Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กันยายน 2555 (เกาะติดประมูล3G) กสทช.เผยศาลปกครองเคลียร์คดี-คำสั่งเกี่ยวข้องประมูล 3G แล้ว ( อ้างกฏหมายใหม่บังคับใช้แล้ว )

(เกาะติดประมูล3G) กสทช.เผยศาลปกครองเคลียร์คดี-คำสั่งเกี่ยวข้องประมูล 3G แล้ว ( อ้างกฏหมายใหม่บังคับใช้แล้ว )
ประเด็นหลัก



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่่ผ่านมา สำนักงานกสทช.ได้ทำหนังสือถึงศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 1436/2553 ที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ 3G 2.1GHz โดยศาลปกครองสูงสุดได้คำสั่งกำหนดมาตราการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยให้กทช.ในสมัยนั้น ระงับการประมูลใบอนุญาต 3G ไว้ก่อน แต่เมื่อมีพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ดังนั้น สำนักงานกสทช.จึงขอให้ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนคำสั่งในคดีดังกล่าว
     
      'เพื่อความรอบคอบ ล่าสุดสำนักงานจึงได้ทำหนังสือแจ้งไปยังศาลว่า ปัจจุบันกสทช.ได้เปิดประมูล 3G โดยอาศัยกฎหมายใหม่ปี 2553 ไม่ใช่พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมปี 2543 ดังนั้นจึงขอความกุรณาศาลเพิกถอน และจำหน่ายคดีเก่าออกไปจะได้ไม่คลาดเคลื่อนว่ากสทช.ไม่สามารถจัดประมูล 3G ในวันที่ 16 ต.ค.นี้ได้อีก'













______________________________________________




กสทช.เผยศาลปกครองเคลียร์คดี-คำสั่งเกี่ยวข้องประมูล 3G แล้ว พร้อมเดินหน้า

รายงาน ข่าวคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 ก.ย.55 จำหน่ายคดีที่คุ้มครองชั่วคราวชั่วคราวการประมูลใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซ่นส์) 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz  เพื่อบรรเทาทุกข์ก่อนพิพากษา จึงส่งผลให้ไม่มีคดีคุ้มครองฉุกเฉินใดๆ เกี่ยวกับการประมูล 3 จี ค้างอยู่ที่ศาลปกครองแล้ว



ก่อนหน้านี้ นายฐากร ตัณฑสิทธ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ส่งหนังสือไปยังศาลปกครองเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมาเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินห้าม การประมูล 3จีที่เคยดำเนินการไว้ในอดีตของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) เพราะต้องการให้การประมูลไลเซ่นส์ 3 จี ของกสทช. ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 ต.ค.นี้ ไม่มีปัญหาใดๆ และขณะนี้ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมเคลื่อนที่สากล 2.1 GHz มีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ประกาศฉบับเดิมสมัยยังเป็น กทช.ไม่มีผล

นอกจากนี้ นายฐากร ยังได้ส่งหนังสือไปยัง นายกสมาคมธนาคารไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และรมว.คลังเพื่อขอให้ธนาคารช่วยสนับสนุนการออกเอกสารรับทางการเงินให้แก่ ผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งจะส่งผลให้มีผู้เข้าแข่งขันประมูลไลเซ่นส์ 3 จี มากขึ้น ซึ่ง หากไม่มีเอกสารดังกล่าว กสทช.จะไม่อนุญาตให้เข้าร่วมประมูลอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ นายพิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการกสทช. กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้มาขอรับซองประมูลแล้ว 17 ราย โดยบริษัทที่มาขอรับรายใหม่ คือ ทานตะวัน คอมมูนิเคชั่น

ส่วน อีก 16 รายเดิม คือ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC)  บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จำกัด บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด บริษัท ทรูมูฟ จำกัด บริษัท เรียล มูฟ จำกัด บริษัท เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด บริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด บริษัท จาย่า ซ็อฟ วิชั่น จำกัด บริษัท วิคตอรี่ มอเตอร์ จำกัด บมจ. จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS ) พร้อมบริษัทในเครือ อย่าง บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็ม (JTS) และ บมจ. ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น (SYMC)

--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1496230

____________________________


กสทช. เผยความคืบหน้าการประมูล 3G ยื่นศาลปกครองขอจำหน่ายคดีที่ กสท และ ทีโอที เพิกถอนประกาศ กทช.


