Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 สิงหาคม 2555 ( ค่ายมือถือสุดแย่ ไม่ส่งใบทำลายเครื่องที่ไม่ได้รับมาตรฐาน ) กสทช.แจ้งดำเนินคดี 12 บ. เช่น โฟนวัน แมกซ์เทล ไฮโฟน ซิกโทน

( ค่ายมือถือสุดแย่ ไม่ส่งใบทำลายเครื่องที่ไม่ได้รับมาตรฐาน ) กสทช.แจ้งดำเนินคดี 12 บ. เช่น โฟนวัน แมกซ์เทล ไฮโฟน ซิกโทน


ประเด็นหลัก

เปิดเผยว่า กสทช. ได้ดำเนินการแจ้งความกับบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ 12 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท ออเทค มาเก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท ลอง เชียร์ คอมมิวเคชั่น จำกัด, บริษัท ไบโอเทค เทคโนโลยี จำกัด, บริษัท ไมโคเทเลตอม จำกัด, บริษัท คูล คอมพิวเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท ดีโมบาย (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ที.ซี.โมบาย เวิร์ค จำกัด, บริษัท ดีโมบาย จำกัด, บริษัท เบสคิงส์ จำกัด, บริษัท แอล บี แอล (2004), บริษัท สไมล์ โฟน (ประเทศไทย) จำกัด และนายอริยะ บุพศิริ เนื่องจากไม่ได้รายงานการถือครองโทรศัพท์มือถือว่าได้ทำลายหรือส่งออกนอก ประเทศ หลังกสทช. ได้ออกประกาศเรื่องการเพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ 280 รุ่นที่ต้องชี้แจ้งกสทช. ภายใน 30 วัน



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมแจ้งความดำเนินคดีกับ 12 บริษัท ผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่ไม่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากโรงงาน และใช้เอกสารปลอมมาแสดงกับ กสทช. เพื่อนำเข้ามือถือมาจำหน่ายในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่ได้รายงานการครอบครอง หรือส่งเอกสารเพิ่มเติม หลังจาก กสทช.ได้มีคำสั่งทางปกครองเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2555 ที่ผ่านมา เพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 280 รุ่น จาก 27 เนื่องจากตรวจพบการใช้รายงานผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการทดสอบของต่าง ประเทศที่ ไม่ได้ออกโดยห้องปฏิบัติการทดสอบของต่างประเทศ รวมทั้งการปลอมแปลง หรือแก้ไข เปลี่ยนแปลง ลดทอน แต่งเติมเนื้อหาข้อมูลในรายงานผลการทดสอบให้ผิดแผกจากต้นฉบับ โดย กสทช.มีคำสั่งให้นำออกหรือทำลายทิ้งภายใน 30 วัน

สำหรับรายชื่อมือ ถือที่ใช้เอกสารปลอมคือ โฟนวัน แมกซ์เทล ไฮโฟน ซิกโทน มาสเตอร์ ไอลิงค์ เบสคิงส์ ไอโนโว จากทั้งหมด 12 บริษัท ประกอบด้วย นายอริยะ บุพศิริ ในนามโฟนวัน บริษัท ออลเทค มาเก็ตติ้ง บริษัท ลอง เชียร์ คอมมูนิเคชั่น บริษัท ไอโอเทค เทคโนโลยี บริษัท คูล คอมพิวเตอร์ บริษัท ดี โมบาย บริษัท ไมโครเทลคอม บริษัท ที.ซี.โมบายโฟน บริษัท เอ.โมบายเวิลด์ บริษัท แอลบี แอล (2004) บริษัท เบสคิงส์ และบริษัท สไมล์โฟน

_________________________________________

เอาจริง! กสทช.แจ้งดำเนินคดี 12 บริษัทมือถือไร้มาตรฐาน

ครบ 30 วัน กสทช.ไม่ได้ขู่ เตรียมแจ้งจับ 12 บริษัท ที่ไม่ได้ส่งเอกสารรายงาน คำสั่งทำลายทิ้งมือถือปลอมไร้มาตรฐานรับรองจากโรงงานผลิต หลังส่อเจตนาเข้ากลีบเมฆ ขณะที่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการเดินสายวางท่อติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในเขต กทม.และปริมณฑลแล้ว...

