กฝาก ไม่จัดซื้อจัดจ้างซี้ซั้ว บริหารอย่างไรให้โปร่งใส เป็นงานของเลขาธิการ กสทช. ต่อมาคือการทำแผนเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ถ้าไม่เคลียร์เป็นปัญหาแน่ อย่างน้อยต้องให้รู้ว่า คลื่นพอสำหรับใช้มากน้อยแค่ไหน

ฝั่งโทร คมนาคมคงมีเรื่องใหญ่เรื่องเดียวคือ ประมูล 3G ถ้าประมูลไม่ได้คงได้เห็นสัญญาแปลก ๆ อีก แต่ผมยังมองโลกในแง่ดีว่า มีคนอยากให้ประมูลมากกว่า ครั้งนี้คงโฟกัสไปที่เงื่อนไขการประมูลโปร่งใสหรือไม่ มีคนประมูลได้กี่ราย ถ้ายังเป็น N-1 ราคาตั้งต้นใกล้เดิมน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ออกแรงไม่มาก
_________________________________________________________



"สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ภารกิจ After Sale Service



ถ้าพูดถึงนักวิชาการที่มีบทบาทในวงการโทรคมนาคม คนแรกที่ทุกคนนึกถึงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก "ดร.สมเกียรติ

ตั้ง กิจวานิชย์" แห่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ไม่ใช่แค่วิพากษ์วิจารณ์ แต่ลงมาคลุกวงใน ในฐานะคณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมาย กสทช. ฉบับปัจจุบัน

ล่าสุดได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะอนุกรรมการเพื่อ ศึกษามาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับการโอนหรือให้ใช้คลื่นความถี่ "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับเขาในหลายแง่มุมดังนี้

- เข้าไปทำงานกับ กสทช.เยอะ

การ ไปเป็นคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานให้ กสทช.ก็เพื่อหาทางออกปัญหา พ.ร.บ. กสทช. เหมือนเป็น after sale service เพราะเป็นคนร่าง พ.ร.บ.นี้ คนเขาก็บอกว่า ผูกปมไว้ต้องมาแก้ด้วย กลายเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่ต้องทำให้เคลียร์ ทั้ง ม.46 และเรื่องดาวเทียม

- รู้ก่อนว่าจะมีปัญหา

ไม่ ใช่ มองหลังเหตุการณ์จึงเห็นว่า จุดนี้ถ้าเขียนให้ชัดกว่านี้จะไม่มีปัญหา ไม่ต้องมาตีความ แต่ในมุมของคนร่าง ณ เวลาร่างมีโจทย์เป็น 100 แค่ให้กระบวนการเลือก กสทช. ไม่ล่มก็หนักแล้ว ประเด็นสำคัญที่ให้น้ำหนักตอนยกร่างคือ ทำอย่างไรให้มี กสทช.

มี เรื่องถกเถียงหลายประเด็น แต่ที่เป็นไฮไลต์มีคนได้เสียมาก เช่น มาตราที่ระบุให้รัฐวิสาหกิจต้องส่งเงินเข้าคลังโดยตรง กรณี ม.46 คิดว่าอาจเป็นปัญหา แต่ไม่คิดว่าจะทำให้มี MVNO ไม่ได้ จึงมีงานต่อเนื่องที่ต้องมาดูว่า แบบไหนทำได้ ทำไม่ได้ ถ้ามีโอกาสแก้กฎหมายจะชัดขึ้น แต่ไม่แก้ก็มีทางไปได้

- แบบไหน ?

กสทช.ต้อง ตั้งคณะทำงานศึกษาและออกประกาศว่า MVNO แบบไหนทำได้ ทำไม่ได้ หรือการประมูลคลื่นความถี่ ตอนยกร่างบางคนมองว่า ไม่จำเป็นต้องใส่ใน พ.ร.บ. แต่ผมเห็นว่า เป็นหลักการสำคัญ ถ้าไม่ใส่ไว้ กสทช.ก็จะใช้ดุลยพินิจเยอะ อย่างตอนจะประมูล 3G กทช.ใช้เวลาตั้งนาน ว่าจะใช้วิธีไหน ถ้าให้ทุกคนรู้ไปเลยว่า ต้องประมูล ก็ดีกว่า

- ซึ่งกระทบกิจการดาวเทียม

ตอน ร่างไม่ได้คิดละเอียดถึงขั้นนั้น แต่กฎหมายมีช่องให้เดินได้ จริง ๆ คลื่นเหล่านี้อธิบายได้ว่า เป็นคลื่นคมนาคม ไม่ใช่โทรคมนาคมที่ให้บริการประชาชนทั่วไป มาตรานี้ไม่ได้เป็นปัญหาที่จะเดินต่อไม่ได้ ที่ไทยคมหาทางออกด้วยการนำดาวเทียมบนวงโคจร 120 องศา ไปให้บริการนอกประเทศในมุมหนึ่งก็เป็นทางออก แต่จะดีที่สุดหรือเปล่าอีกเรื่อง ถ้า กสทช.จะหยิบมาทำให้เคลียร์ก็ดี ถ้าจะให้ไปช่วยก็ยินดี ถือเป็น after sale service อีกชิ้น (หัวเราะ)

- รู้สึกอย่างไรเมื่อมี กสทช.

