21 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) ชี้ อธิการบดีพระจอมเกล้าชี้ ( 3Gใกล้หมดยุค ) ผมกล้าท้าว่าถ้าจุฬาฯมีเงินเป็นหมื่นล้าน ก็ไม่กล้ามาลงทุน
ประเด็นหลัก
“ถ้าเอาราคาเดิมเมื่อสิบปีก่อนมาเปรียบเทียบแล้วใช้ราคาตั้งต้นเป็นหมื่นล้านบาท ผมมั่นใจว่านักธุรกิจไม่ลงทุนประมูลแน่ เพราะเทคโนโลยีกำลังจะล้าสมัย ถ้าอ้างข้อมูลคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คำนวณราคาตั้งต้น6พันล้านบาท ผมกล้าท้าว่าถ้าจุฬาฯมีเงินเป็นหมื่นล้าน ก็ไม่กล้ามาลงทุนประมูลในราคาตั้งต้นสูงขนาดนั้นอย่างแน่นอน”
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังกล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้ภายในปี 2558 หรือ 3 ปีจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ LTE (Long Term Evolution)หรือ 4 จีจะเริ่มให้บริการแล้ว ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมุ่งหน้าไปสู่คลื่นใหม่ 4 จี
“ฉะนั้นคลื่น 3 จีที่ไทยนำออกประมูลวันนี้ เอกชนที่ได้ไปต้องรีบเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ภายใน 3-4 ปีนี้ให้ได้เท่านั้นหากคืนทุนไม่ได้ก็เจ๊งเข้าเนื้อแน่นอน ผมไม่แปลกใจทำไมค่ายมือถือต่าง ๆ ถึงไม่อยากเสนอราคาประมูล”
การประมูลครั้งนี้ ผมเห็นว่า รัฐได้ประโยชน์ไปแล้ว ได้เงินจากการประมูล และราคาประมูลไม่ได้ต่ำกว่าที่กสทช.กำหนดไว้
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล ให้ความเห็นกรณีที่เครือข่าย และองค์กรต่าง ๆ ออกมาโจมตีการประมูล 3 จีของกสทช.ไม่โปร่งใส มีการฮั้วประมูลว่า ทุกฝ่ายกำลังหลงทาง เพราะมุ่งแต่จะตั้งราคาประมูลค่าคลื่นสูงเข้าไว้ ไม่ดูผลกระทบที่จะตามมา ทั้งที่ควรพิจารณาเร่งรัดให้ผู้ประกอบการลงทุนสร้าง และขยายเครือข่าย 3 จีให้ครอบคลุมทั้งประเทศซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
“เรื่องฮั้วประมูลหรือไม่ โปร่งใสหรือไม่ กสทช.คงทำอะไรไปได้ไม่มากกว่านี้ เพราะกฎหมายจัดตั้ง กสทช.กำหนดให้ใช้วิธีการประมูล ทั้งที่ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไปไม่ได้เป็นวิธีที่จะไม่ให้เกิดการฮั้วประมูลได้ไม่ว่าจะออกแบบอย่างไร หรือไปตั้งราคาสูงเท่าไรเพราะหากเอกชนจะฮั้วประมูลกันจริงแค่เจับมือกันตั้งเพดานราคาประมูลสูงเกินกว่า 5,000 ล้านบาทแล้วไม่เสนอราคา กสทช.จะทำอะไรได้ สุดท้ายคนไทยนั่นแหละจะสูญเสียประโยชน์ และหากท้ายที่สุดแล้ว ไม่สามารถผลักดันมือถือ 3 จีครั้งนี้ได้ไม่เพียงแต่ประเทศไทยจะไม่มี 3 จีใช้เท่านั้น การประมูลคลื่น 4 จีและ 5 จีในอนาคตก็คงไม่เกิดขึ้นอีก”
