Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 เมษายน 2555 ( จุดเปลื่ยนกล่องดำวัดวัดเรตติ้ง ) "นีลเส็นไทย" รื้อใหญ่เรตติ้งทีวี วัด TV ดาวเทียว ทุกกล่อง ทุกจาน

( จุดเปลื่ยนกล่องดำวัดวัดเรตติ้ง ) "นีลเส็นไทย" รื้อใหญ่เรตติ้งทีวี วัด TV ดาวเทียว ทุกกล่อง ทุกจาน


ประเด็นหลัก

ปัจจุบันการ แข่งขันของช่องฟรีทีวี ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ 6 ช่องหลักเท่านั้น แต่หมายรวมกว้างออกไปสู่สื่อใหม่ ๆ เพราะเวลาการรับชมทีวีของผู้บริโภคลดลง ขณะที่สื่ออื่น ๆ เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น

"วันนี้ผู้บริโภคมี มือถือมีสมาร์ทโฟน ออนไลน์ ที่สามารถดูทีวีย้อนหลัง หรือเสพสื่อได้อย่างรวดเร็ว ลูกค้าอาจจะคิดมากขึ้นสำหรับการซื้อสื่อ หรือหันไปใช้ซื้ออื่น ๆ ที่คุ้มค่ากว่า"

ขณะที่พฤติกรรมการรับสื่อ ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป รับสื่อหลากหลายมากขึ้น การเพิ่มราคาค่าโฆษณาขึ้นเรื่อย ๆ ของช่องฟรีทีวี อาจถึงทางตันได้ เพราะความต้องการลงโฆษณาที่ลดลง แม้ว่าคุณภาพรายการจะดีขึ้นก็ตาม

หรือ อีกกรณีหนึ่งราคาโฆษณาสูงขึ้น โดยที่คุณภาพรายการลดลงด้วย ลูกค้าก็ไม่อยากซื้อ ขณะที่ปัจจุบันลูกค้าบางส่วนเริ่มเทเม็ดเงินออกไปสู่สื่ออื่น ๆ ที่เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น

"อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องระวังหลังจากการปรับวิธีการวัดเรตติ้ง คือ ทุกวันนี้ผู้บริโภควิ่งนำหน้า เราต่างหากที่ต้องวิ่งตาม


_________________________________________________________


จุดเปลี่ยนโฆษณา "นีลเส็น" รื้อใหญ่เรตติ้งทีวี



หลัง จากที่บริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) ประกาศเพิ่มกลุ่มตัวอย่างการวัดผลเรตติ้งผู้ชมทีวี จาก 1,250 ตัวอย่างเป็น 1,550 ตัวอย่าง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา

จากรายงาน มีเดีย แฟลช ชี้แจงการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างของทีวี ประจำเดือนเมษายนว่า สอดคล้องกับพฤติกรรมการรับชมที่เปลี่ยนไป โดยได้ปรับเป็นรับชมผ่านเสาอากาศ 700 ตัวอย่าง

ทรูวิชั่นส์ 200 ตัวอย่าง เคเบิล 182 ตัวอย่าง และทีวีดาวเทียม 468 ตัวอย่าง

จากเดิมวัดเรตติ้งผ่านเสาอากาศ 790 ตัวอย่าง ทรูวิชั่นส์ 200 ตัวอย่าง เคเบิล 100 ตัวอย่าง และทีวีดาวเทียม 160 ตัวอย่าง

สะท้อนถึงว่าเอจีบี นีลเส็น ให้ความสำคัญกับทีวีดาวเทียมเป็นพิเศษ ด้วยกลุ่มตัวอย่างที่เพิ่มจาก 160 ตัวอย่าง เป็น 468 ตัวอย่าง

มากกว่าเดิมร่วม ๆ 3 เท่าตัวทีเดียว

มี เดีย แฟลช ให้เหตุผลการปรับตัวอย่างครั้งนี้ว่า เป็นไปตามพฤติกรรมของผู้ชมทีวีที่มีช่องทางหลากหลายขึ้น ไม่ได้รับชมผ่านเสาอากาศเท่านั้น แต่รับชมผ่านทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การแยกกลุ่มผู้ชมทำให้การวัดเรตติ้งแม่นยำขึ้น

และ ทำให้วัดเรตติ้งลงลึกถึงรายการของทรูวิชั่น เคเบิลทีวี รายการของทีวีดาวเทียมช่องต่าง ๆ จากที่ผ่านมาให้น้ำหนักไปที่ฟรีทีวี 3-5-7-9-11 เป็นสำคัญ

ประเด็นนี้ "กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี" ผู้อำนวยการสมทบฝ่ายวิจัยสื่อโฆษณา

ไอ พีจี มีเดียแบรนด์ส ได้ฉายภาพการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างนี้ว่า เป็นการรวมระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง นั่นคือ ผู้ชมฟรีทีวี ซึ่งเป็นกลุ่มเดิมกับกลุ่มใหม่คือผู้ชมทีวีดาวเทียม เนื่องจาก 2-3 ปีที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่อง การรวมกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้เป็นไปตามสัดส่วนของประชากรศาสตร์

ทั้ง นี้การเก็บข้อมูลดังกล่าว เป็นทั้งกลุ่มผู้ชมฟรีทีวีอย่างเดียวและครัวเรือนที่รับชมทั้งฟรีทีวีและ ทีวีดาวเทียม แต่ไม่ได้หมายความว่า เรตติ้งของช่องดาวเทียมจะเพิ่มขึ้น เพียงแต่เป็นการเก็บข้อมูลให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม "กนกกาญจน์" คาดการณ์ว่าภายหลังการปรับจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ย่อมมีผลกระทบต่อเรตติ้งผู้ชมช่องฟรีทีวีอย่างแน่นอน

