Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 กรกฎาคม 2555 ( เกาะติดประมูล 3G ) AIS ขอประมูลสันติ! ยอมลดเหลือ 15 MHz อ้างคว้า...ประมูลคลื่นอื้นด้วย // DTAC แนะ // TRUE บ่น

( เกาะติดประมูล 3G ) AIS ขอประมูลสันติ! ยอมลดเหลือ 15 MHz อ้างคว้า...ประมูลคลื่นอื้นด้วย // DTAC แนะ // TRUE บ่น

AIS ขอประมูลสันติ! ยอมลดเหลือ 15 MHz อ้างคว้า...ประมูลคลื่นอื้นด้วย // DTAC แนะกรอบสร้างความเป็นธรรม / TRUE บ่นขอลดราคา
ประเด็นหลัก

ใน งานดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงานทั้งประชาชนทั่วไป นักวิชาการ นักกฎหมาย รวมถึงผู้ประกอบการค่ายโทรศัทพ์เคลื่อนที่รายใหญ่ ทั้ง 3 ค่าย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค, บริษัท ทรูมูฟ จำกัดร่วมเข้ารับฟังความคิดเห็นครั้งนี้กว่า 400 คน


***"เอไอเอส" ยอมลดเหลือ 15 MHz เพื่อสันติ

ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า การประมูล 3G ในครั้งนี้ เอไอเอส ต้องการจำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมด 15MHz ซึ่งลดลงจากเดิมที่เคยตั้งใจไว้ที่ 20MHz เนื่องจากเรามองว่าน่าจะเพียงพอต่อการให้บริการทั้งบริการเสียง (วอยซ์) และบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) ส่วนเงินลงทุนยังคงเดิมอยู่ที่ 4.5-5 หมื่นล้านบาทโดยใช้ระยะเวลาในการลงทุนราว 3 ปี

“ในตอนแรกเราต้องการ 20MHz แต่ตอนนี้ต้องถอยออกไปมาอยู่ที่ 15 MHz เพื่ออยู่อย่างสันติ และก้าวผ่านให้ไปสู่การประมูลให้ได้ก่อน เพราะคลื่นความถี่อื่น อาทิ 900MHz 1800 MHz 2.3GHz 2.5GHz สามารถที่จะนำมาเปิดประมูลได้เช่นเดียวกัน”

ส่วนกรณีการคืนคลื่นความถี่เดิม 900MHz ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่หน้าที่ที่เอไอเอส แต่เป็นหน้าที่ของ กสทช. ไม่ว่าคลื่นความถี่ 900MHz จะคืนกลับไปอยู่ที่หน่วยงานใดก็ตาม เอไอเอส จะไปประมูลคลื่นความถี่กลับมา ซึ่ง กสทช.จะต้องออกมาให้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากสัญญาสัมปทานใกล้จะสิ้นสุด


***"ดีแทค" เสนอ 3 กรอบ

ขณะที่ นายนฤพล รัตนสมาหาร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ ดีแทค กล่าวว่า การประชาพิจารณ์ ร่างประกาศฯ IMT ย่าน 2.1GHz ถือเป็นร่างที่สมบรูณ์ กสทช.ในระดับหนึ่งแล้ว แต่เราต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยเสนอกรอบความเห็น 3 ประการ 1.การสร้างความสมดุล ผู้รับประโยชน์ คลื่นความถี่ 2.1GHz เพื่อให้ได้รับการบริการและคุณภาพที่ดี 2.ผู้ประกอบการเมื่อลงทุนไปแล้วก็ควรที่จะได้ผลกำไรพอสมควร 3.ไม่อยากให้กฏเกณฑ์เป็นภาระในการเหนี่ยวรั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไปข้างหน้า ขณะเดียว ดีแทค จะเข้าประมูล 3G จำนวน 15 MHz เช่นกัน เพื่อสร้างความเท่าเทียมกัน


***"ทรู" บ่นขอลดราคา

นายนพปฎล เดชอุดม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาเริ่มต้นการประมูลไลเซ่นส์ 3 G อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 MHz ดังนั้นหากต้องการคลื่นความถี่ที่ 15 MHz หรือใบอนุญาต 3 ใบ ต้องจ่ายเงินสูงถึง 13,500 ล้านบาท ซึ่งมองว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป แต่หากต้องการที่จะแข่งขันในตลาดได้จะต้องประมูลใบอนุญาตถึง 3 ใบ ถึงจะได้ 15 MHz






