22 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) (ฝั่ง สว.)รสนา รัฐเสียสูง//คำนูณยกย่อง สุภารองปลัดฯรักษาผลประโยชน์ชาติ//ไพบูลย์เรียกร้องยกเลิกประมูล
ประเด็นหลัก
"คำนูณ" ยกย่อง "สุภา" รองปลัดฯคลังรักษาผลประโยชน์ชาติ ค้านประมูล 3 จี ระบุเป็นแบบอย่างข้าราชการไทยที่นับวันหาได้ยาก ด้าน "ไพบูลย์" เรียกร้อง กสทช.ประชุมยกเลิกประมูล เหตุทำผิด พ.ร.บ.ฮั้ว ชัดเจน
อย่างไรก็ตามขอแสดงความชื่นชม นางสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงคลัง และประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็คทรอนิคส์ ที่ได้ทำหนังสือคัดค้านการประมูลดังกล่าวว่าอาจส่อว่าจะขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว ต้องถือว่าท่านเป็นข้าราชการที่นับวันจะหาได้ยาก เป็นคนที่ตรงไปตรงมาได้ชื่อว่าเป็นมือปราบไม้บรรทัด แต่ตลอดอายุราชการของท่านไม่เคยได้เป็นอธิบดีและกว่าจะได้เป็นรองปลัดกระทรวงถือว่าหวุดหวิดเฉียดฉิว ดังนั้นจึงขอชื่นชมและขอให้ข้าราชการประเทศไทยโดยเฉพาะกระทรวงการคลังถือเป็นแบบอย่างเพราะมีอีกหลายเรื่องที่รัฐหรือกระทรวงการคลังได้ค่าตอบแทนจากทรัพยากรของชาติน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือควรจะได้เรียกคืนทรัพย์ของชาติกลับคืนมา
ด้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะ ประธานอนุกรรมาธิการกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม วุฒิสภา กล่าวว่า จากการตรวจสอบการฮั้วประมูล 3 จี ในเบื้องต้นพบว่าอาจจะมีการกระทำผิดจริงและทำให้รัฐขาดรายได้ 1.6 หมื่นล้านบาทเพราะรัฐควรได้รับ 5.8 หมื่นล้านบาทแต่ปรากฏว่ามีการกระทำบางประการทำให้ได้เพียง 4.2 หมื่นล้านบาท
ด้าน นายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการที่รัฐเสียรายได้กว่า 1 หมื่นหกพันล้านบาทนั้นแม้ว่าคนไทยจะต้องการใช้ระบบ 3 จี แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและประโยชน์ที่คนทั้งประเทศจะได้รับเป็นที่ตั้ง มากกว่าประโยชน์ที่จะไปตกกับผู้ประกอบการเอกชน อีกทั้งพฤติกรรมของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ก็มีลักษณะเร่งรีบให้การประมูลเสร็จสิ้นภายในสองวัน ซึ่งเป็นเหตุผิดปกติทั้งที่กฎหมายระบุว่าสามารถใช้เวลาประมูลได้ 7 วัน ดังนั้นจึงต้องการให้คณะกรรมาธิการพิจารณาข้อมูลที่มีการเสนอเรื่องเข้ามา และขอให้ประธาน กสทช. พิจารณาทบทวนความสูญเสียของประเทศว่ามีมากน้อยเพียงใด
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. สรรหา มองว่าการประมูลครั้งนี้เป็นการประมูลเทียมที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะทรัพยากรความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัด รัฐจะต้องมีวิธีการคิดใหม่และควรมองว่าการประมูลเอกชนได้กำไรเท่าไหร่ที่เหลือต้องตกเป็นประโยชน์ของประเทศ และไม่ควรกลัวว่าถ้าตั้งราคาสูงแล้วจะไม่มีใครประมูล อีกทั้งมีการตั้งข้อสงสัยในการประชุมของคณะกรรมการ กทค. ว่าเมื่อมีมติแล้วต้องแจ้งให้ผู้ประมูลทราบเพื่อจ่ายเงินภายใน 90 วัน แต่ในวันดังกล่าวมีการมารอเพื่อจ่ายเงินเลย ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นการผูกมัดไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น อีกทั้งมองว่าการกระทำดังกล่าวของ กทค.อาจมีความผิด
_________________________________________________
กมธ.วุฒิสภา นัดหารือผู้เกี่ยวข้องประมูล 3G 25 ต.ค.นี้
