Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กันยายน 2555 (เกาะติประมูลDigital TV-Radio) ก.พ.-มี.ค.56 ประมูลแน่นอนราคาเริ่มไม่เกิน 500 ล้านบาท// ผู้ได้ใบอนุญาตต้องแจกฟรี Set

(เกาะติประมูลDigital TV-Radio) ก.พ.-มี.ค.56 ประมูลแน่นอนราคาเริ่มไม่เกิน 500 ล้านบาท// ผู้ได้ใบอนุญาตต้องแจกฟรี Set


ประเด็นหลัก

วันนี้ (24 ก.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท. ว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. ได้ผ่านร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโทรทัศน์ประเภทใช้ คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งจะกำหนดเงื่อนไขและรูปแบบการให้ไลเซ่นส์โครงข่ายดิจิตอล รวมถึงการทดลองออกอากาศระบบดิจิตอล ที่จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในเดือน ธ.ค.2555

สำหรับช่องรายการระบบดิจิทัลในช่วงการเปลี่ยนผ่านสามารถออก ให้บริการได้จำนวน 60 ช่อง แบ่งเป็นบริการชุมชนประเภทละ 12 ช่องรายการ และประเภทธุรกิจมี 36 ช่องรายการ โดยช่องสาธารณะจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ หรือไลเซ่นส์ ได้ช่วงเดือน ธ.ค.2555 ส่วนช่องชุมชนจะเป็นช่วงปลายปี 2556 เนื่องจากต้องรอความพร้อมด้านโครงข่ายการเข้าถึงให้เรียบร้อยก่อน ขณะที่ช่องรายการธุรกิจระบบดิจิตอล จะอยู่ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.2556 โดยคาดว่าราคาเริ่มต้นประมูลจะไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. วันที่ 10 ต.ค.นี้


( ย่ำ แบ่งสัดส่วนการให้บริการดิจิตอลออกเป็น 60 ช่อง แบ่งเป็นช่องชุมชนอีก 12 ช่อง ช่องสาธารณะ 12 ช่อง และช่องธุรกิจ 36 ช่อง )

อย่าง ไรก็ตาม การประมูลไลเซ่นส์ช่องรายการนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านการออกอากาศจากระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบ ดิจิตอล ที่จะต้องดำเนินการให้ได้ในปี 58 โดยจะกำหนดเงื่อนไขส่วนอื่น คือ ผู้ได้รับไลเซ่นส์จะต้องแถมอุปกรณ์รับสัญญาณ หรือ Set Top Box ให้กับผู้ชมแทน ขณะนี้ได้ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ศึกษาราคาอยู่








___________________________________



กสทช.จะเปิดประมูลไลเซ่นส์ TV Digital ต้นปี 56 เริ่มต้นไม่เกิน 500 ลบ.


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.56 จะเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซ่นส์) ช่องรายการธุรกิจระบบดิจิตอล เบื้องต้นมีจำนวน 36 ช่อง โดยจะมีอายุ 15 ปี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ช่องรายการที่เป็นข่าวสาร สาระที่เป็นประโยชน์สาธารณะ ช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ช่องรายการทั่วไป (Standard Definition) และช่องรายการคมชัดสูง (HD)



ทั้ง นี้ กสท.อยู่ระหว่างการกำหนดว่าช่องไฮเดฟควรจะมีกี่ช่อง เพราะ 1ช่อง HD เท่ากับ 3 ช่องรายการทั่วไป ดังนั้น หากช่อง HD มีหลายช่อง สัดส่วนช่องรายการที่จะเปิดประมูลก็อาจไม่ถึง 36 ช่อง และคาดว่าราคาเริ่มต้นประมูลจะไม่เกิน 500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การประมูลไลเซ่นส์ช่องรายการนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านการออกอากาศจากระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบ ดิจิตอล ที่จะต้องดำเนินการให้ได้ในปี 58 โดยจะกำหนดเงื่อนไขส่วนอื่น คือ ผู้ได้รับไลเซ่นส์จะต้องแถมอุปกรณ์รับสัญญาณ หรือ Set Top Box ให้กับผู้ชมแทน ขณะนี้ได้ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ศึกษาราคาอยู่