___________________________________________


กสทช.เปิดเวทีสุดท้ายก่อนประมูล 3G



กสทช.เดินหน้าประมูล 3G เปิดเวทีประชาพิจารณ์ร่างประกาศ IMT ย่านความถี่ 2.1 GHz "เศรษฐพงค์" มั่นใจทำกรรมดี ยอมส่งผลดี ด้านค่ายมือถือ 3 รายร่วมแสดงจุดยืน

พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เปิดเผยว่า กสทช.ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อ ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน ที่สากล (International Telecommunications - IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ… และร่างประกาศ เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Telecommunications - IMT) ย่านความถี่วิทยุ 1920-1980/2110-2170 MHz และย่าน 2010-2025 MHz โดยภายหลังจากการรับฟังความคิดเห็นแล้วจะนำความคิดเห็น และข้อเสนอทั้งหมดไปกับร่างประกาศฯ ทั้งหมด ซึ่งจะนำไปปรับปรุงความคิดเห็นเพิ่มเติมแล้วเสร็จภายในต้นเดือนสิงหาคม 2555 และจะสามารถประกาศลงราชกิจจานุเบกษาได้ภายในเดือนสิงหาคม นี้เช่นกัน

ทั้งนี้ในร่างประกาศฯ ดังกล่าวหากมีผู้ที่ยังต้องการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม สามารถส่งความคิดเห็นมาได้จนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายตามประกาศของกฎหมาย หรือสามารถส่งความคิดเห็นเพิ่มเติมได้เรื่อยๆ จนกว่าจะมีการพิจารณาวิเคราะห์แล้วเสร็จ

“ส่วนตัวมั่นใจ 100%ว่าจะสามารถเปิดการประมูลใบอนุญาต 3G บนย่านความถี่ 2.1 GHz จำนวน 45MHz ได้ เพราะทุกอย่างเป็นไปตามกรรม ทำกรรมดี ยอมไม่มีใครล้มประมูลได้”

ขณะที่ในเรื่องของกฎหมายที่ยังมีคนจ้องจะฟ้อง หากใครจะฟ้องก็ฟ้องได้ทั้งนั้น แต่ขึ้นอยู่ว่าศาลจะรับคุ้มครองหรือไม่ โดยในคณะทำงานของเราเตรียมความพร้อมเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีการจำลองเรื่องการฟ้องร้องเพื่อรับมืออยู่แล้ว อีกทั้งกสทช.สุทธิพล ทวีชัยการ เคยเป็นศาลมาก่อน จึงรู้เรื่องนี้ดังกล่าวดี ดังนั้นหากมีใครมาฟ้องก็รับมือได้แน่นอน

***"เอไอเอส" ยอมลดเหลือ 15 MHz เพื่อสันติ

ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า การประมูล 3G ในครั้งนี้ เอไอเอส ต้องการจำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมด 15MHz ซึ่งลดลงจากเดิมที่เคยตั้งใจไว้ที่ 20MHz เนื่องจากเรามองว่าน่าจะเพียงพอต่อการให้บริการทั้งบริการเสียง (วอยซ์) และบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) ส่วนเงินลงทุนยังคงเดิมอยู่ที่ 4.5-5 หมื่นล้านบาทโดยใช้ระยะเวลาในการลงทุนราว 3 ปี

“ในตอนแรกเราต้องการ 20MHz แต่ตอนนี้ต้องถอยออกไปมาอยู่ที่ 15 MHz เพื่ออยู่อย่างสันติ และก้าวผ่านให้ไปสู่การประมูลให้ได้ก่อน เพราะคลื่นความถี่อื่น อาทิ 900MHz 1800 MHz 2.3GHz 2.5GHz สามารถที่จะนำมาเปิดประมูลได้เช่นเดียวกัน”

ส่วนกรณีการคืนคลื่นความถี่เดิม 900MHz ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่หน้าที่ที่เอไอเอส แต่เป็นหน้าที่ของ กสทช. ไม่ว่าคลื่นความถี่ 900MHz จะคืนกลับไปอยู่ที่หน่วยงานใดก็ตาม เอไอเอส จะไปประมูลคลื่นความถี่กลับมา ซึ่ง กสทช.จะต้องออกมาให้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากสัญญาสัมปทานใกล้จะสิ้นสุด