น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาตรวจการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้ขอมติการประชุมกรณีการตรวจสอบการประมูลคลื่นความถี่ 3G ว่า ควรเร่งดำเนินเรื่องส่งต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. โดยนำข้อมูลร้องเรียนมาประกอบกับข้อมูลที่คณะกรรมาธิการได้ศึกษาแนบท้ายส่งไปด้วย ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ต้องเชิญคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. คณะผู้วิจัย ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ตัวแทนเอกชน 3 ราย รวมไปถึงนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง มาร่วมประชุมพร้อมกันในวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคมนี้ หลังจากที่นางสุภา มีกำหนดการต้องมาชี้แจงในนี้ แต่ติดภารกิจ
นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการธิการจะทำหนังสือไปยังประธาน กสทช.ให้เข้ามาชี้แจงกับคณะกรรมการด้วย ว่า ได้มอบอำนาจให้ กทค.ไปดำเนินการต่อกรณีดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000129253
__________________________________________________
"คำนูณ"ยก "สุภา"ค้านประมูล 3 จี แบบอย่าง ขรก.รักษาผลประโยชน์ชาติ จี้ กสทช.ยกเลิก
"คำนูณ" ยกย่อง "สุภา" รองปลัดฯคลังรักษาผลประโยชน์ชาติ ค้านประมูล 3 จี ระบุเป็นแบบอย่างข้าราชการไทยที่นับวันหาได้ยาก ด้าน "ไพบูลย์" เรียกร้อง กสทช.ประชุมยกเลิกประมูล เหตุทำผิด พ.ร.บ.ฮั้ว ชัดเจน
ที่รัฐสภา วันนี้ (22 ต.ค.) มีการประชุมวุฒิสภา โดย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ขอหารือถึงการประมูล 3 จีของ กสทช.ว่า การประมูล 3 จีที่ผ่านเมื่อดูค่าตอบแทนที่รัฐจะได้รับถือว่าเป็นคลื่น 3 จีที่ถูกที่สุดในโลก เพราะเมื่อเทียบกับคลื่น 2 จีในปัจจุบันเฉพาะเอกชนรายเดียวก็จ่ายเงินให้รัฐถึง 4 หมื่นล้านบาท หากคิดในฐานส่วนแบ่งรายได้ปัจจุบันมาเทียบ 15 ปีของการประมูล 3 จีรัฐควรจะได้เงินขั้นสูง 7 แสนล้านบาทหรือไม่ต่ำกว่า 3-5 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตามขอแสดงความชื่นชม นางสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงคลัง และประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็คทรอนิคส์ ที่ได้ทำหนังสือคัดค้านการประมูลดังกล่าวว่าอาจส่อว่าจะขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว ต้องถือว่าท่านเป็นข้าราชการที่นับวันจะหาได้ยาก เป็นคนที่ตรงไปตรงมาได้ชื่อว่าเป็นมือปราบไม้บรรทัด แต่ตลอดอายุราชการของท่านไม่เคยได้เป็นอธิบดีและกว่าจะได้เป็นรองปลัดกระทรวงถือว่าหวุดหวิดเฉียดฉิว ดังนั้นจึงขอชื่นชมและขอให้ข้าราชการประเทศไทยโดยเฉพาะกระทรวงการคลังถือเป็นแบบอย่างเพราะมีอีกหลายเรื่องที่รัฐหรือกระทรวงการคลังได้ค่าตอบแทนจากทรัพยากรของชาติน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือควรจะได้เรียกคืนทรัพย์ของชาติกลับคืนมา
ด้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะ ประธานอนุกรรมาธิการกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม วุฒิสภา กล่าวว่า จากการตรวจสอบการฮั้วประมูล 3 จี ในเบื้องต้นพบว่าอาจจะมีการกระทำผิดจริงและทำให้รัฐขาดรายได้ 1.6 หมื่นล้านบาทเพราะรัฐควรได้รับ 5.8 หมื่นล้านบาทแต่ปรากฏว่ามีการกระทำบางประการทำให้ได้เพียง 4.2 หมื่นล้านบาท
ดังนั้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะจึงขอเรียกร้องไปยังประธาน กสทช.ให้เร่งเรียกประชุม กสทช.โดยเร็วเพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 และมาตรา 35(5) และตาม พ.ร.บ.กสทช.มาตรา 45 และตามประกาศหลักเกณฑ์การประมูลแล้ว กสทช.เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการเห็นชอบผลประมูล 3 จี และออกหนังสือรับรองคลื่นความถี่ แต่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กลับเร่งรีบเห็นชอบผลการประมูลและออกหนังสือใบอนุญาต ดังนั้นหาก กสทช. ยังเพิกเฉยไม่มีการประชุมเพื่อยกเลิกผลการประมูลดังกล่าว ประธาน กสทช. และกรรมการ กสทช. อีก 6 ท่านก็อาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว มาตรา 10 เพราะเมื่อรู้ว่าการประมูลมีการกระทำผิดแล้วและละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อยกเลิกการประมูลถือว่ามีความผิดฐานกระทำผิดต่อหน้าที่
