Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2555 ( กริ๊ดแตก+กสทช.เป็นผู้ฮั้วการประมูล ) ไม่อยากเสี่ยงประมูลราคาสูง ขอเดินสายกลาง !! ( สุภิญญา ชี้ กสทช. 11 คนทำดีที่สุด )

( กริ๊ดแตก+กสทช.เป็นผู้ฮั้วการประมูล ) ไม่อยากเสี่ยงประมูลราคาสูง ขอเดินสายกลาง !! ( สุภิญญา ชี้ กสทช. 11 คนทำดีที่สุด )


ประเด็นหลัก


โดยต้นทุนค่าใช้จ่ายนั้น เป็นหลัก 1 พันล้านบาทแน่นอน ไม่ใช่แค่ถูกๆ ซึ่งโอเปอเรเตอร์จะต้องขึ้นไปเคาะประมูล โดยยืนยันว่ามีการแข่งขันในการประมูลแน่นอน กสทช.เห็นตามที่จะต้องปรับลดเพดานลงนั้น เห็นว่าหากกำหนดเพดานคลื่นไว้ที่ 20 MHz จะทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เปรียบ และเหลือรายเล็กที่อาจจะได้คลื่นไปเพียง 5MHz และส่งผลให้ 2 รายเกิดการฮั้วประมูลได้ อีกทั้งจะเกิดการครอบงำของโอเปอเรเตอร์ 2 รายที่มีสิทธิ์ในการถือครองคลื่นถึง 15 ปี

“หากเกิดการครอบงำของโอ เปอเรเตอร์ ขึ้น ประชากรในประเทศไทยจำนวน 65 ล้านคน จะต้องทนใช้บริการจากโอเปอเรเตอร์ จึงไม่อยากเสี่ยงจะประมูลราคาสูง ขอเดินสายกลาง และขอปฏิเสธข่าว กสทช.เป็นผู้ฮั้วการประมูล เพราะคงยอมรับไม่ได้ หากต้องเกิดโอเปอเรเตอร์ 2 รายและอีกรายต้องตายไป ส่วนกรณีการฟ้องร้องต้องดูเหตุกรณี แต่เชื่อว่าไม่มีมูลเหตุอะไรให้ฟ้องร้องและกระทบกับการประมูล 3จี ส่วนสถานที่ประมูลนั้น กทค.เสนอที่จะให้มีการประมูลที่สำนักงาน กสทช.เพราะประหยัดและควบคุมได้” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว



ขณะที่ นางสาวสุภิญญา โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว (@supinya) ว่า มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ตั้งใจออกแบบการประมูลให้ดูเหมือนกันจัดฮั้ว เปิดช่องให้มีคนฟ้องอีกหรือไม่ ไม่อยากคิดแล้ว วันนี้ทำหน้าที่แล้ว บอร์ด กสทช. 11 คนมีหน้าที่ในการออกแบบการประมูลให้ดีที่สุดได้ ถ้าวันนี้บอร์ดเสียงข้างมากคิดว่ามันดีที่สุดแล้ว ก็จบ รอไปรับผลกันในอนาคต ตามเรื่อง 3G มานาน เราไม่หนี:-)็ปะจระเข้ - สังคมไทยคงได้แค่นี้จริงๆ สำหรับคำว่า *การแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม* ถ้าเราไม่อยู่กับระบบสัมปทานผูกขาดแบบเดิม - เราก็ต้องเจอการแข่งขันที่ไม่แข่งขันของภาคเอกชน ในเรื่องสิทธิ์การใช้คลื่นฯ ที่เป็นทรัพยากรสาธารณะ.




________________________________


'เศรษฐพงค์' ยัวะข่าวกสทช.จัดฮั้ว3จี มั่นใจไร้มือดีฟ้องล้มประมูล

มติ บอร์ด กสทช. ออกร่างหลักเกณฑ์ประมูล 3จี ยันเพดานสูงสุด 3 ใบอนุญาต 15 เมกะเฮิรตซ์ ราคา 4.5 พันล้านบาท ต่อ 1 ใบอนุญาต หลังโหวต 11 กสทช. นพ.ประวิทย์ และสุภิญญา ไม่เห็นชอบ ส่วนนที งดออกเสียง ขณะที่ เศรษฐพงค์ ยัวะข่าวจัดฮั้วประมูล ยันเปิดประมูล ต.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสทช.ว่า ที่ประชุมมีมติผ่านร่างประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธการให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน ที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) (3จี) ที่ กทค.เสนอในกรณีการปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่ (Spectrum Cap) จาก 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เหลือ 15 MHz ตามความต้องการที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หรือ ประชาพิจารณ์ โดยยังคงราคาเริ่มต้นการประมูลที่ใบละ 4,500 ล้านบาทเท่าเดิม