***"ดีแทค" เสนอ 3 กรอบ

ขณะที่ นายนฤพล รัตนสมาหาร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ ดีแทค กล่าวว่า การประชาพิจารณ์ ร่างประกาศฯ IMT ย่าน 2.1GHz ถือเป็นร่างที่สมบรูณ์ กสทช.ในระดับหนึ่งแล้ว แต่เราต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยเสนอกรอบความเห็น 3 ประการ 1.การสร้างความสมดุล ผู้รับประโยชน์ คลื่นความถี่ 2.1GHz เพื่อให้ได้รับการบริการและคุณภาพที่ดี 2.ผู้ประกอบการเมื่อลงทุนไปแล้วก็ควรที่จะได้ผลกำไรพอสมควร 3.ไม่อยากให้กฏเกณฑ์เป็นภาระในการเหนี่ยวรั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไปข้างหน้า ขณะเดียว ดีแทค จะเข้าประมูล 3G จำนวน 15 MHz เช่นกัน เพื่อสร้างความเท่าเทียมกัน

นอกจากนี้การมารับฟังประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ มีผู้แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ สังคมไทยมักจะเอาความดีเข้าตัว เอาความชั่วให้คนอื่น กรณีการหยิบยกประเด็น เรื่องร่างประกาศครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ… ซึ่งอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย มี 2 บริษัท ที่มีนักลงทุนที่เป็นต่างชาติ ถือหุ้น อยู่ ดังนั้นมีผู้ที่กล่าวว่า ให้กสทช.นำกฎเกณฑ์กฏระเบียบมาบังคับใช้อย่างจริงจัง เปรียบเหมือนพูดเป็นนัย เนื่องจาก ต่างชาติที่เข้ามาลงทุน อยากให้กสทช.ทำการตรวจสอบทุกบริษัท ว่ามาบริษัทใดที่ทำให้รัฐเสียหาย

***"ทรู" บ่นขอลดราคา

นายนพปฎล เดชอุดม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาเริ่มต้นการประมูลไลเซ่นส์ 3 G อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 MHz ดังนั้นหากต้องการคลื่นความถี่ที่ 15 MHz หรือใบอนุญาต 3 ใบ ต้องจ่ายเงินสูงถึง 13,500 ล้านบาท ซึ่งมองว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป แต่หากต้องการที่จะแข่งขันในตลาดได้จะต้องประมูลใบอนุญาตถึง 3 ใบ ถึงจะได้ 15 MHz

อย่างไรก็ดีประเทศไทยครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในการจัดการประมูล 3G โดยประมาณ 2 ปีก่อน ราคาเริ่มต้นใบอนุญาต ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทค. กำหนดไว้ที่ 12,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ในสมัยนั้น ซึ่งแม้ในครั้งนี้ กสทช.มีการส่งเสริมให้มีนักลงทุนรายใหม่เข้ามาร่วมประมูลเป็นจำนวนมาก แต่สุดท้ายก็ไม่มีผู้ใดสนใจเข้าร่วมประมูล มีเพียงผู้ประกอบการรายเก่า 3 รายเท่านั้น

“กสทช.ไม่ควรมีการกำหนดราคาเริ่มต้นของการประมูล เนื่องจากการตั้งราคาเริ่มต้นไว้ จะไปกำหนดให้ราคาใบอนุญาตมีราคาที่สูงเกินไป ทำให้ไม่มีนักลงทุนรายอื่นเข้าร่วม นอกจากผู้ประกอบการรายเดิม จึงส่งผลให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างเสรีในที่สุด”

นอกจากนี้ใน ประเด็นเรื่องเงื่อนไขการชำระเงินที่กำหนดให้ หลังจากการประมูลเสร็จสิ้น งวดแรก จะต้องชำระเงิน 50% ของใบอนุญาต ภายใน 45 วัน และงวดที่สอง อีก 25% ปีที่ 2 และงวดที่ 3 25% ซึ่งบริษัทผู้ประกอบการรายเล็กของไทยใช้เงินประมูลเป็นหมื่นๆล้านบาท แล้วต้องมาจ่าย 50% ทันทีภายใน 45 วัน ดังนั้นถือเป็นอุปสรรคในการลงทุน และขยายโครงข่าย เนื่องจากทรูมีลูกค้าเป็นล้านๆ การที่จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายทันทีอีกทั้งต้องเอาเงินไปลงทุนขยายโครงข่าย ด้วย

