Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 พฤศจิกายน 2554 จิรายุทธ ไขก๊อก อำลาเก้าอี้CEO CAT ไม่มีปริศนาแค่สัญญาณพิเศษ (สมาชิก111 ในฐาะญาติฝ่ายภรรยาของ จิรายุทธ)

จิรายุทธ ไขก๊อก อำลาเก้าอี้CEO CAT ไม่มีปริศนาแค่สัญญาณพิเศษ (สมาชิก111 ในฐาะญาติฝ่ายภรรยาของ จิรายุทธ)


ประเด็นหลัก

ทำไมถึงนึกอยากเปิดโอกาสบอร์ดใหม่ในชุดนี้?

ทำไม ผู้เล่นอย่างเขาจึงถอดใจ ทั้งๆที่ผู้กำกับเส้นของกระทรวงไอซีทีทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลังอย่าง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ก็รู้จักมักคุ้น และ น.ต. ศิธา ทิวารี ที่ปรึกษาคนหนึ่งของ รมว.และเป็นสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ก็เป็นคนคุ้นเคย ในฐาะญาติฝ่ายภรรยาของ จิรายุทธ??


หรือว่าเขาได้จบงานที่ถูก เสียดทานมากมาย อย่างการลงนามสัญญากสท กับ กลุ่มทรู 6 ฉบับ ที่เปิดทางให้ทรูได้สิทธิเช่าและซื้อ Capacity ของโครงข่าย HSPA จาก กสท ไปทำบริการ 3G HSPA ในสัญญาอายุ 14 ปี ท่ามกลางการประมูล 3G ความถี่มาตรฐานยังไม่เกิด และเป็นที่มาของการถูกวิจารณ์ว่า เอื้อประโยชน์ทรูเกินพอดี???


หรือว่า แบ็คอัพของเขาก็ฝืนกระแสใหญ่ไม่ได้ เพราะกรณีของสัญญา กสท และทรู ถูกอภิปรายอย่างจริงจังจากเพื่อนสมาชิกของพรรคเพื่อไทย ที่วันนี้กลายมาเป็นรัฐบาล???!!


ย้อนหลังกลับไปหลายๆ ปีก่อน จิรายุทธ เขาคือหนึ่งในสามผู้บริหารสายเลือดใหม่ ที่กสท ได้พยายามสร้างเลือดใหม่เพื่อมาสร้างสมดุลในองค์กร และสอดรับกับกระแสของอุตสาหกรรมที่ต้องฉับไว เปลี่ยนแปลงเร็ว และเต็มไปด้วยพลังงานของคนรุ่นใหม่


จิรายุทธถูกเลือกมาเป็นรอง กรรมการผู้จัดการ ดูแลสายการเงิน พร้อมกับอีกสองรองกรรมการผู้จัดการคือ กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ ดูแลสายงานกลยุทธ์องค์กร และ มารุต บูรณเศรษฐกุล ดูแลสายงานการตลาด


กสทในยุคนั้น ถือว่าเปิดเกมรุกเกินหน้าทีโอที เพราะสายเลือดใหม่ทั้งสามนี้เป็นคนหนุ่ม อายุ 40 ปีต้นๆ บุคลิกดี โปรไฟล์การศึกษาดี และมีประสบการณ์ทำงานในองค์กรที่มั่นคง ภาพลักษ์ดี


โดย เฉพาะจิรายุทธ นั้นเขามาจากสถาบันการเงินชั้นนำต่างประเทศ และแม้ชื่อเขาในขณะที่อยู่ในแวดวงการเงิน ไม่ได้ถูกกล่าวถึงผ่านสื่อจนเป็นที่รู้จัก แต่ต่อมาเมื่อมาอยู่กสท เขาคือคนที่อยู่นานและเติบโตได้ดีที่สุด และเดินเรื่องสำคัญ ด้วยมูลค่าโครงการสูงมากอย่างกรณี กสท-ทรู ได้ผ่านฉลุย


ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กว่า 2 ปี ผ่านรัฐมนตรีสามคน ถือว่าไม่ธรรมดา!! สำหรับสัญญาจ้างงานที่ต้องถูกประเมินทุก 6 เดือน และสัญญาแบบนี้เปิดช่องให้ผู้จ้าง หรือรัฐวิสาหกิจสามารถเลิกจ้างได้ตลอด เพียงแค่บอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน!!


