Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 พฤษภาคม 2555 ( ทวนความจำ ) ฤา "ความจริง" จะมีมากกว่า แค่เอาคืนทางการเมืองจากดีลพิสดาร "กสท-ทรู" ถึงวิบากกรรม "TOT 3G" รอบล่าสุด

( ทวนความจำ ) ฤา "ความจริง" จะมีมากกว่า แค่เอาคืนทางการเมืองจากดีลพิสดาร "กสท-ทรู" ถึงวิบากกรรม "TOT 3G" รอบล่าสุด


ประเด็นหลัก

TOT

ปมเก่าจากกำนิด ไทยโมบาย ยุค "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ถึง TOT 3G

เรื่อง ราวที่มาที่ไปของ ไทยโมบาย ถูกพูดถึงหลายครั้งในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2549 เพราะหากมองย้อนกลับไป จะเห็นว่าโครงการโทรศัพท์มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ของไทยโมบายมีปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนเปิดให้บริการ

กำเนิด ของ ไทยโมบาย เกิดขึ้นในยุค รมว.คมนาคม ชื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณ ในช่วงที่ยังไม่มีกระทรวงไอซีที และไม่มีมือถือระบบพรีเพด การเมืองในช่วงนั้นต้องการได้แรงหนุนจากการไม่มี "ค่ารายเดือน" ของโทรมือถือที่ทุกคนต้องจ่ายนอกเหนือไปจากการใช้งานจริง ไทยโมบาย เลยกำเนิดขึ้นมาด้วยเป้านั้น เพื่อเป็นทางเลือก และกดดันเอกชน ในท้ายสุดการแข่งขันและระบบพรีเพดก็ทำให้ค่ารายเดือนหายไป แต่ ไทยโมบาย ที่ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนก็ดำเนินต่อไปแบบพิกลพิการ

เริ่มตั้งแต่ การจัดตั้ง บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดย กสท ประมาณ 42% และ ทีโอที ประมาณ 58% เพื่อเข้ามาเป็นบริษัทกลางในการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือไทยโมบาย แต่เมื่อพิจารณาตามหลักการที่ ครม.อนุมัติให้ ทีโอที และ กสท เป็นผู้ดำเนินการร่วมกันแล้ว การจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อเข้ามาทำหน้าที่แทน ทีโอที และ กสท จึงไม่สามารถดำเนินการได้

จนในที่สุด ทีโอที และ กสท ต้องร่วมมือกันเปิดให้บริการเอง ส่วนบริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ซึ่งจัดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างโครงข่ายให้กับ โทรศัพท์มือถือ ไทยโมบาย แทน หลังจากแก้ไขปัญหาแรกผ่านไป และสามารถเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ ไทยโมบาย ได้ ก็มีปัญหากับ กสท มาอย่างต่อเนื่อง เพราะ ทีโอที ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ต้องการที่จะบริหารงานเพียงฝ่ายเดียว เพื่อให้ขับเคลื่อนบริการได้จริง ความพยายามของทีโอทีในการซื้อคืนหุ้นจาก กสท ถูกพูดกันมาหลายรอบ แต่ยังไม่เกิดข้อสรุปเสียที... จนผ่านมาหลายปี หลาย กจญ.จนสรุปกันได้




CAT


วันนี้ การตรวจสอบสัญญากสท-ทรู ที่ทำให้เกิดบริการ "ทรูมูฟ เอช" ของกลุ่มทรู กำลังเข้มข้นขึ้นทุกขณะ หลังจากคณะอนุกรรมการตรวจสอบของกระทรวงไอซีที สรุปเบื้องต้นว่าสัญญานี้ผิดปกติอย่างน้อย 5 จุด ไล่มาตั้งแต่การแทรกแซงทางการเมือง จนทำให้ กสท ไม่สามารถเข้าซื้อโครงข่าย และกิจการของ Hutchison CAT Wireless Multimedia หรือ HUTCH ในภาคกลาง 25 จังหวัดเพื่อมาทำเอง และเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก CDMA มาเป็น HSPA ได้ตามตั้งใจ

เนื่อง จากมีคำสั่งทางการเมืองผ่านนโยบายให้ กสท ห้ามซื้อในราคา 7,000 กว่าล้านบาทตามที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยควรซื้อไม่เกิน 4,000 ล้านบาท แต่ไม่ได้มีการอ้างอิงว่า 4,000 ล้านบาทนั้น คิดมาจากอะไร