เพียงแต่ว่าช่องไหนจะกระทบมากน้อยเท่านั้น

ทั้ง นี้จากการเริ่มทดลองเก็บข้อมูลจาก 1,550 ตัวอย่าง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบว่าภายหลังการเก็บกลุ่มตัวอย่างแบบใหม่ผ่านมา 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.2555) ว่าเรตติ้งผู้ชมกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปของช่อง 3 ลดลง 3% ช่อง 5 ลดลง 7-10% และช่อง 7 ลดลง 7%

เป็นผลลัพธ์ที่พอจะสรุปได้แบบ

หยาบ ๆ ว่า นาทีนี้ฟรีทีวีถูกทีวีดาวเทียมแย่งผู้ชมไปแล้วจำนวนหนึ่งจริง ๆ

อย่าง ไรก็ตามในแง่ของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเอเยนซี่และกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสื่อ โฆษณานั้น ยอมรับได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะตัวเรตติ้งที่เปลี่ยนไป ประกอบกับราคาโฆษณาฟรีทีวีที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความคุ้มค่าของการซื้อโฆษณาลดลง เป็นผลให้กลุ่มลูกค้าเริ่มปรับรูปแบบการวางแผนสื่อ

ปัจจุบันการ แข่งขันของช่องฟรีทีวี ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ 6 ช่องหลักเท่านั้น แต่หมายรวมกว้างออกไปสู่สื่อใหม่ ๆ เพราะเวลาการรับชมทีวีของผู้บริโภคลดลง ขณะที่สื่ออื่น ๆ เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น

"วันนี้ผู้บริโภคมี มือถือมีสมาร์ทโฟน ออนไลน์ ที่สามารถดูทีวีย้อนหลัง หรือเสพสื่อได้อย่างรวดเร็ว ลูกค้าอาจจะคิดมากขึ้นสำหรับการซื้อสื่อ หรือหันไปใช้ซื้ออื่น ๆ ที่คุ้มค่ากว่า"

ขณะที่พฤติกรรมการรับสื่อ ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป รับสื่อหลากหลายมากขึ้น การเพิ่มราคาค่าโฆษณาขึ้นเรื่อย ๆ ของช่องฟรีทีวี อาจถึงทางตันได้ เพราะความต้องการลงโฆษณาที่ลดลง แม้ว่าคุณภาพรายการจะดีขึ้นก็ตาม

หรือ อีกกรณีหนึ่งราคาโฆษณาสูงขึ้น โดยที่คุณภาพรายการลดลงด้วย ลูกค้าก็ไม่อยากซื้อ ขณะที่ปัจจุบันลูกค้าบางส่วนเริ่มเทเม็ดเงินออกไปสู่สื่ออื่น ๆ ที่เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น

"อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องระวังหลังจากการปรับวิธีการวัดเรตติ้ง คือ ทุกวันนี้ผู้บริโภควิ่งนำหน้า เราต่างหากที่ต้องวิ่งตาม

ผู้บริโภค เพราะมีสื่อให้เลือก ทั้งทีวีดาวเทียม

สมาร์ท โฟน และตอนนี้คนดูสามารถดูทีวีย้อนหลัง อ่านข่าวผ่านแอปพลิเคชั่น แต่ไม่มีใครเก็บข้อมูลเรตติ้งตรงนี้ ซึ่งเป็นอีกข้อที่ต้องตั้งคำถามว่า สิ่งที่เราวัดอยู่ตรงนี้สะท้อนความเป็นจริงแค่ไหน"

กนกกาญจน์กล่าวต่อไปว่า การขึ้นค่าโฆษณาของฟรีทีวีอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักทำให้กลุ่มลูกค้าหันไปใช้สื่อช่องทาง

อื่น ๆ เพิ่มขึ้น แต่มาจากปัจจัยหลัก นั่นคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

วันนี้ เอเยนซี่ต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ว่า ผู้บริโภคต้องการอะไร หาข้อมูลของสินค้าอย่างไร จากนั้นเอเยนซี่จึงจะวางแผนและซื้อสื่อได้

"เวลา ที่ผู้บริโภคให้กับสื่อน้อยลงเรื่อย ๆ เอเยนซี่เองก็ทำงานยากขึ้น จากเดิมที่เคยลงโฆษณาไม่กี่สปอต ผู้บริโภคก็เห็น แต่วันนี้ถ้าเลือกช่วงเวลาลงโฆษณาผิด

ผู้บริโภคจะไม่เห็นโฆษณา ถือเป็นความยากของอุตสาหกรรมโฆษณาตอนนี้ ว่าจะปรับตัวอย่างไรเช่นกัน"

เมื่อ พฤติกรรมผู้ชมทีวีเปลี่ยนไป การปรับตัวของระบบการวัดผลเรตติ้งทีวีครั้งนี้ จะสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความแม่นยำได้แค่ไหน คงเป็นคำถามที่ยากจะหาคำตอบในเร็ววัน

แต่สิ่งที่น่าสนใจซึ่งไม่ สามารถมองข้ามได้เมื่อพฤติกรรมการรับชมทีวีของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทุก ๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องย่อมปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไปไม่ได้


ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1334646861&grpid=&catid=11&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.