อีกนัยหนึ่ง รัฐวิสาหกิจที่ล้วนมีบอร์ดที่มาจากการแต่งตั้งของฝ่ายการเมืองกำกับโดยตรง ย่อมชี้เป็นหรือตายกับเก้าอี้ตัวนี้ได้โดยตรง....นั่นหมายถึงศักยภาพการ ประสานงานของเขาย่อมไม่ธรรมดา...







__________________________________________________________


“จิรายุทธ” ไขก๊อก อำลาเก้าอี้ ซีอีโอ ไม่มีปริศนาแค่สัญญาณพิเศษ


เป็น เรื่องที่ไม่แปลกอะไรนัก หากมีการยื่นจดหมายลาออกของซีอีโอหรือผู้บริหารเบอร์หนึ่งของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะทีโอทีและกสท โทรคมนาคม เมื่อมีการเปลี่ยนบอร์ดหรือคณะกรรมการบริษัทชุดใหม่ ที่มักแปรผันไปตามตัวรัฐมนตรีกำกับดูแลคนใหม่ แต่สำหรับ จิรายุทธ รุ่งศรีทอง กจญ.กสท ที่ได้แสดงความจำนงลาออกในการประชุมบอร์ดใหม่ กสท นัดแรก และได้รับการอนุมัติจากบอร์ดเมื่อ 21 พ.ย. ที่ผ่านมานั้นก็ไม่ปกตินัก


ความไม่ปกติที่ว่านั้น เพราะ จิรายุทธ ผู้นี้ไม่ใช่มือบริหารขาดประสบการณ์ และเขาเองก็ถือว่าเป็นคนหนุ่มเลือดใหม่ของ กสท ที่มี ”คอนเนคชั่น” ระดับชาติทีเดียว ไม่อย่างนั้น เก้าอี้ กจญ. ของเขา จะคงทนท้าทายแรงเสียดทานมาได้กว่า 2 ปี ผ่านรัฐมนตรีมาแล้ว 3 คน นับตั้งแต่เข้ามารับบทบาทนี้เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2552 ในสมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็น รมว.ไอซีที

ครั้นเมื่อเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีไอซีที เป็น จุติ ไกรฤกษ์ และมีการเปลี่ยนบอร์ดหรือคณะกรรมการตามมา เขาก็ไม่ได้มีปัญหาถึงขนาดที่ต้องอ้างว่า “เพื่อเปิดโอกาสให้คณะกรรมการเลือกคนที่เหมาะสม” เหมือนการยื่นใบลาออกครั้งล่าสุดช่วงกลางเดือนพ.ย.นี้

ยิ่งกว่านั้น ในยุคของ รมว.จุติ ถือว่ามีแรงเสียดทานต่อเขามากมายยิ่ง เพราะมีกระแสข่าวเป็นระยะว่า เขาจะถูกปลดออกจากเก้าอี้ กจญ. แต่ทั้งหมดก็เป็นเพียงข่าวปล่อย นอกจากนี้เขายังถูกประเมินผลงาน (ซึ่งต้องถูกประเมินทุก 6 เดือนตามสัญญา) ในช่วงต้นปีนี้ โดยผลการประเมินนั้น เขาได้คะแนนรวมต่ำกว่าเกณฑ์ประเมินให้ ”ผ่าน” ไปเล็กน้อย

นั่นหมายความว่าหากเขาเป็นคนที่ไม่มีความแข็งแรงในสาย สัมพันธ์นั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามมา แต่ท้ายสุดเขาก็ได้รับการผ่อนผันให้ปรับสายการบริหาร เพื่อบรรลุเกณฑ์เพื่อผ่านการประเมินในช่วงเวลาสั้นๆ และเขาก็ผ่านมาได้