หลังจากนั้นการซื้อขายก็ล้มลง เพราะ HUTCH ไม่ยอมขายให้ จนเปิดช่องให้ กลุ่มทรู เข้ามาเจรจาซื้อจนสำเร็จในราคา 6,300 ล้านบาท

ซึ่ง ประเด็นนี้ อดีตกจญ.ของกสท จิรายุทธ รุ่งศรีทอง ก็ระบุว่าคำสั่งทางการเมืองที่ตอนนั้น รมว.ไอซีทีชื่อ จุติ ไกรฤกษ์ ไม่ชัดเจนว่า 4,000 ล้านบาทมาจากไหน แต่ท้ายสุด ราคาที่ กสท เคยเสนอซื้อกับราคาที่ ทรู ซื้อมาได้ ก็ราว 220 ล้านเหรียญเท่าๆ กัน แปรผันไปตามอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ฅ

















_______________________________________

ฤา "ความจริง" จะมีมากกว่า แค่เอาคืนทางการเมืองจากดีลพิสดาร "กสท-ทรู" ถึงวิบากกรรม "TOT 3G" รอบล่าสุด

ท่าม กลางการตรวจสอบ และผลการพิจารณาที่ทยอยลำดับออกมาจากหน่วยงานแวดล้อมต่างๆ ทำให้เหมือนว่าสัญญาเจ้าปัญหาระหว่าง กสท และ ทรู ที่ลงนามกันไปเมื่อต้นปีที่แล้ว 6 ฉบับในรัฐบาล ปชป. ถูกล้อมกรอบ และน่าจับตามากขึ้นทุกขณะ ท่ามกลางการเร่งขยายเครือข่ายในฟากคู่สัญญาเอกชนเพื่อต้องการบรรลุฐานลูกค้า 4 ล้านรายให้ได้

ทว่า คู่สัญญาฟากรัฐอย่าง กสท ก็ประสบภาวะกระอักกระอ่วนใจยิ่ง เพราะแม้จะเป็นเจ้าของคลื่น แต่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบชุมสาย หรือ Network Operation Center ของ BFKT ที่มีอุปกรณ์บริหารจัดการความถี่ทั้งหมดได้ กสท กำลังเข้าเกียร์ว่างทุกอย่างในโครงการ HSPA เพื่อรอความชัดเจนทางกฎหมาย ภายใต้บอร์ดและรัฐบาล ขณะที่การประมูลความถี่ใหม่ 2100MHz ก็งวดเข้ามา

ใน ช่วงเวลาเดียวกันนี้...วิบากกรรมขององค์กรพี่น้องอย่าง ทีโอที ก็ปะทุอีกครั้ง เป็นการปะทุที่สะท้อนปมล่มสลายของโครงการเก่า ไทยโมบาย ที่ทำคลอดมาตั้งแต่ สุเทพ เทือกสุบรรณ นั่ง รมว.คมนาคม ให้บริการ 2G และพัฒนาจนเป็น 3G ที่ถูกตัดทอนวงเงินลงทุนจาก 29,000 ล้านบาท เหลือ 15,999 ล้านบาท ในสมัย จุติ ไกรฤกษ์ อดีต รมว.ไอซีที คนที่ น.อ.อนุดิษฐ์ พาดพิงอ้อมๆ ว่าทำให้ TOT 3G อยู่ในภาวะเด็กทารกที่แขนขาไม่ครบและเลือดไหลทุกวัน และเป็นคนมีอำนาจตัดสินใจสำคัญที่ทำให้เกิดสัญญาเจ้าปัญหาของ กสท-ทรู

วันนี้ การตรวจสอบสัญญากสท-ทรู ที่ทำให้เกิดบริการ "ทรูมูฟ เอช" ของกลุ่มทรู กำลังเข้มข้นขึ้นทุกขณะ หลังจากคณะอนุกรรมการตรวจสอบของกระทรวงไอซีที สรุปเบื้องต้นว่าสัญญานี้ผิดปกติอย่างน้อย 5 จุด ไล่มาตั้งแต่การแทรกแซงทางการเมือง จนทำให้ กสท ไม่สามารถเข้าซื้อโครงข่าย และกิจการของ Hutchison CAT Wireless Multimedia หรือ HUTCH ในภาคกลาง 25 จังหวัดเพื่อมาทำเอง และเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก CDMA มาเป็น HSPA ได้ตามตั้งใจ

