Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ตุลาคม 2555(เกาะติดประมูล3G) กสทช. ( กลายเป็นนักเลงใหญ่ ) ชี้ ก.คลัง+สุภา+ดำเนินการที่ไม่เหมาะสมถึงก.คลังให้ตั้งกรรมการ//ไม่ต้องยึดระเบียบสำนักนายก

  ประเด็นหลัก

  "การกระทำของนางสาวสุภา และการอ้างอิงถึงคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าได้พิจารณาเรื่องนี้ด้วย ย่อมนำความเสื่อมเสียมาสู่คณะกรรมการที่ทรงคุณวุฒิหลายหน่วยงาน ที่ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำของนางสาวสุภา รวมถึงการอ้างว่าปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลังด้วยนั้น จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม และสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นกับสาธารณชนทั่วไป จึงขอให้ท่านพิจารณาดำเนินการกับนางสาวสุภา และขอให้นางสาวสุภารับผิดชอบต่อการกระทำที่เจตนาสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่นต่อไป" ตามเนื้อความในจดหมายจากเลขาธิการ กสทช.
      
       
ในจดหมาย นายฐากรระบุว่า กสทช. เป็นองค์กรของรัฐ ที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยความในมาตรา 47 ซึ่งบัญญัติให้ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
      
       
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และดำเนินการดังกล่าวต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มาตรา 45 ได้บัญญัติให้ ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาต ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกำหนด และเงินที่ได้จากการประมูลเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน กสทช. จึงเป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับของรัฐ และต้องดำเนินการการจัดสรรคลื่นความถี่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะเพื่อประโยชน์สาธารณะ
      
       
อีกทั้งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ดังนั้น การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลคลื่นความถี่ กสทช.จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์จัดสรรคลื่นความถี่ ฯ มาตรา 45 ดังกล่าว ซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์จะหารายได้เข้ารัฐเพียงประการเดียว แต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับจากการใช้ คลื่นความถี่เป็นหลักควบคู่กับประโยชน์ที่รัฐจะได้รับในจุดที่มีความสมดุล
      
       "
ดังนั้นวิธีการประมูลในครั้งนี้จึงได้กำหนดขั้นตอนและกระบวนการดำเนินการเป็นพิเศษโดยเฉพาะไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่แตกต่างกัน โดยการดำเนินการนี้สอดคล้องกับระบบสากลที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของต่างประเทศ"

“ อยากจะให้รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองก่อน โดยต้องดูว่าแต่ละหน่วยงานถือกฎหมายและระเบียบคนละฉบับ ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น หากกสทช.ไม่ทำหนังสือโต้กลับถือว่าเรายอมรับผิด หากจะมีหน่วยงานใดต้องการให้ไปชี้แจงก็ยินดี” นายฐากร กล่าว












  



_________________________________________________________________

“กสทช”ปัดฮั้วประมูล3จี แจงเป็นองค์กรอิสระไม่ต้องยึดระเบียบ 



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช.เตรียมออกประกาศหลักเกณฑ์กำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงใหม่ สำหรับการให้บริการภายใต้ใบอนุญาต 3 จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่จะต้องมีราคาถูกลงจากเดิม โดยเฉพาะค่าบริการเสียง ซึ่งปัจจุบันกสทช.กำหนดไว้ที่นาทีละ 99 สต.  ต้องลดลงกว่านี้ได้อีก
สำหรับค่าบริการดาต้า ซึ่งยังไม่เคยมีการกำหนดค่าบริการขั้นสูงมาก่อน เบื้องต้นจะคำนวณต้นทุนจากค่าไลเซ่นส์และเม้ด็ดเงินลงทุนโครงข่าย และจะออกประกาศก่อนที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายจะเริ่มเปิดให้บริการ  3 จี เพื่อให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจมากที่สุด 
ทั้งนี้ ผู้เข้าประมูลทั้ง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ดีแทค เนทเวอร์ค และ เรียล ฟิวเจอร์ ได้รับหนังสือแจ้งจากกสทช. อย่างเป็นทางการรับรองผลการประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนี้ สามารถจ่ายเงินค่าประมูลงวดแรก 50% ได้ทันที ซึ่งเมื่อผ่านการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) จะไ/ด้รับไลเซ่นส์อย่างเป็นทางการ
นายฐากร กล่าวว่า ประเด็นที่ น.ส.สุภา ปิยะจิตต รองปลัดกระทรวงการคลัง ส่งหนังสือถึงกสทช.ระบุว่าการประมูล  3 จี วันที่ 16 ต.ค. ไม่มีการแข่งขันด้านราคาตามการประมูลลแบบอีออกชั่นของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทาอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 และจะไม่รับรองผลการประมูล รวมถึงไม่รับเงินค่าไลเซ่นส์ที่กสทช.จะนำส่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกสทช. เนื่องจากกสทช.เป็นองค์กรอิสระ และดำเนินการจัดประมูลตาม พ.ร.บ.กสทช. ไม่ได้ขึ้นกับระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี
ขณะที่ผู้ให้บริการเอกชนทั้ง 3 ราย  ประกาศ เงินลงทุนโครงข่าย 3 จี ช่วง 3 ปีแรก รวมกัน 1.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น แอดวานซ์ ไวร์เลส  5 หมื่นล้านบาท  ดีแทค 4 หมื่นล้านบาท และ เรียล ฟิวเจอร์ 2 หมื่นล้านบาท  โดยสาเหตุที่เรียล ฟิวเจอร์ลงทุนน้อยที่สุด  เพราะจะเน้นลงทุนตามปริมาณการใช้งานของลูกค้ามากกว่าลงทุนทั้งประเทศ
นายชัยยศ จิรวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มลูกค้า บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค กล่าวว่า  ปัจจุบันค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนของดีแทคต่ำอยู่แล้วที่ 199 บาท แต่พร้อมปฏิบัติตามหลัเกณฑ์ของกสทช. หากมีการกำหนดค่าบริการขั้นสูง


 แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/26746

 









กสทช. ทำหนังสืออัดยับรองปลัดคลัง ยันประมูล 3G ไทย"เป็นสากล"ได้มาตรฐานโลก

นอกจากจะเมินคำเตือนจากรองปลัดคลังว่าการประมูลคลื่น 3G อาจเข้าข่ายพรบ.ฮั้ว กสทช.ยังทำหนังสืออัดกลับปลัดกระทรวงการคลัง ให้พิจารณาดำเนินการกับรองปลัดฯ แถมขอให้ตัวรองปลัดฯรับผิดชอบ"การกระทำที่เจตนาสร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น"เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ย้ำการดำเนินการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการประมูล 3G นี้สอดคล้องกับระบบสากลที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว ยืนยัน กสทช. กำลังเล็งออกประกาศคุมค่าบริการดาต้า-เสียง 3G โดยจะตั้งหลักเกณฑ์อัตราขั้นสูงด้านดาต้าขึ้นใหม่เพื่อให้คนไทยใช้งานไม่แพง ส่วนด้านเสียงจะปรับแก้ไขให้ต่ำกว่าราคา 99 สตางค์ที่ใช้อยู่ในขณะนี้
      
       
วันนี้ (19 ต.ค.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงปลัดกระทรวงการคลัง ขอให้พิจารณาการกระทำของนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งส่งหนังสือถึงประธาน กสทช. และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ถึงกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้วว่าการประมูล 3G ไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตามเจตนาการประมูล และอาจมีลักษณะสมยอมตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว)
      
       
ในจดหมายระบุว่า การที่รองปลัดกระทรวงการคลังมีหนังสือ-เผยแพร่-ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ล้วนทำให้ กสทช. ทุกส่วนได้รับความเสียหาย เนื่องจากทั้งหนังสือและข่าวล้วนผิดจากข้อเท็จจริง ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดว่า กสทช. ทำผิดกฎหมาย
      
       "
การกระทำของนางสาวสุภา และการอ้างอิงถึงคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าได้พิจารณาเรื่องนี้ด้วย ย่อมนำความเสื่อมเสียมาสู่คณะกรรมการที่ทรงคุณวุฒิหลายหน่วยงาน ที่ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำของนางสาวสุภา รวมถึงการอ้างว่าปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลังด้วยนั้น จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม และสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นกับสาธารณชนทั่วไป จึงขอให้ท่านพิจารณาดำเนินการกับนางสาวสุภา และขอให้นางสาวสุภารับผิดชอบต่อการกระทำที่เจตนาสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่นต่อไป" ตามเนื้อความในจดหมายจากเลขาธิการ กสทช.
      