นอกจากนี้ ยังจะกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการเช่นเดียวกับการกำหนดเพดานการถือครอง คลื่นความถี่ของไลเซ่นส์ 3 จี เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการ 1 ราย ถือครองช่องรายการมากเกินความจำเป็น ซึ่งเบื้องต้นกสท. ผู้ประกอบการ 1 รายไม่ควรให้บริการเกิน 1 ช่องในแต่ละกลุ่มช่องรายการ

ทั้งนี้ กสท.ได้แบ่งสัดส่วนการให้บริการดิจิตอลออกเป็นทั้งหมด 60 ช่อง ซึ่งนอกจากช่องธุรกิจแล้ว ยังมีช่องสาธารณะอีก 12 ช่อง และช่องชุมชนอีก 12 ช่อง โดยช่องสาธารณะจะเริ่มให้ไลเซ่นส์ได้ช่วงเดือน ธ.ค.นี้ ขณะที่ช่องชุมชนจะเป็นช่วงปลายปี 56 เนื่องจากต้องรอความพร้อมด้านโครงข่ายที่เข้าถึงให้เรียบร้อยก่อน

พ.อ.นที กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท. วันนี้ ยังได้ผ่านร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโทรทัศน์ประเภทใช้ คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งจะกำหนดเงื่อนไขและรูปแบบการให้ไลเซ่นส์โครงข่ายดิจิตอล รวมถึงการทดลองออกอากาศระบบดิจิตอล ที่จะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมในเดือน ธ.ค.นี้

--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1495351

___________________________________________


กสทช.ถกระบบรับส่งสัญญาณวิทยุทีวีดิจิตอล คนห่วงราคา-คุณภาพ

กสทช. เปิดเวทีถกประเด็น Go Digital ร่างประกาศ เปลี่ยนระบบรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นดิจิตอล 4 ฉบับ มั่นใจประเทศไทยพร้อมเดินหน้า คาดเห็นการเปลี่ยนแปลงเขตเมืองใหญ่ได้ใน 1-2 ปี...

เมื่อวันที่ 22 ก.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า กสทช.มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศ กสทช. เกี่ยวกับการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล 4 ฉบับ ได้แก่ 1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องแผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล 2.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล 3.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบ ดิจิตอล 4.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล

อย่าง ไรก็ตาม ร่างประกาศฯ ทั้ง 4 ฉบับ เป็นพื้นฐานสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไประบบโทรทัศน์ดิจิตอลของประเทศไทย โดยหลังจากนี้จะมีการจัดทำหลักเกณฑ์การอนุญาตประกอบกิจการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การให้อนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิตอลระดับชาติ และการให้อนุญาตบริการโทรทัศน์ดิจิตอล ประเภทบริการสาธารณะภายในปีนี้

โดย วันนี้ กสทช. ได้จัดการประชุมเพื่อนำร่างประกาศทั้ง 4 ฉบับดังกล่าว เข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดย กสทช.ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถส่งความคิดเห็นเพิ่มเติมมายังสำนักงาน กสทช. ได้ถึงวันที่ 30 ก.ย.2555 จากนั้น จะมีการพิจารณาปรับปรุงร่างประกาศฯ ดังกล่าวตามความเห็นที่ได้รับ นำเสนอต่อ กสท. และ กสทช. เพื่อขอความเห็นชอบก่อนลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

พ.อ.อนุ รัตน์ อินกัน ประธานคณะทำงานกำหนดมาตรฐานดิจิตอลทีวี กล่าวว่า การเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันนี้เป็นการเปิดรับฟังทุกความเห็นและ พร้อมนำไปปรับแก้ ยอมรับว่าตามมาตรฐานเดิมที่คณะทำงานฯ กำหนดไว้นั้นเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ซึ่งเน้นด้านราคาเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ แต่จากการเปิดรับฟังความเห็นครั้งนี้ทำให้เห็นมุมมองจากผู้ประกอบการ ซึ่งแสดงความเป็นห่วงด้านคุณภาพและความสามารถในการบริการ ขณะที่ประเด็นความห่วงใยของผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่จะเน้นด้านทีวี โดยเฉพาะการเข้าถึงในระดับชุมชนและภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในเขตเมืองใหญ่จะพร้อมเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็น ระบบดิจิตอลได้ภายใน 1-2 ปีนี้ และจะสามารถลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ในอีกไม่กี่เดือนนับจากนี้ โดยเรื่องดังกล่าวถือเป็นประเด็นที่ควรผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพราะปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านต่างเปลี่ยนระบบและให้บริการกันเกือบหมดแล้ว.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/293049