นายทัช บุษฎีกานต์ ผู้อำนวยการด้านกฎหมายโทรคมนาคมและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายข้อบังคับ ทรูคอร์ปฯ กล่าวอีกว่า เราเป็นบริษัทไทย ต้องเข้าร่วมประมูลแน่นอน โดยต้องการคลื่นความถี่ จำนวน 15 MHz ซึ่งมองว่าเพียงพอต่อการให้บริการ

“ไม่เข้าใจว่าทำไมกสทช.คิดกำหนดเพดานขั้นต่ำที่ 20 MHz ควรจะกำหนดที่ 25 MHz ไม่ดีกว่าหรือ เนื่องจาก 20 MHz ได้คลื่นไปก็ถือว่าเป็นการกักตุนอยู่แล้ว”

***"ผู้บริโภค"ร้องอย่าผลักภาระมาให้

ทางด้านนางสาวสาลิ อ่องสมหวัง เลขาธิการมูนิธิคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ประเด็นที่อยากจะเสนอมี 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ราคาเริ่มต้นการประมูลที่เป็นธรรมควรจะอยู่ในจุดไหน 2.เงื่อนไขในการให้บริการ 3.การคุ้มครองผู้บริโภค ราคาเริ่มต้นการประมูลเป็นหมากาพย์มานานแล้ว องค์กรผู้บริโภคมองว่าราคาเริ่มต้นที่ 4,500 ล้านบาทไม่มีที่มาที่ไป

ขณะที่ 4,500 ล้านบาทคิดเบ็ดสร็จ 13,500 ล้านบาทต่อ 15 ปีหากเปรียบเทียบบริษัทที่ได้ใบอนุญาตจ่ายแค่ 900 ล้านบาท แต่เมื่อเอาทั้ง 3 ผู้ให้บริการโทรศัทพ์เคลื่อนที่ ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐจ่ายส่วนแบ่งรายได้ 40,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นราคาเริ่มต้นควรสมเหตุสมผลราคาตั้งต้น ไม่ควรน้อยกว่าส่วนแบ่งรายได้ เพราะจะเป็นการผลักภาระให้กับผู้บริโภค

“การที่ กสทช. และกทค.ไม่เลือกวิธีการประมูลโดยตัดวิธีการประมูลแบบ N-1 ออก และนำ วิธีประมูลแบบใช้วิธีการประมูลทุกสล็อตพร้อมกัน และผู้ประมูลเสนอราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ ซึ่งวิธีประมูลดังกล่าวท้ายสุดก็มีเพียงผู้ให้บริการโทรศัทพ์เคลื่อนที่ 3 ราย เข้ามาประมูล แต่ทั้ง 3 รายไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภค”

ขณะเดียวกัน นักกฎหมายอิสระ รายหนึ่ง กล่าวว่า ประเด็นการกำหนดคลื่นความถี่ หรือ สเปกตรัม แคป แบบกำหนดช่วงคลื่นความถี่ 9 ช่วง ช่วงละ 5 MHz ซึ่งหากมีการประมูลถึง 20 MHz และ 15 MHz ก็จะทำให้เหลือจำนวนคลื่นความถี่ 5 MHz ซึ่งไม่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ เนื่องจากไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ดังนั้นผู้ที่ประมูลได้ 5 MHz สามารถถอนตัวได้หรือไม่ และให้ กสทช.นำจำนวนคลื่นที่เหลือ ไปรวมกับคลื่นความถี่ย่านอื่นๆ เพื่อเปิดประมูลต่อไป


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000089694

___________________________________________

3ค่ายมือถือจ้องแบ่งเค้กใบอนุญาต3จี เอไอเอส ตุน 5หมื่รล.สู้ศึก


“กสทช.” เปิดเวทีประชาพิจารณ์ ก่อนเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี กลางเดือนตุลาคมนี้ “เศรษฐพงค์” คุยมีมือกฎหมายรับมือพวกคิดล้มประมูล ขณะที่ค่ายมือถือ 3 ราย ประกาศชิงไลเซ่นส์

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน ที่สากล (International mobile Telecommunications – IMT ) ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) พ.ศ…ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อรองรับการเปิดประมูลคลื่น 3จี ที่จะมีขึ้นประมาณวันที่ 17 ตุลาคม 2555

