Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มิถุนายน 2555 (บทความ) ความจริงที่โลกอาจไม่รู้ (ตอนที่…2) สัญญา 3จี กสท-ทรู ม.46 ผิดแค่ที่ต่างกรรม…ต่างเวลา

(บทความ) ความจริงที่โลกอาจไม่รู้ (ตอนที่…2) สัญญา 3จี กสท-ทรู ม.46 ผิดแค่ที่ต่างกรรม…ต่างเวลา


ประเด็นหลัก

พูดภาษาให้คนธรรมดาที่รอใช้ 3G เข้าใจ คือ สัญญาดังกล่าวมีบางส่วนต้องนำกลับมาแก้ไขตามมาตรา 46 ว่าด้วยทางกฎหมาย แต่ทั้งนี้ ตัวสัญญาสามารถดำเนินการต่อเนื่องและไม่เป็นการกระทำทุจริตในทางใด ในส่วนของบมจ.ทรู และ BFKT หากเพียงมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายโทรคมนาคมกำหนด

และ ที่สำคัญที่สุดอ่านมาถึงบรรทัดนี้ ผู้บริโภคต้องเกิดคำถามขึ้นแน่นอนหากเป็นลูกค้าทรูมูฟเอช ใช้ 3G อยู่จะมีผลกระทบหรือไม่…จากข้อมูลที่ผู้เขียนไปตรวจสอบมาให้แล้ว “ผู้บริโภคจะไม่ตกเป็นตัวประกัน 3G ในทุกทาง โดยไม่มีผลกระทบใดเลย”







______________________________________________

ความจริงที่โลกอาจไม่รู้ (ตอนที่…2) สัญญา 3จี กสท-ทรู ม.46 ผิดแค่ที่ต่างกรรม…ต่างเวลา


เป็น ตอน 2 ที่ออกต่อมาภายหลังจากตอนแรกนำเสนอทิ้งช่วงไประยะหนึ่ง แต่ก็ตามที่ผู้เขียนบอกว่าขอพูดวิเคราะห์บวกกับข่าว เมื่อเวลาสมควรและเป็น Prime Time ของสถานการณ์ต่อเนื่องของสัญญา 3G จริงๆ

อธิบายให้ กระจ่างอีกครั้งว่า ในการตั้งคำถามตอนที่ 1 ที่อาจจะไปขัดแย้งต่อภาพที่สังคมและตามที่รมว.กระทรวงไอซีทีคนปัจจุบัน(อนุ ดิษฐ์) ได้ตัดสินไป ว่า สัญญาทรู-กสท.หรือแคท ไม่ถูกต้องเท่าที่ควรตามมาตรา 46

สุดท้ายผลในเวลานี้ การประเมินผลสัญญา 3G ทรู-แคท เริ่มมีการปรับสัญญาณในทางที่ดีขึ้น หมายถึงเจรจาถัวเฉลี่ยการเป็นเจ้าของสำคัญกันได้ทุกฝ่าย??

อย่างไรก็ ตาม ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาตั้งใจบอกว่าสัญญาทรู-แคท 3G เอชเอสพีเอ ฉบับเจ้าปัญหานี้ไม่ผิดหรือถูกกฎหมายเสียทีเดียว…อยากเขียนต่อเนื่องให้หลาย คนคลายข้อสงสัยบางมุมมอง และพิจารณาอย่างเปิดใจเท่านั้นเอง

ความคืบ หน้าล่าสุด เมื่อที่ประชุม กสทช. ได้พิจารณารายงานผลการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอความเห็นกรณีการทำสัญญาระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ. กสท.) กับกลุ่มบริษัทในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ บนคลื่นความถี่ 800 MHz ประกอบข้อสัญญา ข้อกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องแล้ว “เห็นว่าเนื่องจากในการพิจารณาศึกษาวิเคราะห์กรณีการทำสัญญาดังกล่าว ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาโดยยึดถือข้อกำหนดในสัญญาเป็นหลักและนำคำชี้แจงประกอบพฤติกรรมใน การปฏิบัติตามสัญญาของบริษัทคู่สัญญามารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการ พิจารณาเพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น”

ผลการพิจารณา กสทช. ให้รายละเอียดว่าอยู่บนพื้นฐานหลักการที่ กสทช. เป็นองค์กรกำกับดูแล จะต้องปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการโดยยึดถือประโยชน์สาธารณะ และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งได้พิจารณาตามกรอบของรายงานผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่งที่ประชุม กทค. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2555 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 ให้ความเห็นชอบแล้ว

คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นว่า การทำสัญญาระหว่าง บมจ. กสท ในฐานะผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 46 กับกลุ่มบริษัทในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz นั้น เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบตามที่กำหนดไว้ในรายงานผลการศึกษาของคณะ อนุกรรมการมาตรา 46 แล้ว เนื่องจากเป็นการทำสัญญาเพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ โดยตรงและการประกอบกิจการตามสัญญาดังกล่าวเป็นการดำเนินการในส่วนของ radio network และในทางปฏิบัติ บมจ. กสท ซึ่งเป็นผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ไม่สามารถควบคุมการใช้งานคลื่นความถี่ และรับผิดชอบต่อการกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคลื่นความถี่ได้อย่างสมบูรณ์ ตามนัยมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553

พูดภาษาให้คนธรรมดาที่ รอใช้ 3G เข้าใจ คือ สัญญาดังกล่าวมีบางส่วนต้องนำกลับมาแก้ไขตามมาตรา 46 ว่าด้วยทางกฎหมาย แต่ทั้งนี้ ตัวสัญญาสามารถดำเนินการต่อเนื่องและไม่เป็นการกระทำทุจริตในทางใด ในส่วนของบมจ.ทรู และ BFKT หากเพียงมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายโทรคมนาคมกำหนด

และ ที่สำคัญที่สุดอ่านมาถึงบรรทัดนี้ ผู้บริโภคต้องเกิดคำถามขึ้นแน่นอนหากเป็นลูกค้าทรูมูฟเอช ใช้ 3G อยู่จะมีผลกระทบหรือไม่…จากข้อมูลที่ผู้เขียนไปตรวจสอบมาให้แล้ว “ผู้บริโภคจะไม่ตกเป็นตัวประกัน 3G ในทุกทาง โดยไม่มีผลกระทบใดเลย”

ผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการฯ ข้างต้น ซึ่งเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบสัญญา 3G ทรู-แคท สรุปรายละเอียดโดยมีมติ หากจะดูรายละเอียด มีดังนี้

1.การ ทำสัญญาระหว่าง บมจ. กสท. กับกลุ่มบริษัทในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz เป็นสัญญาทางปกครองที่การกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมต้องคำนึงถึงประโยชน์ สาธารณะเป็นสำคัญ จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 47 และมาตรา 27(4) และ (6) ประกอบมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีคำสั่งให้ บมจ. กสท ในฐานะผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม มาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 โดยดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขข้อสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ บนคลื่นความถี่ 800 MHz ให้สอดคล้องกับมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553

ดังนี้

1.1 บมจ. กสท ต้องสามารถนำคลื่นความถี่ย่าน 800 MHz (Band V) ไปใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของตนเองหรือของบริษัทอื่นได้ โดยให้แก้ไขข้อ 2.12 ของสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท กับ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด) ลงวันที่ 27 มกราคม 2554 ให้ชัดเจนเพื่อให้ บมจ. กสท สามารถนำคลื่นความถี่ย่าน 800 MHz (Band V) ไปใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของตนเองหรือของบริษัทอื่นได้

1.2 บมจ. กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองสามารถควบคุมดูแลและบริหารจัดการคลื่นความถี่ ได้อย่างสมบูรณ์ผ่าน network operation center (NOC) จึงควรเพิ่มเติมข้อกำหนดในสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท กับ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับ NOC ให้ชัดเจนและ/หรือกำหนดแนวปฏิบัติและการควบคุมให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติในส่วน ที่เกี่ยวกับ NOC ว่า ให้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ บมจ. กสท สามารถเข้าถึงและควบคุม NOC ได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงสัญญาฯ ข้อ 2.11 ของสัญญาฉบับเดียวกัน ให้ บมจ. กสท สามารถเข้าไปในสถานที่ของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งติดตั้งเครื่องและอุปกรณ์และเสาโทรคมนาคมที่ให้เช่าได้

1.3 บมจ. กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองสามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้งาน (call detail record (CDR)) เพื่อการควบคุมดูแลและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ โดยต้องแก้ไขเพิ่มเติมข้อ 2.9 ของสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท กับ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ 27 มกราคม 2554 และแก้ไขเพิ่มเติมข้อ 7.5 ของสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท กับบริษัท เรียล มูฟ จำกัด ลงวันที่ 27 มกราคม 2554 เพื่อให้ บมจ. กสท สามารถเข้าถึงข้อมูล CDR เพียงพอที่จะบริหารจัดการคลื่นความถี่ของตนเองได้อย่างสมบูรณ์