กสทช. เผยความคืบหน้าการประมูล 3G ยื่นศาลปกครองขอจำหน่ายคดีที่ กสท และ ทีโอที เพิกถอนประกาศ กทช. เผยรายชื่อ 16 บริษัทขอรับแบบคำขอรับใบอนุญาต เรียกร้องสถาบันการเงินสนับสนุนหลักประกันการประมูล และดีแทคจ่ายค่าปรับแล้ว



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ตามที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ทำการฟ้องร้อง กทช. ต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1GHz ในคดีหมายเลขดำที่ 1411/2553 และหมายเลขดำที่ 1436/2553 ตามลำดับ และศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อ บรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยให้ กทช. และสำนักงาน กทช. ระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งเป็นต้นไป นั้น

บัดนี้ เมื่อประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน ที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน ๒.๑ GHz พ.ศ. 2555 มีผลใช้บังคับเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2555 และมีผลเป็นการยกเลิกประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ฉบับเดิม สำนักงาน กสทช. จึงได้ยื่นคำแถลงต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลได้ทราบว่า กสทช. จะดำเนินการพิจารณาและอนุญาตและจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ตามประกาศฉบับใหม่ดังกล่าว ซึ่งได้ดำเนินกระบวนการตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบต่อไป

นายฐากร กล่าวว่า การยื่นคำร้องขอจำหน่ายคดีข้างต้น เนื่องจากเห็นว่ามูลเหตุแห่งการฟ้องคดีตามคำฟ้องคดีดังกล่าวหมดสิ้นไปแล้ว (ได้แก่การที่ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT ย่าน2.1 GHz ซึ่งออกตามกฎหมายเดิมได้ถูกยกเลิกไป) จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องออกคำบังคับตาม คำขอของผู้ฟ้องอีกต่อไป ประกอบกับ กสทช. จะจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน ๒.๑GHz ให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายใหม่กำหนด ซึ่งขณะนี้ศาลได้รับคำร้องดังกล่าวไว้แล้ว

นายฐากร กล่าวว่า ตามที่ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน ที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน ๒.๑ GHz พ.ศ. 2555 ที่กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องวางหลักประกันการประมูลมูลค่า 1,350 ล้านบาท พร้อมทั้งยื่นหนังสือสนับสนุนทางด้านการเงินในการประกอบกิจการจากสถาบันการ เงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และได้มีผู้ประกอบการที่ประสงค์จะเข้าประมูลหลายรายได้แจ้งให้ทราบว่า สถาบันการเงินหลายแห่งปฏิเสธการออกหนังสือรับรอง โดยให้เหตุผลว่า การออกหนังสือรับรองได้ออกให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจไป แล้ว ไม่อาจออกหนังสือรับรองให้ผู้ประกอบการรายอื่นเพิ่มได้ ซึ่งสำนักงาน กสทช. เห็นว่าการประมูลนี้มีจะต้องมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ควรที่จะมีผู้ประมูลหลายรายเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศสูงสุด จึงได้จะมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงิน เพื่อให้พิจารณาออกหนังสือรับรองการสนับสนุนทางด้านการเงินฯ ให้แก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจทุกราย ภายใต้หลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินนั้นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ อันจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งจะเป็นประโยชน์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยรวมมากยิ่งขึ้นรวมทั้งเกิดประโยชน์กับประชาชนต่อไป

สำหรับรายชื่อ ผู้ติดต่อขอรับแบบคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม เคลื่อนที่สากล จนถึงวันนี้ (วันที่ 21 กันยายน 2555) มีจำนวน 16 บริษัท ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จำกัด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด บริษัท ทรูมูฟ จำกัด บริษัท เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด บริษัท เรียล มูฟ จำกัด บริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด บริษัท จาย่า ซ็อฟ วิชั่น จำกัด บริษัท วิคตอรี่ มอเตอร์ จำกัด บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็ม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้สำนักงาน กสทช. ยังเปิดให้รับคำขอไปจนถึงวันที่ 27 กันยายน 2555

เลขาธิการ กสทช. กล่าวถึง กรณีที่เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 สำนักงาน กสทช. ได้มีคำสั่งปรับทางปกครอง บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค เป็นเงิน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) เนื่องจากกรณี สัญญาณโทรศัพท์ล่ม เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 55 อันส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ และก่อเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ประกอบกับปัญหาในทำนองเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้วนั้น บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ได้ชำระเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวให้สำนักงาน กสทช. แล้ว เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
กลุ่มงานสื่อสารองค์กร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
โทรศัพท์ : 0-2271-0151 ต่อ 315 - 317 โทรสาร : 0-2290-5241

http://www.ryt9.com/s/prg/1496223

____________________________________


กสทช.เร่งเคลียร์คดีเก่าก่อนประมูล3G 16 ต.ค.นี้


      กสทช.เร่งเคลียร์คดีเก่ากรณีคำสั่งล้มประมูล 3G ครั้งที่แล้ว พร้อมร่อนหนังสือถึงรัฐบาลช่วยพูดสถาบันการเงินออกหนังสือรับรองให้รายเล็ก หลังถูกปฏิเสธ เพื่่อใช้เป็นหลักฐานในการประมูล 3G 16ต.ค.นี้
     
      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่่ผ่านมา สำนักงานกสทช.ได้ทำหนังสือถึงศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 1436/2553 ที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ 3G 2.1GHz โดยศาลปกครองสูงสุดได้คำสั่งกำหนดมาตราการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยให้กทช.ในสมัยนั้น ระงับการประมูลใบอนุญาต 3G ไว้ก่อน แต่เมื่อมีพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ดังนั้น สำนักงานกสทช.จึงขอให้ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนคำสั่งในคดีดังกล่าว
     
      'เพื่อความรอบคอบ ล่าสุดสำนักงานจึงได้ทำหนังสือแจ้งไปยังศาลว่า ปัจจุบันกสทช.ได้เปิดประมูล 3G โดยอาศัยกฎหมายใหม่ปี 2553 ไม่ใช่พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมปี 2543 ดังนั้นจึงขอความกุรณาศาลเพิกถอน และจำหน่ายคดีเก่าออกไปจะได้ไม่คลาดเคลื่อนว่ากสทช.ไม่สามารถจัดประมูล 3G ในวันที่ 16 ต.ค.นี้ได้อีก'
     
      ทั้งนี้เนื่องจาก ปัจจุบันประกาศกสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ย่าน 2.1GHz มีผลบังคับในราชกิจจานุเบกษาแล้วตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้กำหนดให้มีการจัดประมูลใบอนุญาต 3G ใหม่ตามอำนาจของกฎหมาย ดังนั้น สำนักงานกสทช.จึงได้ยื่นคำแถลงต่อศาลปกครอง และแจ้งให้ศาลทราบว่า กสทช.ได้ดำเนินการพิจารณา และอนุญาตตามสิทธิในกฎหมายพ.ร.บ.กสทช.จึงได้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ออกจากสารบบ
     
      อย่างไรก็ดี การยื่นคำร้องขอจำหน่ายคดีในครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่ามูลเหตุแห่งการฟ้องร้องคดีดังกล่าวหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเมื่อมีประกาศการประมูลใบอนุญาต 3G ฉบับใหม่ลงในราชกิจจานุเบกษา ประกาศกทช.เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อน 2.1GHz จึงถูกยกเลิกไปโดยปริยาย จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องออกคำบังคับตามคำขอของผู้ฟ้องอีกต่อไป
     
      นายฐากร กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้ากรณีผู้ประกอบการรายเล็กที่จะเข้าร่วมประมูล 3G ครั้งใหม่ในวันที่16 ต.ค. นี้ โดนสถาบันการเงินหลายแห่งไม่ยินยอมออกหนังสือรับรองทางเงินให้นั้น ทางสำนักงานกสทช.เห็นว่าการประมูลครั้งนี้ ต้องมีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม ควรที่จะต้องมีผู้ประมูลหลายรายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
     
      ล่าสุดจากกรณีดังกล่าวสำนักงานกสทช.จะมีหนังสือไปยังนายกสมาคมธนาคารไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อขอความร่วมมือให้กำชับไปยังสถาบันทางการเงินพาณิชย์ และรัฐบาลให้ช่วยออกหนังสือรับทางการเงิน เพราะมีสถาบันการเงินรายใหญ่ไม่ยอมออกหนังสือให้ เนื่องจากเป็นบริษัทเล็กไม่มีหลักค้ำประกัน รวมถึงสถาบันการเงินบางแห่งออกหนังสือให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ไปแล้ว
     
      'ปัญหาใหญ่ในตอนนี้คือผู่ประกอบการรายเล็กที่จะเข้าร่วมประมูล ถูกสถาบันการเงินไม่ยอมอนุมัตหนังสือรับรองให้กับบริษัทเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1-3 บริษัท ต่างจากผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดอยู่แล้วที่ออกหนังสือให้เป็นที่เรียบร้อย ไปก่อนหน้านี้แล้ว เราจึงอยากให้สถาบันการเงินช่วยสนับสนุนรายใหม่ที่สนใจเข้าร่วมประมูลใน ครั้งนี้บ้าง เพื่อให้การประมูลครั้งนี้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม'
      ขณะที่ผู้ประกอบการที่เข้ามาขอรับหลักเกณฑ์การประมูล 3G แล้วปัจจุบันมีจำนวน 16 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด 2.บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด 3.บริษัท ดีแทค อินเทอร์เน็ต เนทวอร์ค จำกัด 4.บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จำกัด 5. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส 6.บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด 7.บริษัท ทรูมูฟ จำกัด 8.บริษัท เคเบิ้ลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 9. บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด 10.บริษัท เรียล มูฟ จำกัด 11.บริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด 12.บริษัท จาย่า ซ๊อฟ วิชั่น จำกัด 13.บริษัท วิคตอรี่ มอเตอร์ จำกัด 14.บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 15.บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็ม จำกัด (มหาชน) และ 16.บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
     
      อนึ่ง ภายในวันที่ 28 ก.ย.นี้ ผู้ที่มาขอรับใบอนุญาตหลักเกณฑ์ที่จะเข้าประมูล 3G จะต้องนำเอกสารสำคัญต่างๆที่สำคัญโดยเฉพาะ 3 อย่างได้แก่ 1.วางหลักประกันการประมูลเป็นเช็คจำนวน 1,350 ล้านบาท 2.ชำระค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาตในจำนวน 500,000 บาท 3.หนังสือสนับสนุนทางด้านการเงินในการประกอบกิจการจากสถาบันการเงินประเภท ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000117798

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.