จวบ จนกลางเดือน พ.ย.นี้ ที่เขาระบุในการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่า “เขารู้สึกอยากเปิดทางให้คณะกรรมการได้มีโอกาสเลือกในฐานะบอร์ดใหม่ ”และ ”คงไม่กลับมาเข้ามาในสายงานโทรคมนาคมอีกอย่างน้อยในช่วงสั้น เพราะขัดกับระเบียบผลประโยชน์ทับซ้อน และคงไม่กลับมานั่งในองค์กรรัฐวิสาหกิจอีก”


ทำไมถึงนึกอยากเปิดโอกาสบอร์ดใหม่ในชุดนี้?


ทำไม ผู้เล่นอย่างเขาจึงถอดใจ ทั้งๆที่ผู้กำกับเส้นของกระทรวงไอซีทีทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลังอย่าง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ก็รู้จักมักคุ้น และ น.ต. ศิธา ทิวารี ที่ปรึกษาคนหนึ่งของ รมว.และเป็นสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ก็เป็นคนคุ้นเคย ในฐาะญาตฝ่ายภรรยาของ จิรายุทธ??


หรือว่าเขาได้จบงานที่ถูกเสียด ทานมากมาย อย่างการลงนามสัญญากสท กับ กลุ่มทรู 6 ฉบับ ที่เปิดทางให้ทรูได้สิทธิเช่าและซื้อ Capacity ของโครงข่าย HSPA จาก กสท ไปทำบริการ 3G HSPA ในสัญญาอายุ 14 ปี ท่ามกลางการประมูล 3G ความถี่มาตรฐานยังไม่เกิด และเป็นที่มาของการถูกวิจารณ์ว่า เอื้อประโยชน์ทรูเกินพอดี???

หรือว่า แบ็คอัพของเขาก็ฝืนกระแสใหญ่ไม่ได้ เพราะกรณีของสัญญา กสท และทรู ถูกอภิปรายอย่างจริงจังจากเพื่อนสมาชิกของพรรคเพื่อไทย ที่วันนี้กลายมาเป็นรัฐบาล???!!

ย้อนหลังกลับไปหลายๆ ปีก่อน จิรายุทธ เขาคือหนึ่งในสามผู้บริหารสายเลือดใหม่ ที่กสท ได้พยายามสร้างเลือดใหม่เพื่อมาสร้างสมดุลในองค์กร และสอดรับกับกระแสของอุตสาหกรรมที่ต้องฉับไว เปลี่ยนแปลงเร็ว และเต็มไปด้วยพลังงานของคนรุ่นใหม่


จิรายุทธถูกเลือกมาเป็นรอง กรรมการผู้จัดการ ดูแลสายการเงิน พร้อมกับอีกสองรองกรรมการผู้จัดการคือ กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ ดูแลสายงานกลยุทธ์องค์กร และ มารุต บูรณเศรษฐกุล ดูแลสายงานการตลาด


กสทในยุคนั้น ถือว่าเปิดเกมรุกเกินหน้าทีโอที เพราะสายเลือดใหม่ทั้งสามนี้เป็นคนหนุ่ม อายุ 40 ปีต้นๆ บุคลิกดี โปรไฟล์การศึกษาดี และมีประสบการณ์ทำงานในองค์กรที่มั่นคง ภาพลักษ์ดี


โดย เฉพาะจิรายุทธ นั้นเขามาจากสถาบันการเงินชั้นนำต่างประเทศ และแม้ชื่อเขาในขณะที่อยู่ในแวดวงการเงิน ไม่ได้ถูกกล่าวถึงผ่านสื่อจนเป็นที่รู้จัก แต่ต่อมาเมื่อมาอยู่กสท เขาคือคนที่อยู่นานและเติบโตได้ดีที่สุด และเดินเรื่องสำคัญ ด้วยมูลค่าโครงการสูงมากอย่างกรณี กสท-ทรู ได้ผ่านฉลุย

ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กว่า 2 ปี ผ่านรัฐมนตรีสามคน ถือว่าไม่ธรรมดา!! สำหรับสัญญาจ้างงานที่ต้องถูกประเมินทุก 6 เดือน และสัญญาแบบนี้เปิดช่องให้ผู้จ้าง หรือรัฐวิสาหกิจสามารถเลิกจ้างได้ตลอด เพียงแค่บอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน!!