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลกล่าว กล่าวด้วยว่า ในต่างประเทศนั้น การจัดสรรคลื่น 3 จีส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้วิธีประมูล แต่จัดสรรตรงไปยังผู้ประกอบการรายเดิมเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเร่งพัฒนาและขยายเครือข่ายให้มากที่สุด ไม่ว่าจะจีน ญี่ปุ่น หรือเวียดนามที่ต่างจัดสรรคลื่นโดยไม่ประมูลทั้งสิ้น เพราะรัฐบาลต้องการให้เอกชนแข่งขันพัฒนาคุณภาพและเครือข่าย ผู้ประกอบการขยายเครือข่ายได้กว้างและครอบคลุมประชาชนยิ่งได้ประโยชน์
____________________________________
อธิการบดี"สจล." เผย3จีใกล้หมดยุคราคาลดเหลือแค่30% ถ้าประมูลล้ม รัฐ-ประชาชนเสียประโยชน์
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล พึ่งมา อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ให้สัมภาษณ์”มติชนออนไลน์”ว่า การประมูลคลื่น 3จี ครั้งนี้ มีคนนำไปเปรียบเทียบกสทช. ได้เงินประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.8เปอร์เซ็นต์ หรือรวมราคาประมูลใบอนุญาตทั้ง 9ใบแล้ว เพียง4.4หมื่นล้านบาทเท่านั้น ว่า ถ้ากสทช.กำหนดราคาสูงกว่า 4,500ล้านบาทต่อหนึ่งสล็อต(ชุดคลื่นความถี่ 5เมกกะเฮิร์ตซ์) บริษัทไม่เข้าร่วมประมูลแน่เพราะแพงเกินไป เนื่องจากเทคโนโลยี คลื่น 3จี ประเทศเพื่อนบ้านนำมาใช้เป็นสิบปีแล้ว ขณะนี้ราคาลดเหลือแค่ 30เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
“ถ้าเอาราคาเดิมเมื่อสิบปีก่อนมาเปรียบเทียบแล้วใช้ราคาตั้งต้นเป็นหมื่นล้านบาท ผมมั่นใจว่านักธุรกิจไม่ลงทุนประมูลแน่ เพราะเทคโนโลยีกำลังจะล้าสมัย ถ้าอ้างข้อมูลคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คำนวณราคาตั้งต้น6พันล้านบาท ผมกล้าท้าว่าถ้าจุฬาฯมีเงินเป็นหมื่นล้าน ก็ไม่กล้ามาลงทุนประมูลในราคาตั้งต้นสูงขนาดนั้นอย่างแน่นอน”
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังกล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้ภายในปี 2558 หรือ 3 ปีจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ LTE (Long Term Evolution)หรือ 4 จีจะเริ่มให้บริการแล้ว ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมุ่งหน้าไปสู่คลื่นใหม่ 4 จี
“ฉะนั้นคลื่น 3 จีที่ไทยนำออกประมูลวันนี้ เอกชนที่ได้ไปต้องรีบเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ภายใน 3-4 ปีนี้ให้ได้เท่านั้นหากคืนทุนไม่ได้ก็เจ๊งเข้าเนื้อแน่นอน ผมไม่แปลกใจทำไมค่ายมือถือต่าง ๆ ถึงไม่อยากเสนอราคาประมูล”
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเห็นอย่างไรกับกรณีที่ระบุการประมูล3จี ทำให้รัฐและประชาชนเสียประโยชน์เป็นหมื่นล้านบาท ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลกล่าวว่า ถ้าไม่มีการประมูลเกิดขึ้น หรือล้มประมูล ประชาชนและรัฐจะเกิดความเสียหายมากกว่า อย่างน้อยๆ เป็นร้อยล้านบาทต่อวัน
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลกล่าวว่า เมื่อบริษัทประมูลคลื่น3จีเสร็จแล้ว จะต้องลงทุนโครงข่ายรับส่งสัญญาณ และต้องหาลูกค้าให้ได้มากที่สุดเพื่อให้เกิดการคุ้มทุน คาดผู้ลงทุนแต่ละรายต้องมีลูกค้า 20ล้านคน