เนื่อง จากมีคำสั่งทางการเมืองผ่านนโยบายให้ กสท ห้ามซื้อในราคา 7,000 กว่าล้านบาทตามที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยควรซื้อไม่เกิน 4,000 ล้านบาท แต่ไม่ได้มีการอ้างอิงว่า 4,000 ล้านบาทนั้น คิดมาจากอะไร

หลังจากนั้นการซื้อขายก็ล้มลง เพราะ HUTCH ไม่ยอมขายให้ จนเปิดช่องให้ กลุ่มทรู เข้ามาเจรจาซื้อจนสำเร็จในราคา 6,300 ล้านบาท

ซึ่ง ประเด็นนี้ อดีตกจญ.ของกสท จิรายุทธ รุ่งศรีทอง ก็ระบุว่าคำสั่งทางการเมืองที่ตอนนั้น รมว.ไอซีทีชื่อ จุติ ไกรฤกษ์ ไม่ชัดเจนว่า 4,000 ล้านบาทมาจากไหน แต่ท้ายสุด ราคาที่ กสท เคยเสนอซื้อกับราคาที่ ทรู ซื้อมาได้ ก็ราว 220 ล้านเหรียญเท่าๆ กัน แปรผันไปตามอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

นอก เหนือจากเรื่องนี้ ความผิดปกติของสัญญาทรู-กสท ยังรวมถึงทางเดินของกระบวนการผ่านการพิจารณาและคำสั่ง การลงนามของผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ในกระทรวงไอซีทีช่วงนั้น ที่ลัดกระบวนการ เร่งรีบและแทงเลขที่หนังสือรอคอยล่วงหน้า ซึ่งล้วนไม่ปกติตามการระบุของคณะกรรมการตรวจสอบไอซีที

หลังจากนั้น ไอซีที ส่งข้อมูลให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงาน ป.ป.ช. ตามลำดับ ต่อมาทางอนุกรรมการสอบสวนของป.ป.ช.ก็สรุปเบื้องต้นว่าสัญญานี้ขัดกฎหมายหลาย ฉบับ รวมทั้งพ.ร.บ.ฮั้ว การแข่งขันทางการค้าและพ.ร.บ.ร่วมการงานรัฐและเอกชน 2535

อนุกรรมการ ป.ป.ช.ยังแจ้งข้อกล่าวหากับอดีตผู้บริหารระดับสูง กสท กับบอร์ดในยุคนั้น เพื่อมารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 28 เดือนนี้ด้วย รวมทั้งเรียก กจญ.กสท คนปัจจุบันมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่ระบุว่า คณะกรรมการตรวจสอบภายในของ กสท ไม่สามารถเข้าสำรวจตรวจตราอุปกรณ์ในส่วนของ BFKT ที่ปัจจุบันเป็นของกลุ่มทรูได้ ซึ่ง กสท เห็นว่าขัดต่อความเป็นจริงตามที่ควรจะเป็น เพราะ กสท เป็นเจ้าของความถี่ 850MHz ที่ กลุ่มทรู ใช้ทำบริการ TrueMove H อยู่ แม้ว่า กสท จะเป็นคนเช่าใช้อุปกรณ์โดยเหมามาและขายต่อให้กลุ่มทรูในราคากำไร 20% แต่ กสท ควรที่จะตรวจสอบอุปกรณ์พวกนี้ได้ เนื่องจากอุปกรณ์นี้มีส่วนโดยตรงในการบริหารความถี่

กสท เห็นว่าหาก BFKT ที่อ้างว่าเป็นการขายส่งขายปลีกกับ กสท เท่านั้น ก็ไม่ควรทำแบบนี้ และอาจขัดต่อมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ได้ เพราะมาตรานี้ห้ามนำสิทธิในความถี่ ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวไปให้คนอื่นบริหารจัดการแทนได้

อนุกรรมการ ป.ป.ช.กำลังรวบรวมข้อมูลอีกรอบเพื่อเตรียมสรุปว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มใน ส่วนกลุ่มที่เป็นเอกชนหรือไม่ กี่คน ในวันที่ 21พฤษภาคมนี้

อย่างไร ก็ตาม ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ก็เปิดแถลงข่าวด่วนว่ามีเอกสารเพิ่มเติมเป็นสำเนาสัญญาที่ กสท และกลุ่ม Hutchison ฮ่องกง เคยลงนามกันไปแล้วเมื่อ 31พฤษภาคม 53 ว่าตกลงซื้อขายกิจการกัน แต่สัญญาตัวจริงไม่รู้อยู่ที่ไหน จึงตั้งข้อสังเกตว่ามีการล้มเลิกสัญญานี้ได้อย่างไร เพราะเป็นเอกสารของราชการและมีผลผูกพันแล้วหรือไม่ ทำให้สะท้อนว่ามีการเมืองแทรกแซงชัดเจนทำให้สัญญานี้ไม่มีผลในทางปฏิบัติ แต่ท้ายสุดกลุ่มทรูเป็นคนเข้ามาซื้อกิจการไปในปลายปี 53

อดีต รมต.จุติ ไกรฤกษ์ ก็เปิดแถลงข่าวอัดกลับทันทีว่า ไม่รู้ไม่ทราบในสัญญาอะไรนี้ เพราะเข้ามารับหน้าที่เมื่อ 6 พ.ค. 53 และอดีต กจญ.กสท ไม่เคยรายงานให้ตัวเองหรือบอร์ดใหม่ที่ตัวเองแต่งตั้งขึ้นมาให้รับรู้

อย่าง ไรก็ดี ก็ปรากฏสำเนาเอกสารเพิ่มเติมในสื่อมวลชนอีกว่า มีหนังสือจากผู้นำของกลุ่ม HUTCHISON ทำหนังสือเข้ามาเมื่อเดือนกันยายน 53 ถึง วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ประธานบอร์ดที่ จุติ ตั้งขึ้นมา โดยมีเนื้อหาขอบคุณที่นำเข้าพบ รมว.ไอซีที (ในเดือน กย. 53) และทำให้มีการดำเนินการซื้อขายเกิดขึ้น หวังกระบวนการซื้อขายจะถูกดำเนินการให้จบลงสมบูรณ์โดยเร็ว

นั่นหมาย ความว่าในความเชื่อของกลุ่ม Hutchison สัญญาที่ลงนามไปนั้นยังมีผลอยู่ในเดือนกันยายน!! เอกสารนี้สะท้อนอะไร อย่างไร กับการเจรจาซื้อขายของ กสท และ HUTCH และอะไร อย่างไร กับสิ่งที่อดีต รมว.ไอซีที ได้พูดมาตลอด??!

สิ่งที่น่าจับตาคู่ขนาน ไปกับเรื่องการสอบสวน คือว่า กสท ในฐานะผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีแนวโน้มมากว่าจะไม่ดำเนินการขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์เพื่อติดตั้งโครงข่าย ให้กับทรูมูฟ เอช จะส่งผลให้ทรูมูฟ เอช ไม่สามารถขยายโครงข่ายต่อไปได้ โดยจะสามารถให้บริการกับลูกค้าได้ตามความสามารถของโครงข่ายที่มีอยู่ใน ปัจจุบันคือ ประมาณ 1-2 ล้านรายเท่านั้น

กรณีนี้จะกระทบกับ กลุ่มทรู ที่ยืนยันว่าจะเดินหน้าลงทุนขยายสถานีทรูมูฟ เอช เพิ่มเป็น 1.8 หมื่นสถานี ภายใต้งบประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ตามแผนที่วางไว้เดิม เพื่อให้บริการ 3G ครอบคลุมมากขึ้น ตั้งเป้ามีฐานลูกค้าเพิ่มเป็น 4 ล้านราย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1 ล้านราย อย่างไร...น่าสนใจยิ่ง....

กลับมาที่องค์กรพี่น้องอย่าง ทีโอที ซึ่งล่าสุดบอบช้ำมากและปะทุขึ้นมารอบใหม่

จาก การแถลงข่าวด่วนเมื่อวันที่ 14 พ.ค. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวภายหลังเดินทางเข้าพบ พันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานคณะกรรมการบริหาร หรือบอร์ด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่า ได้หารือ และได้ให้บอร์ดทีโอทีและผู้บริหารพิจารณาทางออก ถ้าหมดรายได้จากสัมปทานบริษัทอาจประสบปัญหาเรื่องการขาดทุน ซึ่งจะพบมากขึ้นในปี 2556 หรือในปีหน้า เรื่องธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับ ทีโอที เช่น บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และอินเทอร์เน็ต โดยต้องยกระดับคุณภาพในการให้บริการและระบบ เป็นต้น รวมทั้งแผนการดำเนินธุรกิจที่สามารถจับต้องได้เมื่อต้องพบกับปัญหาเรื่องการ เงินในปี 2556

น.อ.อนุดิษฐ์ ย้ำว่า ถ้า ทีโอที ยังยึดโยงกับแผนการดำเนินงาน ตามนโยบายที่รัฐบาลชุดที่แล้ววางไว้ก็จะไม่มีทางทำได้ โดยให้กรอบความคิดไปว่าต้องพยายามปลดล็อกตัวเองจากแผนเดิมก่อน ถ้ายังดำเนินงานต่อไปแล้วทำให้ส่วนต่างรายได้มากขึ้น ทีโอที ก็จะยิ่งเลือดไหล

"แผนการทำธุรกิจ 3G ถูกผลักดันอย่างเร่งรีบในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยถูกตัดงบประมาณลงจาก 29,000 ล้านบาท เหลือเพียง 15,999 ล้านบาท ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นจนถึงวันนี้ ล้วนพบว่ามีแต่ปัญหาและอุปสรรค เช่น การลดเงินลงทุนในการติดตั้งสถานีฐาน โดยการเขียนแผนเป็นตัวเลขที่สวยมาก แต่เมื่อนำมาดำเนินธุรกิจจริงพบว่ามีแต่อุปสรรค"

มีการเปิดเผยตัวเลข ที่สะท้อนปัญหาด้วยว่า แผนเดิมคาดจะมีผู้ใช้บริการ 2.5 ล้านเลขหมายในปีนี้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้วันนี้ต่ำกว่าแผน 12 เท่า รายได้ต่ำกว่าแผน 14 เท่า และถ้ายังดำเนินงานต่อไปปี 2556 จะต่ำกว่าแผนธุรกิจ 20 เท่า และที่ตั้งเป้าไว้ปี 2558 จะมีผู้ใช้บริการ 7 ล้านราย เป็นไปไม่ได้ และถ้าทำสถานีฐานครบ แต่จำนวนผู้ใช้บริการเท่าเดิม ทีโอที อาจต้องเลือดไหล เพราะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิม 10 เท่า

ดังนั้น บอร์ดและผู้บริหารทีโอทีต้องปรับปรุงแผนการทำธุรกิจ 3G ใหม่ เพื่อเสนอแผนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ กนร.ให้รับทราบในวันที่ 18 พ.ค.นี้ จากนั้นเสนอให้คณะกรรมการร่วมในการกำกับนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาสัมปทานของ ทีโอที กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ก่อนนำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ต่อไป

อย่างไรก็ตาม การที่ ทีโอที จะลงไปแข่งในธุรกิจ 3G ที่มีเอกชนเป็นผู้ให้บริการอยู่แล้ว รมว.ไอซีที มองว่า ทีโอที ไม่น่าจะแข่งได้ ขณะที่ลูกค้า ทีโอที 3G ซึ่งเกิดจากการให้บริการเองมีอยู่ที่ 60,000 ราย ส่วนลูกค้าที่เกิดจากการให้บริการของเอ็มวีเอ็นโอทั้ง 5 ราย มีจำนวน 140,000 ราย

"นโยบายในการตัดสินใจลงทุนครั้งนั้น ทำให้เหมือนเด็กทารกที่คลอดออกมาไม่ครบแขนขา วันนี้อะไรที่ทำให้ ทีโอที มีแขนขาครบก็ควรทำ ทั้งในเรื่องการลงทุนขยายโครงข่ายเองอีกทั่วประเทศ หรือเจรจากับคู่สัมปทาน ก่อนที่อายุสัมปานจะหมดลงไป เพราะทำให้มูลค่าปัจจุบันไม่ลดลงไปมากกว่าที่ควร" รมว.ไอซีที กล่าว

เขากล่าวว่าการแถลงครั้งนี้ไม่ได้มีเป้าหมายในทางการเมือง แต่เป็นการเอาความจริงมาพูด

ปมเก่าจากกำนิด ไทยโมบาย ยุค "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ถึง TOT 3G

เรื่อง ราวที่มาที่ไปของ ไทยโมบาย ถูกพูดถึงหลายครั้งในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2549 เพราะหากมองย้อนกลับไป จะเห็นว่าโครงการโทรศัพท์มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ของไทยโมบายมีปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนเปิดให้บริการ

กำเนิด ของ ไทยโมบาย เกิดขึ้นในยุค รมว.คมนาคม ชื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณ ในช่วงที่ยังไม่มีกระทรวงไอซีที และไม่มีมือถือระบบพรีเพด การเมืองในช่วงนั้นต้องการได้แรงหนุนจากการไม่มี "ค่ารายเดือน" ของโทรมือถือที่ทุกคนต้องจ่ายนอกเหนือไปจากการใช้งานจริง ไทยโมบาย เลยกำเนิดขึ้นมาด้วยเป้านั้น เพื่อเป็นทางเลือก และกดดันเอกชน ในท้ายสุดการแข่งขันและระบบพรีเพดก็ทำให้ค่ารายเดือนหายไป แต่ ไทยโมบาย ที่ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนก็ดำเนินต่อไปแบบพิกลพิการ

เริ่มตั้งแต่ การจัดตั้ง บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดย กสท ประมาณ 42% และ ทีโอที ประมาณ 58% เพื่อเข้ามาเป็นบริษัทกลางในการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือไทยโมบาย แต่เมื่อพิจารณาตามหลักการที่ ครม.อนุมัติให้ ทีโอที และ กสท เป็นผู้ดำเนินการร่วมกันแล้ว การจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อเข้ามาทำหน้าที่แทน ทีโอที และ กสท จึงไม่สามารถดำเนินการได้

จนในที่สุด ทีโอที และ กสท ต้องร่วมมือกันเปิดให้บริการเอง ส่วนบริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ซึ่งจัดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างโครงข่ายให้กับ โทรศัพท์มือถือ ไทยโมบาย แทน หลังจากแก้ไขปัญหาแรกผ่านไป และสามารถเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ ไทยโมบาย ได้ ก็มีปัญหากับ กสท มาอย่างต่อเนื่อง เพราะ ทีโอที ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ต้องการที่จะบริหารงานเพียงฝ่ายเดียว เพื่อให้ขับเคลื่อนบริการได้จริง ความพยายามของทีโอทีในการซื้อคืนหุ้นจาก กสท ถูกพูดกันมาหลายรอบ แต่ยังไม่เกิดข้อสรุปเสียที... จนผ่านมาหลายปี หลาย กจญ.จนสรุปกันได้

ปัญหา ของ ไทยโมบาย ที่ผ่านมาเป็นเพราะระบบบริหารก็ส่วนหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าอีกส่วนหนึ่งมาจากเรื่องการเมืองด้วย โดยผ่านมาทางตัวแทนในบอร์ด จึงไม่แปลกที่เห็นได้ว่าทั้ง ไทยโมบาย และ CDMA ของ กสท ก็ไม่ค่อยเดินหน้าแบบมีทิศทางมากนักในช่วงที่ผ่านมา

ใน อดีต ไทยโมบาย ติดขัดในเรื่องการลงทุนและเวลาในการติดตั้ง โครงข่ายจึงต้องพึ่งพา เอไอเอส ในการขอทำ โรมมิ่ง เพื่อให้บริการได้ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ 3G ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ หาก ทีโอที มีพันธมิตรที่ดีและคล่องตัวมากขึ้น ก็จะสร้างโอกาสให้ตัวเอง

สำหรับ เอไอเอส เดิมที่เคยมีการเจรจากับ ทีโอที เพราะสนใจ ไทยโมบาย เนื่องจากมีความถี่ย่าน 2000MHz ที่สามารถไปใช้บริการ 3G ได้นั้น ปัจจุบันไม่ได้มีนัยสำคัญในการเจรจาในส่วนนี้แล้ว เพราะ เอไอเอส เห็นว่าโอกาสในการทำ 3G ด้วยตัวเองดูดีกว่าและคล่องตัวกว่า ยกเว้นหากสัญญาทรู ที่หลายฝ่ายบอกว่ามีปัญหาแต่ไม่ได้ทำให้การดำเนินการสะสางให้ถูกอย่างที่ควร จะเป็น

ซึ่งหากการประมูล 3G ความถี่ 2100MHz ชะงักลงด้วยเหตุใดก็ตาม และ เอไอเอส เดินหมากทำสัญญาล้อแบบทรู-กสท โดยทำกับ ทีโอที พร้อมประจานว่าสัญญาที่ทำใหม่นี้ไม่ถูกต้องแต่ต้องทำ หรือดึงดีแทคทำกับ My ของ กสท อีกราย ก็คงดูไม่จืดเลยกับอนาคตวงการโทรคมนาคม และหน่วยงานกำกับอย่าง กสทช. และไอซีที ทำให้เกิดนิติรัฐล้มเหลวไปแบบนั้น และประชาชนก็ได้สัมผัสเพียง 3G เทียม ความถี่เดิมในสัมปทาน...แบบนั้นหรือ

telecomjournal
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1855

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.