อีกนัยหนึ่ง รัฐวิสาหกิจที่ล้วนมีบอร์ดที่มาจากการแต่งตั้งของฝ่ายการเมืองกำกับโดยตรง ย่อมชี้เป็นหรือตายกับเก้าอี้ตัวนี้ได้โดยตรง....นั่นหมายถึงศักยภาพการ ประสานงานของเขาย่อมไม่ธรรมดา...

จิรายุทธ กล่าวเปิดใจในเรื่องการลาอกของเขาว่า ไม่ได้เกี่ยวกับการบีบให้ออกของบอร์ดชุดใหม่แต่อย่างใด และไม่ใช่เป็นเพราะใบสั่งการเมืองด้วย แต่เนื่องจากต้องการเปิดโอกาสให้บอร์ดชุดใหม่พิจารณาหาคนใหม่ที่มีความเหมาะ สมในตำแหน่งซีอีโอมากกว่า ซึ่งเป็นเวลาที่พอเหมาะพอดี

สำหรับการทำ งานในอนาคตนั้น เขาบอกว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเป็นอย่างไร แต่คงไม่กลับมาทำงานหรือรับตำแหน่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคม อย่างแน่นอน เพราะตามมารยาทแล้วเมื่อออกจากองค์กรใด ก็ควรไปทำงานในบริษัทอื่นที่เป็นคู่แข่ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะกลับไปดำเนินงานในธุรกิจการเงิน หรือไฟแนนซ์ และคงไม่กลับไปทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว เพราะทำงานหรือบริหารงานยาก มีระเบียบขั้นตอน ราชการมาก ทำให้การกำกับดูแลไม่คล่องตัว

อย่างไรก็ตาม เขายังทิ้งท้ายความห่วงใยไว้ว่า เป็นห่วงว่า อีก 2 ปีข้างหน้า หรือในปี ’56 บริษัทจะต้องส่งรายได้ทั้งหมดคืนให้รัฐ และยังหมดสัญญาสัมปทานลง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงของบริษัท โดยภายหลังจากหมดรายได้จากสัมปทานจะทำให้รายได้ กสท ติดลบปีละประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบัน กสท มีรายได้ในส่วนดังกล่าวต่อปีถึง 65% ของรายได้รวม หรือประมาณ 30,000 ล้านบาท

“ผมต้องการผลักดันให้ พนักงานเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่ก็ยังเชื่อว่าธุรกิจที่จะเข้ามาช่วยทดแทนรายได้ดังกล่าวที่กำลังจะหมดลง จากธุรกิจ 3G HSPA และโครงการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ (FTTx) เป็นต้นจะช่วยให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้”

จิรายุทธ ยังได้บอกถึงเป้าโฟกัสที่ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นที่มาของการลาออกของเขาด้วยว่า สัญญาโครงการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ (HSPA) ที่ กสท ทำร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น นั้น ในส่วนตัวยืนยันว่า เป็นการทำทุกอย่างเพื่อให้ กสท อยู่รอดในธุรกิจใหม่ที่มีความยั่งยืน และสร้างรายได้ทดแทน รายได้จากสัญญาสัมปทานที่จะต้องส่งคืนรัฐตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ. กสทช.)