ลูกค้าแต่ละคนเฉลี่ยใช้โทรศัพท์วันละ 20บาท บริษัทจะได้รายได้400ล้านบาท รัฐจะเก็บค่าภาษี กสทช.จะเก็บค่าบริษัท 6.5เปอร์เซ็นต์
ถ้าลูกค้าของ3บริษัท ใช้โทรศัพท์เฉลี่ย 20บาทต่อวัน จะมีเงินรายได้ 1,200ล้านบาท กสทช.จะได้เงินค่าบริการต่อวัน 6.5ล้านบาท ยังมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือแวตอีก 7เปอร์เซ็นต์
ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีคลื่น 3จี บริษัทไม่เข้าร่วมประมูลเพราะราคาแพงไป ลูกค้าที่ใช้บริการจะลดลง อาจแค่ 10ล้านคน จะทำให้รายได้ของรัฐหายไป ประชาชนเสียประโยชน์เพราะไม่ได้ใช้บริการเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูงกว่า ตรงนี้คือความเสียหาย ผมว่า ทุกฝ่ายควรจะคิดให้ครบวงจร ไม่ใช่มองเฉพาะเงินที่ได้จากการประมูลเท่านั้น
การประมูลครั้งนี้ ผมเห็นว่า รัฐได้ประโยชน์ไปแล้ว ได้เงินจากการประมูล และราคาประมูลไม่ได้ต่ำกว่าที่กสทช.กำหนดไว้
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล ให้ความเห็นกรณีที่เครือข่าย และองค์กรต่าง ๆ ออกมาโจมตีการประมูล 3 จีของกสทช.ไม่โปร่งใส มีการฮั้วประมูลว่า ทุกฝ่ายกำลังหลงทาง เพราะมุ่งแต่จะตั้งราคาประมูลค่าคลื่นสูงเข้าไว้ ไม่ดูผลกระทบที่จะตามมา ทั้งที่ควรพิจารณาเร่งรัดให้ผู้ประกอบการลงทุนสร้าง และขยายเครือข่าย 3 จีให้ครอบคลุมทั้งประเทศซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
“เรื่องฮั้วประมูลหรือไม่ โปร่งใสหรือไม่ กสทช.คงทำอะไรไปได้ไม่มากกว่านี้ เพราะกฎหมายจัดตั้ง กสทช.กำหนดให้ใช้วิธีการประมูล ทั้งที่ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไปไม่ได้เป็นวิธีที่จะไม่ให้เกิดการฮั้วประมูลได้ไม่ว่าจะออกแบบอย่างไร หรือไปตั้งราคาสูงเท่าไรเพราะหากเอกชนจะฮั้วประมูลกันจริงแค่เจับมือกันตั้งเพดานราคาประมูลสูงเกินกว่า 5,000 ล้านบาทแล้วไม่เสนอราคา กสทช.จะทำอะไรได้ สุดท้ายคนไทยนั่นแหละจะสูญเสียประโยชน์ และหากท้ายที่สุดแล้ว ไม่สามารถผลักดันมือถือ 3 จีครั้งนี้ได้ไม่เพียงแต่ประเทศไทยจะไม่มี 3 จีใช้เท่านั้น การประมูลคลื่น 4 จีและ 5 จีในอนาคตก็คงไม่เกิดขึ้นอีก”
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลกล่าว กล่าวด้วยว่า ในต่างประเทศนั้น การจัดสรรคลื่น 3 จีส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้วิธีประมูล แต่จัดสรรตรงไปยังผู้ประกอบการรายเดิมเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเร่งพัฒนาและขยายเครือข่ายให้มากที่สุด ไม่ว่าจะจีน ญี่ปุ่น หรือเวียดนามที่ต่างจัดสรรคลื่นโดยไม่ประมูลทั้งสิ้น เพราะรัฐบาลต้องการให้เอกชนแข่งขันพัฒนาคุณภาพและเครือข่าย ผู้ประกอบการขยายเครือข่ายได้กว้างและครอบคลุมประชาชนยิ่งได้ประโยชน์
มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350808744&grpid=00&catid=&subcatid=
“ถ้าเอาราคาเดิมเมื่อสิบปีก่อนมาเปรียบเทียบแล้วใช้ราคาตั้งต้นเป็นหมื่นล้านบาท ผมมั่นใจว่านักธุรกิจไม่ลงทุนประมูลแน่ เพราะเทคโนโลยีกำลังจะล้าสมัย ถ้าอ้างข้อมูลคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คำนวณราคาตั้งต้น6พันล้านบาท ผมกล้าท้าว่าถ้าจุฬาฯมีเงินเป็นหมื่นล้าน ก็ไม่กล้ามาลงทุนประมูลในราคาตั้งต้นสูงขนาดนั้นอย่างแน่นอน”
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังกล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้ภายในปี 2558 หรือ 3 ปีจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ LTE (Long Term Evolution)หรือ 4 จีจะเริ่มให้บริการแล้ว ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมุ่งหน้าไปสู่คลื่นใหม่ 4 จี
“ฉะนั้นคลื่น 3 จีที่ไทยนำออกประมูลวันนี้ เอกชนที่ได้ไปต้องรีบเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ภายใน 3-4 ปีนี้ให้ได้เท่านั้นหากคืนทุนไม่ได้ก็เจ๊งเข้าเนื้อแน่นอน ผมไม่แปลกใจทำไมค่ายมือถือต่าง ๆ ถึงไม่อยากเสนอราคาประมูล”
การประมูลครั้งนี้ ผมเห็นว่า รัฐได้ประโยชน์ไปแล้ว ได้เงินจากการประมูล และราคาประมูลไม่ได้ต่ำกว่าที่กสทช.กำหนดไว้
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล ให้ความเห็นกรณีที่เครือข่าย และองค์กรต่าง ๆ ออกมาโจมตีการประมูล 3 จีของกสทช.ไม่โปร่งใส มีการฮั้วประมูลว่า ทุกฝ่ายกำลังหลงทาง เพราะมุ่งแต่จะตั้งราคาประมูลค่าคลื่นสูงเข้าไว้ ไม่ดูผลกระทบที่จะตามมา ทั้งที่ควรพิจารณาเร่งรัดให้ผู้ประกอบการลงทุนสร้าง และขยายเครือข่าย 3 จีให้ครอบคลุมทั้งประเทศซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
“เรื่องฮั้วประมูลหรือไม่ โปร่งใสหรือไม่ กสทช.คงทำอะไรไปได้ไม่มากกว่านี้ เพราะกฎหมายจัดตั้ง กสทช.กำหนดให้ใช้วิธีการประมูล ทั้งที่ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไปไม่ได้เป็นวิธีที่จะไม่ให้เกิดการฮั้วประมูลได้ไม่ว่าจะออกแบบอย่างไร หรือไปตั้งราคาสูงเท่าไรเพราะหากเอกชนจะฮั้วประมูลกันจริงแค่เจับมือกันตั้งเพดานราคาประมูลสูงเกินกว่า 5,000 ล้านบาทแล้วไม่เสนอราคา กสทช.จะทำอะไรได้ สุดท้ายคนไทยนั่นแหละจะสูญเสียประโยชน์ และหากท้ายที่สุดแล้ว ไม่สามารถผลักดันมือถือ 3 จีครั้งนี้ได้ไม่เพียงแต่ประเทศไทยจะไม่มี 3 จีใช้เท่านั้น การประมูลคลื่น 4 จีและ 5 จีในอนาคตก็คงไม่เกิดขึ้นอีก”
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลกล่าว กล่าวด้วยว่า ในต่างประเทศนั้น การจัดสรรคลื่น 3 จีส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้วิธีประมูล แต่จัดสรรตรงไปยังผู้ประกอบการรายเดิมเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเร่งพัฒนาและขยายเครือข่ายให้มากที่สุด ไม่ว่าจะจีน ญี่ปุ่น หรือเวียดนามที่ต่างจัดสรรคลื่นโดยไม่ประมูลทั้งสิ้น เพราะรัฐบาลต้องการให้เอกชนแข่งขันพัฒนาคุณภาพและเครือข่าย ผู้ประกอบการขยายเครือข่ายได้กว้างและครอบคลุมประชาชนยิ่งได้ประโยชน์
