Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2555 AMD ทำใจรายได้หด ผลตลาดพีซีชะลอตัว ส่วนหนึ่งจากน้ำท่วมฐานการผลิตฮาร์ดไดร์ฟในประเทศไทย ( แต่โดยรวมกำไรดีขึ้น

AMD ทำใจรายได้หด ผลตลาดพีซีชะลอตัว ส่วนหนึ่งจากน้ำท่วมฐานการผลิตฮาร์ดไดร์ฟในประเทศไทย ( แต่โดยรวมกำไรดีขึ้น


ประเด็นหลัก

โรรี รีด (Rory Reid) ซีอีโอเอเอ็มดีประกาศว่าบริษัทสามารถทำกำไรสุทธิ 138 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2011 (ราว 4.2 พันล้านบาท) คิดเป็นอัตราเฉลี่ย 19 เซนต์ต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจาก 106 ล้านเหรียญในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2010 หรือ 14 เซนต์ต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม แม้กำไรของเอเอ็มดีจะมีมูลค่าเหนือความคาดหมาย แต่รายรับของเอเอ็มดีในช่วงเวลาดังกล่าวกลับน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีมูลค่ารวม 1.69 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นเพียง 2% เท่านั้นจากปี 2010

ซีอีโอเอเอ็มดีอธิบายว่า รายรับที่ต่ำกว่าคาดนั้นเกิดขึ้นเพราะปัญหาในสายการผลิตสินค้ากลุ่มชิป 45 นาโนเมตร ซึ่งทำให้เอเอ็มดีไม่สามารถผลิตสินค้าป้อนสู่ตลาดได้เท่าที่ควร ทั้งหมดนี้เอเอ็มดีย้ำว่าสามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้แล้ว คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในไตรมาสปัจจุบัน (มกราคม-มีนาคม 2012)

อีก ปัจจัยสำคัญคือผลกระทบจากภาวะฮาร์ดไดร์ฟขาดตลาด ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤติน้ำท่วมฐานการผลิตฮาร์ดไดร์ฟในประเทศไทย ภัยน้ำท่วมประเทศที่มีดีกรีเป็นผู้ผลิตฮาร์ดไดร์ฟอันดับ 2 ของโลกทำให้อุตสาหกรรมพีซีไม่สามารถติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟในพีซีเพื่อจำหน่ายได้ ตามปกติ ผลที่ตามมาจึงกลายเป็นการไม่สามารถผลิตพีซีได้ตามความต้องการ ส่งผลกระทบอุตสาหกรรมพีซีทั้งระบบโดยเฉพาะผู้ผลิตระบบประมวลผลอย่างเอเอ็มดี และอินเทล


__________________________________________________________

AMD ทำใจรายได้หด ผลตลาดพีซีชะลอตัว


เอ เอ็มดี (Advanced Micro Devices Inc) ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลกประกาศเป้ายอดขายที่ลดลงรับแนวโน้มตลาด พีซีโลกชะลอตัว ยอมรับวิกฤติฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟขาดตลาดจะกระทบอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์พีซีโลก อย่างแรง ด้านนักลงทุนหวั่นใจจนทำให้มูลค่าหุ้นเอเอ็มดีลดฮวบแม้บริษัทจะประกาศผลกำไร พุ่งกระฉูดในไตรมาสที่ผ่านมา

โรรี รีด (Rory Reid) ซีอีโอเอเอ็มดีประกาศว่าบริษัทสามารถทำกำไรสุทธิ 138 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2011 (ราว 4.2 พันล้านบาท) คิดเป็นอัตราเฉลี่ย 19 เซนต์ต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจาก 106 ล้านเหรียญในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2010 หรือ 14 เซนต์ต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม แม้กำไรของเอเอ็มดีจะมีมูลค่าเหนือความคาดหมาย แต่รายรับของเอเอ็มดีในช่วงเวลาดังกล่าวกลับน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีมูลค่ารวม 1.69 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นเพียง 2% เท่านั้นจากปี 2010

ซีอีโอเอเอ็มดีอธิบายว่า รายรับที่ต่ำกว่าคาดนั้นเกิดขึ้นเพราะปัญหาในสายการผลิตสินค้ากลุ่มชิป 45 นาโนเมตร ซึ่งทำให้เอเอ็มดีไม่สามารถผลิตสินค้าป้อนสู่ตลาดได้เท่าที่ควร ทั้งหมดนี้เอเอ็มดีย้ำว่าสามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้แล้ว คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในไตรมาสปัจจุบัน (มกราคม-มีนาคม 2012)

อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าภาวะตลาดพีซีชะลอตัวที่จะเกิดขึ้นในช่วงปีนี้จะมีผลโดยตรงต่อ รายรับของเอเอ็มดี โดยไตรมาสปัจจุบัน ผู้บริหารเชื่อว่าเอเอ็มดีจะทำรายรับรวมน้อยลงราว 8% เบื้องต้นประเมินความผิดพลาดไว้ที่บวกลบ 3% อยู่ที่ราว 1.504-1.606 พันล้านเหรียญ จากไตรมาสที่ผ่านมา 1.69 พันล้านเหรียญ

ภาวะตลาดพีซีชะลอตัวนั้นถูกวิเคราะห์ว่าจะเกิดจากหลายปัจจัย ส่วนหนึ่งคือการถูกสินค้ากลุ่มแท็บเล็ตแย่งตลาดไป จุดนี้ผู้ผลิตชิปเบอร์หนึ่งอย่างอินเทลคู่แข่งของเอเอ็มดีก็ได้รับผลกระทบ เช่นกัน โดยทั้งเอเอ็มดีและอินเทลต่างก็ต้องพบกับภาวะความต้องการชิปคอมพิวเตอร์ใน ตลาดลดลง เพราะผู้บริโภคหันไปซื้อแท็บเล็ตที่ใช้ชิปคนละชนิดกันมากกว่าแล็ปท็อป

อีกปัจจัยสำคัญคือผลกระทบจากภาวะฮาร์ดไดร์ฟขาดตลาด ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤติน้ำท่วมฐานการผลิตฮาร์ดไดร์ฟในประเทศไทย ภัยน้ำท่วมประเทศที่มีดีกรีเป็นผู้ผลิตฮาร์ดไดร์ฟอันดับ 2 ของโลกทำให้อุตสาหกรรมพีซีไม่สามารถติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟในพีซีเพื่อจำหน่ายได้ ตามปกติ ผลที่ตามมาจึงกลายเป็นการไม่สามารถผลิตพีซีได้ตามความต้องการ ส่งผลกระทบอุตสาหกรรมพีซีทั้งระบบโดยเฉพาะผู้ผลิตระบบประมวลผลอย่างเอเอ็มดี และอินเทล

ไม่เพียงเอเอ็มดี อินเทลก็ยอมรับเช่นกันว่ารายรับในไตรมาสปัจจุบันจะลดลง โดยอินเทลพยายามชูจุดขายเรื่องกระแสคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพันธุ์ใหม่ขนาดบาง เฉียบอย่างอัลตราบุ๊ก ซึ่งไม่ใช้หน่วยความจำฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟขึ้นมาทดแทน ทำให้นักลงทุนมองว่าเอเอ็มดีจะพบกับวิกฤติยอดจำหน่ายชิปลดลงในไตรมาสนี้ มากกว่าอินเทล เนื่องจากเอเอ็มดีมีเดิมพันกับตลาดพีซีสูงกว่าอินเทลที่กระจายความเสี่ยงไป เรียบร้อยแล้ว

ผลคือมูลค่าหุ้นของเอเอ็มดีลดลง 3% ทันทีที่เอเอ็มดียอมรับว่าไตรมาสปัจจุบันอาจมียอดจำหน่ายลดลง เป็นภาวะหุ้นลดฮวบต่อเนื่องหลังจากตลอดปีที่ผ่านมา มูลค่าหุ้นเอเอ็มดีลดลงมากกว่า 13%

เหตุผลสำคัญคือนักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นว่าเอเอ็มดีจะสามารถทานกระแส สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มาแรงแซงทุกเทคโนโลยีได้สำเร็จ โดยตลาดเหล่านี้เป็นของผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมชิป ARM ของอังกฤษ ซึ่งจำหน่ายลิขสิทธิ์เทคโนโลยีให้ผู้ผลิตรายอื่นนำไปพัฒนาเป็นชิปที่มี ประสิทธิภาพสูงแต่ประหยัดพลังงานกว่าชิปของเอเอ็มดีและอินเทล และถูกใช้งานในอุปกรณ์พกพาส่วนใหญ่ในท้องตลาด

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ Srini Pajjuri แห่งบริษัท CLSA ประเมินว่าเอเอ็มดีสามารถทำได้ดีกว่าอินเทลในแง่ธุรกิจพีซี โดยไตรมาสปลายปี 2011 ที่ผ่านมา เอเอ็มดีสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นราว 2% ในขณะที่อินเทลมียอดขายที่ลดลงเล็กน้อย

ข้อมูลที่น่าสนใจในตลาดชิปประมวลผลโลกขณะนี้ คือผู้สั่งซื้อชิปเซมิคอนดักเตอร์นั้นไม่ใช่ผู้ผลิตพีซีอีกต่อไป แต่เป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างแอปเปิล ซึ่งกลายเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สั่งซื้อชิปเซมิคอนดักเตอร์มาก ที่สุดในโลกแล้วตั้งแต่ไตรมาสที่ผ่านมา ชนะซัมซุง และเอชพี เพราะสินค้าเบ็ดเตล็ดยอดนิยมตระกูลไอทั้งไอโฟน ไอแพด รวมไปถึงไอพอดต่างมียอดจำหน่ายมากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000011548


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.