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000129175
_________________________________
กมธ.สอบทุจริตสภาสูง ข้องใจฮั้ว "3จี" เตรียมยื่นปปช.สอบสวน
วันที่ 22 ตุลาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ(กมธ.)การศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาธิบาล วุฒิสภา ที่มี น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี เป็นประธานกรรมาธิการ ได้พิจารณาสอบเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ซึ่งนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวในที่ประชุมว่าการจัดประมูล 3 จี ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เกิดการฮั้วประมูลหรือไม่เพราะ การตั้งราคาประมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นเจตนาที่ไม่มีความถูกต้อง
ด้าน นายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการที่รัฐเสียรายได้กว่า 1 หมื่นหกพันล้านบาทนั้นแม้ว่าคนไทยจะต้องการใช้ระบบ 3 จี แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและประโยชน์ที่คนทั้งประเทศจะได้รับเป็นที่ตั้ง มากกว่าประโยชน์ที่จะไปตกกับผู้ประกอบการเอกชน อีกทั้งพฤติกรรมของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ก็มีลักษณะเร่งรีบให้การประมูลเสร็จสิ้นภายในสองวัน ซึ่งเป็นเหตุผิดปกติทั้งที่กฎหมายระบุว่าสามารถใช้เวลาประมูลได้ 7 วัน ดังนั้นจึงต้องการให้คณะกรรมาธิการพิจารณาข้อมูลที่มีการเสนอเรื่องเข้ามา และขอให้ประธาน กสทช. พิจารณาทบทวนความสูญเสียของประเทศว่ามีมากน้อยเพียงใด
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. สรรหา มองว่าการประมูลครั้งนี้เป็นการประมูลเทียมที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะทรัพยากรความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัด รัฐจะต้องมีวิธีการคิดใหม่และควรมองว่าการประมูลเอกชนได้กำไรเท่าไหร่ที่เหลือต้องตกเป็นประโยชน์ของประเทศ และไม่ควรกลัวว่าถ้าตั้งราคาสูงแล้วจะไม่มีใครประมูล อีกทั้งมีการตั้งข้อสงสัยในการประชุมของคณะกรรมการ กทค. ว่าเมื่อมีมติแล้วต้องแจ้งให้ผู้ประมูลทราบเพื่อจ่ายเงินภายใน 90 วัน แต่ในวันดังกล่าวมีการมารอเพื่อจ่ายเงินเลย ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นการผูกมัดไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น อีกทั้งมองว่าการกระทำดังกล่าวของ กทค.อาจมีความผิด
ทั้งนี้ นางสาวสุมล ได้ขอมติในที่ประชุมว่าควรเร่งนำเรื่องส่งต่อไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทารทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) โดยนำข้อมูลร้องเรียนมาประกอบกับข้อมูลที่กรรมาธิการได้ศึกษาแนบส่งไปด้วย ซึ่งที่ประชุมก็เห็นด้วย แต่ยังไม่มีการกำหนดวันเวลาที่ชัดเจน และหลังจากนี้จะมีการเชิญ กทค.คณะผู้วิจัย ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ตัวแทนเอกชน 3ราย รวมไปถึง นางสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง มาประชุมพร้อมกันในวันพฤหัสที่ 25 ตุลาคมนี้ โดยให้ กทค. นำบันทึกการกระชุมย้อนหลัง 4 เดือนและประกาศในการร่วมประมูลรวมไปถึงสัญญาการประมูล3 จีมาแสดงต่อคณะกรรมาธิการด้วย นอกจากนี้ทางคณะกรรมาธิการจะทำหนังสือไปยังประธาน กสทช. ให้เข้ามาชี้แจงกับกรรมาธิการด้วยว่าได้มอบอำนาจให้ กทค.ไปดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน
แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/27078
"คำนูณ" ยกย่อง "สุภา" รองปลัดฯคลังรักษาผลประโยชน์ชาติ ค้านประมูล 3 จี ระบุเป็นแบบอย่างข้าราชการไทยที่นับวันหาได้ยาก ด้าน "ไพบูลย์" เรียกร้อง กสทช.ประชุมยกเลิกประมูล เหตุทำผิด พ.ร.บ.ฮั้ว ชัดเจน
อย่างไรก็ตามขอแสดงความชื่นชม นางสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงคลัง และประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็คทรอนิคส์ ที่ได้ทำหนังสือคัดค้านการประมูลดังกล่าวว่าอาจส่อว่าจะขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว ต้องถือว่าท่านเป็นข้าราชการที่นับวันจะหาได้ยาก เป็นคนที่ตรงไปตรงมาได้ชื่อว่าเป็นมือปราบไม้บรรทัด แต่ตลอดอายุราชการของท่านไม่เคยได้เป็นอธิบดีและกว่าจะได้เป็นรองปลัดกระทรวงถือว่าหวุดหวิดเฉียดฉิว ดังนั้นจึงขอชื่นชมและขอให้ข้าราชการประเทศไทยโดยเฉพาะกระทรวงการคลังถือเป็นแบบอย่างเพราะมีอีกหลายเรื่องที่รัฐหรือกระทรวงการคลังได้ค่าตอบแทนจากทรัพยากรของชาติน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือควรจะได้เรียกคืนทรัพย์ของชาติกลับคืนมา
ด้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะ ประธานอนุกรรมาธิการกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม วุฒิสภา กล่าวว่า จากการตรวจสอบการฮั้วประมูล 3 จี ในเบื้องต้นพบว่าอาจจะมีการกระทำผิดจริงและทำให้รัฐขาดรายได้ 1.6 หมื่นล้านบาทเพราะรัฐควรได้รับ 5.8 หมื่นล้านบาทแต่ปรากฏว่ามีการกระทำบางประการทำให้ได้เพียง 4.2 หมื่นล้านบาท
ด้าน นายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการที่รัฐเสียรายได้กว่า 1 หมื่นหกพันล้านบาทนั้นแม้ว่าคนไทยจะต้องการใช้ระบบ 3 จี แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและประโยชน์ที่คนทั้งประเทศจะได้รับเป็นที่ตั้ง มากกว่าประโยชน์ที่จะไปตกกับผู้ประกอบการเอกชน อีกทั้งพฤติกรรมของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ก็มีลักษณะเร่งรีบให้การประมูลเสร็จสิ้นภายในสองวัน ซึ่งเป็นเหตุผิดปกติทั้งที่กฎหมายระบุว่าสามารถใช้เวลาประมูลได้ 7 วัน ดังนั้นจึงต้องการให้คณะกรรมาธิการพิจารณาข้อมูลที่มีการเสนอเรื่องเข้ามา และขอให้ประธาน กสทช. พิจารณาทบทวนความสูญเสียของประเทศว่ามีมากน้อยเพียงใด
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. สรรหา มองว่าการประมูลครั้งนี้เป็นการประมูลเทียมที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะทรัพยากรความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัด รัฐจะต้องมีวิธีการคิดใหม่และควรมองว่าการประมูลเอกชนได้กำไรเท่าไหร่ที่เหลือต้องตกเป็นประโยชน์ของประเทศ และไม่ควรกลัวว่าถ้าตั้งราคาสูงแล้วจะไม่มีใครประมูล อีกทั้งมีการตั้งข้อสงสัยในการประชุมของคณะกรรมการ กทค. ว่าเมื่อมีมติแล้วต้องแจ้งให้ผู้ประมูลทราบเพื่อจ่ายเงินภายใน 90 วัน แต่ในวันดังกล่าวมีการมารอเพื่อจ่ายเงินเลย ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นการผูกมัดไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น อีกทั้งมองว่าการกระทำดังกล่าวของ กทค.อาจมีความผิด
_________________________________________________
กมธ.วุฒิสภา นัดหารือผู้เกี่ยวข้องประมูล 3G 25 ต.ค.นี้