____________________________________
อธิการบดี"สจล." เผย3จีใกล้หมดยุคราคาลดเหลือแค่30% ถ้าประมูลล้ม รัฐ-ประชาชนเสียประโยชน์
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล พึ่งมา อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ให้สัมภาษณ์”มติชนออนไลน์”ว่า การประมูลคลื่น 3จี ครั้งนี้ มีคนนำไปเปรียบเทียบกสทช. ได้เงินประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.8เปอร์เซ็นต์ หรือรวมราคาประมูลใบอนุญาตทั้ง 9ใบแล้ว เพียง4.4หมื่นล้านบาทเท่านั้น ว่า ถ้ากสทช.กำหนดราคาสูงกว่า 4,500ล้านบาทต่อหนึ่งสล็อต(ชุดคลื่นความถี่ 5เมกกะเฮิร์ตซ์) บริษัทไม่เข้าร่วมประมูลแน่เพราะแพงเกินไป เนื่องจากเทคโนโลยี คลื่น 3จี ประเทศเพื่อนบ้านนำมาใช้เป็นสิบปีแล้ว ขณะนี้ราคาลดเหลือแค่ 30เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
“ถ้าเอาราคาเดิมเมื่อสิบปีก่อนมาเปรียบเทียบแล้วใช้ราคาตั้งต้นเป็นหมื่นล้านบาท ผมมั่นใจว่านักธุรกิจไม่ลงทุนประมูลแน่ เพราะเทคโนโลยีกำลังจะล้าสมัย ถ้าอ้างข้อมูลคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คำนวณราคาตั้งต้น6พันล้านบาท ผมกล้าท้าว่าถ้าจุฬาฯมีเงินเป็นหมื่นล้าน ก็ไม่กล้ามาลงทุนประมูลในราคาตั้งต้นสูงขนาดนั้นอย่างแน่นอน”
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังกล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้ภายในปี 2558 หรือ 3 ปีจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ LTE (Long Term Evolution)หรือ 4 จีจะเริ่มให้บริการแล้ว ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมุ่งหน้าไปสู่คลื่นใหม่ 4 จี
“ฉะนั้นคลื่น 3 จีที่ไทยนำออกประมูลวันนี้ เอกชนที่ได้ไปต้องรีบเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ภายใน 3-4 ปีนี้ให้ได้เท่านั้นหากคืนทุนไม่ได้ก็เจ๊งเข้าเนื้อแน่นอน ผมไม่แปลกใจทำไมค่ายมือถือต่าง ๆ ถึงไม่อยากเสนอราคาประมูล”
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเห็นอย่างไรกับกรณีที่ระบุการประมูล3จี ทำให้รัฐและประชาชนเสียประโยชน์เป็นหมื่นล้านบาท ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลกล่าวว่า ถ้าไม่มีการประมูลเกิดขึ้น หรือล้มประมูล ประชาชนและรัฐจะเกิดความเสียหายมากกว่า อย่างน้อยๆ เป็นร้อยล้านบาทต่อวัน
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลกล่าวว่า เมื่อบริษัทประมูลคลื่น3จีเสร็จแล้ว จะต้องลงทุนโครงข่ายรับส่งสัญญาณ และต้องหาลูกค้าให้ได้มากที่สุดเพื่อให้เกิดการคุ้มทุน คาดผู้ลงทุนแต่ละรายต้องมีลูกค้า 20ล้านคน
ลูกค้าแต่ละคนเฉลี่ยใช้โทรศัพท์วันละ 20บาท บริษัทจะได้รายได้400ล้านบาท รัฐจะเก็บค่าภาษี กสทช.จะเก็บค่าบริษัท 6.5เปอร์เซ็นต์
ถ้าลูกค้าของ3บริษัท ใช้โทรศัพท์เฉลี่ย 20บาทต่อวัน จะมีเงินรายได้ 1,200ล้านบาท กสทช.จะได้เงินค่าบริการต่อวัน 6.5ล้านบาท ยังมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือแวตอีก 7เปอร์เซ็นต์
ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีคลื่น 3จี บริษัทไม่เข้าร่วมประมูลเพราะราคาแพงไป ลูกค้าที่ใช้บริการจะลดลง อาจแค่ 10ล้านคน จะทำให้รายได้ของรัฐหายไป ประชาชนเสียประโยชน์เพราะไม่ได้ใช้บริการเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูงกว่า ตรงนี้คือความเสียหาย ผมว่า ทุกฝ่ายควรจะคิดให้ครบวงจร ไม่ใช่มองเฉพาะเงินที่ได้จากการประมูลเท่านั้น
การประมูลครั้งนี้ ผมเห็นว่า รัฐได้ประโยชน์ไปแล้ว ได้เงินจากการประมูล และราคาประมูลไม่ได้ต่ำกว่าที่กสทช.กำหนดไว้
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล ให้ความเห็นกรณีที่เครือข่าย และองค์กรต่าง ๆ ออกมาโจมตีการประมูล 3 จีของกสทช.ไม่โปร่งใส มีการฮั้วประมูลว่า ทุกฝ่ายกำลังหลงทาง เพราะมุ่งแต่จะตั้งราคาประมูลค่าคลื่นสูงเข้าไว้ ไม่ดูผลกระทบที่จะตามมา ทั้งที่ควรพิจารณาเร่งรัดให้ผู้ประกอบการลงทุนสร้าง และขยายเครือข่าย 3 จีให้ครอบคลุมทั้งประเทศซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
“เรื่องฮั้วประมูลหรือไม่ โปร่งใสหรือไม่ กสทช.คงทำอะไรไปได้ไม่มากกว่านี้ เพราะกฎหมายจัดตั้ง กสทช.กำหนดให้ใช้วิธีการประมูล ทั้งที่ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไปไม่ได้เป็นวิธีที่จะไม่ให้เกิดการฮั้วประมูลได้ไม่ว่าจะออกแบบอย่างไร หรือไปตั้งราคาสูงเท่าไรเพราะหากเอกชนจะฮั้วประมูลกันจริงแค่เจับมือกันตั้งเพดานราคาประมูลสูงเกินกว่า 5,000 ล้านบาทแล้วไม่เสนอราคา กสทช.จะทำอะไรได้ สุดท้ายคนไทยนั่นแหละจะสูญเสียประโยชน์ และหากท้ายที่สุดแล้ว ไม่สามารถผลักดันมือถือ 3 จีครั้งนี้ได้ไม่เพียงแต่ประเทศไทยจะไม่มี 3 จีใช้เท่านั้น การประมูลคลื่น 4 จีและ 5 จีในอนาคตก็คงไม่เกิดขึ้นอีก”
ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลกล่าว กล่าวด้วยว่า ในต่างประเทศนั้น การจัดสรรคลื่น 3 จีส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้วิธีประมูล แต่จัดสรรตรงไปยังผู้ประกอบการรายเดิมเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเร่งพัฒนาและขยายเครือข่ายให้มากที่สุด ไม่ว่าจะจีน ญี่ปุ่น หรือเวียดนามที่ต่างจัดสรรคลื่นโดยไม่ประมูลทั้งสิ้น เพราะรัฐบาลต้องการให้เอกชนแข่งขันพัฒนาคุณภาพและเครือข่าย ผู้ประกอบการขยายเครือข่ายได้กว้างและครอบคลุมประชาชนยิ่งได้ประโยชน์
มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350808744&grpid=00&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น: