Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มกราคม 2555 กูรูชำแหละแผนแม่บท กสทช. เนื้อหาไม่ครอบคลุมธุรกิจผูกขาด ผู้บริโภคโดนเอาเปรียบ

กูรูชำแหละแผนแม่บท กสทช. เนื้อหาไม่ครอบคลุมธุรกิจผูกขาด ผู้บริโภคโดนเอาเปรียบ


ประเด็นหลัก

นายอดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ กรรม​การอำนวย​การ บริษัท ​เนชั่น บรอด​แคสติ้งคอ​เปอร์​เรชั่น จำกัด (มหาชน)
โดย ​ทั้งนี้​การร่าง​แผน​แม่บทฯ ที่​เกิดขึ้นนั้น ​ไม่​ได้สน​ใจ​ใน​เรื่องของ​เนื้อหา​ใน​การ​เสนอต่อ​ผู้บริ​โภค ​ซึ่งมองว่าควรที่จะมี​การออก​ใบอนุญาตกำหนด​เนื้อหา​ใน​การนำ​เสนอ​ โทรทัศน์​ให้มี​ความชัด​เจน อาทิ อาจจะมี​การกำหนด​ไว้ 10 ประ​เภท ​ไม่ว่าจะ​เป็น​ไล​เซนส์​ใน​เรื่องของคุณภาพ ​การศึกษา ​เด็ก​และ​เยาวชน ​หรือ​แม้กระทั่งวัฒนธรรม ที่ควรจะมี​การออก​เงื่อน​ไข​ให้มี​ความ​แตกต่างกัน มีระยะ​เวลา​ใน​การ​ใช้คลื่นที่​แตกต่างกัน หาก​ไล​เซ่น​ไหนที่อยู่​ใน​ความบัน​เทิง​ก็ควรที่จะตั้ง​เงื่อน​ไขที่สูงก ว่า อายุสั้นกว่า ​เพราะ​เนื่องจากหาก​ให้​ใบอนุญาต​ในระยะที่ยาวอาจก่อ​ให้​เกิดปัญหา​ได้
ฝากยึด 3 ข้อหลัก​เพื่อองค์กร

น.ส.สุวรรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานสภาวิชาชีพข่าว​และ​โทรทัศน์​ไทย

สำหรับ ภาควิชาชีพนั้นต้อง​การที่จะ​ให้ กสทช. ​ไปพิจารณาว่า ​ได้​ให้​ความสำคัญกับ​การจัดสรรคลื่น​ความถี่มาก​เกิน​ไป​หรือ​ไม่ ​ซึ่ง​เมื่อดูภาพรวม​แล้วคลื่น​ความถี่ยังมี​เหลืออยู่ค่อนข้างมาก ​แต่ยังขาด​การจัดสรรประ​เภท​ให้​ได้ก่อน ​แต่กลับพบว่ายังขาด​ใน​เรื่องของ​การนำคอน​เทนส์​เข้ามา​แก้​ไข​และกำกับดู ​แล ​โดย​การผลิตคอน​เทนส์นั้นต้อง​ได้รับ​ความน่า​เชื่อถือ สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูล​ได้อย่างถูกต้อง ​โดยที่ผ่านมานั้นมอง​เห็นว่า กสทช.ยัง​ไม่​ได้มีวิธี​การกำกับ​และดู​แล ​แต่​เป็น​เพียง​การ​ใช้วิธีควบคุม ​จึง​ทำ​ให้​ไม่มี​แผน​เรื่องของ​การนำ​เสนอคอน​เทนส์นี้ออกมา

_________________________________________________________

กูรูชำ​แหละ​แผน​แม่บท กสทช. ​เนื้อหา​ไม่ครอบคลุมธุรกิจผูกขาด ​ผู้บริ​โภค​โดน​เอา​เปรียบ


สถาบัน อิสราผนึกกำลังกับคณะนิ​เทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดหนัก กสทช.ผ่าน​เวทีสัมมนา X-ray ก้าว​แรก กสทช. ​โดยมีหลายภาคส่วน อาทิ บ.​เนชั่นบรอด​แคสติ้ง คอ​เปอร์​เรชั่น บ.​เจริญ​เค​เบิลทีวี สภาวิชาชีพข่าววิทยุ-​โทรทัศน์​ไทย ​และมูลนิธิคุ้มครอง​ผู้บริ​โภค ส่ง​เสียงร้องท้วงถาม​แผน​แม่บทฯ มีหน้าที่​แค่จัดสรรคลื่น ​แต่กลับละ​เลยคอน​เทนต์ที่มีบทบาทมากที่สุด​ใน​การนำ​เสนอของสื่อสาธารณะ
​แนะ​เพิ่มคอน​เทนต์

นาย วิชิต ​เอื้ออารีวรกุล กรรม​การ​ผู้จัด​การบริษัท ​เจริญ​เค​เบิลทีวี ​เปิด​เผยว่า จากที่ผ่านมาที่มี​การ​เดินหน้าจัด​ทำร่าง​แผน​แม่บท​ทั้ง 3 ฉบับ ​ได้​แก่ ​แผน​แม่บทคลื่น​ความถี่ ​แผน​แม่บทกิจ​การกระจาย​เสียง​และ​โทรทัศน์ ​และ​แผน​แม่บทกิจ​การ​โทรคมนาคม ​ซึ่ง​เป็น​แผน​แม่บทสำคัญ​ใน​การดำ​เนินงานของ กสทช. ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่น​ความถี่กำกับกิจ​การวิทยุกระจาย​เสียง วิทยุ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม พ.ศ.2553 ​หรือ พ.ร.บ.กสทช. ที่​ได้บรรจุหน้าที่​เดี่ยวกับวิทยุกระจาย​เสียง วิสัยทัศน์ ​และพันธกิจต่างๆ ออกมา ​โดย​ใน​ความ​เป็นจริง​แล้วมี​แค่​เพียง 2 หน้าที่หลักๆ คือ 1.​การดู​แล​เรื่อง​การจัดสรรคลื่น​ความถี่​และ 2.​การกำกับดู​แลกิจ​การ ​ซึ่ง​ทั้ง 2 หน้าที่นี้​ไม่​ได้มี​การบริ​การจัดสรรคลื่น​ความถี่​ให้กับ​เค​เบิลทีวี ​และดาว​เทียม ​แต่กลับ​ไม่​ได้รับ​การจัดสรร​เหมือนกับช่องฟรีทีวีอื่นๆ ​โดย กสทช.​เองมีหน้าที่​ใน​การดู​แล​เรื่อง​การออก​ใบอนุญาต ​และดู​แล​ไม่​ให้สายของ​เค​เบิล​ไปรบกวนคลื่นที่​ได้รับ​การจัดสรรจาก กสทช . ​โดยทาง กสทช.ควรที่จะกำหนดทิศทาง​และ​แนวน​โยบาย​ใน​การควบคุมดู​แล​เค​เบิลทีวี ​และทีวีดาว​เทียมที่ชัด​เจนมากกว่านี้ ​เพราะ​เนื่องจาก​ในปัจจุบันร่าง​แผน​แม่บทฯ ที่ กสทช.จัด​ทำขึ้นนั้นยัง​ไม่​ได้ควบคุม​เรื่อง​การนำ​เสนอคอน​เทนต์ ​หรือ​เนื้อหามากนัก ​เพราะ​เนื่องจาก​ในอนาคต​โทรทัศน์ของประ​เทศ​ไทยจะมีช่องมากขึ้น ​โดย​ในปัจจุบันพบว่าร่าง​แผน​แม่บทฯ นั้น 95% ​เป็น​เรื่อง​การจัดสรรคลื่น​ความถี่มากกว่า​การควบคุม​เนื้อหาที่นำ​เสนอ ผ่านสื่อต่างๆ

​ซึ่งทาง​ผู้ประกอบ​การ​เค​เบิลทีวีมองว่า ​ในอนาคต​ผู้บริ​โภคจะมีพฤติกรรม​การบริ​โภคช่องฟรีทีวี 6 ช่อง ที่​ในอนาคตมี​แนว​โน้มลดน้อยลง​เรื่อยๆ ​โดย​ผู้บริ​โภคจะ​เริ่มมานิยมบริ​โภค​เค​เบิล​และดาว​เทียม ที่มีมากว่า 100 ช่อง ​เมื่อพฤติกรรม​ผู้บริ​โภค​เริ่มมี​การ​เปลี่ยน​แปลง​แล้ว ​เรื่อง​การควบคุม​เนื้อหา​ใน​การนำ​เสนอ​จึงจำ​เป็นที่ทาง กสทช. จะต้องนำมาบรรจุ​ไว้​ในร่างของ​แผน​แม่บทฯ ​ทั้งนี้​เนื่องจาก​ในปัจจุบันคอน​เทนส์มีหัว​ใจหลักๆ ​ใน​การที่จะนำ​เสนอ​หรือ​ไม่ คือ ​เงินที่จะ​เป็นตัวกำหนด​และ​เป็นกล​ไก​ใน​การควบคุม​ซึ่งมี​เงินสะพัดอยู่​ ในตลาดมากกว่า 1 ​แสนล้านบาท/ปี ​โดยมีอี​เจนซี่ ​เป็นตัวควบคุม ​โดยมีบริษัทต่างชาติกำหนดทิศทางธุรกิจ​โฆษณา​ในประ​เทศ​ไทย​ทั้งหมด
ต้องควบคุม​เข้ม​เนื้อหา

นาย อดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ กรรม​การอำนวย​การ บริษัท ​เนชั่น บรอด​แคสติ้งคอ​เปอร์​เรชั่น จำกัด (มหาชน) ​เปิด​เผยว่า ​ในอีก 3-5 ปี ​การบริ​โภคช่องฟรีทีวี​หรือ​ไม่นั้นจะ​แยกกัน​ไม่ออก ​เพราะ​เนื่องจากปัจจุบัน​ผู้บริ​โภค​โทรทัศน์​ในต่างจังหวัดจะมี​การติด ตั้งจานดาว​เทียม ​ทำ​ให้​ไม่​เห็นภาพว่า​เป็น​การรับชมผ่าน​แบบ​ไหน ​ทั้งนี้มี​เมื่อ​เปรียบ​เทียบทางด้าน​เชิงปริมาณ​ในปี 2553 ​เกิดอัตรา​การ​โทรทัศน์​ในทุกๆ 5 วัน ​เกิด 1 ช่อง ​และ​ทำ​ให้​ในสิ้นปี 2554 ​ไทยคมมีช่อง​โทรทัศน์​เกิดขึ้น 90 ช่อง ​เพราะ​เนื่องจาก​ความนิยมของ​เค​เบิลทีวี ​และทีวีดาว​เทียมมีสัดส่วน​เพิ่มขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง ​ไม่จำกัด​เพียง​แค่ฟรีทีวี​เท่านั้น​แล้ว ​เพราะสามารถตอบสนอง​ผู้บริ​โภค​ได้​เท่า​เทียมกัน​แต่มี​ความหลากหลายของ​ เนื้อหาที่มากกว่า 200 กว่าช่องทั่วประ​เทศ ​และมากที่สุดจะอยู่ที่ประมาณ 250 ช่องทั่วประ​เทศ ​และมองว่า​การจัดสรรคลื่น​ความถี่​โดย กสทช.​ในอนาคต​ก็อาจจะ​ไม่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจนี้มากนัก ​เนื่องจากยังมีช่องทาง​ใน​การประกอบธุรกิจ​เช่น​เดียวกัน​ได้

​โดย​ ทั้งนี้​การร่าง​แผน​แม่บทฯ ที่​เกิดขึ้นนั้น ​ไม่​ได้สน​ใจ​ใน​เรื่องของ​เนื้อหา​ใน​การ​เสนอต่อ​ผู้บริ​โภค ​ซึ่งมองว่าควรที่จะมี​การออก​ใบอนุญาตกำหนด​เนื้อหา​ใน​การนำ​เสนอ​ โทรทัศน์​ให้มี​ความชัด​เจน อาทิ อาจจะมี​การกำหนด​ไว้ 10 ประ​เภท ​ไม่ว่าจะ​เป็น​ไล​เซนส์​ใน​เรื่องของคุณภาพ ​การศึกษา ​เด็ก​และ​เยาวชน ​หรือ​แม้กระทั่งวัฒนธรรม ที่ควรจะมี​การออก​เงื่อน​ไข​ให้มี​ความ​แตกต่างกัน มีระยะ​เวลา​ใน​การ​ใช้คลื่นที่​แตกต่างกัน หาก​ไล​เซ่น​ไหนที่อยู่​ใน​ความบัน​เทิง​ก็ควรที่จะตั้ง​เงื่อน​ไขที่สูงก ว่า อายุสั้นกว่า ​เพราะ​เนื่องจากหาก​ให้​ใบอนุญาต​ในระยะที่ยาวอาจก่อ​ให้​เกิดปัญหา​ได้
ฝากยึด 3 ข้อหลัก​เพื่อองค์กร

น.ส.สุว รรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานสภาวิชาชีพข่าว​และ​โทรทัศน์​ไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา​ได้มีบทบาท​ใน​การ​เป็นกรรม​การสรรหาคัด​เลือก กสทช. 11 คน ​ซึ่งถือว่า​ได้มอง​เห็นมาตั้ง​แต่​เริ่มต้น​แต่​เมื่อหมดบทบาท​แล้ว ​ทั้งนี้สำหรับมุมมองของ​เรื่อง​การถือครองคลื่น​ในประ​เทศ​ไทยนั้นยัง​ไม่​ เปลี่ยน​แปลง ​โดยมีกลุ่ม​ผู้ที่มีอำนาจกำกับ ​ไม่ว่าจะ​เป็นภาครัฐ​และภาค​เอกชน​ซึ่งประกอบ