       
ในจดหมาย นายฐากรระบุว่า กสทช. เป็นองค์กรของรัฐ ที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยความในมาตรา 47 ซึ่งบัญญัติให้ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
      
       
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และดำเนินการดังกล่าวต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มาตรา 45 ได้บัญญัติให้ ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาต ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกำหนด และเงินที่ได้จากการประมูลเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน กสทช. จึงเป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับของรัฐ และต้องดำเนินการการจัดสรรคลื่นความถี่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะเพื่อประโยชน์สาธารณะ
      
       
อีกทั้งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ดังนั้น การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลคลื่นความถี่ กสทช.จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์จัดสรรคลื่นความถี่ ฯ มาตรา 45 ดังกล่าว ซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์จะหารายได้เข้ารัฐเพียงประการเดียว แต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับจากการใช้คลื่นความถี่เป็นหลักควบคู่กับประโยชน์ที่รัฐจะได้รับในจุดที่มีความสมดุล
      
       "
ดังนั้นวิธีการประมูลในครั้งนี้จึงได้กำหนดขั้นตอนและกระบวนการดำเนินการเป็นพิเศษโดยเฉพาะไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่แตกต่างกัน โดยการดำเนินการนี้สอดคล้องกับระบบสากลที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของต่างประเทศ"
      
       ***
กสทช. เล็งออกประกาศคุมค่าบริการดาต้า-เสียง 3G***
      
       
ในขณะที่ยังไม่มีความเห็นจากปลัดกระทรวงการคลังต่อหนังสือจากเลขาธิการ กสทช. ฝ่าย กสทช. เดินหน้าเรียก 3 ผู้ประกอบการ "เอไอเอส-ดีแทค-ทรู" รับหนังสือแจ้งผลการประมูลพร้อมแจ้งยอดชำระเงินประมูลแล้ว คาดออกใบอนุญาตได้ภายใน 7 วันหลังเข้าบอร์ด กทค. โดยฐากรยืนยันเตรียมออกประกาศหลักเกณฑ์อัตราขั้นสูงด้านดาต้า ส่วนด้านเสียงจะปรับแก้ไขประกาศที่มีอยู่เดิม
      
       
รายงานข่าวแจ้งว่าวันนี้ (19ต.ค.) ภายหลังจากเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)ได้มีการลงมติเห็นชอบผลการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน 2.1 GHz 4 ต่อ 1 เสียง จากนั้นสำนักงาน กสทช.จึงได้มีการส่งหนังสือแจ้งผลการประมูลเพื่อให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายเข้ามารับหนังสือในวันนี้
      
       
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่าผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด, บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด และบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ได้มารับหนังสือแจ้งผลการประมูล พร้อมทั้งแจ้งยอดชำระค่าประมูลที่แต่ละรายต้องมาจ่ายให้กับ กสทช. ภายใน 90 วันหลังจากได้รับหนังสือแล้ว
      
       
โดยผู้ประกอบการทั้ง 3 รายจะต้องนำเงินจำนวน 50% ของเงินประมูลรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% รวมเป็นเงินทั้งหมด 22,269,375 ล้านบาทที่ต้องนำมาจ่ายให้กับสำนักงาน กสทช. ก่อนจะส่งต่อไปยังกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
      
       “
ทั้งนี้ ภายหลังจากผู้ประกอบการมาจ่ายเงินงวดแรกแล้ว สำนักงาน กสทช. จะนำเรื่องเข้าบอร์ด กทค. และหลังจากนั้นภายใน 7 วัน กสทช.จะสามารถออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการดังกล่าวได้
      
       
นอกจากนี้ นายฐากรให้ข้อมูลว่าล่าสุดคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.ได้มีการหารือที่จะออกประกาศหลักเกณฑ์กำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงในการให้บริการส่วนของดาต้า เพื่อเป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบการตั้งราคาค่าบริการไม่แพงจนเกินไปในอนาคต โดยเตรียมแก้ไขประกาศหลักเกณฑ์อัตราค่าบริการด้านเสียงขั้นสูงที่เดิม กสทช. กำหนดไว้จำนวน 99 สตางค์ให้ถูกลงมากกว่าปัจจุบัน
      
       “
เรามั่นใจว่าค่าบริการด้านดาต้าและเสียง จะต้องมีค่าบริการที่ถูกกว่าในปัจจุบันแน่นอน โดยในตอนนี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของกสทช.ที่จะเดินหน้าต่อไปหลังจากประมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว
      