ประธาน กทค. กล่าวต่อว่า การประมูลใบอนุญาต หรือ ไลเซ่นส์ 3จี ครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เป็นการแข่งขันเรื่องราคา และ 2 การเลือกช่วงคลื่น โดยผู้ประกอบการที่ให้ราคาสูงสุด และชนะการประมูลมากที่สุดจะมีสิทธิ์ได้เลือกช่วงคลื่นก่อน พร้อมทั้งยืนยันว่าจะไม่เกิดการฮั้วประมูลขึ้นแน่นอน เพราะทุกรายจะต้องแข่งขันที่จะเป็นผู้ชนะและเลือกช่วงคลื่นที่ดีที่สุดมา เป็นของตัวเอง อีกทั้ง ในปี 2558 นี้ จะหมดสัญญาสัมปทาน จะทำให้ไม่เหลือโอเปอเรเตอร์ที่อยู่ในตลาด ดังนั้น จึงอยากให้กลไกลตลาดดำเนินต่อไปได้ จึงตัดสินใจพิจารณาสิ่งที่สุดโต่งจากหลายฝ่าย

โดยต้นทุนค่าใช้จ่าย นั้นเป็นหลัก 1 พันล้านบาทแน่นอน ไม่ใช่แค่ถูกๆ ซึ่งโอเปอเรเตอร์จะต้องขึ้นไปเคาะประมูล โดยยืนยันว่ามีการแข่งขันในการประมูลแน่นอน กสทช.เห็นตามที่จะต้องปรับลดเพดานลงนั้น เห็นว่าหากกำหนดเพดานคลื่นไว้ที่ 20 MHz จะทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เปรียบ และเหลือรายเล็กที่อาจจะได้คลื่นไปเพียง 5MHz และส่งผลให้ 2 รายเกิดการฮั้วประมูลได้ อีกทั้งจะเกิดการครอบงำของโอเปอเรเตอร์ 2 รายที่มีสิทธิ์ในการถือครองคลื่นถึง 15 ปี

“หากเกิดการครอบงำของโอ เปอเรเตอร์ ขึ้น ประชากรในประเทศไทยจำนวน 65 ล้านคน จะต้องทนใช้บริการจากโอเปอเรเตอร์ จึงไม่อยากเสี่ยงจะประมูลราคาสูง ขอเดินสายกลาง และขอปฏิเสธข่าว กสทช.เป็นผู้ฮั้วการประมูล เพราะคงยอมรับไม่ได้ หากต้องเกิดโอเปอเรเตอร์ 2 รายและอีกรายต้องตายไป ส่วนกรณีการฟ้องร้องต้องดูเหตุกรณี แต่เชื่อว่าไม่มีมูลเหตุอะไรให้ฟ้องร้องและกระทบกับการประมูล 3จี ส่วนสถานที่ประมูลนั้น กทค.เสนอที่จะให้มีการประมูลที่สำนักงาน กสทช.เพราะประหยัดและควบคุมได้” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว


นายจิตรนรา นวรัตน์ อัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด ในฐานะฝ่ายกฎหมายการจัดประมูล 3จี กสทช. กล่าวว่า การฮั้วประมูล ในความหมายครั้งนี้ คือ การสมยอมในการเสนอราคา ถ้าจะฮั้วกัน ต้องคุยและเสนอราคาที่เท่ากัน แต่จากเงื่อนไข จะพบว่าทุกคนต้องการอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด หากใครชนะการประมูล ก็มีสิทธิ์เลือกก่อน ขณะที่ ในการออกแบบการประมูลลักษณะนี้ โครงสร้างการประมูล วิธีการเลือกช่วงความถี่ ส่วนราคาตั้งต้น เป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะสม ต้องเป็นราคาที่พอดี แล้วการจบราคาที่ราคาไหนเป็นของแต่ละราย ซึ่งแต่ละรายจะคำนวนมาแล้ว แต่ละรายจะมีตัวเลขในใจ ไม่ใช่ 4.5 พันล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าว เป็นราคาที่จุดเริ่มต้นของการประมูล

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า ผลการลงมติ มีโหวตเห็นชอบ 8 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง คือ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ และถอนตัวจากการพิจารณา 1 เสียง คือ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดประมูล 3จี ครั้งที่ผ่านมา ขณะนี้จะต้องเตรียมความพร้อมและจ้างบริษัทที่ปรึกษาคือ บริษัท เพาเวอร์ ออคชั่น ในราคา 14.1 ล้านบาท โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถประกาศลงราชกิจจานุเบกษาช่วงสัปดาห์หน้า และจะประมูลในเดือน ต.ค.2555

ขณะที่ นางสาวสุภิญญา โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว (@supinya) ว่า มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ตั้งใจออกแบบการประมูลให้ดูเหมือนกันจัดฮั้ว เปิดช่องให้มีคนฟ้องอีกหรือไม่ ไม่อยากคิดแล้ว วันนี้ทำหน้าที่แล้ว บอร์ด กสทช. 11 คนมีหน้าที่ในการออกแบบการประมูลให้ดีที่สุดได้ ถ้าวันนี้บอร์ดเสียงข้างมากคิดว่ามันดีที่สุดแล้ว ก็จบ รอไปรับผลกันในอนาคต ตามเรื่อง 3G มานาน เราไม่หนี:-)็ปะจระเข้ - สังคมไทยคงได้แค่นี้จริงๆ สำหรับคำว่า *การแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม* ถ้าเราไม่อยู่กับระบบสัมปทานผูกขาดแบบเดิม - เราก็ต้องเจอการแข่งขันที่ไม่แข่งขันของภาคเอกชน ในเรื่องสิทธิ์การใช้คลื่นฯ ที่เป็นทรัพยากรสาธารณะ.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/285476


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.