โดยหากเป็นไปตามแผนงานเดิมที่ เขาได้วางเอาไว้ในปี 2555 กสทจะมีโครงข่ายสถานีฐาน 3G HSPA และขายส่งความจุโครงข่าย (Capacity) ให้แก่กลุ่มทรูจำนวน 15,000-18,000 แห่ง มีลูกค้าใช้บริการ 10 ล้านราย ซึ่งจะรวมลูกค้าทั้งจากการทำตลาดของ กสท เองในแบรนด์ "my" และการทำตลาด 3G ทรูมูฟ เอช ของทรูฯ ซึ่งจะทำให้ผลดำเนินงานของ กสท มีกำไรไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีนี้ และเป็นรายได้ให้อีกในระยะยาวตามสัญญา 14 ปี

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า จิรายุทธ ย่อมรู้ดีที่สุดว่าอะไรที่ทำให้เขาถอดใจ และนั่นรวมถึงคนส่งสัญญาณ ที่ส่งมาถึงเขา ให้ถอยออกในจังหวะที่สวยงาม ซึ่งเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

เขากำลังจะจากไปจาก กสท ท่ามกลางเรื่องร้อนๆ อย่างสัญญา ทรู-กสท ที่ค้างเติ่งในหลายมิติ

มิติ หนึ่งคือการพิจารณาเดินหน้าสอบพิจารณาจาก ป.ป.ช. และอีกด้านหนึ่งที่ กสท ก็กำลังปรับแก้รายละเอียดบางส่วนของเนื้อหาสัญญา ตามข้อเสนอของรักษาการกสทช.หรือกทช.ชุดก่อนที่เสนอให้พิจารณารายละเอียดของ สัญญาใน 3ด้าน

ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา รักษาการบอร์ด กสทช.มีมติให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไปดำเนินการแก้ไขสัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA กับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 โดยให้แก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

ทั้งนี้ เนื่องจากสัญญาระหว่าง กสท กับกลุ่มทรูนั้น มีเนื้อหาไม่ถูกต้องตามประกาศของ กทช. โดยสัญญาที่จะต้องไปแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 30 วัน ได้แก่ 1.สัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์มือถือใน ระบบ CDMA ระหว่าง กสท กับ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด และสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุโทรคมนาคม เพื่อให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA เนื่องจากสัญญามีลักษณะปฏิเสธการให้บริการโครงข่าย แก่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ 2. สัญญาขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระบบ HSPA ระหว่าง กสท กับ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด เนื่องจากสัญญามีลักษณะจำกัดสิทธิการบริการให้แก่ผู้บริการเฉพาะราย และมีลักษณะกีดกันการเข้าสู่ตลาดของผู้ค้ารายอื่น

นอกจากนี้ ยังมีมติให้ กสท และกลุ่มทรู ไปเจรจาตกลงและดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการควบรวมกิจการและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 เนื่องจากการทำความตกลงเพื่อควบรวมกิจการระหว่างกลุ่มทรู กับบริษัท ฮัทชิสัน จำกัด และ กสท ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบของ กทช. ฉะนั้น จะต้องไปดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันเช่นกัน

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ รักษาการเลาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำหรับประเด็นการให้ผู้อื่นร่วมใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 นั้น ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้ กสทช. ชุดใหม่เป็นผู้ดำเนินการต่อไป ส่วนประเด็นการทำสัญญาระหว่าง กสท กับกลุ่มทรู เข้าข่าย พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ นั้น ที่ประชุมมิมติให้ส่งเรื่องไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นผู้วินิจฉัยในฐานะกำกับดูแลและปฏิบัติตาม ใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2535

...การถอดใจของจิรายุทธ นับได้ว่าเป็นการถอดใจทั้งๆที่อยู่ในขั้นกระบวนการที่กสท กำลังปรับแก้เนื้อหาสัญญาและกำลังจะต้องหารือกับกลุ่มทรู ยังไม่สำเร็จลุล่วงลง...แต่ผู้นำ"ทรู"ก็ยืนยันว่า ทั้งหมดไม่มีปัญหา เพราะสัญญาเดินตามกฎหมาย และผ่านตามขั้นตอนถูกต้อง

.....ซึ่งเราก็หวัง และภาวนาว่าขอให้เป็นเช่นนั้นเถิด

tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=910

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.