       
ทั้งนี้ กสทช.จะใช้เกณฑ์ 2 ข้อในการคิดคำนวนอัตราค่าบริการที่จะออกเป็นประกาศ คือ 1.วงเงินการประมูลของทั้ง 3 รายและ 2.วงเงินที่ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายจะต้องนำไปลงทุน
      
       
ล่าสุด เอไอเอสเป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกที่นำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย กสทช. เป็นเงิน 7,824,375,000 บาท (ราว 7.825 พันล้านบาท) มาชำระ คาดว่าโอเปอเรเตอร์รายอื่นจะนำเงินประมูลมาชำระในเวลาต่อไป

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000128337


___________________________________________________________________


กสทช. ส่งหนังสือด่วนให้ ก.คลังลงโทษรองปลัดที่ระบุประมูล 3 จีมีปัญหา


วันนี้ (19 ต.ค.) เวลา 15.30 น. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ได้ทำหนังสือด่วนทื่สุด ที่ สทช. 5011/18583 ลงวันที่ 19 ตุลาคม ถึงปลัดกระทรวงการคลัง เรื่องขอให้พิจารณาการกระทำของ  นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง โดยมีความเห็นว่า การที่ นาวสาวสุภา มีหนังสือเผยแพร่และสัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ทำให้ กสทช. และ สำนักงาน กสทช. เสียหาย โดยมีความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดในข้อกฎหมาย ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจไปว่า กสทช. ทำผิดกฎหมาย ไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 ซึ่งเกิดความเสื่อมเสียต่อการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี 

โดย กสทช. ถือเป็นองค์กรของรัฐ ที่มีความอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 47  ดังนั้น การดำเนินการของ กสทช. จึงไม่ขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  การกระทำของนางสาวสุภา ได้มีการอ้างอิงถึง คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) ว่าได้พิจารณาเรื่องนี้ด้วย ย่อมนำความเสื่อมเสียมาสู่คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานที่ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นการกระทำของนางสาวสุภา รวมทั้งการอ้างว่า ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง เป็นการดำเนินการไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งหน้าที่ ก่อให้เกิดความเสียหาย

จึงขอให้พิจาณาดำเนินการกับนางสาวสุภา และขอให้รับผิดชอบต่อการกระทำที่เจตนาสร้างความเสียหายต่อผู้อื่น เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อผู้อื่นต่อไป 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การออกหนังสือด่วนดังกล่าว  ถือเป็นการตอบโต้ที่ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการระเบียบพัสดุจัดซื้อจัดจ้าง (คกพ.)กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ส่งหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ถึงประธาน กสทช. โดยอ้างถึงการประมูลไลเซ่นส์ 3 จี ไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และอาจมีลักษณะการสมยอมราคาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ที่จะส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล และคณะกรรมการ กสทช.อาจอยู่ในข่ายต้องรับผิดตามกฎหมาย


มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350638626&grpid=03&catid=03


____________________________________________

กสทช.ทำหนังสือถึงก.คลังให้ตั้งกรรมการสอบรองปลัดกระทรวง


วันนี้(19 ต.ค. ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เปิดเผยว่า ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดไปยังปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้พิจารณาการกระทำของ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง พร้อมขอให้ตั้งกรรมการสอบ เนื่องจากกสทช.ได้รับความเสียหายต่อการกระทำดังกล่าว

ทั้งนี้หนังสือด่วนที่สุดมีเนื้อหาระบุว่า ขอให้พิจารณาการกระทำของ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ที่ทำหนังสือดังกล่าว รวมถึงเผยแพร่และให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนหลายแขนงทำให้ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ได้รับความเสียหาย เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง และผิดพลาดในข้อกฎหมาย ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่า กสทช. และสำนักงาน กสทช. ทำผิดกฎหมาย เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ รวมถึงการที่ น.ส.สุภา อ้างว่าปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลังด้วยนั้นเป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ กสทช. และสำนักงาน กสทช. รวมถึงสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดกับประชาชนทั่วไป    
           
“ อยากจะให้รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองก่อน โดยต้องดูว่าแต่ละหน่วยงานถือกฎหมายและระเบียบคนละฉบับ ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น หากกสทช.ไม่ทำหนังสือโต้กลับถือว่าเรายอมรับผิด หากจะมีหน่วยงานใดต้องการให้ไปชี้แจงก็ยินดี” นายฐากร กล่าว


เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/161895

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.