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมแจ้งความดำเนินคดีกับ 12 บริษัท ผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่ไม่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากโรงงาน และใช้เอกสารปลอมมาแสดงกับ กสทช. เพื่อนำเข้ามือถือมาจำหน่ายในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่ได้รายงานการครอบครอง หรือส่งเอกสารเพิ่มเติม หลังจาก กสทช.ได้มีคำสั่งทางปกครองเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2555 ที่ผ่านมา เพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 280 รุ่น จาก 27 เนื่องจากตรวจพบการใช้รายงานผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการทดสอบของต่าง ประเทศที่ ไม่ได้ออกโดยห้องปฏิบัติการทดสอบของต่างประเทศ รวมทั้งการปลอมแปลง หรือแก้ไข เปลี่ยนแปลง ลดทอน แต่งเติมเนื้อหาข้อมูลในรายงานผลการทดสอบให้ผิดแผกจากต้นฉบับ โดย กสทช.มีคำสั่งให้นำออกหรือทำลายทิ้งภายใน 30 วัน

เลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ทั้ง 12 บริษัทจงใจที่จะหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติคำสั่งของ กสทช. โดยไม่ติดต่อหรือเข้ามาพบเพื่อชี้แจงว่ามีมือถือในครอบครองกี่รุ่น และได้ดำเนินการแก้ไขอย่างไรบ้าง ซึ่งคดีนี้จะต้องถูกระวางโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี ปรับ 1,000-1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่ 15 บริษัทที่เหลือได้เข้าพบและปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น บริษัทมีเดีย อินฟินิตี้ ผู้ผลิตและจำหน่ายมือถือแบรนด์ อาม่า ก็ยุติการจำหน่ายรุ่นที่ไม่ได้มาตรฐานเรียบร้อยแล้ว

สำหรับรายชื่อ มือถือที่ใช้เอกสารปลอมคือ โฟนวัน แมกซ์เทล ไฮโฟน ซิกโทน มาสเตอร์ ไอลิงค์ เบสคิงส์ ไอโนโว จากทั้งหมด 12 บริษัท ประกอบด้วย นายอริยะ บุพศิริ ในนามโฟนวัน บริษัท ออลเทค มาเก็ตติ้ง บริษัท ลอง เชียร์ คอมมูนิเคชั่น บริษัท ไอโอเทค เทคโนโลยี บริษัท คูล คอมพิวเตอร์ บริษัท ดี โมบาย บริษัท ไมโครเทลคอม บริษัท ที.ซี.โมบายโฟน บริษัท เอ.โมบายเวิลด์ บริษัท แอลบี แอล (2004) บริษัท เบสคิงส์ และบริษัท สไมล์โฟน

ส่วนเรื่องการจัด ระเบียบภูมิทัศน์ในการเดินสายวางท่อติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในเขต กทม.และปริมณฑล ขณะนี้ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาว่าจุดใดบ้างที่ควรจะนำสายอุปกรณ์สื่อสารลงดิน หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่เสาโครงข่ายล้ม และทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ.


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/284895

___________________________________


กสทช.แจ้งความดำเนินคดี 12 บริษัทมือถือ หลบการถือครอง โทษสูงสุดจำคุก 5 ปี ปรับ 1 หมื่นบาท




วัน ที่ 20 ส.ค. ที่สำนักงานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า กสทช. ได้ดำเนินการแจ้งความกับบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ 12 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท ออเทค มาเก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท ลอง เชียร์ คอมมิวเคชั่น จำกัด, บริษัท ไบโอเทค เทคโนโลยี จำกัด, บริษัท ไมโคเทเลตอม จำกัด, บริษัท คูล คอมพิวเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท ดีโมบาย (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ที.ซี.โมบาย เวิร์ค จำกัด, บริษัท ดีโมบาย จำกัด, บริษัท เบสคิงส์ จำกัด, บริษัท แอล บี แอล (2004), บริษัท สไมล์ โฟน (ประเทศไทย) จำกัด และนายอริยะ บุพศิริ เนื่องจากไม่ได้รายงานการถือครองโทรศัพท์มือถือว่าได้ทำลายหรือส่งออกนอก ประเทศ หลังกสทช. ได้ออกประกาศเรื่องการเพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ 280 รุ่นที่ต้องชี้แจ้งกสทช. ภายใน 30 วัน

ทั้งนี้ การแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าว นายฐากร กล่าวว่า กสทช. ได้ทำตามกระบวนการกฎหมาย เนื่องจากเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา กสทช. มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทผู้ลิตและนำเข้าโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 27 บริษัท แต่มีเพียง 15 บริษัท ที่รายงานและส่งเอกสารเข้ามาชี้แจ้ง ซึ่งขณะนี้กสทช. อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ก่อนจะพิจาณาว่าจะดำเนินคดีต่อหรือไม่ เพราะการยื่นเอกสารเท็จเรื่องการนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคม มีโทษระวางตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี ปรับ 1,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345445723&grpid=03&catid=03

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.