1.4 บมจ. กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้อำนาจของคณะกรรมการควบคุมการปฏิบัติงาน (Operation Supervision Committee) ตามสัญญามีความชัดเจน โดยแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของตนเองโดยชัดแจ้ง โดยให้แก้ไขปรับปรุงข้อ 7.2ของสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ในระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท กับ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ 27 มกราคม 2554 ให้ชัดเจน และ/หรือกำหนดแนวปฏิบัติและวิธีการบังคับให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติ โดยแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของ บมจ. กสท โดยชัดแจ้ง

1.5 บมจ. กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองเป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วย ตนเองอย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการสร้างและจัดหาความจุของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด โดยรวมถึง frequency planning, network roll-out และ network operation โดยให้แก้ไขปรับปรุงข้อ 2.6.2 ของสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท กับ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ 27 มกราคม 2554 ให้มีความชัดเจนว่า บมจ. กสท เป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ในเรื่อง frequency planning, network roll-out, network operation และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้แก้ไขปรับปรุงนิยาม “ความจุตามสัญญา” ของข้อ 1 ของสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท กับบริษัท เรียล มูฟ จำกัด ลงวันที่ 27มกราคม 2554 ให้ บมจ. กสท เป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ในการกำหนด ความจุตามสัญญาให้เป็นไปตามกลไกตลาด

1.6 บมจ. กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองเป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วย ตนเองอย่างสมบูรณ์ผ่านการเจรจาการให้บริการข้ามโครงข่ายภายในประเทศ (inbound domestic roaming) และการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับผู้ประกอบการรายอื่น โดยให้แก้ไขปรับปรุงข้อ 2.17 และข้อ 2.18 ของสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบ HSPA ระหว่าง บมจ. กสท กับ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ 27 มกราคม 2554 เพื่อให้ บมจ. กสท เป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ผ่านการ เจรจาการให้บริการข้ามโครงข่ายภายในประเทศ (inbound domestic roaming) และการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับผู้ประกอบการรายอื่น

ในส่วนของ การแก้ไข…เนื้อความสำคัญ “บมจ. กสท ในฐานะผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม มาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 โดยดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขข้อสัญญาให้สอดคล้องกับมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ดังกล่าวข้างต้นและให้รายงานผลการดำเนินการต่อ กทค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ โดยให้เชิญตัวแทนของ บมจ. กสท มา รวมทั้งเพื่อความรอบคอบให้ตรวจสอบความถูกต้องเลขข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้น เพื่อยืนยันตามที่ กทค. ได้มีมติให้ตรงกับที่กำหนดไว้ในสัญญาด้วย”

2. กรณีความชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับโทรคมนาคมอื่นๆ เนื่องจาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้เคยมีมติในการประชุมครั้งที่ 30/2554 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายโทรคมนาคมอื่นๆ ไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นด้านการแข่งขันและได้มีคำสั่งให้คู่สัญญาตามความ ตกลงดำเนินการแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดในสัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันคู่สัญญาได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนมติหรือคำ สั่งที่พิพาทดังกล่าว และอยู่ในระหว่างกระบวนพิจารณาของศาลปกครอง โดยได้มีการยื่นคำให้การชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อศาลปกครองเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว จึงเห็นว่าไม่สมควรมีมติหรือออกคำสั่งดังกล่าวซ้ำอีกแต่อย่างใด

3.กรณีการ ดำเนินการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ที่คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นว่า อาจเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือใช้คลื่น ความถี่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยคณะอนุกรรมการฯ เสนอความเห็นว่า กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลสมควรอาศัยอำนาจตามมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีคำสั่งเร่งรัดให้ บมจ. กสท ในฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขข้อ สัญญาให้สอดคล้องกับมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553

ในวรรคสุดท้ายข้อสามนี้…หากบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ดำเนินการให้ บมจ. กสท สามารถควบคุมดูแลการบริหารจัดการคลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์ย่อมเข้าข่ายเป็น การประกอบกิจการโทรคมนาคมบางส่วนของ บมจ. กสท โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544

กสทช. เป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่วันที่เข้าทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบ ใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นต้นมา นอกจากตรวจความผิดมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จะมีการตรวจข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการของผู้ที่เกี่ยว ข้องด้วย แล้วรายงานให้ที่ประชุม กทค. เพื่อพิจารณาภายใน 30 วัน

เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น…อีกครั้งพร้อมกัน ส่วนความคืบหน้าในตอนต่อไปเช่นเคย

jardeerana
http://jardeerana.wordpress.com/2012/06/22/%E0%B8%84%E0%
B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0
%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E
0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%
E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3
%E0%B8%B9-2/

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.