_______________________________________

กสท.กำหนด36ช่องดิจิตอล เปิดประมูลไลเซ่นส์ ก.พ.-มี.ค.56

กสท.กำหนด 36 ช่องทีวีดิจิตอล คาดเปิดประมูลไลเซ่นส์ เดือน ก.พ.-มี.ค. 56 ขณะที่สัดส่วนการให้บริการดิจิตอลออกเป็น 60 ช่อง แบ่งเป็นช่องชุมชน 12 ช่อง ช่องสาธารณะ 12 ช่อง และช่องธุรกิจ 36 ช่อง ตั้งราคาประมูลไม่เกิน 500 ล้านบาท...

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท. ว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ผ่านร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโทรทัศน์ประเภทใช้ คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งจะกำหนดเงื่อนไขและรูปแบบการให้ไลเซ่นส์โครงข่ายดิจิตอล รวมถึงการทดลองออกอากาศระบบดิจิตอล ที่จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในเดือน ธ.ค.2555

ทั้งนี้ ได้แบ่งสัดส่วนการให้บริการดิจิตอลออกเป็น 60 ช่อง แบ่งเป็นช่องชุมชนอีก 12 ช่อง ช่องสาธารณะ 12 ช่อง และช่องธุรกิจ 36 ช่อง โดยช่องสาธารณะจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ หรือไลเซ่นส์ ได้ช่วงเดือน ธ.ค.2555 ส่วนช่องชุมชนจะเป็นช่วงปลายปี 2556 เนื่องจากต้องรอความพร้อมด้านโครงข่ายการเข้าถึงให้เรียบร้อยก่อน ขณะที่ช่องรายการธุรกิจระบบดิจิตอล จะอยู่ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.2556 โดยคาดว่าราคาเริ่มต้นประมูลจะไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. วันที่ 10 ต.ค.นี้

รอง ประธาน กสทช. กล่าวต่อว่า การประมูลไลเซ่นส์ช่องรายการ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านการออกอากาศจากระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบ ดิจิตอล ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้ได้ภายในปี 2558 พร้อมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขส่วนอื่น คือ ผู้ได้รับไลเซ่นส์จะต้องแถมอุปกรณ์รับสัญญาณ หรือ เซ็ท ท็อป บอกซ์ ให้กับผู้ชมแทน ขณะเดียวกัน ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ศึกษาราคาอยู่ นอกจากนี้ ยังจะกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการเช่นเดียวกับการกำหนดเพดานการถือครอง คลื่นความถี่ของไลเซ่นส์ 3 จี เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการ 1 ราย ถือครองช่องรายการมากเกินความจำเป็น ขณะที่เบื้องต้น ผู้ประกอบการ 1 ราย ไม่ควรให้บริการเกิน 1 ช่อง ในแต่ละกลุ่มช่องรายการ

พ.อ.นที กล่าวอีกว่า ก่อนที่จะมีการยุติระบบอะนาล็อก ได้กำหนดสัดส่วนช่องรายการชุมชนประมาณ 20% ช่องรายการสาธารณะประมาณ 20% และช่องรายการธุรกิจประมาณ 60% แต่หลังมีการยุติระบบอะนาล็อกปรับเปลี่ยนเป็นช่องรายการสาธารณะ 30% และช่องรายการธุรกิจ 50% ส่วนช่องรายการชุมชนสัดส่วนคงเดิม ทั้งนี้ สาเหตุที่มีการปรับสัดส่วน เนื่องจากถ้าเพิ่มจำนวนช่อง ก็ควรเพิ่มบริการสาธารณะ ไม่ใช่ธุรกิจ ขณะที่ช่องรายการสาธารณะและช่องรายการธุรกิจ สามารถมีการโฆษณาได้ ส่วนช่องรายการชุมชนไม่สามารถโฆษณาได้