น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาตรวจการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้ขอมติการประชุมกรณีการตรวจสอบการประมูลคลื่นความถี่ 3G ว่า ควรเร่งดำเนินเรื่องส่งต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. โดยนำข้อมูลร้องเรียนมาประกอบกับข้อมูลที่คณะกรรมาธิการได้ศึกษาแนบท้ายส่งไปด้วย ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ต้องเชิญคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. คณะผู้วิจัย ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ตัวแทนเอกชน 3 ราย รวมไปถึงนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง มาร่วมประชุมพร้อมกันในวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคมนี้ หลังจากที่นางสุภา มีกำหนดการต้องมาชี้แจงในนี้ แต่ติดภารกิจ
นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการธิการจะทำหนังสือไปยังประธาน กสทช.ให้เข้ามาชี้แจงกับคณะกรรมการด้วย ว่า ได้มอบอำนาจให้ กทค.ไปดำเนินการต่อกรณีดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000129253
__________________________________________________
"คำนูณ"ยก "สุภา"ค้านประมูล 3 จี แบบอย่าง ขรก.รักษาผลประโยชน์ชาติ จี้ กสทช.ยกเลิก
"คำนูณ" ยกย่อง "สุภา" รองปลัดฯคลังรักษาผลประโยชน์ชาติ ค้านประมูล 3 จี ระบุเป็นแบบอย่างข้าราชการไทยที่นับวันหาได้ยาก ด้าน "ไพบูลย์" เรียกร้อง กสทช.ประชุมยกเลิกประมูล เหตุทำผิด พ.ร.บ.ฮั้ว ชัดเจน
ที่รัฐสภา วันนี้ (22 ต.ค.) มีการประชุมวุฒิสภา โดย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ขอหารือถึงการประมูล 3 จีของ กสทช.ว่า การประมูล 3 จีที่ผ่านเมื่อดูค่าตอบแทนที่รัฐจะได้รับถือว่าเป็นคลื่น 3 จีที่ถูกที่สุดในโลก เพราะเมื่อเทียบกับคลื่น 2 จีในปัจจุบันเฉพาะเอกชนรายเดียวก็จ่ายเงินให้รัฐถึง 4 หมื่นล้านบาท หากคิดในฐานส่วนแบ่งรายได้ปัจจุบันมาเทียบ 15 ปีของการประมูล 3 จีรัฐควรจะได้เงินขั้นสูง 7 แสนล้านบาทหรือไม่ต่ำกว่า 3-5 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตามขอแสดงความชื่นชม นางสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงคลัง และประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็คทรอนิคส์ ที่ได้ทำหนังสือคัดค้านการประมูลดังกล่าวว่าอาจส่อว่าจะขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว ต้องถือว่าท่านเป็นข้าราชการที่นับวันจะหาได้ยาก เป็นคนที่ตรงไปตรงมาได้ชื่อว่าเป็นมือปราบไม้บรรทัด แต่ตลอดอายุราชการของท่านไม่เคยได้เป็นอธิบดีและกว่าจะได้เป็นรองปลัดกระทรวงถือว่าหวุดหวิดเฉียดฉิว ดังนั้นจึงขอชื่นชมและขอให้ข้าราชการประเทศไทยโดยเฉพาะกระทรวงการคลังถือเป็นแบบอย่างเพราะมีอีกหลายเรื่องที่รัฐหรือกระทรวงการคลังได้ค่าตอบแทนจากทรัพยากรของชาติน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือควรจะได้เรียกคืนทรัพย์ของชาติกลับคืนมา
ด้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะ ประธานอนุกรรมาธิการกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม วุฒิสภา กล่าวว่า จากการตรวจสอบการฮั้วประมูล 3 จี ในเบื้องต้นพบว่าอาจจะมีการกระทำผิดจริงและทำให้รัฐขาดรายได้ 1.6 หมื่นล้านบาทเพราะรัฐควรได้รับ 5.8 หมื่นล้านบาทแต่ปรากฏว่ามีการกระทำบางประการทำให้ได้เพียง 4.2 หมื่นล้านบาท
ดังนั้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะจึงขอเรียกร้องไปยังประธาน กสทช.ให้เร่งเรียกประชุม กสทช.โดยเร็วเพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 และมาตรา 35(5) และตาม พ.ร.บ.กสทช.มาตรา 45 และตามประกาศหลักเกณฑ์การประมูลแล้ว กสทช.เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการเห็นชอบผลประมูล 3 จี และออกหนังสือรับรองคลื่นความถี่ แต่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กลับเร่งรีบเห็นชอบผลการประมูลและออกหนังสือใบอนุญาต ดังนั้นหาก กสทช. ยังเพิกเฉยไม่มีการประชุมเพื่อยกเลิกผลการประมูลดังกล่าว ประธาน กสทช. และกรรมการ กสทช. อีก 6 ท่านก็อาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว มาตรา 10 เพราะเมื่อรู้ว่าการประมูลมีการกระทำผิดแล้วและละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อยกเลิกการประมูลถือว่ามีความผิดฐานกระทำผิดต่อหน้าที่