เป็น ความสำเร็จ แต่ผมไม่เคยเชื่อว่า แค่มี กสทช.แล้วปัญหาจะจบ สิ่งที่ให้ความสำคัญคือ ถ้ามีองค์กรแล้วทำอย่างไรจะเวิร์ก เดินหน้าได้จริง ถึงให้น้ำหนักมากตอนร่าง พ.ร.บ. เช่น การมีธรรมาภิบาล ทำอย่างไรให้มีการเปิดเผยข้อมูลว่า ใครลงมติอะไร มติต้องเปิดเผย การจัดซื้อจัดจ้าง การรับฟังความเห็นสาธารณะต้องถูกต้อง แต่กระบวนการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลยังไม่แน่ใจว่าจะเวิร์ก

- ทำไมไม่มั่นใจ

เพราะ เป็นกระบวนการทางการเมือง เกี่ยวกับวุฒิสภา เกี่ยวกับนักการเมือง ในการเมืองแบบไทย ๆ ออกได้ทุกหน้า มีโอกาสซูเอี๋ยกันได้ แต่ไปอิงกับอย่างอื่นก็ไม่ได้ เพราะระบบของไทยวางบทบาทวุฒิสภาไว้ให้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนด้วย แม้จะมีข้อสงสัยว่า สภาไทยคือสภาผัวเมีย ในมุมหนึ่งต้องท้าทายวุฒิสภาว่า เป็นอิสระจริงหรือไม่ อีกด้านยังกำหนดให้วุฒิสภาเปิดเผยการประเมินต่อสาธารณะ

มีเรื่องที่ ฝ่ายการเมืองไม่ได้เรียนรู้กันอย่างการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ยังไม่สอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภา ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากตรงนี้เท่าไร

ซึ่งมี วิธีทำได้โดยการให้รัฐบาลตั้งเป้าหมายต่อรัฐสภาในนโยบายที่แถลงต่อสภา อาทิ Wi-Fi ต้องไปได้แค่ไหน 3G จะไปอย่างไร ดิจิทัลต้องแปลงอย่างไร โดยมีเป้าว่าจะเพิ่มอันดับ ICT ของประเทศเท่าไรในปีไหน ไม่ต้องลงรายละเอียดแต่ให้ กสทช.ไปคิดวิธีทำเอง

- ให้รัฐบาลใช้เงินกองทุนประชานิยม

ใน ระบอบประชาธิปไตย คุณห้ามรัฐบาลไม่ให้หาเสียงกับประชาชนไม่ได้ รัฐบาลทักษิณทำเรื่องนี้ได้ดี หาเสียงไว้แล้วทำจริง บางนโยบายอาจไม่ดีในสายตา แต่นี่เป็นกลไกประชาธิปไตย การให้องค์กรกำกับดูแลเป็นอิสระ โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อใคร ไม่ต้องสนองความต้องการประชาชนเลย ผมไม่เห็นด้วย อิสระต้องหมายถึงอิสระต่อการเมืองในการปฏิบัติ แต่การกำหนดกรอบนโยบายต้องมาจากรัฐบาล เพราะการเมืองมาจากประชาชน

- การใช้เงินกองทุนรัดกุม ?

ก็ ออกมาดูดี คือมีกรรมการกองทุนอีกชุดทำความเห็นเสนอ กสทช. ถ้า กสทช.ไม่เห็นด้วยต้องให้เหตุผลไว้ เป็นกระบวนการรับผิดชอบในส่วนหนึ่ง มีการตรวจสอบด้วยเหตุด้วยผล ที่สำคัญต้องทำอย่างเปิดเผย แม้ส่วนหนึ่งของกรรมการจะเป็นข้าราชการระดับสูงที่ฝ่ายการเมืองมีอำนาจแต่ง ตั้ง มีงานประจำมาก ซึ่งเป็นปัญหาถาวรของการมีกรรมการทุกคณะ แต่ความรับผิดชอบยังอยู่ที่กรรมการ กสทช.

กสทช.ควรมีความกล้าหาญด้วย ถ้า กรรมการบริหารกองทุนเสนอนำเงินไปใช้อย่างไม่สมควร ก็ควรกล้าคัดค้าน แม้ประธาน กสทช.จะเป็นประธานกองทุน

- ดีลทรูที่ตั้งข้อสังเกตไว้ดูแผ่วไป

หน้าที่ ผมคือ ชี้ประเด็น เมื่อเข้าสู่กระบวนการแล้วคนที่ต้องตรวจสอบคือกสทช. ต้องดูว่าจะออกใบอนุญาตให้ได้ ต้องแก้เงื่อนไขสัญญาไหม สตง. ป.ป.ช. กระทรวงไอซีที มีหน้าที่ต้องทำ ผมไม่ได้ตั้งเป้าส่วนตัวไว้ว่าจะเล่นงานบริษัทไหน เรื่องสอบดีลทรู ไอซีทีก็ดูแข็งขัน ถ้าเป็นมวยล้มคงต้องแสดงความคิดเห็น

- ทางออกจากสัมปทานคืออะไร

อย่า ไปทำอะไรกับมัน แต่ก็อย่าให้มีอะไรที่คล้าย ๆ สัมปทานเกิดขึ้นอีก ผมถึงออกมาติงตอนมีสัญญาทรูกับ กสทฯไม่สมควรให้ทำเพราะมีลักษณะเหมือนสัมปทาน ที่ผ่านมาปัญหาสัมปทานก็ไม่เคยแก้ได้ แม้โดยกฎหมายสัมปทานจะหมดใน 6-8 ปีข้างหน้า แต่โดยสภาพ ถ้า กสทช.เปิดประมูล 3G ได้ ใครเป็นผู้ประกอบการที่ชนะประมูล ต้องมีโอนย้ายลูกค้า ความถี่ 3G จึงต้องประมูล

- คิดว่าจะประมูลได้

ที่สำคัญคือจะประมูลกี่ ราย ต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการประมูล กฎ กติกาที่ไม่จำเป็นต้องเอาออก อาทิ การครอบงำของคนต่างด้าว วันนี้ยังไม่เห็นความจำเป็นว่ามีไว้เพื่ออะไร คืออาจจำเป็นก็ได้ แต่กระบวนการที่ผ่านมาไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นมากพอ ไม่เคยบอกให้ชัดว่า มีวิธีแก้โจทย์ปัญหาความมั่นคงกี่วิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร กลายเป็นกล่องดำให้ทุกคนอ้าง

- สิ่งที่อยากเห็น กสทช.ทำ

อันดับ แรกที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง คือ เรื่องธรรมาภิบาลของสำนักงาน ทำอย่างไรไม่ให้มีเด็กฝาก ไม่จัดซื้อจัดจ้างซี้ซั้ว บริหารอย่างไรให้โปร่งใส เป็นงานของเลขาธิการ กสทช. ต่อมาคือการทำแผนเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ถ้าไม่เคลียร์เป็นปัญหาแน่ อย่างน้อยต้องให้รู้ว่า คลื่นพอสำหรับใช้มากน้อยแค่ไหน

ฝั่งโทร คมนาคมคงมีเรื่องใหญ่เรื่องเดียวคือ ประมูล 3G ถ้าประมูลไม่ได้คงได้เห็นสัญญาแปลก ๆ อีก แต่ผมยังมองโลกในแง่ดีว่า มีคนอยากให้ประมูลมากกว่า ครั้งนี้คงโฟกัสไปที่เงื่อนไขการประมูลโปร่งใสหรือไม่ มีคนประมูลได้กี่ราย ถ้ายังเป็น N-1 ราคาตั้งต้นใกล้เดิมน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ออกแรงไม่มาก

ฝั่ง บรอดแคสต์น่าจะมีการเคลื่อนไหวหลายประเด็น โดยเฉพาะการคืนคลื่น เพราะผูกกับการเปลี่ยนสู่ดิจิทัล จริง ๆ ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหญ่โตเท่า 3G แต่เป็นตัวปลดล็อกให้มีความถี่ไปใช้มากขึ้น

ทีวีดาวเทียมเป็นอีก ประเด็นที่ต้องทำ เกิดขึ้นเยอะ และสังคมเริ่มบ่น มีทั้งทีวีสำหรับผู้ชาย มีการนำของที่ อย.ไม่อนุญาตมาขาย ฉะนั้นต้องมีกฎเกณฑ์มากำกับดูแล


ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1326783751&grpid=&catid=06&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.