รองประธาน กสทช. กล่าวด้วยว่า ไลเซ่นส์ช่องรายการจะมีอายุ 15 ปี โดยจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.ช่องรายการที่เป็นข่าวสาร สาระที่เป็นประโยชน์สาธารณะ 2.ช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว 3.ช่องรายการทั่วไป (สแตนด์ดาส เดฟิเนชั่น) และ 4.ช่องรายการคมชัดสูง (ไฮเดฟิเนชั่น) ซึ่ง กสท.อยู่ระหว่างการกำหนดว่าช่องไฮเดฟฯ ควรจะมีกี่ช่องรายการ เนื่องจาก 1 ช่องไฮเดฟเท่ากับ 3 ช่องรายการทั่วไป ดังนั้น หากช่องไฮเดฟมีหลายช่อง สัดส่วนช่องรายการที่จะเปิดประมูลก็อาจไม่ถึง 36 ช่อง.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/293468

________________________________________

กสท.กำหนด 36 ช่องทีวีดิจิตอล คาดเปิดประมูลไลเซ่นส์ เดือน ก.พ.-มี.ค. 56



วันนี้ (24 ก.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท. ว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. ได้ผ่านร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโทรทัศน์ประเภทใช้ คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งจะกำหนดเงื่อนไขและรูปแบบการให้ไลเซ่นส์โครงข่ายดิจิตอล รวมถึงการทดลองออกอากาศระบบดิจิตอล ที่จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในเดือน ธ.ค.2555

สำหรับช่องรายการระบบดิจิทัลในช่วงการเปลี่ยนผ่านสามารถออก ให้บริการได้จำนวน 60 ช่อง แบ่งเป็นบริการชุมชนประเภทละ 12 ช่องรายการ และประเภทธุรกิจมี 36 ช่องรายการ โดยช่องสาธารณะจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ หรือไลเซ่นส์ ได้ช่วงเดือน ธ.ค.2555 ส่วนช่องชุมชนจะเป็นช่วงปลายปี 2556 เนื่องจากต้องรอความพร้อมด้านโครงข่ายการเข้าถึงให้เรียบร้อยก่อน ขณะที่ช่องรายการธุรกิจระบบดิจิตอล จะอยู่ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.2556 โดยคาดว่าราคาเริ่มต้นประมูลจะไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. วันที่ 10 ต.ค.นี้

"ก่อน ที่จะมีการยุติระบบอะนาล็อก ได้กำหนดสัดส่วนช่องรายการชุมชนประมาณ 20% ช่องรายการสาธารณะประมาณ 20% และช่องรายการธุรกิจประมาณ 60% แต่หลังมีการยุติระบบอะนาล็อกปรับเปลี่ยนเป็นช่องรายการสาธารณะ 30% และช่องรายการธุรกิจ 50% ส่วนช่องรายการชุมชนสัดส่วนคงเดิม ทั้งนี้ สาเหตุที่มีการปรับสัดส่วน เนื่องจากถ้าเพิ่มจำนวนช่อง ก็ควรเพิ่มบริการสาธารณะ ไม่ใช่ธุรกิจ ขณะที่ช่องรายการสาธารณะและช่องรายการธุรกิจ สามารถมีการโฆษณาได้ ส่วนช่องรายการชุมชนไม่สามารถโฆษณาได้"พ.อ.นทีกล่าว

นอกจากนี้เตรียม นำเสนอการจัดช่องรายการ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คือช่องรายการข่าวสารที่เป็นประโยชน์สาธารณะ กลุ่มที่ 2 คือ ช่องรายการสำหรับเด็กและเยาวชน กลุ่มที่ 3. ช่องรายการใหม่ ที่เป็นเอสดี และกลุ่มที่ 4. คือ ช่องรายการทั่วไป ที่เป็นระบบ เอชดี (ไฮเดฟิเนชั่น) โดยใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) ช่องรายการจะมีอายุ 15 ปี ให้บอร์ดกสทช.เป็นผู้พิจารณา ดังนั้น หากช่องไฮเดฟมีหลายช่อง สัดส่วนช่องรายการที่จะเปิดประมูลก็อาจไม่ถึง 36 ช่อง.

ทั้ง นี้เ ประมาณเดือน ธ.ค.นี้ จะออกใบอนุญาตให้โครงข่าย อาทิ พีเอสไอ ออกทดลองให้บริการ ควบคู่กับการออกใบอนุญาตให้บริการประเภทสาธารณะ และบริการประเภทธุรกิจประมาณช่วงเดือน มี.ค. – ก.พ. 56 และการให้บริการประเภทชุมชนปลายปี 56 เนื่องจากต้องรอให้โครงข่ายกระจายครอบคลุมให้ทั่วถึง

ฐานเศษรฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=144255:-36------56-
&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.