Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2555 ไฟลุกชุมชนมะกันออนไลน์ ฮือประท้วงกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์ใหม่ // เหตุ สามารถเหมาปิดเว็ปได้ทันที่ถึงละเมิดชิ้นเดียว

ไฟลุกชุมชนมะกันออนไลน์ ฮือประท้วงกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์ใหม่ // เหตุ สามารถเหมาปิดเว็ปได้ทันที่ถึงละเมิดชิ้นเดียว


ประเด็นหลัก

โดยประเด็นที่บรรดาเว็บไซต์ที่ อนุญาตให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เนื้อหา (user generated content) อย่างเช่นยูทูบ วิกิพีเดีย เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ออกโรงคัดค้านนั้น เป็นเพราะกฎหมายให้อำนาจภาครัฐดำเนินการแทนเจ้าของลิขสิทธิ์ได้เลย โดยสามารถปิดเว็บที่แจกจ่าย เผยแพร่ หรือเว็บเชื่อมต่อ (ลิ้งค์) ได้ ไม่ต้องรอเจ้าทุกข์ร้องเรียนหรือรอให้สิ้นสุดกระบวนการทางศาลก่อน

กลุ่ม ผู้คัดค้านระบุว่า ร่างกฎหมาย 2 ฉบับ นอกจากเป็นการบ่อนทำลายนวัตกรรมและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังเป็นการปูทางให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ปิดเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ รวมการระงับการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ต่างชาติด้วย โดยทันทีและไม่ต้องรอกระบวนการทางศาล


นอกจากนั้น กฎหมายเป็นการให้อำนาจทางการสหรัฐฯในการเซ็นเซอร์โลกออนไลน์ แบบเดียวกับที่รัฐบาลจีน มาเลเซีย และอิหร่านใช้
__________________________________________________________


ไฟลุกชุมชนมะกันออนไลน์ ฮือประท้วงกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์ใหม่


กฎหมาย ละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ฉบับใหม่ของสหรัฐฯ หรือ SOPA และ PIPA เจอกระแสยี้เข้าเต็มๆ ทำเอาบรรดาวุฒิสมาชิก ซึ่งมีกำหนดจะลงมติรับร่างกฎหมายดังกล่าวในสัปดาห์หน้าชักขยาด หลังประชาชนชาวเน็ตรวมเว็บไซต์ชื่อดังเข้าร่วมประท้วงปล่อยจอดำมืด

ร้อน ระอุไปทั่วโลก เมื่อกระแสกดดันวุฒิสมาชิกสหรัฐฯที่มีกำหนดจะต้องพิจารณาร่างกฎหมายต่อต้าน การละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ 2 ฉบับ กำลังคุกรุ่นรุนแรงขึ้นทุกขณะ โดยล่าสุดนอกจากเว็บไซต์ชื่อดังอย่างวิกิพีเดีย (Wikipidia) จะประท้วงด้วยการปล่อยจอดำ ปิดการให้บริการไป 1 วันแล้วที่นิวยอร์ก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ที่บรรดาแรงงานออนไลน์ใช้ชีวิตอยู่เป็นจำนวนมาก ก็มีม็อบออกมาประท้วงกฎหมาย 2 ฉบับด้วยเช่นกัน


กฎหมาย 2 ฉบับที่ว่า ได้แก่กฎหมายหยุดการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA- Stop Online Piracy Act) และกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (PIPA-Protect Intel-lectual Property Act) ซึ่งมีกำหนดจะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาในวันที่ 24 ม.ค.นี้

โดย นอกจากวิกิพีเดียซึ่งออกตัวแรงเป็นอันดับต้นด้วยการโชว์จอดำประชดไป 1 วันเต็มๆแล้ว เว็บยักษ์อย่างกูเกิล อเมซอน และเครกส์ลิสต์ (Craigslist) ยังร่วมวงประท้วงด้วยการคาดแถบสีดำลงหน้าเว็บไซต์แรกด้วย


โดย ประเด็นที่บรรดาเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ เนื้อหา (user generated content) อย่างเช่นยูทูบ วิกิพีเดีย เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ออกโรงคัดค้านนั้น เป็นเพราะกฎหมายให้อำนาจภาครัฐดำเนินการแทนเจ้าของลิขสิทธิ์ได้เลย โดยสามารถปิดเว็บที่แจกจ่าย เผยแพร่ หรือเว็บเชื่อมต่อ (ลิ้งค์) ได้ ไม่ต้องรอเจ้าทุกข์ร้องเรียนหรือรอให้สิ้นสุดกระบวนการทางศาลก่อน

กลุ่ม ผู้คัดค้านระบุว่า ร่างกฎหมาย 2 ฉบับ นอกจากเป็นการบ่อนทำลายนวัตกรรมและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังเป็นการปูทางให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ปิดเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ รวมการระงับการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ต่างชาติด้วย โดยทันทีและไม่ต้องรอกระบวนการทางศาล


นอกจากนั้น กฎหมายเป็นการให้อำนาจทางการสหรัฐฯในการเซ็นเซอร์โลกออนไลน์ แบบเดียวกับที่รัฐบาลจีน มาเลเซีย และอิหร่านใช้

ใน ทางตรงกันข้าม กฎหมาย 2 ฉบับ ได้รับการสนับสนุนอย่างอุ่นหนาฝาคั่งจากธุรกิจบันเทิงอันเฟื่องฟูและมี อิทธิพลทั่วโลกอย่างฮอลลีวูด อุตสาหกรรมเพลง พันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ สมาคมผู้ผลิตแห่งชาติ และสภาหอการค้าอเมริกัน โดยต่างเห็นว่าการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ


อย่าง ไรก็ตาม หลังจากที่กระแสคัดค้านเริ่มก่อตัวรุนแรง มีการประท้วงของผู้คนมากกว่า 2,000 คน ออกมาตามท้องถนนที่เมืองนิวยอร์ก นอกจากการประท้วงในโลกออนไลน์จากสมาชิกเครือข่ายโซเชี่ยลมีเดียอีกหลายหมื่น คน รวมทั้งการออกมาแสดงความคิดเห็นของมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ซึ่งระบุว่าชุมชนออนไลน์ไม่ควรปล่อยให้กฎหมายคับแคบมาเป็นตัวบ่อนทำลาย พัฒนาการทางอินเตอร์เน็ตโดยเด็ดขาด

ทำให้ล่าสุดมี ส.ส.สหรัฐฯ กว่า 8 คน ยกเลิกการสนับสนุนกฎหมายดังกล่าวแล้ว รวมผู้สนับสนุนหลักก่อนหน้านี้ด้วย เช่นเดียวกับบรรดาวุฒิสมาชิก ซึ่งหลายรายที่เคยสนับสนุน หันมาแสดงความคิดเห็นแบบยูเทิร์นหักศอก บอกว่าต้องกลับมาพิจารณากฎหมายดังกล่าวโดยละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากกระแสคัดค้านอย่างรุนแรง ณ ขณะนี้นั่นเอง.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/column/tech/cybernet/232343


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.