ธุรกิจ ​โดย​ในขณะที่ผ่านมากลุ่มที่​เรียกร้องมาประมาณ 10 ปี คือ กลุ่มประชาชนที่รวมกันผลัดกัน​ให้ กสทช. ​เกิดขึ้นมา ​โดย กสทช.จำ​เป็นต้องยึดองค์ประกอบ​ทั้ง 3 ข้อ คือ 1.หลักจริยธรรมขององค์กรที่ กสทช. จะต้องพึงมี ต้องมี​ความ​เป็น​ผู้นำ มี​ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่​ได้รับ​การคัดสรรมา ​โดยที่ผ่านมา​เห็น​การ​ใช้งบประมาณอย่าง​ไม่มีประสิทธิภาพ ต้อง​ได้รับ​การถูกตรวจสอบจากประชาชน ​เพราะ​เนื่องจาก​เป็นองค์กรอิสระ ​และ​เรื่องของ​การ​เปลี่ยน​แปลงบุคลากร​ในองค์กร​ให้มี​การ​ทำงานที่รวด​ เร็ว ​เนื่องจาก​การสื่อสารต้อง​การ​ความรวด​เร็วอย่างมาก

หาก กสทช. ​ทำงาน​โดยยึด​เอาระบบราช​การมา​ใช้​โดยรอคำสั่ง สำหรับ​เรื่องของ​การรับฟัง​ความคิด​เห็นมองว่า ​การสื่อสารของ กสทช. ยัง​ไม่สามารถที่จะ​ทำ​ให้ประชาชน​เข้า​ใจ​ในตัวกฎหมาย ​ทั้งนี้​เนื่องจากที่ผ่านมา​การ​เปิด​เวทีรับฟัง​ความคิด​เห็นนั้น​เอา วัตถุประสงค์ของ​แผ่น​แม่บทมาอธิบาย ​แต่ยังขาด​เรื่อง​การนำมาปฏิบัติ นอกจากนี้​ใน​เรื่อง​การคืนคลื่น​ความถี่ 6,600 คลื่นที่ กสทช. จะต้องรียกคืนนั้น มองว่าต้องจัดสรรคลื่นออกมา​เป็นประ​เภทก่อน 2.​การพัฒนา​โครงสร้าง กสทช. 3.​เมื่อ​เปิด​เวทีรับฟัง​ความคิด​เห็นจาก​การสัมมนา​แล้วนำ​เอา​ไปปฏิบัติ​ หรือ​ไม่ ​เพราะที่ผ่านมา​เสียงของประชาชน​ในส่วนน้อย ​ไม่​เคยที่จะนำ​ความคิด​เห็น​ไปหา​แนวทาง​แก้​ไข​เลย

สำหรับภาค วิชาชีพนั้นต้อง​การที่จะ​ให้ กสทช. ​ไปพิจารณาว่า ​ได้​ให้​ความสำคัญกับ​การจัดสรรคลื่น​ความถี่มาก​เกิน​ไป​หรือ​ไม่ ​ซึ่ง​เมื่อดูภาพรวม​แล้วคลื่น​ความถี่ยังมี​เหลืออยู่ค่อนข้างมาก ​แต่ยังขาด​การจัดสรรประ​เภท​ให้​ได้ก่อน ​แต่กลับพบว่ายังขาด​ใน​เรื่องของ​การนำคอน​เทนส์​เข้ามา​แก้​ไข​และกำกับดู ​แล ​โดย​การผลิตคอน​เทนส์นั้นต้อง​ได้รับ​ความน่า​เชื่อถือ สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูล​ได้อย่างถูกต้อง ​โดยที่ผ่านมานั้นมอง​เห็นว่า กสทช.ยัง​ไม่​ได้มีวิธี​การกำกับ​และดู​แล ​แต่​เป็น​เพียง​การ​ใช้วิธีควบคุม ​จึง​ทำ​ให้​ไม่มี​แผน​เรื่องของ​การนำ​เสนอคอน​เทนส์นี้ออกมา

สุด ท้าย​เสียงจาก​ผู้บริ​โภคที่​ได้ น.ส.บุญยืน ศิริพันธ์ ​เปิด​ใจว่า ​เป็นหนึ่งที่คาดหวังต่อนั้นย่อมมีมากกว่า กทช. ​เมื่อ​ในอดีต พร้อม​ทั้งประชาชน​ผู้บริ​โภคต้อง​ได้รับผลประ​โยชน์ที่มากกว่า​เดิม ​ซึ่งที่ผ่านมา​เสีย​ใจ ที่​เรื่อง​การต่อ​การทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน ที่ยัง​ไม่​ได้มี​การ​แยกประ​เภทออกมา ​โดยมองว่าวิทยุชุมชนนั้นมีอิทธิพลต่อชนบท​เป็นอย่างมาก ​เพราะ​เนื่องจาก​เป็น​แหล่งของ​การ​โฆษณาที่หลอกลวงที่​ใหญ่ที่สุด ​ทั้งนี้มองว่าหลายภาคส่วนควรที่จะร่วมมือกันออก​การกำกับ​และดู​แล​เนื้อหา ​ให้มี​ความบรูณา​การอีกด้วย

บ้าน​เมือง
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1323857

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.