ใน งานดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงานทั้งประชาชนทั่วไป นักวิชาการ นักกฎหมาย รวมถึงผู้ประกอบการค่ายโทรศัทพ์เคลื่อนที่รายใหญ่ ทั้ง 3 ค่าย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค, บริษัท ทรูมูฟ จำกัดร่วมเข้ารับฟังความคิดเห็นครั้งนี้กว่า 400 คน

พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวว่า หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้วจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอทั้งหมดไปกับร่าง ประกาศฯ ทั้งหมด ซึ่งจะนำไปปรับปรุงความคิดเห็นเพิ่มเติมแล้วเสร็จภายในต้นเดือนสิงหาคม 2555 และจะสามารถประกาศลงราชกิจจานุเบกษาได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้เช่นกัน แต่หากมีผู้ที่ยังมีความคิดเห็นเพิ่มเติมก็สามารถส่งความคิดเห็นได้จนถึงวัน ที่ 28 กรกฎาคม 2555

“ผมมั่นใจ 100% ว่า จะสามารถเปิดการประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 3จี บนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ ได้อย่างแน่นอน ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม ทำกรรมดีก็ไม่มีใครล้มประมูลได้ ในเรื่องของกฎหมายที่ยังมีคนจ้องจะฟ้อง ใครจะฟ้องก็ฟ้องได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าศาลจะรับคุ้มครองหรือไม่ ในคณะทำงานเราเตรียมความพร้อมเรื่องนี้ มีการจำลองเรื่องการฟ้องร้องเพื่อรับมืออยู่แล้ว เพราะกสทช.มีสุทธิพล ทวีชัยการ เคยเป็นศาลมาก่อน รู้เรื่องนี้ถ้าเกิดมีการฟ้องก็รับมือได้” ประธาน กทค. กล่าว

ขณะที่ นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า การประมูล 3จี ในครั้งนี้ เอไอเอส ต้องการจำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมด 15 เมกะเฮิรตซ์ จากจำนวนคลื่นที่เปิดประมูลทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการทั้งบริการเสียง (วอยซ์) และบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) โดยใช้เงินลงทุน 4.5-5 หมื่นล้านบาท เป็นค่าใบอนุญาต และใช้ในการลงทุนในช่วง 3 ปี นับจากได้ใบอนุญาต

ส่วน คลื่นความถี่เดิม 900 เมกะเฮิรตซ์ที่บริษัทได้มาตามสัญญาสัปมทานจะต้องคืนหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ลงในปี 2558 แต่ประเด็นนี้ไม่ใช่หน้าที่ที่ เอไอเอส แต่เป็นหน้าที่ของ กสทช. ตัดสินใจ ว่า คลื่นดังกล่าวจะต้องคืนกลับไปให้ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) หรือจะคืนให้หน่วยงานใด ซึ่งกสทช.จะต้องให้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ขณะที่ เอไอเอส พร้อมที่จะไปประมูลคลื่นความถี่กลับมา

นายนพปฎล เดชอุดม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE กล่าวว่า บริษัท มองว่า ราคาเริ่มต้นการประมูลไลเซ่นส์สูงเกินไป เพราะหากต้องการคลื่น 15 เมกะเฮิรตซ์ ต้องจ่ายเงิน 13,500 ล้านบาท เมื่อเทียบกับการประมูล 3จี เมื่อ 2 ปีที่แล้ว(แต่มีการเลิกประมูลในเวลาต่อมา) ราคาเริ่มต้น 15 เมกะเฮิรตซ์ อยู่ที่ 12,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน

“บริษัท มองว่า หากราคาใบอนุญาต มีราคาที่สูงเกินไป ทำให้ไม่มีนักลงทุนรายอื่นเข้าร่วม นอกจากผู้ประกอบการรายเดิม 3 ราย จึงส่งผลให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างเสรี”

นายทัช บุษฎีกานต์ ผู้อำนวยการด้านกฎหมายโทรคมนาคมและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายข้อบังคับ ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทรูฯในฐานะเป็นบริษัทไทย ต้องเข้าร่วมประมูลแน่นอน และสนใจคลื่นความถี่ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์

ด้าน นายนฤพล รัตนสมาหาร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทค จะเข้าประมูล 3จี โดยสนใจคลื่นจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ เช่นกัน เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน


แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/15033


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.