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000129175
_________________________________
กมธ.สอบทุจริตสภาสูง ข้องใจฮั้ว "3จี" เตรียมยื่นปปช.สอบสวน
วันที่ 22 ตุลาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ(กมธ.)การศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาธิบาล วุฒิสภา ที่มี น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี เป็นประธานกรรมาธิการ ได้พิจารณาสอบเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ซึ่งนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวในที่ประชุมว่าการจัดประมูล 3 จี ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เกิดการฮั้วประมูลหรือไม่เพราะ การตั้งราคาประมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นเจตนาที่ไม่มีความถูกต้อง
ด้าน นายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่าการที่รัฐเสียรายได้กว่า 1 หมื่นหกพันล้านบาทนั้นแม้ว่าคนไทยจะต้องการใช้ระบบ 3 จี แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและประโยชน์ที่คนทั้งประเทศจะได้รับเป็นที่ตั้ง มากกว่าประโยชน์ที่จะไปตกกับผู้ประกอบการเอกชน อีกทั้งพฤติกรรมของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ก็มีลักษณะเร่งรีบให้การประมูลเสร็จสิ้นภายในสองวัน ซึ่งเป็นเหตุผิดปกติทั้งที่กฎหมายระบุว่าสามารถใช้เวลาประมูลได้ 7 วัน ดังนั้นจึงต้องการให้คณะกรรมาธิการพิจารณาข้อมูลที่มีการเสนอเรื่องเข้ามา และขอให้ประธาน กสทช. พิจารณาทบทวนความสูญเสียของประเทศว่ามีมากน้อยเพียงใด
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. สรรหา มองว่าการประมูลครั้งนี้เป็นการประมูลเทียมที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะทรัพยากรความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัด รัฐจะต้องมีวิธีการคิดใหม่และควรมองว่าการประมูลเอกชนได้กำไรเท่าไหร่ที่เหลือต้องตกเป็นประโยชน์ของประเทศ และไม่ควรกลัวว่าถ้าตั้งราคาสูงแล้วจะไม่มีใครประมูล อีกทั้งมีการตั้งข้อสงสัยในการประชุมของคณะกรรมการ กทค. ว่าเมื่อมีมติแล้วต้องแจ้งให้ผู้ประมูลทราบเพื่อจ่ายเงินภายใน 90 วัน แต่ในวันดังกล่าวมีการมารอเพื่อจ่ายเงินเลย ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นการผูกมัดไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น อีกทั้งมองว่าการกระทำดังกล่าวของ กทค.อาจมีความผิด
ทั้งนี้ นางสาวสุมล ได้ขอมติในที่ประชุมว่าควรเร่งนำเรื่องส่งต่อไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทารทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) โดยนำข้อมูลร้องเรียนมาประกอบกับข้อมูลที่กรรมาธิการได้ศึกษาแนบส่งไปด้วย ซึ่งที่ประชุมก็เห็นด้วย แต่ยังไม่มีการกำหนดวันเวลาที่ชัดเจน และหลังจากนี้จะมีการเชิญ กทค.คณะผู้วิจัย ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ตัวแทนเอกชน 3ราย รวมไปถึง นางสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง มาประชุมพร้อมกันในวันพฤหัสที่ 25 ตุลาคมนี้ โดยให้ กทค. นำบันทึกการกระชุมย้อนหลัง 4 เดือนและประกาศในการร่วมประมูลรวมไปถึงสัญญาการประมูล3 จีมาแสดงต่อคณะกรรมาธิการด้วย นอกจากนี้ทางคณะกรรมาธิการจะทำหนังสือไปยังประธาน กสทช. ให้เข้ามาชี้แจงกับกรรมาธิการด้วยว่าได้มอบอำนาจให้ กทค.ไปดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน
แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/27078
ไม่มีความคิดเห็น: